Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532
ตลาดเงินและทุนกำลังมีปัญหา เพราะ…             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล ธารินทร์ นิมมานเหมินท์

   
search resources

ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
Investment
Financing




ตลาดเงินและทุนกำลังมีปัญหาเพราะเมื่อพูดถึงระบบการเงินของไทย ปัญหาใหญ่ ๆ ที่ผมอยากจะหยิบยกมาพูดถึงในที่นี้ เป็นปัญหาซึ่งอาจจะเห็นไม่ชัดเจนนัก และไม่รีบด่วนให้ต้องแก้ไขเฉพาะหน้า แต่ก็เป็นปัญหาสำคัญในเชิงโครงสร้าง ที่ผมเห็นว่าสำคัญต่อประสิทธิภาพและความมั่นคงของสถาบันการเงินในระยะยาวก็คือ

ปัญหาประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมาตรฐานการจัดการของสถาบันการเงินปัญหานี้สำคัญมากที่เดียว และเป็นข้อจำกัด (CONSTRAINT) สำคัญของการดำเนินนโยบายการเงินของทางการ รวมถึงการดำเนินนโยบายของธุรกิจของคู่แข่งขันในระบบสถาบันการเงินแม้ว่าจะมีการปรับตัวของสถาบันการเงินครั้งใหญ่ไป 2-3 ครั้ง ในช่วงเงินตึงตัว เมื่อปี 2522 วิกฤตการณ์เงินทุน เมื่อปี 2526 และธนาคารพาณิชย์หลางแห่งประสบปัญหาในการดำเนินการในช่วง 2527-2528 ซึ่งปัญหาเลห่านี้ได้มีการแก้ไขไปบ้างแล้ว แต่ผมก็คิดว่าเรายังคงมีปัญหานี้อยู่อีกมาพอสมควร สถาบันการเงินในประเทศไทยยังมีความแตกต่างกันอยู่อีกมากในด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และมาตรฐานการจัดการ (ซึ่งรวมถึงคุณภาพ จริยธรรม และความเนมืออาชีพ ของผู้บริหาร) ความแตกต่างเช่นนี้ เมื่อทุกสถาบันการเงินต้องดำเนินงานอยู่ภายใต้ระบบและกฎเกณฑ์อันเดียวกัน ก็เป็นตัวฉุดรั้งไม่ให้สถาบันการเงินที่แข็งแรง มีความสามารถ มีความคิดก้าวหน้า สามารถทำอะไรได้มากนักเพราะติดขัดที่กฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งยังต้องคำนึงถึงสถาบันการเงินที่ยังไม่ค่อยมั่นคง

ในส่วนของสถาบันการเงินเอง ทำให้ไม่สามารถเสนอบริการที่จะสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ต้นทุนการดำเนินงานสูงกว่าที่ควร ส่วนลูกค้าก็จะต้องรับภาระที่จ่ายต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ไม่มีโอกาสเลือกเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมเท่าที่ควร ในวงกว้างเมื่อพิจารณาถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่สามารถมีบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจได้เท่าที่ควร มิหนำซ้ำบางครั้งทางการยังต้องคอยปกป้องอุ้มชู หรือแม้แต่แก้ไขปัญหาให้สถาบันการเงินที่หย่อนประสิทธิภาพเหล่านี้เสียอีก

