|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อาร์เอส พบจุดบอดค่ายเพลง ปรับทัพวางหมากถล่มงานดนตรีปีหน้า 6 ค่าย หวังกู้ยอดด้วยดิจิตอลโปรดักส์ หลังปีนี้ซีดีและวีซีดี ขายยากขึ้น ส่งผลทำรายได้เพียง 800 ล้านบาท โต 5% จากเดิมที่คาดจะโต 15% ติดลบขาดทุนเล็กน้อย
นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส เปิดเผยว่า จากเดิมที่ธุรกิจเพลงของบริษัทฯ ได้แตกค่ายเพลงออกมามากสุดถึง 12 ค่าย และลดลงเหลือ 8 ค่าย ในช่วงปีที่ผ่านมา ทางบริษัทฯพบว่า ในความเป็นจริงแล้ว แต่ละค่ายมีโปรดักส์ที่ไม่แตกต่างกัน จึงได้มีแนวคิดช่วงกลางปีที่ผ่านมา กับ กลยุทธ์ มิวสิค เซกเม้นท์ แชมเปี้ยน โดยลดจำนวนค่ายลง มุ่งสร้างแบรนด์ และจับกลุ่มเป้าหมายให้ตรงกลุ่มมากยิ่งขึ้น
ส่งผลให้มีจำนวนค่ายทั้งหมดเหลือ 6 ค่าย เป็นค่ายเดิม 2 ค่าย คือ กามิคาเซ่ จับตลาดวัยรุ่น และ อาร์เอสมิวสิค จับตลาดแมส และเพิ่มค่ายใหม่เข้ามาอีก 4 ค่าย ในกลุ่มเพลงคนรุ่นใหม่ คือ ค่ายเมลโลโทน, เพลนตี้ มิวสิค, 9Richter และ Reggae Villageซึ่งได้เปิดตัวมาได้สักระยะ คาดว่าใน 1 ปี จะมีสัดส่วนรายได้ที่ 15% จากที่ขณะนี้สร้างรายได้ให้ 5-8% ของกลุ่มเพลง ส่วนอีก 2ค่าย มีสัดส่วนได้รวมกว่า 90%
"การที่มีการปรับค่ายเพลงใหม่นี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากพบว่า รายได้จากซีดีและวีซีดีลดลง และที่สำคัญกลุ่ม 4 ค่ายใหม่ จะช่วยสร้างรายได้จากการซีดี วีซีดี, ดิจิตอลโปรดักส์ และโชว์บิซ ได้เป็นอย่างดี เพราะกลุ่มคนฟังกลุ่มนี้ จะเป็นนีชมาร์เก็ต ที่มีการบริโภคในสื่อดังกล่าวค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่าจากเดิมทำเพลงเหล่านี้ทำแล้วไม่คุ้มก็ตาม นอกจากนี้บริษัทฯมองว่า การเดินหน้าธุรกิจเพลงต่อไป ควรจะเน้นในเรื่องแบรนด์ของค่ายเพลงมากขึ้น โดยต้องมีความชัดเจนในแต่ละค่ายด้วย"
ทั้งนี้ในภาพรวมรายได้กลุ่มเพลงของอาร์เอส คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีรายได้ที่ 800 ล้านบาท โตขึ้นเพียง 5% เทียบจากปีก่อน หรือต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ถึง 10% โดยส่วนที่ต่ำกว่าเป้านี้มาจากรายได้ของกลุ่มซีดีและวีซีดีลดลงเป็นหลัก ขณะที่รายได้จากกลุ่มดิจิตอลค่อนข้างดี ทั้งนี้รายได้ของธุรกิจเพลง มาจาก 3 ส่วนใหญ่ คือ ซีดีและวีซีดี 30%, ดิจิตอล 65% และลิขสิทธ์เพลง 5% โดยรายได้จากธุรกิจเพลงนี้ สร้างรายได้ให้บริษัทฯที่สัดส่วน 35% ตามมาด้วย มีเดียอีก 40% เป็นอันดับ1 และที่เหลือมาจากกลุ่มโชว์บิซอีก 25% ซึ่งในภาพรวมนั้น ปีนี้ยังติดภาวะขาดทุนเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจในปีหน้า กลุ่มเพลงยังไม่มีการลงทุนใดๆ จะมุ่งเน้นโปรดักส์ที่มีอยู่ มุ่งสร้างแบรนด์ดิ้ง จับกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เนื่องจากมองว่าปีหน้าจะต้องทำธุรกิจอย่างระมัดระวัง เพราะแนวโน้มลูกค้า จะมีการตัดงบโฆษณาลง ดังนั้นกลยุทธ์หนึ่งที่จะนำมาใช้คือ การโควกับพาทเนอร์ทางธุรกิจให้มากขึ้น เช่น โฟร์มด กับการเปิดตัว ชีซ่าซิม ร่วมกับ วันทูคอล คาดว่าในปีหน้า จะได้เห็นกลยุทธ์เหล่านี้กับค่ายเพลงน้องใหม่อีก 4 ค่าย เป็นบายเคสไป
นางพรพรรณ กล่าวต่อว่า สำหรับคอนเท้นท์ที่บริษัทฯมีอยู่ ปีหน้ามองว่า 1.คอนเท้นท์กลุ่มเพลง ไม่น่าเป็นห่วง เพราะรู้ล่วงหน้าแล้วว่ากลุ่มซีดีและวีซีดีจะลดลง แต่กลุ่มดิจิตอลจะโตขึ้นทดแทนไม่ต่ำกว่า 30% จากที่ทำได้ในปีนี้ 2.คอนเท้นท์ภาพยนตร์ ยอมรับว่าลำบาก เพราะขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้บริโภค อย่างปีนี้ ภาพยนตร์ไทยถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ แนวโน้มตลาดขึ้นอยู่กับตรีมหนังด้วย
3.โชว์บิซ มองว่าปีหน้าไม่น่าจะมีอะไรมากนัก ผลกระทบน่าจะน้อย เพราะรายได้ส่วนนี้กว่า 40-50% มาจากสปอนเซฮร์ ที่เหลือ คือการขายบัตร ถึงแม้บริษัทฯจะพลาดกับคอนเสิร์ต 100 Rock ไปก็ตาม เพราะมีเหล้า 100 ไปเปอร์เป็นผู้ซัพพรอตอยู่ ทั้งนี้มีแนวโน้มที่จะนำกลับมาทำใหม่ ถึงแม้จะศิลปินที่ตอบรับกลับมาจะไม่ทั้งหมด และ4.คอนเท้นท์มีเดีย มองว่าปีหน้า สื่อทีวี วิทยุ ได้รับผลกระทบแน่ๆ ลูกค้าจะตัดงบลง อย่างไรก็ตามสื่ออินสโตร์ที่บริษัทฯทำอยู่ น่าจะช่วยดึงรายได้ในส่วนนี้ได้ เพราะขณะนี้ได้ขยายจาก 500 สาขาในโมเดิร์นเทรด เป็น 700 สาขาแล้ว ทั้งนี้ในกลุ่มรายการทีวี คาดว่าจะมีเพิ่มอีก 1-2 รายการ เป็นช่วงเวลาไพร์มไทม์ ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าจะทำรายการออกมาในรูปแบบใด
|
|
|
|
|