Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532
ปัญจพลไฟเบอร์ มาเรียบ และมาแรง             
 


   
search resources

ปัญจพลไฟเบอร์
Pulp and Paper
Loan
ปัญจพล พัลพ์ อินดัสตรี้
ปัญจพล เปเปอร์ อินดัสตรี้




แม้จะเป็นผู้ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกรายใหญ่สุดของเมืองไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 50 ปี แต่ปัญจพลไฟเบอร์ หรือเรียกกันในวงการด้วยชื่อเก่าว่า "เฮี่ยงเซ้ง" กลับไม่ค่อยมีข่าวคราวออกมาสู่สาธารณชนมากเท่าไรนัก ห้าเสี่ยแห่งตระกูล เตชะวิบูลย์ พอใจที่จะเก็บเนื้อเก็บตัวทำงานกันเงียบ ๆ ไม่ต้องให้ใครมารับรู้เรื่องราวของตัวเอง

"พวกนี้เป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยกล้าคุยกับนักข่าว" คนในปัญจพลไฟเบอร์เย้ากันเล่น ๆ ถึงความเงียบของเฮี่ยงเซ้ง

ถ้าอธิบายกันให้เป็นเรื่องเป็นราว ความเงียบของเฮี่ยงเซ้งก็เป็นพฤติกรรมปกติของธุรกิจครอบครัวของคนจีนร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม ซึ่งไม่สู้จะยินดีนักกับการเป็นข่าว ไม่ว่าข่าวดีหรือข่าวไม่สู้ดีก็ขอเงียบไว้ก่อน อีกประการหนึ่งนั้น การทำกล่องกระดาษลูกฟูกเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในวงกว้างโดยตรงเหมือนสินค้าประเภทอื่น ๆ จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องทำตัวให้เป็นที่รู้จักมาก

การเซ็นสัญญาค้ำประกันและกู้เงินระหว่างปัญจพลไฟเบอร์กับธนาคารพาณิชย์ห้าแห่งเมื่อเดือนที่แล้ว จึงเป็นการเปิดตัวกันเป็นครั้งแรกของกลุ่มนี้และเหมือนเป็นการแง้มประตูให้เห็นกันนิด ๆ หน่อย ๆ ว่าในความเงียบนั้นมีความเคลื่อนไหวอยู่

สัญญาที่ลงนามกันในวันนั้นเป็นสัญญาสนับสนุนทางการเงินที่ธนาคารกสิกรไทย กรุงไทยทหารไทย นครหลวงไทยและศรีนครกับบริษัทปัญจพล พัลพ์อินดัสตรี้ และบริษัทปัญจพลเปเปอร์ อินดัสตรี้ ซึ่งทั้งสองบริษัทนี้ เป็นบริษัทใหม่ในเครือปัญจพลที่เพิ่งจะตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนแห่งละ 300 ล้านบาท

ปัญจพลพัลพ์ อินดัสตรี้ เป็นบริษัทผลิตเยื่อกระดาษแบบฟอกไม่ขาว ทั้งชนิดใยยาว จึงใช้ชิ้นไม้สับที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศเป็นวัตถุดิบ และชนิดใยสั้นที่ใช้ไม้ไผ่และยูคาลิปตัสเป็นวัตถุดิบ มีกำลังผลิตวันละ 250 ตันต่อวันหรือ 90,000 ตันต่อปีสูสีใกล้เคียงกับโรงงานที่น้ำพองของฟินิกซ์ พัลพ์แอนด์เพเพอร์ที่เป็นผู้ผลิตเยื่อกระดาษรายใหญ่ที่สุดในขณะนี้

เยื่อกระดาษที่ผลิตโดยโรงงานนี้ และเศษกระดาษเก่า จะเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตกระดาษคราฟท์ของบริษัทปัญจพล เปเปอร์ อินดัสตรี้ ซึ่งวางแผนจะผลิตออกมาวันละ 840 ตันหรือปีละ 270,000 ตันกระดาษคราฟท์ที่ได้จะป้อนให้ปัญจพล ไฟเบอร์ คอมเทนเนอร์สำหรับผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก

