เมื่อเดือนตุลาคมที่ผานมามาบุญครองไซโลและอบพืชเจ้าของศูยน์การค้ามาบุญครองก็มีผู้จัดการทั่วไปคนใมห่อีกครั้งเป็นคนที่
3 สำหรับปีนี้ หลังจากที่ผู้จัดการคนที่แล้วคือ สมเกียรติทวีผล ลาออกไปเมื่อ
12 กันยายน หลังจากทำงานอยู่เพียง 4 เดือนกว่า ๆ เท่านั้น
ปัญหาของศูนยืการค้าที่ใหญ่ด้วยโครงสร้างของตึกและมากด้วยปัญหาหนี้สิ้นกวา
2,000 ล้านบาท เป็นที่ทราบกันดีอยู่ในช่วงที่กลุ่มคุณหญิงชนัตถ์ปิยุอุยเข้าเทคโอเวอร์มาบุญครอง
ทางฝ่ายผู้ถือหุ้นเก่าขอยืดเวลาเคลียร์งานก่อนโดยยื่นร้องต่อศาล คดียังไม่ออกมาชัดเจนผู้ที่เป็นเจ้าของคนใหม่คือกลุ่มของคุณหญิงชนัตย์
ปิยะอุยก็เข้ามายึดอำนาจในการบริหารโดยมีผู้รับผิดชอบในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปคือ
สมเกียรติ ทวีผลด้วยดีกรีปริญญาโททางด้านการบริหารจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์
สหรัฐอเมริกาและปริญญาตรีทางกฎหมายจากจุฬาฯ
อาจจะด้วยคุณสมบัติทางด้านความรู้ทั้งทางด้านกฎหมาย และการบริหารของสมเกียรตินี่เองที่เป็นสิ่งที่คุณหญิงชนัตถ์เห็นความสำคัญ
เพราะการจัดการกับปัญหาของศูนย์การค้ามาบุญครองในช่วงเปลี่ยนมือนี้ต้องใช้เงื่อนไขทั้งสองส่วนนี้
"ผมได้รับการติดต่อชักชวนจากคุณวีระวงศ์ จิตมิตรภาพแห่งสำนักงานกฎหมายคนึงและปรก
ซึ่งให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายกับคุณหญิงชนัตถ์ ผมก็เริ่มทำงานราว ๆ ปลายเดือนเมษายน"
สมเกียรติกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงการเข้ามามีส่วนในศูนย์การค้าแห่งนี้
การเริ่มงานทางการบริหารที่นี่เป็นการรับหน้าที่ครั้งสำคัญและครั้งแรกในชีวิตการทำงานของสมเกียรติเพาะหลังจากที่กลับมาเมืองไทยเมื่อ
1 มกราคมปีนี้ เขาก็ได้รับการทาบทามจากนายแพทย์กระแสชนะวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสาธารณสุขอาเซียนให้ร่วมมาช่วยงานด้วยการเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล
ในการสองทางด้านการบริหารระดับปริญญาโทให้กับกลุ่มแพทย์ที่สนใจทางด้านการบริหาร
สมเกียรติสอนอยู่ได้เทอมเดียวก็ออกมาทำงานให้กับมาบุญครอง
ความยุ่งยากในการที่จะได้มาซึ่งอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการเริ่มปรากฎขึ้นนับตั้งแต่แรกที่สมเกียรติเข้ามา
เนื่องจากกลุ่มเจ้าของเดิมไม่ได้ให้การร่วมมือในการออกไปอีกทั้งขอผ่อนผันศาลในการที่จะทำหน้าที่ต่อไปอีกสักพัก
สมเกียรติเป็นผู้จัดการทั่วไปศูนย์การค้ามาบุญครองแต่เขาต้องไปนั่งทำงานที่อาคารศุภาคารที่บริษัทมาบุญครองมีออฟฟิศอยู่
เขาบอกว่า "ผู้จัดการ" ว่าการที่จะเข้ามานั่งบริหารงานในศูนย์การค้าก็ยากอยู่การที่จะขอดูเอกสารสักอย่างกลับแทบจะเป็นไปไม่ได้
สมเกียรติจึงกลายเป็นผู้จัดการเร่ร่อน
ปัญหาของศูนย์การค้ายักษ์ใหญ่มาบุญครองนี้มีมากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านความชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ต่างๆ
อาทิลิฟต์ ทางเลื่อนบันไดเลื่อน เพราะหนี้สินค้างชำระอยู่นั่นเองที่ทำให้อุปกรณ์ต่าง
ๆ เหล่านี้ต้องทิ้งไว้ให้ไม่ยอมออกไปในช่วงแรก
"งานเร่งด่วนของผมก็คือทางด้านบุคลากรของเรา ผมต้องเข้าไปคุยกับพนักงานทุกปัญหาเร่งด่วนอันเกิดจากการมีผู้บริหาร
2 ชุดในบริษัทเดียวกันในช่วงแรก
ถึงแม้ว่าการเข้าพูดคุยถึงอำนาจหน้าที่ที่ถูกต้อตามกฎหมายของสมเกียรติ
และได้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในช่วงหลังที่คำตัดสินจากศาลออกมาอย่างเด่นชัดแล้วก็ตาม
แต่เนื่องจากภาวะหนี้สินที่รุงรังของบริษัททำให้พนักงานขาดความมั่นใจ และเริ่มมีการลาออกที่อยู่บางคนก็ใช้ศูนย์การค้ามาบุญครองเป็นสถานที่ทำการหางานใหม่ทำ
