"ชีวิตราชการ 26 ปีผมมีความสุขมาก ผมโชคดีที่ได้ทำงานกับหลาย ๆ คนที่เขาดีและให้ประโยชน์แก่ผมมาก"
เจ้าของคำพูดข้างต้นเป็นเป็นบุคคลคนเดียวกับเจ้าของเหรียญดื้อ หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเหรียญดื้อหรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า
"เหรียญจักรพรรดิมาลา" แห่งกระทรวงพาณิชย์ และยังเป็นคนเดียวกับอธิบดีกรมพาณิชย์สัมพันธ์ปัจจุบัน
การที่จะได้ครองเหรียญดื้อเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุที่ต้องรับราชการเป็นเวลายาวนานถึง
25 ปีเต็ม แต่สำหรับอธิบดีชลอ เฟื่องอารมณ์ กลับเป็นเรื่องที่ไม่ยากเย็นแต่อย่างใดเพราะได้ผ่านชีวิตราชการมามากกว่าที่กำหนดไว้แล้ว
กับทั้งยังเหลืออายุราชการอีกถึง 8 ปีเต็ม ซึ่งหากจะยังมีการมอบเหรียญดับเบิ้ลดื้อกันอีก
อธิบดีชลอก็คงจะคว้าไปครองอย่างง่ายดาย
"ผู้จัดการ" บุกไปเยือนบ้านอธิบดีในซอยโชคชัย 4 ลาดพร้าวในเช้าตรู่วันหนึ่ง
ระงับความฉงนใจไว้ไม่ได้ว่า ทำไมท่านอธิบดีถึงได้รับใช้ราชการมายาวนานถึงขนาดนี้มากกว่าอายุของนักข่าวเสียอีก
อธิบดีเปิดเผยอย่างอารมณ์ดีว่า "เราเป็นข้าราชการจนชินแล้ว เคยได้รับเชิญจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย
(เอดีบี) อยู่ช่วงหนึ่ง แต่เผอิญได้รับเลือกเป็นทูตพาณิชย์และปฏิเสธทางเอดีบี้ไป
แล้วยังมีอีกหลายงานที่ภาคเอกชนมาเชิญไป มีข้อเสนอที่ดีมาก แต่ก็อย่างว่าเรามาถึงจุดนี้แล้วก็เลยไม่เอา
เพราะชีวิตราชการผมราบรื่นพอสมควรไม่ถือว่ามีอุปสรรคอะไร"
ความราบรื่นในชีวิตราชการของอธิบดีชลอนับว่าเป็น "โชคดี" ที่หาไม่ได้ง่ายนักอธิบดีชลอได้รับโอกาสที่ดีอย่างมาก
ๆ และโอกาสนี้ก็มีส่วนหนุนนำความรุ่งเรืองให้กับชีวิตราชการด้วย
อดีตสงห์แดงที่ควรไปผงาดอยู่แถบริมคลองหลอด กลับหันกเหเส้นทางชีวิตด้วยการไปศึกษต่อที่สหรัฐฯ
แล้วกลับมารับราชการในตำแหน่งวิยากรโทที่สำนักงานวิชาการและวางแผนกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในปี
2506 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในชีวิตราชการ เพราะได้มีโอกาสร่วมงานกับดร.อำนวย
วีรวรรณ ผู้อำนวยการสำนักฯในเวลานั้น
ครั้นเมื่อกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเปลี่ยนมาเป็นกระทรวงพาณิชย์ อธิบดีชลอก็โยกมารับตำแหน่งหัวหน้ากองแผนงานคนแรกของกระทรวงฯ
ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับดร.เสนาะ อูนากูล รองปลัดกระทรวงฯ ในเวลานั้น รวมทั้งรัฐมนตรีอีกหลายท่าน
เช่น ประสิทธิ กาญจนวัฒน์
อธิบดีชลอได้รับแต่งตั้งเป็นทูตพาณิชย์ประจำสิงคโปร์และเยอรมนีระหว่างปี
2517-2522 "5 ปีในต่างประเทศได้เปิดโลกกว้าง ได้รู้จักผู้หลักผู้ใหญ่รัฐมนตรีไปก็ไดเจอ