ปัญจพลนั้นมีโรงงานผลิตกระดาษคราฟท์อยู่แล้วที่สมุทรสาคร ซึ่งมีกำลังการผลิตปีละ 280,000 ตัน การตั้งโรงงานใหม่ขึ้นก็เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น และเพื่อส่งไปขายยังต่าประเทศส่วนหนึ่งด้วย

ทั้งสองโรงงานตั้งอยู่ที่อยุธยาและจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2535 ซึ่งจะทำให้ปัญจพล ไฟเบอร์สร้างเครือข่ายการผลิตที่ครบวงจรได้ตั้งแต่การผลิตเยื่อกระดาษ การผลิตกระดาษคราฟท์ และการทำกล่องกระดาษลูกฟูก ทั้งยังอยู่ในระหว่างการตระเตรียมโครงการปลูกป่ายูคาลิปตัสเพื่อป้อนให้กับโรงงานเยื่อกระดาษด้วย

เรื่องที่ได้รับความสนอกสนใจเป็นพิเศษในวันนั้น เป็นเรื่องของแหล่งเงินทุนที่ทำให้โครงการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษคราฟท์เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา

"การกู้เงินครั้งนี้เป็น SYNDICATION ที่มีจำนวนเงินมากที่สุดเท่าเคยทำกันมาในภาคเอกชน มีเงินให้เปล่ามากที่สุดและดอกเบี้ยถูกที่สุดด้วย" กรรณิการ์ เลิศขันติธรรม ผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชีของปัญจพล ไฟเบอร์เปิดเผยถึงจุดเด่นในการกู้เงินครั้งนี้

วงเงินกู้ที่มีการเซ็นสัญญากันในวันนั้นคือ 5,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินลงทุนของทั้งสองโครงการ โครงการผลิตเยื่อกระดาษของปัญจพล พัลพ์อินดัสตรี้ ใช้เงินลงทุน 2,902 ล้านบาท ส่วนโครงการผลิตกระดาษคราฟท์ของปัญจพลเปเปอร์อินดัสตรี้ใช้เงิน 2,400 ล้านบาท ซึ่งรวมเอาเงินสำหรับสร้างโรงไฟฟ้าไอน้ำแรดงันสูงมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาทเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโครงการและใช้ไอน้ำจากโรงไฟฟ้านี้ในการทำเยี่อกระดาษและอบกระดาษคราฟท์ให้แห้งด้วย

แหล่งเงินกู้ใหญ่มาจากสามแหล่งด้วยกันคือ EXIM BANK ของสหรัฐอเมริกา รัฐบาลแคนาดาซึ่งปล่อยเงินผ่าน EXPORT DEVELOPMENT CORPORATION หรือ EDC ที่เป็นรายเดียวกับที่ให้เงินกู้กับกลุ่มลาวาลินในโครงการประมูลสัมปทานรถไฟฟ้าของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และธนาคารไทย 5 แห่งที่เข้าร่วมลงนามในวันนั้น

EXIM BANK ให้เงินกู้จำนวน 62 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,581 ล้านบาท สำหรับซื้อเครื่องจักรในโครงการผลิตชำระคืน 15 ปีในอัตราดอกเบี้ย 7.4 เปอร์เซ็นต์

จำนวนเงิน 62 ล้านเหรียญสหรัฐนี้เป็นเงินให้เปล่า 40% หรือ 633 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินเปล่าที่รัฐบาลสหรัฐฯให้กับรัฐบาลไทยจัดสรรเองตามนโยบายสนับสนุนการส่งออก

"ดร.สุพจน์ เป็นคนไปติดต่อกับทางสหรัฐฯก่อน ซึ่งพอดีทาง EXIM BANK มีนโยบายในการปล่อยสินเชื่อสำหรับการส่งออกอยู่แล้ว" แหล่งข่าวซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารไทยที่ให้กู้เปิดเผย

