Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532
โรงเรียนนานาชาติถึงเวลาทบทวนกันใหม่             
โดย ขุนทอง ลอเสรีวานิช
 


   
search resources

Investment
International School




เมื่อนักลงทุนต่างแดน ยกขบวนเข้ามาปักหลักทำมาหากินในบ้างเรามากขึ้นทุกๆ ปี ไม่เฉพาะสิ่งอำนวย ความสะดวกขั้นพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค เท่านั้นที่ยังไม่สามารถรองรับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นกับนักลงทุนเหล่านี้ก็คือ ไม่มีโรงเรียนให้ลูก ๆ ได้เรียนหนังสือ

เฉินต้าหลินเป็นคนไต้หวันในวัย 38 ปี เขาเป็นช่างเทคนิคอาวุโสของบริษัทผู้ผลิตและส่ง ออกรองเท้าขนาดกลางแห่งหนึ่งในไทเป กลางปี 2531 บริษัทที่เฉินทำงานอยู่ด้วยเข้ามาลงทุนเปิดโรงงานผลิตรองเท้าในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรป

บริษัทของเฉินก็เช่นเดียวกับธุรกิจส่งออกของไต้หวันในแขนงอื่น ๆ อีกนับร้อยรายที่ เจอ

กับปัญหาค่าเงินเอ็นทีที่สูงขึ้นเกือบ 30% ในช่วงสองปีที่ผ่านมาจนกลายเป็นข้อเสียเปรียบสำคัญในการแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่น ๆ ในตลาดโลก จนรัฐบาลไต้หวันต้องผ่อนคลายข้อบังคับในการนำเงินออกนอกประเทศ เพื่อสนับสนุนให้นักลงทุนเคลื่อนย้ายเงินทุนและฐานการผลิตออกไปยังต่างประเทศ

ประเทศไทยคือแหล่งลงทุนและการผลิตใหม่ที่นักธุรกิจนับร้อยรายจากเกาะฟอร์โมซาเก็บ

เสื้อผ้าใส่กระเป๋าจากบ้านเกิดมุ่งหน้ามา โดยมีสิทธิพิเศษในการลงทุนที่ได้รับจากบีโอไอเป็นแรงจูงใจเบื้องต้น แรงงานคุณภาพราคาถูกเป็นตัวแปรสำคัญในแผนการลงทุนใหม่ และการสวมรอยใช้สิทธิจีเอสพีที่ยังเหลืออยู่ของไทยเป็นแรงผลัดกันเคลือบแฝงอยู่เบื้องหลัง

เฉินถูกส่งตัวมารับตำแหน่งผู้จัดการโรงงานของโรงงานในต่างประเทศแห่งใหม่นี้เมื่อต้นปี

ที่ผ่านมา ชีวิตในต่างแดน ถึงแม้จะเป็นสภาพแวดล้อมต่างถิ่น แต่ความที่เป็นประเทศเอเชียด้วยกันที่มีวัฒนธรรมสืบทอดจากจีนโพ้นทะเลเจืออยู่ในหลาย ๆ ส่วนช่วยให้ความแปลกแยกมลายหายไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นสภาพการเจราจรติดขัด โทรศัพท์ขัดข้องบ่อย ๆ ความแออัดยัดเยียดและขั้นตอนยืดเยื้อของท่าเรือกรุงเทพ แม้จะก่อให้เกิดความหงุดหงิดในระยะแรก ๆ แต่ก็กลายเป็นความเคยชินและยอมรับในอีก 3-4 เดือนให้หลัง

"เป็นเรื่องธรรมดาของประเทศที่กำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจนน

สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขยายตัวรองรับไม่ทัน" เฉินกล่าวอย่างทำใจได้

ปัญหาใหญ่สำหรับเขากลับเป็นเรื่องหาที่เรียนให้ลูกชายวัย 10 ขวบที่ติดตามพ่อมาด้วย

ก่อนมาเมืองไทยเขาติดต่อสอบถามจนแน่ใจว่า มีโรงเรียนสำหรับลูกเขาแน่ ๆ จึงตัดสินใจให้ลูกลาออกจากโรงเรียนชั้นประถมที่ไต้หวันเพื่อมาอยู่กับพ่อและแม่ที่กรุงเทพฯ

เฉินใช้เวลาไม่นานนักค้นพบว่าโรงเรียนสำหรับลูกคนต่างชาติในกรุงเทพฯมีอยู่จริง แต่ไม่

มีที่ว่างให้ลูกของเขา บางแห่งที่พอจะรับได้ก็เก็บค่าเล่าเรียนสูงเสียจนเฉินสู้ไม่ไหว ค่าตอบแทนสำหรับการออกมาทำงานนอกประเทศนอกเหนือจากเงินเดือนประจำแล้ว ก็มีค่าเดินทางไปกลับ และค่าที่พัก แต่ไม่รวมค่าเล่าเรียนสำหรับลูก ๆ

