Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532
กานต์ คูนซ์ กับความฝันในอุดมการณ์             
 


   
search resources

แอดวาสตาร์ กรุ๊ป
กานต์ คูนซ์
Agriculture
Food and Beverage




กานต์ คูนซ์ (KARL KUNZ) ฝรั่งอเมริกันครึ่งหนึ่งไทยครึ่งหนึ่งคนนี้หายหน้าหายตาไปจากวงการคอมพิวเตอร์อยู่นาน

ก่อนหน้านั้นทราบว่าเขาเป็นนักพัฒนาเกษตรที่บริษัทอดัมส์ อินเตอร์เนชั่นแนลไม่มีวันลืมในความสามารถ โดยเฉพาะผลงานการริเริ่มและพัฒนาโครงการเกษตรใบยาสูบพันธุ์ TURKISH ในภาคอีสานที่มีเกษตรกรเข้าร่วมในโครงการมากถึง 40,000 ครอบครัว

และด้วยเหตุที่มีเกษตรกรเข้าร่วมมากถึง 40,000 ครอบครัวนี้เอง ทำให้บัญชีต่างๆ ในโครงการต้องใช้คอมพิวเตอร์มาช่วย จากจุดนี้เองทำให้เขาหลงใหลกับเจ้าเครื่องสมองกลนี้เอามาก ๆ จนต้องขอเวลาไปเรียนคอมพิวเตอร์ต่อที่แคลิฟอร์เนียอีก 1 ปี

จบมาก็พอดี บริษัทอดัมส์ อยากเปิดธุรกิจคอมพิวเตอร์ ชื่อบริษัทแอคชั่น กานต์คูนช์ ก็ได้นั่งบริหารตามประสาคนกำลังร้อนวิชา

ยิ่งได้ขายยี่ห้อ AT&T ด้วยแล้ว กานต์ คูนช์ก็เลยพลอยสนุกไปกับมันอยู่นานถึง 5 ปีเต็ม ก็ออกมาอยู่กับธุรกิจเกษตรเหมือนเดิม

"ผมชอบในนโยบายของบริษัทกลุ่มแอดวาสตาร์ที่ไม่เอาเปรียบเกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับอุดมการณ์นักพัฒนาการที่ผมเคยทำมาก่อน" กานต์ คูนช์ เล่าให้ "ผู้จัดการ" ถึงที่มาเข้าร่วมกับบริษัทแห่งนี้

กานต์ คูนช์ ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทกลุ่มแอดวาสตาร์ ซึ่งทำธุรกิจอุตสาหกรรมสัตว์น้ำพวกกุ้งกุลาดำ มีฐานผลิตและแปรรูปกุ้งอยู่ที่อำเภอระโนด จ.สงขลา

เมื่อปลายปีที่แล้ว บริษัทแอดวาสตาร์ได้ลงทุนร่วมกับบริษัททราว อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของยุโรป ในสัดส่วน 60 : 40 เหตุผลเพราะอุตสาหกรรมผาลิตกุ้งกุลาดำหัวใจความสำเร็จอยู่ที่การพยายามลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุดบนพื้นฐานคุณภาพกุ้งดีที่สุด และสิ่งหนึ่งที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนี้ได้ก็อยู่ที่การให้อาหารกุ้งที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้ได้เนื้อกุ้งที่มีคุณภาพดีตามความต้องการของตลาด ซึ่งมองจากจุดนี้ บริษัททราว อินเตอร์เนชั่นแนล มีความรู้ความชำนาญและเทคโนโลยีการผลิตอาการกุ้งสูงพอที่จะมาเสริมช่วยให้เป้าหมายการผลิตกุ้งของบริาทบรรลุได้

"เกษตรกรที่ไม่มีความรู้ในการเลี้ยงกุ้งดีพอ ใช้อาหารกุ้งที่ไม่มีคุณภาพและปริมาณอาหารมาก สัดส่วนอาหารกุ้งต่อเนื้อกุ้งสูงถึง 4-5 : 1 กก. ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งสูงมากเกินไป แม้หากปัจจัยด้านการตายของกุ้งไม่มาก (ซึ่งนับว่าโชคดี) แต่ราคากุ้งไม่มีความแน่นอน ความเสี่ยงจากการลงทุนจึงสูงมาก" แหล่งข่าวในกรมประมงให้ข้อสังเกตกับ "ผู้จัดการ"

บริษัทใหญ่ ๆ ที่ลงทุนในอุตสาหกรรมกุ้งกุลาดำครบวงจรอย่างแอดวาสตาร์ ซีพี และยูนิคอร์ด ต่างรู้ดีว่า การควบคุมต้นทุนการผลิตกุ้งให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม มีความเสี่ยงต่ำนั้น สัดส่วนในปริมาณอาหารต่อเนื้อกุ้งที่ได้ควรจะอยู่ใน 1.5-1.8 กก. ต่อ 1 กก.เท่านั้น

กานต์ คูนช์ ได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตกุ้งรุ่นแรกที่เลี้ยงในโครงการของบริษัทแอดควาสตาร์ ปรากฎว่าสามารถทำรายได้ให้เกษตรกรถึงครอบครัวละ 200,000 บาท เทียบจากเมื่อก่อนที่เกษตรกรลงทุนปลูกข้าวมีรายได้ครอบครัวละ 6,000 บาทเท่านั้น