ดร.สุพจน์ คนนี้ก็คือ สุพจน์ เตชะวิบูลย์ เสี่ยคนสุดท้องในบรรดาห้าเสี่ยของเตชะวิบูลย์ผู้มีดีกรีการศึกษาในระดับปริญญาเอกวิศวอุตสาหกรรมทางด้านป่าไม้จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และเป็นรองกรรมการผู้จัดการของสองบริษัทใหม่ช่วยเหลือพี่ชาย "ซาเสี่ย" สุรพงษ์ เตชะวิบูลย์ กรรมการผูจัดการบริหารงานการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษคราฟท์

นอกเหนือไปจากความเชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมป่าไม้ จนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการปลูกป่าเพื่อป้อนโรงงานเยื่อกระดาษ แล้วสุพจน์คนนี้ยังเป็นมือหนึ่งทางด้านกาเรงินของกลุ่มปัญจพลด้วย

EXIM BANK ปล่อยเงินจำนวนนี้ผ่านกระทรวงการคลังซึ่งใช้ธนาคารกรุงไทยเป็นกลไกผ่านเงินไปยังกลุ่มปัญจพลอีกทีหนึ่ง โดยที่กรุงไทยก็เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ 62 ล้านเหรียญนี้ด้วย

สำหรับเงินจากแคนาดานั้นมีจำนวน 78 ล้านเหรียญแคนาดาหรือประมาณ 1,794 ล้านบาทดอกเบี้ย 8.3% มีกำหนดชำระคืน 20 ปี โดยเริ่มชำระตั้งแต่ปีที่ 11-20 ระยะเวลาปลอดหนี้ 3 ปี 35 เปอร์เซ็นต์ของเงินกู้นี้คือประมาณ 600 ล้านบาทเป็นเงินกู้ที่ไม่คิดดอกเบี้ย

เงิน 600 ล้านบาทที่ต้นทุนเท่ากับศูนย์กับระยะเวลา 10 ปีที่ยังไม่ต้องชำระคืน บวกกับเงินส่วนที่นอนอยู่เฉย ๆ หลังหักส่วนที่ต้องคืนในระหว่างปีที่ 11-20แล้ว เป็นโจทก์ที่เชื่อกันวาคนอย่างสุพจน์ที่ว่ากันว่าช่ำชองในการทำให้เงินที่มีอยู่ในกระเป๋าออกดอกออกผลไม่แพ้ความเชี่ยวชาญในการปลูกป่า คงจะมีวิธีหาคำตอบที่จะทำให้เงิน 600 ล้านบาทนี้มีค่าเสมือนหนึ่งเงินได้เปล่าเป็นแน่

เงินกู้จาก EDC นี้เป็นเงินสำหรับซื้อเครื่องจักรในโครงการผลิตเยื่อกระดาษ การติดต่อทาบทามแหล่งเงินกู้รายนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่ทาง EDC ตกลงปล่อยเงินให้ทางกลุ่มปัญจพลเรียบร้อยแล้ว ทาแคนาดารู้เรื่องก็เลยติดต่อโดยตรงมาที่กลุ่มปัญจพล

แน่นอนว่า ประโยชน์และความเป็นไปได้ของโครงการผลิตเยื่อกระดาษเป็นแรงจูงใจให้ EDC เข้ามาสนับสนุนทางด้านการเงิน แต่แรงผลักดันที่สำคัญอีกประการหนึ่งแยกไม่ออกจากความพยายาม เข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแคนาดา โดยใช้ EDC เป็นกลไกสำคัญตัวหนึ่ง