ขาดความรักต่อองค์กรและรู้สึกว่าตนเองมีเงินเดือนรายได้ที่ต่ำกว่าควรได้ในตลาดหรือบริษัทอื่น
"ผมเข้ามาใหม่ ผมก็เริ่มมีการตั้งตู้แสดงความคิดเห็นให้พนักงาน แต่ส่วนใหญ่ที่ผมได้มาก็คือความเห็นในการปรับเงินเดือนให้สูงขึ้นซึ่งเราก็พยายามที่ทให้แต่การเป็นหนี้มาก
ๆ ของมาบุญครองทำให้อำนาจศาลและเจ้าหนี้มีบทบาทมากในการอนุมัติในเรื่องค่าจ่ายต่าง
ๆ ที่จะต้องแจ้งไปยังเจ้าหนี้อย่างธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อขออนุมัติรวมทั้งศาลด้วย
ในบางกรณีที่เจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยแต่ทางผู้บริหารเห็นว่าน่าจะต้งมีรายจ่ายในส่วนนั้น
การบริหารงานในมาบุญครองจึงต่างจากที่อื่นในขั้นตอนการบริหารที่จะต้องเพิ่มมากขึ้นยิ่งในช่วแรกต้องรายงานขออนุมัติแม้กระทั่งค่าไฟที่เข้ามาเดือนละ
6 ล้านกว่าบาทค่าน้ำเดือนละ 6-7 แสนบาทจนศาลเห็นว่าเป็นการรายงานที่ซ้ำซ้อนทุกเดือนจึงอนุญาตให้มีการใช้จ่ายได้ก่อนแล้วรายงานทีหลัง
นอกจากปัญหาทางด้านการที่จะจ่ายเงินแล้ว ศูนย์การค้ามาบุญครองยังต้องประสบกับปัญหาในการได้เงินมาอีกด้วย
โดยเฉพาะรายได้จากการให้เช่าที่จากร้านค้าต่าง ๆ ที่ขาดช่วงการจ่ายเงินให้กับศูนย์การค้าในช่วงของการผลัดเปลี่ยนผู้บริหารเป็นเงินไม่ต่ำกว่า
160 ล้านบาท
"เจ้าของร้านให้เหตุผลว่าไม่ต้องการที่จะจ่ายเงินซ้ำซ้อน อีกทั้งไม่รู้ที่จ่ายว่าจะเป็นกรมบังคับคดีหรือผู้บริหารชุดไหนดีก็เลยรอเรื่องให้เสร็จเพื่อที่จะจ่ายเงินกับผู้บริหารที่ถูกต้องเมื่อเรื่องเข้ารูปเข้าร่าง
เราก็ทำหนังสือ แสดงอำนาจหน้าที่ของเรา แสดงใบจดทะเบียนการค้าเพื่อเป็นการรับรอง
รวมทั้งใบแจ้งหนี้เพื่อให้ผู้เช่ามาจ่ายค่าเช่าที่ติดค้างอยู่" สมเกียรติกล่าวถึงกาแก้ปัญหาทางด้านรายได้เข้าสู่มาบุญครอง
รวมความแล้วการทำงานในช่วงเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนสิงหาคมของสมเกียรติ
อยู่ภายในช่วงของการแก้ปัยหาเร่งด่วนแทบทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นทางด้านบุคลากร,
รายได้ที่ติดค้างและรวมถึงการแก้ไขความเสียหายของอุปกรณ์ต่างๆ
โดยที่การทำงานนั้นจะอยูภายใต้การดูแลของกรรมการบริษัทซึ่งสมเกียรติจะต้องรายงานผ่านทางม.ร.ว.ชีโวส
วิชาการวรวรรณ ซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งก่อนที่จะผ่านไปยังคุณหญิงชนัตถ์ เงื่อนไขตรงนี้เองดูเหมือนกับเป็นการตวจสอบความถูกต้องการทำงานของสมเกียรติอีกขั้นหนึ่ง
ด้วยความคิดที่ค่อนข้างแตกต่างกันระหว่างคนทำงานอย่างสมเกียรติกับคนที่คอยประสานงานอย่างม.ร.ว.
ชีโวรสวิชากร ก็เลยก่อให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นจนเป็นสาเหตุของการลาออกของสมเกียรติในวันที่
12 กันยายนที่ผ่านมา
"คุณชายท่านก็เห็นความสำคัญทางด้านการที่ทำให้บริษัทมีรายได้ที่จะพอกับการใช้หนี้ที่มีอยู่ได้
ผมก็พยายามทำดีที่สุดในบางครั้งบางโครงการที่เกิดขึ้นที่ผมต้องเสนอผ่านคุณชายในบางเรื่องท่านก็ไม่เห็ด้วย
เราก็ต้องชี้แจง บางโครงการก็ต้องล้าช้าออกไป งานบางอย่างก็ซ้ำซ้อนผมเป็นคนหนุ่มไฟแรงอยากที่จะทำงานให้เต็มที่
และมากที่สุด ส่วนทางคุณชายเองอาจเห็นว่าบางอย่างรอได้ ผมเองก็ลำบากใจ ที่จริงผมก็กำลังสนุกกับงาน
แต่ก็ต้องมีความขัดแย้งบางเรื่องเกิดขึ้น ซึ่งผมเห็นว่าเพื่อทางที่ดีขององค์กรผมก็ออกมาซะดีกว่า
การมาบริหารที่นี่ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่าทำงานนั้นถูกต้องอย่างเดียวไม่พอแต่ต้องถูกใจด้วย"
สมเกียรติกล่าวถึงสาเหตุของการลาออกจากการเป็นผู้จัดการศูนย์การค้ามาบุญครองที่แต่แรกนั้น
เขาเห็นว่าเป็นงานที่ท้าทายความสามารถของเขาอย่างมากอีกทั้งเป็นงานชิ้นใหญ่ชิ้นแรกที่เขาได้ทำในเมืองไทย