เขาตัดสินใจส่งลูกกลับไปเรียนที่เดิมที่บ้านเกิดพร้อมกับภรรยาที่ต้องตามไปดูแลด้วย

ปัญหาของเฉินเป็นปัญหาร่วมของนักลงทุนนักธุรกิจต่างชาติอีกนับร้อยรายที่เข้ามาลงทุน

ในประเทศไทยขณะนี้แล้วหาโรงเรียนให้ลูกเยนหนังสือไม่ได้ หลาย ๆ รายต้องส่งลูกกลับบ้านเช่นเดียวกับเฉินและอีกไม่น้อยต้องอาศัยโรงเรียนที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน

สำหรับเฉินแล้วเรื่องนี้ไม่ถึงกับเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบกระเทือนการลงทุนจากต่าง

ประเทศและแม้เขาจะรู้ล่วงหน้าก่อนว่าไม่มีที่เรียนให้ลูกเขาก็ยังต้องมาทำงานในประเทศไทยอยู่ดี สถานภาพของลูกจ้างที่ต้องไปประจำการนที่ ๆ แล้วแต่บริษัทจะมีคำสั่ง กับโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานทำให้เรื่องโรงเรียนของลูกในประเทศที่ไปอยู่กลายเป็นปัญหารองลงไป

"แต่รัฐบาลไทยควรให้ความสนใจ เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องอำนวยความ

สะดวกให้กับนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยด้วย" เฉินบอกว่าเขาไม่ได้ทวงบุญคุณแลสำคัญผิดคิดว่าตัวเองสำคัญ แต่คิดว่าเรื่องการศึกษาของเด็ก ๆ เป็นเรื่องที่พ่อแม่ทุกคนต้องวางแผน ในขณะที่ถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีผลโดยตรงต่อการลงทุน เรื่องโรงเรียนก็เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานทางสังคมที่เป็นตัวเสริมความพร้อมในการรับการลงทุนต่างประเทศ

ปี 2530 บีโอไอให้การส่งเสริมโครงการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 1,431 ราย ปี

2531 จำนวน 740 ราย และห้าเดือนแรกของปีนี้จำวน 306 รายถึงแม้โครงการที่เปิดดำเนินการจริง ๆ จะไม่มากเท่าจำนวนจริงที่ได้รับการส่งเสริม และผู้ที่เข้ามาลงทุนรวมทั้งผู้บริหารต่างชาติจะไม่ได้นำครอบครัวเข้ามาทุกคน แต่จากการที่มีการร้องเรียนต่อบีโอไอและคณะกรรมการศึกษาเอกชน ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลโรงเรียนนานาชาติอยู่เสมอว่าโรงเรียนไม่พอก็เป็นปรากฎการณ์ที่สะท้อนถึงการดำรงอยู่ของปัญหาอย่างชัดเจน

นอกจากนักลงทุน นักธุรกิจต่างชาติแล้ว บรรดานักการทูตและผู้เชี่ยวชาญประจำองค์

กรระหว่างประเทศที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยก็เป็นตัวที่ทำให้ความต้องการโรงเรียนเพิ่มขึ้นคือ คนไทยที่ไปอยู่ในต่างประเทศนาน ๆ และคิดจะกลับบ้าน ก็มีปัญหาว่าจะต้องหาโรงเรียนให้ลูก ๆ ซึ่งเกิด เติบโต และเรียนหนังสือในต่างประเทศ การเข้าโรงเรียนไทยปกติเป็นเรื่องยากเพราะปัญหาความไม่สันทัดในภาษาไทยและระบบการศึกษาที่ต่างกัน โรงเรียนนานาชาติจึงเป็นที่เดียวที่จะรองรับลูก ๆ ของคนไทยกลุ่มนี้ได้

ยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอนชัดเจนของความต้องการและความขาดแคลนที่เรียนในโรงเรียน

นานาชาติ แต่จากการสำรวจจากโรงเรียนนานาชาติที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ในช่วงสองสามปีมานี้ เกือบทุกแห่งมีนักเรียนมาสมัครเรียนเพิ่มขึ้นประมาณแห่งละ 200 คนต่อปี และสี่ในห้าแห่งที่มีอยู่ในขณะนี้ กำลังเตรียมแผนการโยกย้ายขยายโรงเรียนไปตั้งในที่ใหม่เพื่อให้รองรับนักเรียนได้เพียงพอ

"นักเรียนของเราเพิ่มขึ้นทุกวัน เมื่อ 4-5 ปีก่อนเพิ่มขึ้นแค่ 2-3% ต่อปี แล้วสูงขึ้นเป็น