เงื่อนไขข้อหนึ่งของ EDC สำหรับการให้กู้เงินครั้งนี้คือต้องให้รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกัน แต่เนื่องจากเป็นการปล่อยกู้ให้เอกชน รัฐบาลจึงไม่สามารถค้ำประกันให้ได้ EDC เลยเปลี่ยนเงื่อนไขให้กลุ่มปัญจพลมหาธนาคารระหว่างประเทศชั้นนำมาเป็นผู้ค้ำประกันแทน

โดยลำพังกลุ่มปัญจพลเองไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะไปหาธนาคารที่มีคุณสมบัติที่ว่ามาค้ำประกันได้ ณรงค์ ศรีสอ้าน กรรมการรองกรรมการผู้จัดการอาวุโสธนาคารกสิกรไทยคือผู้มีส่วนสำคัญในการจัดการเรื่องนี้

กสิกรไทยในตอนแรกนั้นเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องก็เพราะรู้ว่าธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ค้ำประกันปัญจพลให้กับ EXIM BANK เลยติดต่อขอเข้าไปร่วมค้ำประกันด้วย พอปัญจพลต้องการผู้ค้ำประกันอีกรายหนึ่งสำหรับเงินกู้จาก EDC ณรงค์ก็เลยอาสาหาให้

ผู้ค้ำประกันเงินกู้ EDC ที่ณรงค์ติดต่อเจรจามาได้สำเร็จก็คือ ธนาคารไดอิชิ คังโย ธนาคารญี่ปุ่นที่มีสินทรัพย์ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่แนบแน่นกับกสิกรไทยมาเป็นเวลานานแล้ว และธนาคารกสิกรไทยก็เป็นคนค้ำประกันปัญจพลให้กับไดอิชิคังโยอีกทีหนึ่ง หลังจากั้นแล้วรรงค์ก็ขยายบทบาทของกิสิกรไทยขึ้นเป็น INVESTMENT BANKER ให้กับโครงการเยื่อกระดาษและกระดาษคราฟท์อย่างเต็มตัวในบทบาทของผู้ประสานงานและผู้จัดการหาเงินกู้สำหรับโครงการ

เงินกู้ที่เป็นเงินบาทของสองโครงการนี้มีเพียง 1909 ล้านบาทเท่านั้น โดยกสิกรไทยและกรุงไทยปล่อยเงินกู้ให้ในสัดส่วนแบงก์ละ 35% ที่เหลืออีก 30% แบ่งเท่า ๆ กันระหวางทหารไทย ศรีนคร่และธนาคารนครหลวงไทย

1,144 ล้านบาทเป็นเงินสำหรับก่อสร้างโรงงานที่อยุธยาอีก 765 ล้านบาทใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานเมื่อโรงงานเสร็จแล้ว โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราโพร์มเรท

แหล่งเงินกู้ที่มีความเป็นไปได้อีกรายหนึ่งคือ LENDER BANK ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐบาลออสเตรียที่ให้เงินกู้ 100 เปอร์เซ็นต์สำหรับเครื่องจักรที่ใช้การผลิตกระแสไฟฟ้า

"ตอนนี้ยังเป็นเพียง OPTION หนึ่งเท่านั้น" กรรณิการ์ เปิดเผยเพราะขึ้นอยู่กับทางกลุ่มปัญจพลว่าจะซื้อเครื่องจักรจากซัพพลายเออร์ประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้มีการเสนอเข้ามาหลายรายด้วยกัน

รวมระยะเวลาในการติดต่อเจรจาหาแหล่งเงินกู้ครั้งนี้เป็นเวลาหนึ่งปีเศษ ๆ นับเป็นความสำเร็จของปัญจพลที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เทียบกันกับการตั้งโรงงานเยื่อกระดาษของฟินิคซ์พัลพ์เมื่อสิบปีที่แล้วที่กว่าจะวิ่งเต้นหาผู้สนับสนุนทางการเงินได้ ผู้ก่อตั้งก็เกือบจะเลิกล้มความตั้งใจแล้ว โครงการของปัญจพลเริ่มต้นด้วยความราบรื่นสดใสกว่าอย่างมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us