Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์8 ธันวาคม 2551
กู้คืนวิกฤตศก.ไทย.!คลอดมาตรการกระตุ้นทั้ง‘ใน-นอก’             
 


   
www resources

โฮมเพจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   
search resources

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Economics
สันติ วิลาสศักดานนท์




ส.อ.ท.เสนอทางรอดวิกฤตศก.ไทยจี้ฟื้นความเชื่อมั่นต่างชาติโดยด่วน -4กลุ่มส่งออกหลักต้องหาที่ระบายสินค้า ขณะที่หอการค้าฯชูมาตรการ ผ่านงบกลาง-ลดภาษีเงินได้-ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ SMEs ด้านTDRI ระบุรัฐต้องเร่งเบิกจ่ายงบกระตุ้นศก.ภายใน-ทั้งออกมาตรการอุ้ม ‘คนตกงาน’ ในปีหน้า

แม้การปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จะสร้างความเสียให้แก่ประเทศในเรื่องท่องเที่ยวและการส่งออกรวมถึงความเชื่อมั่นในสายตาของชาวต่างชาติก็ตาม แต่หากทุกฝ่ายร่วมมือกันทั้งภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน เชื่อว่าในที่สุดแล้ววิกฤตใดๆก็ไม่ร้ายแรงเกินกว่าที่จะรับมือไหว.!

เร่งฟื้นเชื่อมั่นลงทุนต่างชาติ

“สันติ วิลาสศักดานนท์” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงผลกระทบที่เกิดจาการปิดท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่า ความเสียหายต่อภาคธุรกิจส่งออกนั้น ถือว่าได้รับผลกระทบยังไม่มากเพราะสินค้าส่งออก 90%ขนส่งทางเรือ โดยอุตสาหกรรมที่กระทบมาก คือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าเกษตร ที่ต้องขนส่งทางเครื่องบิน เช่น ผัก ผลไม้ กล้วยไม้ รวมถึงการขนส่งเอกสาร ส่วนการขนส่งสินค้าทางอากาศมีไม่มาก

ทว่าการส่งออกเป็น 4 อันดับแรกที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในปีหน้าได้แก่ คือ 1.อิเล็กทรอนิกส์ 2.เครื่องใช้ไฟฟ้า 3.สิ่งทอ และ4.อัญมณี โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีบริษัทแม่ในต่างประเทศกำหนดนโยบาย ส่วนกลุ่มสิ่งทอและอัญมณีเป็นการลงทุนของเอกชนไทยต้องหาตลาดใหม่และช่วยเหลือสภาพคล่อง

ขณะที่การเงินลงทุนจากต่างชาติภาครัฐต้องรีบสร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมาซึ่งต้องใช้เวลาสักระยะกว่าที่จะเรียกคืนมาได้โดยใน ขณะนี้ส.อ.ท.พยายามชี้แจงนักธุรกิจต่างประเทศ ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งต้องใช้เวลา 3- 4 เดือนเป็นอย่างน้อย

มั่นใจการเมืองคลี่คลาย-ท่องเที่ยวฟื้น.!

ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวหากเสถียรภาพการเมืองคลี่คลายเชื่อว่าคงจะกลับมาเป็นปรกติอีกครั้งเพราะพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวไทยยังอยู่ในระดับที่สูงมากในสายตาชาวต่างชาติเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในระดับเดียวกัน แต่ปัญหาที่หลายฝ่ายกังวลคือ ช่วงไฮซี่ซั่นซึ่งเป็นช่วงพีคในแต่ละปีจะเป็นช่วงที่สามารถทำกำไรได้

อย่างไรก็ดีปีนี้ธุรกิจท่องเที่ยวอาจจะได้รับผลกระทบเพราะต่างชาติหลายประเทศประกาศไม่ให้คนในประเทศเขาเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปชี้แจงและทำความเข้าใจหากสถานการณ์คลี่คลายลง

จี้รัฐออกมาตรการกระตุ้น.!

ด้านความเคลื่อนไหวจากสภาหอการค้าไทย “ประมนต์ สุธีวงศ์” ประธานกรรมการหอการค้าไทยมองสอดคล้องกับส.อ.ท.ว่า ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นที่กินเวลายาวนานส่งผลให้นักธุรกิจไม่กล้าตัดสินใจลงทุนเพิ่ม เพราะยังมองไม่ออกว่าการเมืองจะจบลงอย่างไร และมีความเสี่ยงว่าความขัดแย้งเกิดขึ้นในขณะนี้จะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคตทำให้ความเชื่อมั่นลดลงเข้ามากขึ้นไปอีก ซึ่งหากเสถียรภาพการเมืองไทยยังไม่เรียบร้อยอย่าหวังว่าการลงทุนจากต่างประเทศมากจะเข้ามาและหากเป็นนักลงทุนใหม่ก็จะยากขึ้นเป็นเท่าตัว

