|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ชงบอร์ดฯบีทีเอสไฟเขียวอนุมัติการลงทุนอสังริมทรัพย์ 3-4 โปรเจ็กต์ ผุดโรงแรมและคอนโดมิเนียมติดสถานีรถไฟฟ้า มูลค่า 4 หมื่นล้านบาท และตั้งบริษัทร่วมทุนกับบีเอ็มซีแอลทำตั๋วร่วมในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ โดยบริษัทฯเตรียมขายหุ้นกู้สกุลบาทวงเงินไม่เกิน 2หมื่นล้านบาทในก.พ.52 เพื่อชำระหนี้เดิมและลงทุนอสังริมทรัพย์ฯ ลุ้นเข็นบีทีเอสเข้าตลาดหุ้นไตรมาส 2 นี้หากภาวะตลาดหุ้นไม่ดีคงเลื่อนไปเป็นไตรมาส 3/52แทน
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(บีทีเอส) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯในวันที่ 9 ธ.ค.นี้จะมีการพิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า และการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับบีเอ็มซีแอล เพื่อจัดทำตั๋วร่วม ซึ่งการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น เบื้องต้นจะให้บีทีเอสเป็นผู้ลงทุนก่อนหลังจากนั้นจะตั้งบริษัทลูกขึ้นมาทำธุรกิจแทน
ทั้งนี้การลงทุนอสังหาริมทรัพย์นั้น บริษัทฯได้มีการเจรจากับเจ้าของพื้นที่หรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งจะเสนอบอร์ดฯอนุมัติการลงทุน 3-4 โครงการ อาทิ โครงการคอนโดมิเนียมและโรงแรม ใช้เงินลงทุนประมาณ 3 -4 หมื่นล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้มีต้นทุนก่อสร้างเอง และอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างอยู่ คาดว่าจะบริษัทฯจะรับรู้รายได้จากการลงทุนใน 3ปีข้างหน้า ซึ่งสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนั้นน่าจะสดใสกว่านี้
สำหรับแหล่งเงินทุนนั้นจะมาจากการออกขายหุ้นกู้บริษัทฯส่วนหนึ่ง และการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศ ซึ่งอัตราหนี้สินต่อทุนคงอยู่ที่ 1 ต่อ 1 เท่า เพราะสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันแบงก์ค่อนข้างเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์มาก ทำให้วงเงินกู้คงไม่สูงมาก และบริษัทฯมีเงินสดในมืออยู่ 7พันกว่าล้านบาท
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินบาท ประเภทไม่ด้อยสิทธิ วงเงินไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งบริษัทฯมีแผนจะออกหุ้นกู้ไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาทเสนอขายในครั้งเดียวในช่วงเดือนก.พ. 2552 หุ้นกู้อายุไม่น้อยกว่า 5ปี ซึ่งจะหารือกับบริษัทรับประกันการจำหน่าย (อันเดอร์ไรเตอร์)จะมีการแต่งตั้ง 2 ราย เป็นสถาบันการเงินในและต่างประเทศที่มีสาขาในไทยอย่างละแห่ง ซึ่งวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นกู้ครั้งนี้ หากบริษัทฯขายหุ้นกู้ได้ครบวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ก็จะนำมาชำระคืนหนี้เงินกู้เดิม 1 หมื่นล้านบาท และที่เหลือจะใช้ลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่อไป
ส่วนความคืบหน้าในการนำบีทีเอสเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯว่า ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้อนุมัติการนำบริษัทฯเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 4,800 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียนเดิม 16,236.51 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่ 21,036.51 ล้านบาท โดยจะออกหุ้นสามัญใหม่ 4,800 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อสนอขายให้ประชาชนทั่วไป(ไอพีโอ) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นทำไฟลิ่ง คาดว่าจะเสนอขายหุ้นไอพีโอได้ไตรมาส 2/2552
อย่างไรก็ตาม หากภาวะตลาดหุ้นไทยไม่เอื้ออำนวย ก็อาจจะเลื่อนการเข้าตลาดหุ้นออกไปเป็นไตรมาส 3 แทน ซึ่งเชื่อว่าราคาหุ้นบีทีเอสน่าจะสูงกว่าราคามูลค่าตามบัญชีที่อยู่หุ้นละ 3-4 บาท สำหรับปริมาณหุ้นที่จะเสนอขายไอพีโอนั้นอาจจะมากกว่า 4,800 ล้านหุ้น โดยจะมีหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นเดิมเสนอขายร่วมด้วย แต่ทั้งนี้คงต้องรับฟังความคิดเห็นจากที่ปรึกษาทางการเงินก่อน โดยบริษัทฯจะเพิ่มที่ปรึกษาทางการเงินในการขายหุ้นนอกเหนือจากการแต่งตั้งบล.ภัทร
ในการขายหุ้นไอพีโอครั้งนี้ เนื่องจากบริษัทฯทำธุรกิจด้านระบบสาธารณูปโภค สัดส่วนการถือหุ้นโดยต่างชาติไม่เกิน 49%ของทุนจดทะเบียน ซึ่งปัจจุบันต่างชาติถือหุ้นบีทีเอสอยู่แล้วประมาณ 40% จึงมีช่องที่ต่างชาติจะเข้ามาถือหุ้นได้เพิ่มเติมอีก
