Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 ธันวาคม 2551
กองสำรองฯสังเวยหุ้น2หมื่นล. จับตาปีหน้าศก.หดฉุดเม็ดเงิน             
 


   
search resources

Funds




กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สังเวยดัชนีหุ้นร่วง พบตัวเลขเดือนกันยายนและตุลาคม เงินลงทุนหายไปกว่า 18,211.85 ล้านบาท โดยตุลาคมเดือนเดียว วูบไปกว่า 14,243.95 ล้านบาท ผู้จัดการกองทุนชี้ เป็นไปตามตลาด ไม่ใช่การไถ่ถอน เผยมีนายจ้างห่วงขาดทุน หารือขอยกเลิกกองทุนบ้าง แต่ตามกฏหมายยังไม่สามารถทำได้ ส่วนปัญหาการเลิกจ้าง ยังไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เหตุส่วนใหญ่เป็นแรงงานระดับล่าง แต่ปีหน้าต้องจับตา หวั่นปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ฉุดเงินใหม่ส่งเข้ากองทุน

รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในช่วงเดือนกันยายนและเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ลดลงอย่างมาก เนื่องจากในช่วง 2 เดือนดังกล่าว ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้เงินลงทุนในส่วนของกองทุนที่ลงทุนในหุ้นปรับลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้ ในช่วงเดือนกันยายน เงินลงทุนทั้งระบบลดลงไปกว่า 3,967.90 ล้านบาท และในเดือนตุลาคม เงินลงทุนทั้งระบบปรับลดลงไปกว่า 14,243.95 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงรวมกันประมาณ 18,211.85 ล้านบาท ส่งผลให้เงินลงทุนรวมล่าสุด ขยับลงมาอยู่ที่ 446,373.60 ล้านบาท จาก464,585.45 ล้านบาทในเดือนสิงหาคม

นายเกษตร ชัยวันเพ็ญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงสูงที่สุด ซึ่งสูงกว่า 20% ดังนั้น จึงส่งผลให้เงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นปรับลดลงตามไปด้วย ซึ่งปัจจัยนี้เองเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เงินลงทุนระบบลดลงดังกล่าว โดยไม่ใช่สาเหตุจากการไถ่ถอนเงินลงทุนออกไปแต่อย่างใด เห็นได้จากจำนวนกองทุนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงจาก 511 กองทุน

ส่วนการเลิกจ้างพนักงานที่มีเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมานั้น มองว่ายังไม่ใช่ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้เงินลงทุนลดลง เนื่องจากยังไม่มีกองทุนใดถอนเงินลงทุนออกไป เพียงแต่ลดลงจากภาวะตลาดหุ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีนายจ้างปรึกษาเข้ามาเช่นกันว่าจะสามารถยกเลิกกองทุนได้หรือไม่ แต่เป็นจำนวนที่ไม่มากนัก ซึ่งเรื่องนี้ ตามกฎหมายแล้วไม่สามารถทำได้

"เรื่องของการเลิกจ้างน่าจะเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาดูในปีหน้า เพราะปีหน้าจะเห็นผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจชัดเจนมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการส่งเงินเข้ากองทุนด้วย ดังนั้น เรื่องนี้เราเองต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดด้วย"นายเกษตรกล่าว

ด้านนายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.อยุธยา กล่าวว่าในทำนองเดียวกันว่า เงินลงทุนที่ลดลงดังกล่าว สาเหตุหลักมาจากดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับลดลงอย่างมากในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ส่วนการเลิกจ้างพนักงานนั่น คิดว่าไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะส่วนใหญ่เป็นการเลิกจ้างแรงงานระดับล่าง ที่ไม่น่าจะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ทั้งนี้ ในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายใต้การบริหารของบริษัทซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นนั้น ก็ปรับลดลงเช่นกัน แต่เนื่องจากเรายังมีเงินลงทุนใหม่เข้ามา จึงทำให้เห็นการเพิ่มขึ้นอยู่ โดยไม่ได้ปรับลดลงตามอุตสาหกรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการรายงานส่วนแบ่งการตลาด 10 อันดับแรกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2551) ของบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน พบว่า บริษัทจัดการที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับที่ 1 คือ ยังคงเป็นบลจ. ทิสโก้ โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 65,802.60 ล้านบาท ลดลงประมาณ 959.75 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 66,762.35 ล้านบาท

อันดับที่ 2 บลจ. กรุงไทย โดยมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 58,649.87 ล้านบาท ลดลงสูงที่สุดประมาณ 4,379.05 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 63,028.92 ล้านบาท อันดับที่ 3 บลจ. เอ็มเอฟซี ซึ่งมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 53,467.07 ล้านบาท ลดลง 1,198.24 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 54,665.31 ล้านบาท อันดับที่ 4 บลจ. ไทยพาณิชย์ มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 51,703.28 ล้านบาท ลดลง 741.34 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 52,444.63 ล้านบาท

อันดับที่ 5 บลจ. กสิกรไทย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 49,995.05 ล้านบาท ลดลง 1,692.37 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 51,687.42 ล้านบาท อันดับที่6 บลจ. ไอเอ็นจี(ประเทศไทย) ซึ่งมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 41,467.99 ล้านบาท ลดลง 1,367.37 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 42,835.53 ล้านบาท อันดับที่ 7 ธนาคารกรุงเทพ มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 39,604.53 ล้านบาท ลดลง 1,223.31 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 40,824.84 ล้านบาท

อันดับที่ 8 บลจ. บีที โดยมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 17,468.80 ล้านบาท ลดลง 245.75 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 17,714.56 ล้านบาท อันดับที่ 9 บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ (เอไอเอ) โดยมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 15,862.83 ล้านบาท ลดลง 577.25 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 16,440.08 ล้านบาท และอันดับที่10 บลจ. ฟินันซ่า โดยมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 12,913.01 ล้านบาท ลดลง 390.33 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 13,303.34 ล้านบาท

ทั้งนี้ บลจ. อยุธยา ถือเป็นบลจ.รายเดียวที่มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น โดยมีเงินลงทุนทั้งสิ้น 10,266.94 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 85.90 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนกันยายนอยู่ที่ 10,181.04 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us