ปัญหาความไม่ยืดหยุ่นของอัตราดอกเบี้ยแม้จะมีการผ่อนคลายข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวไปบ้างแล้ว แต่ภาพโดยรวมของโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยก็ยังกล่าวได้ว่า ไม่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่สภาพคล่องสูงอัตราดอกเบี้ยเงิฝากก็จะปรับตัวลงค่อนข้างช้าขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะปรับตัวลงเร็วกว่ามาก ดังเช่นเมื่อ 2 ปีก่อน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ INTERBANK ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเกือบตลอดเวลา ในทางตรงกันข้าม เมื่อถึงช่วงที่สภาพคล่องตึงตัว อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะปรับตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้จะปรับตัวได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะจะติดปัญหาเพดานสูงสุดตามกฎหมายอุปสรรคที่ขัดขวางการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยมีอยู่หลายประการด้วยกัน มาตรฐานการจัดการของแต่ละสถาบันการเงินที่แตกต่างกันก็เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งทำให้บางสถาบันการเงินดำเนินนโยบายที่ไม่สมเหตุสมผลทางธุรกิจ นอกจากนั้น ก็คงจะเป็นความไม่ยืดหยุ่นของกฎหมายเอง ที่มีการกำหนดเพดานสูงสุดไว้ ซึ่งเปลี่ยนแปลงลงได้ยาก

ปัญหาตลาดเงินยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรตลาดเงินบ้านเรายังค่อนข้างด้อยพัฒนา แม้จะมีความพยายามพัฒนาตลาด BIBOR (BANGKOK INTERBANK OFFER RATE) ขึ้น แต่ขนาดของตลาดก็จำกัดอยู่มาก ทำให้การลงทุน หรือการกู้ยืมในตลาดเงินไม่คล่องตัว ไม่ว่าจะในด้านของระยะเวลาการลงทุน/กู้ ประเภทของตราสารที่จะนำมาซื้อขายในตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่เป็นไปตามสภาพแท้จริงของตลาด

ปัญหาทำนองนี้ ทำให้สถาบันการเงินมีปัญหาในการปรับสภาพคล่องของตน ต้องพึ่งพาตลาดพันธบัตรซื้อคืน (ซึ่งก็มีขนาดจำกัด ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทย) หรือมิฉะนั้นก็ต้องปรับสภาพคล่องของตน ต้องการซื้อขายเงินตราต่างประเทศแทน ซึ่งก็จะต้องเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนตามมา

ตลาดเงินที่ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรเช่นนี้เป็นอุปสรรคทำให้ขาดอัตราดอกเบี้ยที่เป็นมาตรฐานอ้างอิง (REFERENCE RATE) สถาบันการเงินไม่สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยของบริการได้ดีเช่นที่ควร เพราะขาดอัตราดอกเบี้ยที่สะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของตลาดไป

ปัญหาขอบข่ายการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ปัจจุบันนี้คงเห็นชัดแล้วว่าการแข่งขันในตลาดการเงินกำลังสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะเป็นตัวบีบให้ธนาคารพาณิชย์ได้รับส่วนต่างของัตราดอกเบี้ยน้อยลง ธนาคารพาณิชย์อยู่ในฐานะเสียเปรียบ หากจะยังทำธุรกิจธนาคารดั้งเดิม (รับฝากแล้วปล่อยกู้) อยู่ ทางออกอย่างหนึ่ง ซึ่งธนาคารในต่างประเทศได้ทำมาแล้ว ก็คือหันไปทำธุรกิจประเภท INVESTMENT BANKING หรือ MERCHANT BANKING มากขึ้น เพื่อแสวงหารายได้ประเภทค่าธรรมเนียมมาชดเชย รายได้ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดน้อยถอยลง ยกตัวอย่างการทำธุรกิจคัสโดเตียนใบหุ้นของแบงก์พาณิชย์ ความจริงกฎหมายแบงก์ไม่ได้ระบุไว้ว่าทำได้หรือไม่เพราะเป็นวิวัฒนาการล่าสุดที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ แม้ความจริงในที่สุดจะทำได้ก็ตาม แต่เป็นคำอนุญาตให้ของแบงก์ชาติเฉพาะเรื่องนี้เท่านั้น