5-8% ตอนสามปีที่แล้ว แต่ปีที่แล้วนี่เพิ่มสูงถึง 10%" ดร.ปัญญา สมบุรณ์ศิลป์ ผู้อำนวยการสถานศึกษานานาชาติเปิดเผยแนวโน้ม

แนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนโรงเรียนนานาชาติพุ่งเป้าไปที่การเรียกร้องให้รัฐ

บาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ทบทวนนโยบายการจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติใหม่ โดยให้ผ่อนปรนเงื่อนไขมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ และอนุญาตให้เปิดโรงเรียนเพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่งในกรณีหลังนี้ ทางองค์การสหประชาชาติได้เสนอต่อ กระทรวงศึกษาธิการขอตั้งโรงเรียนสำหรับลูกของเจ้าหน้าที่องค์การที่ประจำอยู่ในประเทศไทยแล้ว รวมทั้งการสอบถามรายละเอียด เงื่อนไขการเปิดโรงเรียนจากบริษัทเอกชนและนิติบุคคลหลาย ๆ แห่ง

"รัฐบาลควรจะอนุญาตให้เปิดโรงเรียนนานาชาติได้โดยเสรี" เฉินเองก็มีความเห็นว่า กฎ

เกณฑ์ระเบียบของทางราชการเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันใหม่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหานี้

การตั้งโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยนั้นจะต้องขออนุญาตต่อคณะรัฐมนตรีเป็นราย ๆ

ไป ซึ่งสืบเนื่องมาจากกฎหมายควบคุมโรงเรียนราษฎร์ที่ห้ามการเปิดโรงเรียนต่างชาติ

พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ฉบับแรกของไทยตราขึ้นใช้เมื่อปี พ.ศ. 2461 ในสมัยรัช

กาลที่ 6 เหตุผลสำคัญในการออกกฎหมายฉบับนี้เป็นเหตุผลในด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่การควบคุมโรงเรียนจีนในขณะนั้น

ก่อนที่ดร.ซุนยัดเซ็นจะเคลื่อนไหวทำการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์แมนจูที่ปกครองประเทศจีน

ในระบบกษัตริย์ได้สำเร็จนั้น ประเทศไทยเคยเป็นแหล่งพำนักลี้ภัยทางการเมืองของซุนยัดเซ็นในระยะหนึ่ง ระหว่างที่อยู่ในไทย ซุนยัดเซ็นได้สนับสนุนให้คนจานตั้งโรงเรียนสอนหนังสือจีนขึ้นมาหลายแห่ง

โรงเรียนจีนที่เปิดขึ้นมานั้น นอกจากจะสอนหนังสือแล้ว ยังมีภารกิจหลักในการเผย

แพร่อุดมการณ์ทางการเมืองให้กับลูกหลายจีนที่มาเรียนด้วย โดยมีระบอบกษัตริย์ของราชวงศ์แมนจูเป็นเป้าใหญ่ของการโจมตี

"ตอนนั้นเป็นสมัยรัชกาลที่ 6 เรายังอยู่ในระบบการปกครองที่ขัดกับระบอบ

ประชาธิปไตย" ทำให้ทางราชการไทยเริ่มสอดส่องโรงเรียนจีนมากขึ้นแต่ยังไม่ถึงกับออกกฎหมายกันอย่างเป็นทางการ

ซุนยัดเซ็นสถาปนาระบอบสาธารณรัฐขึ้นในเมืองจีนได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2454 คนจีนใน

เมืองไทยที่เคยร่วมงานกับซุนยัดเซ็นเดินทางกลับไปรับตำแหน่งในคณะรัฐบาลใหม่กันหลายคน และตีขลุมเอาว่าโรงเรียนจีนในเมืองไทยนั้นเป็นสาขาของโรงเรียนจีนจากปักกิ่ง

พ.ศ. 2461 จึงต้องมีการออกพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ฉบับแรกขึ้นมา เพื่อให้

อำนาจแก่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองในการเข้าไปควบคุมดูแลโรงเรียนจีนได้อย่างเต็มที่ เพื่อความปลอดภัยของบ้านเมือง

หลังสงครามโลกครั้งที่สองที่จีนอยู่ในฐานะผู้ชนะสงคราม ความพยายามในการครอบงำ

โรงเรียนจีนในประเทศไทยก็ยิ่งมีมากขึ้น จนถึงขั้นที่มีการออกกฎหมายฉบับหนึ่งออกมากำหนดให้โรงเรียนจีนโพ้นทะเลทั้งหมดขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการของจีน

โรงเรียนจีนในเมืองไทยตอนนั้นต้องใช้หลักสูตร หนังสือ ตำรับตำราที่ส่งตรงมาจาก

เมืองจีนเลยทีเดียว ยิ่งทำให้ความหวาดระแวงทางการเมืองของรัฐบาลไทยมีมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากปี พ.ศ. 2492 ที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนสามารถสถาปนาระบอบสังคมนิยมขึ้นในประเทศจีนได้ ความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นตัวเร่งให้เกิดความหวั่นไหวต่อความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น