กลับมาก็มาทำงานกับอธิบดีจเร จุฑารัตกุล ได้จับงานที่มีปัญหาที่กรมการค้าภายใน
ซึ่งสร้างประสบการณ์ให้กับเรามากทีเดียว" หลังจากนั้นก็ไปเป็นรองอธิบดีที่กรมพาณิชย์สัมพันธ์เป็นที่ปรึกษากระทรวงฯ
และขึ้นตำแหน่งอธิบดีในปี 2527 เป็นเจ้ากรมต่าง ๆ รวม 3 ใน 6 กรมของกระทรวงพาณิชย์
ความมีโชคในชีวิตราชการของอธิบดีชลอไม่ใช่โชคดีที่ไม่เคยเผชิญปัญหาหนัก
เพราะทั้งที่กรมการค้าภายในและสำนักงานประกันภัยก็ล้วนแต่เคยแบกรับภาระปัญหาที่หนักหน่วง
ชนิดที่เรียกว่า "ถ้าแก้ไม่ได้ป่านนี้ไปอยู่ไหนก็ไม่รู้" มาแล้ว
สมัยอยู่กรมการค้าภายในอธิบดีชลอย้อนอดีตให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า
" ต้องเจอปัญหาข้าวของแพง สินค้าขึ้นราคา โดยเฉพายุคที่โอเปคขึ้นราคาน้ำมันนั้นคนยังไม่เคยชิน
แม้แต่น้ำมันพืชยังขาดแคลน ผมอยู่กรมการค้าภายในแต่ต้องเดินทางไปเจรจาซื้อสินค้าต่างประเทศแถม
ตอนนั้นเป็นผู้อำนวยการคลังสินค้าด้วย เป็นงานที่หนักมากทีเดียว แต่สมัยนั้นอายุ
42 ยังไม่ค่อยมีรอยเท่าไหร่" นั่นเป็นความหลังที่ท่านอธิบดีรำลึกถึง
แต่เมื่อย้อนอดีตหมาด ๆ ที่สำนักงานประกันภัย น้ำเสียงของอธิบดีขลอกลับมีลักษระเป็นการเป็นงานขึ้นมาโดยฉับพลัน
"มาทำที่ประกันภัยนี่มันต้องรับผิดชอบเยอะ ได้มีโอกาสทำงานหนัก ๆ และก็มีโอกาสแก้ปัญหาด้วย
แต่ก็พอแล้วที่ประกันภัยนี่ 4 ปีก็ดีแล้ว มาได้ครบ 4 ปีนี่ก็ดีแล้ว"
ปัญหาหนักของสำนักงานประกันภัยในรอบปีที่ผ่านมาคือปัญหาการขาดทุนอย่างย่อยยับของบริษัทบัวหลวงประกันภัย
จำกัด ซึ่งหากแก้ไขไม่สำเร็จมันไม่เพียงแต่ส่งผลต่อชื่อเสียงของบริษัทเท่านั้นแต่ยังจะส่งผลต่อภาพพจน์โดยรวมของธุรกิจประกันภัย
ผู้เอาประกันกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานประกันภัยและชื่อเสียงของชลอ เฟื่องอารมณ์
ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานอีกด้วย
ครั้นเมื่อการแก้ไขผ่านมาได้สำเร็จลุล่วง อธิบดีชลอจึงเล่าให้ "ผู้จัดการ"
ฟังอย่างเปิดใจว่า "ไม่อยากคุยนะ เราแก้ปัญหาได้ มันก็ทำให้โล่งใจ แต่พูดจริง
ๆ มันก็เป็นการแก้ปัญหาที่ทำให้คนเสียหายน้อยที่สุดและลึก ๆ ก็คือมันเป็นการแก้ปัญหาให้ตัวผมเองด้วย"
การแก้ปัญหาครั้งนั้นเป็นที่รู้จักกันในวงการประกันภัยว่าทุกฝ่ายจะให้ความร่วมมือกับอธิบดีผู้สมถะและเป็นที่ชื่นชอบของวงการคนนี้อย่างเต็มที่
แต่ตัวอธิบดีก็หาใช่ย่อยไม่ มีการใช้เทคนิคล็อบบี้คนของสมาคมประกันวินาศภัยทีละคน
นับสิบได้ พูดจาโน้มน้าวให้สมาคมฯออกโรงชูธงให้ความช่วยเหลือ วิธีการนี้ได้ผลเป็นอย่างดี
"ไม่ใช่อะไรหรอก เขาเชื่อเราเพราะตัวเราด้วย สมาคมฯนี้เห็นว่าผมพยายามแก้ไขปัญหาอย่างจริงใจและผมสะอาดด้วย"