ผมก็คิดว่าบริการใหม่ ๆ เหล่านี้เป็นแนวโน้มหลีกเลี่ยงไม่พ้นวิวัฒนาการเช่นที่ว่านี้ ขณะนี้บังเอิญเศรษฐกิจกำลังดี มีอัตราการเติบโตสูงส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เคยลดลงมาก เมื่อปี 2529 จึงขยับสูงขึ้นอีก และทำให้ดูเป็นปัญหาน้อยลง แต่ในระยะยาวแล้วคงเป็นเรื่องที่จะต้องคิดให้ดี เพราะเกี่ยวพันกับความมั่นคงของสถาบันการเงินโดยพื้นฐานทีเดียว การปรับเปลี่ยนให้ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกิจได้กว้างขวางขึ้นจะเป็นหัวใจสำคัญอันหนึ่งที่จะช่วยตอบปัญหานี้ได้

ปัญหาการกำกับดูแลตลาดทุน ขณะนี้การลงทุนต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในตลาดทุนบ้านเรามากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่นในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินจากต่างประเทศที่นำเข้ามาเพื่อลงทุนซื้อหุ้น (PORTFOLIO INVESTMENT) ถึงประมาณ 35,000 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์อยู่แล้วถึงหนึ่งเท่าตัว การที่ต่างประเทศเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นเช่นนี้เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นบ้านเราเฟื่องฟู และขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัญหาพึงระมัดระวังตามมาก็คือ เราจะมุ่งแต่ในเชิงปริมาณไม่ได้และควรจะเน้นการพัฒนาตลาดทุนในเชิงคุณภาพให้มากขึ้น เพราะตลาดทุนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแท้จริงนั้น ควรจะเป็นตลาดของผู้ลงทุนจริง ๆ ไม่ใช่ตลาดของนักเก็งกำไร ขณะเดียวกันก็ควรที่จะมีการเตรียมตัวให้พร้อมด้วยว่า เงินทุนต่างประเทศที่เข้ามามาก ๆ นั้น หากวันหนึ่งข้างหน้า ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอันใด เกิดไหลออกไปมาก ๆ เราจะมีมาตรการหรือวิธีการอย่างไรบ้าง ที่จะป้องกันหรือลดทอนผลกระทบที่จะเกิดต่อตลาดหุ้น ตลอดจนสภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม

เรื่องนี้เป็นปัญหาสำคัญและควรจะหาทางป้องกันไว้เสียแต่เนิ่น ๆ โดยพยายามเลือกสรรเงินลงทุนจากต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนระยะยาวอย่างแท้จริง ไม่ใช่เงินทุนประเภทฉาบฉวยเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น ๆ หรือเอาเข้ามาเพื่อปั่นตลาด

ในประเด็นนี้ ผมคิดว่าเรายังไม่ได้เตรียมพร้อมเท่าที่ควร ที่ทำไปแล้ว อย่างเช่นสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนประเภท CLOSE-END FUND เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ควบคุมได้เฉพาะกองทุนที่ขออนุญาตผ่านธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นยังมีการลงทุนซื้อหุ้นจากต่างประเทศอีกมากที่เข้ามาในลักษณะ OPEN END FUND โดยทางการไม่อาจจะควบคุมได้ แน่ละ การควบคุมเข้มงวดมากจนขาดความยืดหยุ่น และสูญเสียโอกาสที่ดีในการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินออมในประเทศ

จุดนี้คือสิ่งที่ผมเห็นว่าหน่วยงานของรัฐจะต้องเพิ่มบทบาทในการกำกับและดูแลการพัฒนาตลาดทุนอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยเร่งสร้างกลไกมาตรการตรวจสอบ และควบคุมที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันผลกระทบจากการไหลเข้าออกอย่างรวดเร็วของเงินทุนต่างประเทศ ตลอดจนการปั่นตลาดโดยนักเก็งกำไรในรูปแบบต่าง ๆ ธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นเองก็ควรที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และทำธุรกิจอย่างมีจรรยาไม่เป็นเครื่องมือในการฉ้อฉลหรือฝ่าฝืนกฎหมาย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us