ปี พ.ศ. 2497 จึงได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนราษฎร์ใหม่ กำหนดให้ผู้ที่จะขออนุญาตตั้งโรงเรียนต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และครูก็ต้องมีสัญชาติไทยด้วย รวมทั้งหลักสูตรและตำราก็ต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการก่อน

จุดมุ่งหมายนั้นก็เพื่อควบคุมโรงเรียนจีนโดยตรง แต่เพื่อหลีกเลี่ยงข้อครหาว่าเลือกปฏิบัติ จึงต้องอาศัยนัยของกฎหมายเป็นเงื่อนไขในการควบคุมและกลายเป็นนโยบายที่ยึดถือกันมาตลอดว่า ห้ามตั้งโรงเรียนต่างชาติหรือโรงเรียนนานาชาติขึ้นมาทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียนนานาชาติเกิดขึ้นเลยแม้แต่แห่งเดียว

การคุมกำเนิดโรงเรียนนานาชาติจึงมีจุดเริ่มต้นมาจากเจตนาสกัดการขยายตัวของโรงเรียนจีนโดยเหตุผลเพื่อความมั่นคงโดยแท้

"โรงเรียนนานาชาติที่มีอยู่ห้าแห่งในตอนนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยการวางแผน แต่เดิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาโรงเรียนที่เปิดโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีการจัดตั้งกันอย่างถูกต้อง" แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการเปิดเผย

โรงเรียนทั้งห้าแห่งคือ โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติที่ซอยสุขุมวิท 15 โรงเรียนบางกอกพัฒนาที่ถนนเชื้อเพลิง โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา ซอยร่วมฤดี โรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่นที่ถนนพระรามที่ 9 และโรงเรียนนานาชาติที่เชียงใหม่

ในจำนวนห้าแห่งนี้ โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติเป็นโรงเรียนนานาชาติแห่งแรกที่เกิดขึ้น

"เราเป็นโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดด้วย" ดร.ปัญญา สมบูรณ์ศิลป์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าว

ก่อนหน้าปี 2500 เล็กน้อยมีชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในไทยริเริ่มตั้งโรงเรียนสอนลูก ๆ ของพวกตนขึ้นมา มีเด็กอเมริกันมาเรียนประมาณ 30 คน โดยใช้สาถนที่ในสถานทูตสหรัฐฯ ต่อมาเมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ขยายออกไป จนกระทั่งทางกระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้ตั้งให้ถูกต้องแต่เนื่องจากมีกฎหมายห้ามอยู่ การตั้งขึ้นมาเป็นโรงเรียนนานาชาติอย่างเป็นทางการจึงต้องขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีเสียก่อน

การตั้งโรงเรียนทุกประเภทในประเทศไทยนั้น ผู้ขอก่อตั้งซึ่งเรียกว่าผู้รับใบอนุญาตต้องมีสัญชาติไทยโดยกำเนิด ดังนั้น กลุ่มผู้กปกครองชาวอเมริกันจึงรวบรวมกันตั้งเป็นสมาคมเพื่อการศึกษานานาชาติขึ้น เพื่อให้นิติบุคคลที่สัญชาติไทย และยื่นขออนุญาตตั้งโรงเรียนนานาชาติขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2500

"ในตอนแรกส่วนใหญ่เป็นเด็กอเมริกัน สมัยสงครามเวียดนามเรามีนักเรียนถึง 3,500 คน เป็นอเมริกันถึง 90%" ดร.ปัญญาเปิดเผย

ปัจจุบันเด็กอเมริกันก็ยังเป็นกลุ่มใหญ่อยู่แต่สัดส่วนลดลงมาเหลือเพียง 30% ของจำนวนนักเรียน 1,681 คน ที่เหลือเป็นเด็กจากยุโรปออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย และชาติอื่น ๆ รวมกันแล้ว 50 ชาติ รวมทั้งเด็กไทยประมาณ 20 คน

แต่เดิมนั้นกระทรวงศึกษาห้ามโรงเรียนนานาชาติรับเด็กนักเรียนสัญชาติไทยเข้าเรียน เพราะเกรงว่าจะสูญเสียความเป็นไทยไป แต่ในระยะหลังที่มีคนไทยที่ไปอยู่ในต่างประเทศนาน ๆ เดินทางกลับมาแล้วมีลูกซึ่งเกิดและเรียนหนังสือในต่างประเทศกลับมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาไม่มีให้ลูกเรียนต่อ ทางกระทรวงศึกษาฯจึงต้องผ่อนปรนให้โดยมีเงื่อนไขว่า เด็กไทยที่จะเข้าโรงเรียนนานาชาตินั้นต้องเคยไปอยู่และเรียนหนังสือในต่างประเทศมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติให้ระบบการศึกษาและหลักสุตรแบบอเมริกัน โดยแบ่งชั้นเรียนออกเป็น 12 เกรด ได้รับการรับรองมาตรฐานและเป็นสมาชิกของ WESTERN ASSOCIATION ซึ่งเป็นสมาคมของโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาที่กำหนดมาตรฐานและคุณภาพในการเรียนการสอน