" หากบริษัทฯออกหุ้นกู้ได้ครบวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท การระดมทุนขายหุ้นไอพีโอก็คงไม่จำเป็นต้องระดมทุนมาก แต่ถ้าหากขายหุ้นกู้ได้ไม่ถึง 2หมื่นล้านบาท คงจะต้องมีการขายหุ้นไอพีโอเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีเงินเพียงพอที่จะลงทุนในอนาคต"นายสุรพงษ์กล่าว
ความคืบหน้าโครงการส่วนต่อขยายจากสถานีตากสินไปยังวงเวียนใหญ่นั้น ขณะนี้กำลังเจราเรื่องราคาค่าโดยสาร คงต้องรอผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ แต่จากการหารือกับผู้ว่าฯกทม.คนเดิมอยากให้อยู่ในกรอบค่าบริการเดิมคือ 15-40 บาท/เที่ยว ส่วนการเปิดให้บริการนั้น คาดว่าจะต้องเลื่อนออกไปถึงส.ค. 2552 จากเดิมที่กำหนดว่าเม.ย. 2552
ดร.อาณัติ อาภาภิรม กรรมการ บีทีเอส กล่าวว่า บีทีเอสได้เปิดตัว"บัตรสมาชิกหนูด่วนพลัส" ซึ่งเป็นโครงการบัตรสะสมคะแนนสำหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สมัครสมาชิก โดยผู้สมัครจะได้รับสิทธิประโยชน์ อาทิ คะแนนสะสมเพื่อแลกเป็นคูปองส่วนลดในการเติมมูลค่าการเดินทางในบัตรบีทีเอส สมาร์ทพาส ประเภทเติมเงิน หรือใช้เป็นส่วนลดในการเติมจำนวนเที่ยว รวมทั้งได้รับสิทธิพิศษในการเข้าร่วมกิจกรรมและการส่งเสริมการขายที่บริษัทฯจัดขึ้น โดยสามารถสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซด์www.nuduan-plus.com ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในโอกาสที่บีทีเอสให้บริการครบ 9ปีเพื่อตอบแทนผู้โดยสารให้การอุดหนุน และยังเป็นการขยายฐานลูกค้าใหม่ เชื่อว่าจะทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าหมายว่าปี 2552 จำนวนผู้โดยสารจะสูงกว่าปีนี้ 4% จากปัจจุบันที่มีจำนวนผู้โดยสารในวันปกติ 4.2 แสนคน/วัน วันอาทิตย์ มีจำนวนผู้โดยสาร 3.8 แสนคน/วัน ซึ่งจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4%
ที่ผ่านมา จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 10% แต่ในช่วงระยะหลังจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่มาก เนื่องจากพฤติกรรมการใช้รถไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป และการพัฒนาอสังริมทรัพย์ฯรอบเส้นทางรถไฟฟ้าชะลอตัวลงเมื่อเทียบจากก่อนหน้านี้ที่มีอัตราการขยายตัวสูง รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทำให้ ประชาชนเดินทางลดลง แต่เชื่อว่าการเดินทางโดยรถไฟฟ้ายังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชนในกรุงเทพฯที่มีการจราจรหนาแน่น
สำหรับการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารนั้น ปีหน้าบีทีเอสยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารจากปัจจุบันที่จัดเก็บอยู่ 15-40 บาท/เที่ยว ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่ต่ำกว่าเพดานที่กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งกำหนดไว้ที่ 15-45 บาท/เที่ยว สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทฯคาดว่าจะมีกำไรจากการดำเนินงานประมาณ 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5%
ก่อนหน้านี้ ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของบีทีเอสเมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากบริษัทได้ดึงพันธมิตรเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง ทำการชำระหนี้ได้ตามแผนฯ โดยคงเหลือหนี้อีก 1หมื่นล้านบาทชำระภายใน 8ปีข้างหน้า ส่งผลให้โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่บีทีเอสภายหลังการฟื้นฟูกิจการ เป็นดังนี้ คือ 1. กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ ถือหุ้นผ่านบริษัท สยามเรลล์ทรานสปอร์ต แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ จำกัด ถือหุ้นรวม 53.65% 2. กลุ่มคอนซอร์เตียม ระหว่างAshmore Investment Management Limited และNoondays Asset Management ถือหุ้นรวม 38.50% และ3. กลุ่มของดร.เชง ประธานกลุ่มนิวเวิลด์ ฮ่องกง ถือหุ้น 2.67% ลดลงจากเดิมที่กลุ่มนิวเวิลด์ถือหุ้นบีทีเอสเกือบ 20% รวมทั้ง 3 กลุ่มถือหุ้นบีทีเอสทั้งสิ้น 94.82%
ทั้งนี้ Ashmore Investment Management Limited เป็นกองทุนที่เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้าของโลก ที่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก และ Noondays Asset Management เป็นกองทุนเพื่อการลงทุนซึ่งบริหารโดยนูนเดย์ แอสเส็ท แมนเนจเม้นท์ พีทีอี ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ลงทุนที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์
|
|
|
|
|