ข้อเท็จจริงนี้เป็นที่ประจักษ์ในวงการประกันภัย รวมไปถึงเรื่องบุคลิกการประนีประนอมของอธิบดีที่มีส่วนทำให้การแก้ไขปัญหาสำเร็จ
อธิบดีชลอกล่าวถึงหลักการของตนว่า "การประนีประนอมอาจจะเป็นเอกลักษณ์
โดยเฉพาะของผมแต่ความเด็ดขาดเราก็ต้องมีในฐานะผู้บริหารผมใช้การทูตแบบประนีประนอมเราเป็นนักบริหาร
เราต้องให้เขาทำงานให้เรา ต้องให้หน่วยงานมีผลงาน มีความเคลื่อนไหวเพราะฉะนั้นเราต้องพยายามสร้างบรรยากาศให้มันดี
ให้ทุกคนร่วมกัน ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้นแหละ"
สิ่งที่อธิบดีขลอพยายามผลักดันให้ได้มาที่สำนักงานประกันภัย ก่อนที่จะย้ายกรมพาณิชย์สัมพันธ์
นับเป็นผลงานครั้งสำคัญที่น่าจะเรียกว่าเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ให้หน่วยงานราชการแห่งนี้
นั่นคือการขออัตราเจ้าหน้าที่เพิ่มเกือบร้อยอัตรา โดยเฉพาะระดับบริหารนั้นได้ตำแหน่งรองอธิบดีเพิ่มเป็น
2 คนระดับซี 9 และซี 8 อีกหลายคน
หลังจากผ่านความตึงเครียดในหน่วยงานที่ได้ชื่อว่ามีอำนาจในการควบคุมดูแลอย่างล้นพ้นต่อธุรกิจประกันภัยประกันชีวิตแล้ว
อธิบดีชลอได้โอกาสรับงานเบา ๆ ในกรมที่คุ้นเคยมาแต่เดิมคือพาณิชย์สัมพันธ์เมื่อ
1 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีงานหลัก ๆ คือสนับสนุนส่งเสริมการส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศ
ซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยนชื่อกรมไปเป็นกรมส่งเสริมสินค้าส่งออก
แม้วันเวลาจะผ่านเลย ปัญหาต่าง ๆ ผ่านเข้ามาและถูกแก้ไขผ่านไป แต่สิ่งหนึ่งที่อธิบดีผู้มีอารมณ์ดีกับนักข่าวอยู่เป็นนิจไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคือความสมถะในบ้านหลังเล็ก
ๆ พื้นที่แคบ ๆ เพียง 98 ตารางวาและการไปออกกำลังที่โปโลคลับซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวางใหญ่โต
โปโลคลับน่าจะได้ชื่อว่าเป็นบ้านหลังที่สองของอธิบดีชลอ เพราะความที่ไปอย่างสม่ำเสมอทุก
ๆ เช้าและเสาร์ อาทิตย์ อธิบดีเล่าว่าไปพักผ่อนออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ว่ายน้ำ
ซาวน่า ฯลฯ
อธิบดีเปิดเผยตรงไปตรงมาว่า "ผมเป็นคนแปลกจังไม่ค่อยอยู่บ้านนาน มันอาจเป็นธรรมชาติของเราก็ได
ถ้าอยู่บ้านทั้งวันมันอึดอัด เพราะบ้านเราก็ไม่ใหญ่เท่าไหร่ใช่ไหม"
อธิบดีชลอจะออกจากบ้านตั้งแต่ 6 โมงเข้าพร้อมคนขับรถคู่ใจที่ติดตามมาจากสำนักงานประกันภัยผ่านเลยออฟฟิศที่กรมพาณิชย์สัมพันธ์
มุ่งหน้าสู่โปโคคลับ ถนนอังรีดูนังต์
หลังจากจ๊อกกิ้งเข้าโรงยิมหรือซาวน่าอย่างใดอย่างหนึ่งอธิบดีก็จะมุ่งหน้าย้อนเส้นทางเดิมกลับสู่ออฟฟิศในเวลาแปดโมงกว่า
เป็นอย่างนี้ทุก ๆ วันที่อยู่ในกรุงเทพฯ
โปโลคลับน่าจะมอบเหรียญดื้อให้ท่านอธิบดีสักเหรียญในฐานะเป็นสมาชิกเก่าแก่มาครบปีที่
10