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในโครงการของบริษัทแอควาสตาร์เกือบทั้งหมดเคยเป็นชาวนาปลูกข้าวที่ยากจนมาก่อน เมื่อแอควาสตาร์เข้าไปขายแนวคิด "เพื่อนร่วมพัฒนา" ในธุรกิจเลี้ยงกุ้งของบริษัทก็มีเกษตรกรละทิ้งจากการทำนาเข้ามาร่วมเลี้ยงกุ้งกับบริษัทร่วม 300 ครอบครัว

คำว่า "เพื่อนร่วมพัฒนา" เป็นแนวคิดทางอุดมการณ์ที่บริษัทถือเป็นนโยบายเลย คือบริษัทไม่ได้มองเกษตรกรเป็นลูกจ้างที่สามารถเข้าไปสูบเลือดสูบเนื้อเพื่อกำไรสูงสุดในธุรกิจของบริษัท แต่เป็นการมองเกษตรกรด้วยความหมายด้านการพัฒนาไปกับบริษัท คูนช์ยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ว่าบริษัทไม่ต้องการที่ดิน่ของเกษตรกรที่เข้าร่วมในโครงการสักตารางนิ้วเดียว เกษตรกรใช้ปัจจัยการผลิตทุกอย่างจากบริษัทไม่ว่าจะเป็นเงินลงทุนที่บริษัทจัดหามาจากธนาคารเอเชียให้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ 11% อาหารกุ้งที่บริษัทผลิตได้ขายให้ราคาถูกกว่าตลาด ลูกกุ้งที่บริษัทเพาะเลี้ยงขึ้นมา เกษตรกรเพียงทำหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงกุ้งภายใต้การฝึกฝนอบรมและควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญของบริษัท และเมื่อกุ้งเติบโตเต็มที่แล้ว บริษัทจะเป็นผู้จับกุ้งมาขาย โดยบริษัทรับซื้อในราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไปทั้งหมด และถ้าหากว่ากุ้งที่บริษัทขายออกต่างประเทศมีกำไร บริษัทจะนำมาแบ่งเฉลี่ยนส่วนหนึ่งของกำไรนั้นให้เกษตรกรที่ขายกุ้งให้บริษัทด้วย ซึ่งวิธีการเช่นนี้เหมือนกับการขายของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตแอปเปิ้ลในรัฐวอชิงตันสหรัฐฯ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง บริษัทได้ตัดคนกลางออกจากตลาดทำให้บริษัทสามารถวางแผนราคารับซื้อได้ล่วงหน้า และนอกจากนี้ "บริษัทก็จะสามารถคาดการณ์คุณภาพและปริมาณกุ้งที่จะผลิตได้ล่วงหน้า ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการทำตลาดกุ้งส่งออกของบริษัท" กานต์คูนช์ เลาถึงผลดีอีกจุดหนึ่งในโครงการให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ปีนี้เป็นปีแรกที่บริษัทแอควาสตาร์เก็บเกี่ยวกุ้งได้ 160 ตัน คาดหมายว่าสิ้นปีนี้ คงเก็บเกี่ยวได้อีก 160 ตัน เป็น 320 ตัน ผลผลิตทั้งหมดนี้ส่งออก 100% และเมื่อเทียบกับผลผลิตรวมทั้งหมดประมาณปีละ 40,000 ตัน ส่วนแบ่งตลาดผลผลิตของบริษัทจะตกราว ๆ 1%

กานต์ คูนช์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า เกษตรกรลงทุนเลี้ยงกุ้งในโครงการของบริษัทบ่อละ 800,000 บาท แต่รายได้ที่ได้ปีละ 1,000,000 กว่าบาท มีกำไรตกเฉลี่ยประมาณ 200,000 บาทใน 4 ปี จะคุ้มทุนและปีที่ 5 เป็นต้นไป ไม่ต้องผ่อนชำระค่าบ่อกับธนาคารอีกต่อไป

เมื่อเกษตรกรมีกำไรและรายได้มากขึ้นอย่างมีหลักประกัน บริษัทอะควาสตาร์ซึ่งกล้าคิด กล้าทำ ธุรกิจเลี้ยงกุ้งครบวงจร โดยใช้ระบบ "เพื่อนร่วมพัฒนา" อย่างแท้จริง ก็จะเจริญก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กับเกษตรกรด้วย

วันนี้ กานต์ คูนช์ มีความสุขมากกับงานที่ทำอยู่เขาเคยยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ว่า โดยแท้จริงตัวเขารักงานเกษตร และอยากใช้ชีวิตอยู่กับงานเกษตร เขาทำธุรกิจโดยใช้นโยบายว่า เมื่อเกษตรกรสมาชิกมีกำไร และสำเร็จในอาชีพบริษัทจะสำเร็จตามไปด้วย

"มันเป็นการลดช่องว่างความรวยความจนที่เป็นรูปธรรมและเป็นไปได้มากที่สุด" เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงอุดมการณ์และนโยบายที่บริษัทอะควาสตาร์ทำอยู่ว่ามีผลต่อการพัฒนาชนบทไทยอย่างแท้จริง ไม่ใช่มีแต่ลมปาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us