"โปรแกรมของเรานั้น สำหรับเตรียมคนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยเมืองนอกโดยตรง" ดร.ปัญญาเปิดเผยประกอบสถิตินักเรียที่เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยต่างประเทศในแต่ละปีว่ามีจำนวน 83% ของจำนวนที่จบเกรด 12 ประมาณ 100 กว่าคนต่อปี

จากจำนวนครูทั้งหมด 152 คน มีครูไทยอยู่เพียง 5 คน สำหรับสอนภาษาไทยตามเงื่อนไขของกระทรวงศึกษาที่ให้มีการสอนภาษาไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ครูที่เหลืออีก 147 คนเป็นชาวต่างประเทศ

"ส่วนใหญ่แล้วเราจะไปว่าจ้าง สรรหากันมาโดยตรงจากต่างประเทศเลย" แต่ก็มีอยู่บางส่วนที่เป็นภรรยาที่ติดตามสามีมาทำงานในประเทศไทยและมีวุฒิครูอยู่ด้วย

โรงเรียนสถานศึกษานานาชาตินี้มีการบริหารงานทางด้านนโยบาย โดยคณะกรรมการโรงเรียนที่เลือกตั้งทุกสองปีจากสมาชิกของสมาคมผู้ปกครองและครู มีผู้อำนวยการซึ่งต้องเป็นคนไทยเป็นผู้บริหารและมีตำแหน่ง SUPERINTENDENT ทำหน้าที่ควบคุมดูแลหลักสูตรอีกคนหนึ่ง

โรงเรียนนานาชาติแห่งที่สองเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันคือ เปิดชั้นเรียนสอนกันเองก่อนโดยไม่ได้ขออนุญาต แล้วจึงมาจัดตั้งอย่างถูกต้องในภายหลัง

ประมาณ พ.ศ. 2500 คณะสงฆ์มหาไถ่ซึ่งเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทยเป็นเวลา 10 ปีเศษ ก่อนหน้านั้น ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณโบสถ์มหาไถ่ที่ซอยร่วมฤดี ในระยะแรกนั้นมีทั้งชั้นเรียนภาษาอังกฤษและภาษาไทยอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน

"เราเห็นว่าหลาย ๆ คนไม่มีที่เรียน จึงคิดทำโรงเรียนแบบโรงเรียนประจำวัดขึ้นมา" สาธุคุณทอมกริฟฟิธ ผู้อำนวยการโรงเรียนย้อนความหลังไปเมื่อครั้งตั้งโรงเรียน

เด็กนักเรียนที่มาเรียนชั้นภาษาไทยนั้นคือลูก ๆ ของชาวบ้านในละแวกนั้น ส่วนนักเรียนในชั้นต่างประเทศเป็นลูกของข้าราชการกระทรวงต่างประเทศที่เคยไปประจำในต่างประเทศ และลูกของชาวต่างชาติที่ทำงานในเมืองไทย

หลังจากเปิดได้เพียงสามปี กระทรวงศึกษาธิการก็มีคำสั่งให้แยกโรงเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษออกจากกัน และจะอนุญาตให้ชั้นเรียนภาษาอังกฤษตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนนานาชาติได้ก็ต่อเมื่อหาผู้รับใบอนุญาตที่มีสัญชาติไทยได้เท่านั้น

เนื่องจากมีบุตรหลานของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศเรียนอยู่หลายคน หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ถวิดา บุตรสาวคนโตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงช่วยเหลือโดยรับเป็นผู้รับใบอนุญาตตั้งโรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506

ถวิดาคนนี้ คือครูใหญ่ปัจจุบันของโรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษานี่เอง

โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษาในระยะเริ่มแรกมีนักเรียนหกสิบกว่าคน แบ่งเป็นสี่ห้องเรียนและใช้หลักสูตรแบบอังกฤษ ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ระบบอเมริกัน และมีนักเรียน 1,206 คน จาก 33 ประเทศมีนักเรียนสัญชาติไทยในสัดส่วนสูงสุดคือ 25 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือไต้หวัน 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกของนักการทูตและนักธุรกิจ

จำนวนครูที่นี่มี 78 คนจาก 15 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นครูชาวเอเชีย