นอกจากนี้ภาครัฐต้องหาทางรับมือวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปีหน้าโดยจะรอให้เศรษฐกิจตกต่ำจนถึงจุดต่ำสุดไม่ได้ โดยต้องตั้งสมมติฐานไว้ก่อนสถานการณ์ขณะนี้เลวร้าย โดยหอการค้าฯเสนอให้ภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้กระเตื้องขึ้นโดยเสนอผ่านงบประมาณกลางปี 100,000 ล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ภายใน 6 เดือน - 1 ปีเป็นอย่างช้า และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ดีขึ้น นอกจากนี้จะขอให้ทางกระทรวงการคลังพิจารณาลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทันที 1 ปี เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงให้ภาครัฐช่วยส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในสภาพคล่อง และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) อีกด้วย

อย่างไรก็ดีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประชาชน และอาจทำให้ภาคธุรกิจต้องปิดตัวลงหากสถานการณ์ทางการเมืองยังมีความรุนแรงขึ้นต่อเนื่องจนถึงปลายปี

“เศรษฐกิจในปีหน้าอยู่ในภาวะที่ถดถอย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาและยุโรปและจากสถานการณ์การเมืองภายในทั้งปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไม่น่าจะจบเร็วกว่าปลายปี 2552 และต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีกว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเหมือนเดิม”

เสนอ “รัฐ” เร่งเบิกง่ายงบฯกระตุ้นศก.

ขณะที่มุมมองจากนักวิชาการจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) “สมชัย จิตสุชน” ผู้อำนวยการด้านพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม อธิบายว่า จากวิกฤติเศรษฐกิจในต่างประเทศที่หนักมากเช่นนี้จะส่งผลกระทบให้การส่งออกของประเทศไทยอย่างรุนแรงซึ่งเชื่อการส่งออกปีหน้าขยายตัวติดลบสูงถึง -12.1% และการนำเข้าสินค้าและบริการจะขยายตัวติดลบ 8% ส่วนการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัว 5.3% เพิ่มขึ้นจากการขยายตัว 2.6% ในปีนี้การลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 5% จาก 4.9% ในปีนี้

หากพิจารณาแต่ปัจจัยการขยายตัวของเอกชนในปี 2552 เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือการขยายตัวติดลบ ดังนั้น เศรษฐกิจไทยในปีหน้านโยบายการคลังของรัฐบาลจะเป็นพระเอกในการกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ หากรัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นจากปีนี้ 20.2% และสามารถที่จะเร่งการลงทุนภาครัฐในปีหน้าให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 30.5% ทีดีอาร์ไอประเมินว่าเศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวได้ 1.9%

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเศรษฐกิจไทยมีโอกาสสูงที่จะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด เพราะจากการประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปีหน้าพบว่าติดลบ 0.6% จากราคาสินค้าที่ลดลงตามราคาน้ำมันที่ลดลงและการใช้จ่ายที่ซบเซาดังนั้นภาครัฐต้องเร่งนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วต้องเร่งคืนความเชื่อมั่นสร้างการลงทุนภาคเอกชนในกลับมาโดยเร็วที่สุดรักษาสภาพคล่องทางการเงิน แต่ไม่ควรที่จะกดดันในธนาคารพาณิชย์เร่งปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยง หรือตั้งกองทุนพยุงตลาดหุ้นในขณะที่การลดดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้นในช่วงที่เศรษฐกิจไร้ความเชื่อมั่น

เสนอมาตรการอุ้มคน “ตกงาน”

นอกจากนี้ภาครัฐต้องตั้งงบประมาณเพื่อดูแลคนตกงานรวมทั้งให้รัฐจ่ายเงินสมทบประกันสุขภาพและการว่างงานแทนนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งจะใช้งบประมาณ 25,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะช่วยลดภาระภาคเอกชน และช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้อีกทางด้วย นอกจากนั้นควรจะขยายเวลาการรับสิทธิประโยชน์ทดแทนแก่ผู้ถูกให้ออกจากงานสูงสุด 6 เดือน เป็น 8 เดือน และเพิ่มให้เป็น 12 เดือนสำหรับผู้ตกงานอายุเกิน 50 ปี

ได้เวลานับถอยหลัง “ปีชวด” 30 วันสุดท้ายก่อนจะขึ้นศักราชใหม่ 2552 แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจปีหน้าจะถูกวิกฤติเศรษฐกิจโลกถล่มเพียงใด หรือวิกฤตการเมืองภายในที่ขย่มไม่เลิก แต่หากทุกฝ่ายร่วมรับผิดชอบร่วมกัน “ภาครัฐ-เอกชน”ประสานงานกันอย่างเป็นระบบเชื่อเถอะว่าวิกฤตครั้งใดๆก็ผ่านพ้นไปได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us