ที่นี่ยังมีโรงเรียนสวิสอยู่ในสังกัดด้วย เป็นโรงเรียนที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นสื่อกลางในการสอนซึ่งเคยขอออนุญาตตั้งเป็นโรงเรียนนานาชาติขึ้นมาแต่ไม่ได้รับอนุมัติ เลยต้องเข้ามาอยู่ในสังกัดของโรงเรียนร่วมฤดี มีนักเรียนประมาณ 100 คน

โรงเรียนร่วมฤดีใช้รูปแบบการบริหารโดยมีคณะกรรมการโรงเรียนเป็นผู้กำหนดนโยบายประกอบด้วยตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ 7 คน และตัวแทนของโรงเรียน 5 คน มีผู้จัดการซึ่งเป็นบาทหลวงคนไทยเป็นผู้บริหาร และถวิดา พิชเยนทรโยธินเป็นครูใหญ่

หนึ่งปีหลังจากโรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษาได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง คณะรัฐมนตรีก็มีมติให้ตั้งโรงเรียนนานาชาติขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งในปี 2507 คือโรงเรียนบางกอกพัฒนา ซึ่งมีจุดเริ่มต้นเช่นเดียวกับโรงเรียนนานาชาติสองแห่งข้างต้นคือ ตั้งขึ้นมาก่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง แล้วจึงค่อยมาแก้ไขในภายหลัง

ผู้รับใบอนุญาตของโรงเรียนบางกอกพัฒนาคือกรมวิเทศสหการ การเรียนการสอนใช้หลักสูตรในระบบอังกฤษ แบ่งเป็น PRIMARY SCHOOL ชั้นที่ 1-6 และ MIDDLE SCHOOL ชั้นที่ 1-5 ปัจจุบันมีนักเรียน 500 คน ซึ่งมีสัญชาติต่าง ๆ กัน 35 - 37 สัญชาติ

การกำหนดว่าโรงเรียนใดเป็นโรงเรียนนานาชาตินั้น ใช้บรรทัดฐานในเรื่องภาษาที่ใช้เป็นสื่อกลางในการสอนคือภาษาอังกฤษ และนักเรียนมาจากหลายสัญชาติด้วยกัน แต่โรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่นนั้นเป็นโรงเรียนนานาชาติในลักษณะพิเศษที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น และรับนักเรียนที่มีสัญชาติญี่ป่นุเท่านั้น

"โรงเรียนญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ นี่เป็นโรงเรียนญี่ปุ่นนอกประเทศแห่งแรก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นโรงเรียนนอกประเทศที่เก่าที่สุด" อะริโยชิ คะซึโรครูใหญ่ฝ่ายญี่ปุ่นของโรงเรียนเปิดเผย

จุดเริ่มของโรงเรียนญี่ปุ่นนี้เป็นเพียงชั้นเรียนภาษาญี่ปุ่นสำหรับบุตรหลายของข้าราชการสถานทูตและอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น โดยเริ่มตั้งเมื่อปี 2494 ภายในสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จากการอนุญาตของกระทรวงการต่างประเทศ และทำการสอนในลักษณะนี้เรื่อยมาอีก 23 ปีจนจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจาก

ปี 2517 กระทรวงศึกษาธิการจึงมีคำสั่งให้ตั้งเป็นโรงเรียนให้ถูกต้อง มีการจัดตั้งสมาคมไทย-ญี่ปุ่นขึ้นเพื่อเป็นผู้รับใบอนุญาตตั้งโรงเรียนนี้โดยเฉพาะและย้ายสถานที่ออกนอกสถานทูตมาตั้งโรงเรียนที่ริมถนนเพลินจิต จนถึงปี 2526 จึงย้ายอีกครั้งมาอยู่ที่ซอยโรงเรียนญี่ปุ่น ถนนพระราม 9 ในปัจจุบัน

หลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนนี้เป็นหลักสูตรเดียวกับที่ใช้ในโรงเรียนที่ญี่ปุ่น และครู 44 คนในจำนวน 52 คนที่มีอยู่ในตอนนี้ที่เป็นข้าราชการที่ส่งตรงมาจากกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น

"เด็กญี่ปุ่นไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนในโลก ต้องเรียนหนังสืออย่างน้อย 9 ปีตามระบบการศึกษาภาคบังคับของญี่ปุ่น" คะซิโรบอกว่า โรงเรียนญี่ปุ่นในไทยนั้นจึงเปรียบเสมือนการยกโรงเรียนจากญี่ปุ่นมาไว้ที่กรุงเทพฯ เพราะหลักสูตรตำราเรียนจะเหมือนกันทุกอย่าง

ปัจจุบันมีนักเรียน 1,367 คน แบ่งการเรียนออกเป็นชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 99% ของนักเรียนเป็นเด็กญี่ปุ่นแท้ ๆ ที่ติดตามพ่อแม่มาอยู่เมืองไทยเป็นการชั่วคราว ที่เหลือเป็นเด็กที่มีพ่อหรือแม่เป็นคนอีกสัญชาติหนึ่งด้วย

โรงเรียนนานาชาติแห่งสุดท้ายที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งขึ้นคือ โรงเรียนนานาชาติที่เชียงใหม่ ซึ่งหมอสอนศาสนาชาวสวิสเป็นคนตั้งขึ้นก่อน จนกระทั่งสามปีที่แล้วจึงทำการขออนุญาตตั้งเป็นโรงเรียนอย่างถูกต้อง โดยมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับใบอนุญาตแทน

การเกิดขึ้นของโรงเรียนนานาชาติทั้งห้าแห่ง จึงเป็นการเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่จะต้องมีโรงเรียนให้บุตรหลานของข้าราชการไทย ที่ไปทำงานในต่างประเทศแล้วกลับมาอยู่ในเมืองไทยด้วยเช่นกัน

เสียงเรียกร้องถึงความขาดแคลนในโรงเรียนนานาชาติในช่วงนี้ก็เนื่องมาจากสถานการณ์ที่นักลงทุน นักธุรกิจชาวต่างประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน รวมทั้งคนไทยที่ไปอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลานาน และต้องการกลับมาอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นด้วยเป็นปัจจัยให้เกิดความต้องการโรงเรียนสำหรับบุตรหลานที่เติบโตขึ้นมาในต่างประเทศอีกทางหนึ่ง

"ทางแคนาดา เคยขอมา คนอินเดียวก็ขอเปิดแต่เราไม่อนุญาต" เจ้าหน้าที่ระดับบริหารระดับสูงท่านหนึ่งพูดถึงความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ "ถ้าเราอนุมัติให้เปิดไป จะมีโรงเรียนของทุกชาติ ซึ่งจะเป็นปัญหากับความมั่นคงของประเทศเราอีก"

นอกเหนือไปจากเหตุผลทางด้านความมั่นคงซึ่งแม้ในปัจจุบันจะมีน้ำหนักน้อยลงไปมากเมื่อเทียบกับอดีต แต่ก็ยังคงเป็นข้อพิจารณาข้อหนึ่ง เหตุผลหลักที่ทางการยังไม่ยอมให้เปิดโรงเรียนเพิ่มคือโรงเรียนนานาชาติในขณะนี้ยังเพียงพออยู่ ปัญหาคือการกระจายออกไปยังต่างจังหวัดที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมาก โดยเฉพาะในเขตอิสเทิร์นซีบอร์ดซึ่งทางกระทรวงศึกษากำลังพิจารณาแก้ไขปัญหานี้อยู่

"ที่ร้องเรียนกันมานั้น ผมเข้าใจว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะโรงเรียนบางแห่งเก็บค่าเล่าเรียนสูงมากจนผู้ปกครองสู้ไม่ไหว" แหล่งข่าวในคณะกรรมการศึกษาเอกชนมีมุมมองต่างออกไปอีกทัศนะหนึ่ง

โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติที่ซอย 15 นันเป็นโรงเรียนที่เก็บค่าเล่าเรียนสูงที่สุดในประเทศไทยคือ ประมาณ 100,000 - 130,000 บาทต่อปี

"เรายอมรับว่าเราเก็บสูง เพราะว่าต้องการครูที่มีคุณภาพจริง ๆ ซึ่งต้องไปหามาจากเมืองนอกเรื่องนี้เป็นความต้องการของผู้ปกครองเอง เราเก็บน้อยกว่านี้ก็ได้ แต่ก็จะได้ครูไม่เก่งที่ยอมรับเงินเดือนถูก ๆ ซึ่งผู้ปกครองนักเรียนก็จะต่อว่าในเรื่องคุณภาพอีก" ดร.ปัญญา พูดถึงสาเหตุที่ต้องเก็บค่าเล่าเรียนกันเป็นแสนต่อปี

แต่แม้กระนั้น จำนวนนักเรียนที่มาสมัครเรียนที่นี่ก็ยังเพิ่มสูงขึ้นในอัตรา 8 - 10% ในระยะสองสามปีที่ผ่านมา

"เพิ่มขึ้นทุกวันครับ ไม่ใช่ทุกปี" ดร.ปัญญาย้ำในโรงเรียนนานาชาติไปในตัว เด็กที่เข้ามาเรียนที่โรงเรียนสถานศึกษานานาชาตินั้นส่วนใหญ่เป็นลูกนักการทูตจากประเทศตะวันตก และนักธุรกิจในบริษัทขนาดใหญ่จากสหรัฐฯหรือประเทศยุโรปที่รับภาระนี้ไหว

ส่วนเจ้าหน้าที่สถานทูตจากประเทศกำลังพัฒนาหรือเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศที่ไม่มีสวัสดิการในเรื่องการศึกษาของบุตร และนักธุรกิจจากประเทศในเอเชียก็ต้องหาโรงเรียนที่ค่าเล่าเรียนต่ำกว่านี้

โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษาเก็บค่าเล่าเรียนประมาณ 40,000 บาทต่อปีเท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราที่ถูกกำหนดโดยกระทรวงการต่างประเทศ

"นักเรียนของเรามาจากประเทศที่กำลังพัฒนาถ้าเราให้อัตราเงินเดือนครูเท่ากับต่างประเทศจะต้องเก็บค่าเล่าเรียนสูงกว่าปี คนจะมาเรียนไม่ได้" สาธุคุณ กริฟฟิธ เปิดเผย

อัตราเงินเดือนของครูในโรงเรียนนี้ประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นครูที่มาจากประเทศในแถบเอเชีย

โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษาจึงเป็นแห่งหนึ่งที่มีเด็กต่างชาติมาสมัครเข้าเรียนมาก เพราะเก็บค่าเล่าเรียนต่ำ "ปีที่แล้วเราต้องปฏิเสธไปถึง 200 กว่าคนเพราะว่าที่ของเราไม่พอ" ถวิดากล่าว

ส่วนโรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่นนั้นเป็นโรงเรียนที่เก็บค่าเล่าเรียนถูกที่สุดคือ ในระดับประมาณเก็บค่าเล่าเรียนเดือนละ 1,300 บาท และเดือนละ 1,600 บาทในระดับมัธยม

"รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นระบุไว้เลยว่า การศึกษาภาคบังคับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า" คะซึโร ครุใหญ่โรงเรียนญี่ปุ่นเปิดเผย กระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่นจะรับภาระค่าจ้างครูซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงอยู่แล้ว รวมทั้งส่งตำรามาให้เรียนฟรี เงินที่เก็บจากผู้ปกครองนักเรียนเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และเงินเดือนครู พนักงานที่เป็นคนไทยเท่านัน

สถิติการเพิ่มขึ้นของนักเรียนโรงเรียนไทย-ญี่ปุ่นในช่วงสองปีมานี้มีอัตราการเพิ่มปีละ 200 คน

สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นเครื่องชี้ถึงความขดาแคลนที่เรียนในโรงเรียนนานาชาติได้ดีคือ การโยกย้ายโรงเรียนไปตั้งในที่แห่งใหม่ สาเหตุของการย้ายนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะที่ตั้งโรงเรียนเดิมหมดสัญญาเชา แต่สาเหตุที่มีน้ำหนักต่อการตัดสินใจย้ายเป็นอย่างมากคือ ต้องการขยายให้รับนักเรียนได้มากขึ้น

โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติมีโครงการจะย้ายจากซอยสุขุมวิท 15 ไปอยู่ที่ใหม่ที่ปากเกร็ดซึ่งมีเนื้อที่ถึง 80 ไร่ ในปี 2534 นี้

โรงเรียนร่วมฤดีวิทเทศศึกษาก็กำลังหาเงินสร้างโรงเรียนใหม่ที่มีนบุรี ในเนื้อที่ 46 ไร่ ซึ่งมีกำหนดจะสร้างเสร็จในอีกสองปีข้างหน้า เช่นเดียวกับบางกอกพัฒนาที่จะย้ายไปอยู่ที่ซอยสุขุมวิท 105

ส่วนโรงเรียนญี่ปุ่นนั้น อยู่ในระหว่างการวางแผนก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ที่ดินปัจจุบันที่มีพื้นที่ 12 ไร่ มีกำหนดเสร็จในปี 2534 เช่นเดียวกัน

ประเทศไทยในวันนี้และในทศวรรษใหม่คือศูนย์กลางการลงทุนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สถานการณ์ทางเศรษฐกิจกำลังมีบทบาทสำคัญเหนือความเป็นไปในทางการเมืองในการกำหนดแนวนโยบายการพัฒนาประเทศ ปัญหาเรื่องโรงเรียนนานาชาติไม่เพียงพออาจจะยังเป็นแค่เสียงเรียกร้องเล็ก ๆ ที่ยังหาข้อสรุปแน่นอนไม่ได้ว่าขาดแคลนจริงหรือไม่ แต่ก็ต้องยอมรับกันว่าเริ่มจะมีข้อขัดข้องเกิดขึ้น ปัจจัยในเรื่องโรงเรียนนานาชาติอาจจะไม่ใช่สิ่งชี้ขาดที่มีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนจากต่างประเทศ แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความรับผิดชอบเอาใจใส่ที่เจ้าของบ้านพึงจะมีต่อคนที่เราอยากจะให้เข้ามาอยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us