|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แม้ว่าจะมีข่าวกลุ่มซี.พี. ยักษ์ใหญ่วงการอาหารโลกทุ่มเงินกว่าแสนล้านบาท หรือกลุ่มอมตะที่ลงทุนสร้างนิคมอุตสาหกรรมไปทั่วเวียดนาม ทว่านักลงทุนไทยส่วนใหญ่ยังรู้จักเวียดนามเพียงผิวเผิน
นักลงทุนไทยรู้แต่เพียงว่าเวียดนามเป็นประเทศที่มีค่าแรงต่ำหรือถูกว่าไทยกว่าเท่าตัวจนทำให้บริษัทไทยหลายแห่งย้ายไปตั้งโรงงานที่เวียดนามโดยเฉพาะธุรกิจส่งออกเสื้อผ้า รองเท้า อาหาร
แต่ข้อมูลเหล่านั้นปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย โดยเฉพาะเงินเดือนของบริษัทที่ต้องลงทุนในเมืองใหญ่ อย่างเช่นฮานอย เปรียบเทียบกับค่าแรงในกรุงเทพฯ
ผลงานวิจัยของ JETRO เมื่อมีนาคม 2551 ที่ผ่านมาระบุว่า เงินเดือนที่ต้องจ่ายให้กับพนักงานที่เมืองฮานอยเริ่มตั้งแต่ 87-198 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่กรุงเทพฯ จ่ายให้กับพนักงาน 164 เหรียญสหรัฐ
เหตุผลที่ค่าแรงในเมืองฮานอยสูงเป็นเพราะว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานสมบูรณ์มีน้ำประปา ไฟฟ้า และถนน
จุมพล รังสรรค์ ผู้อำนวยการ การลงทุนต่างประเทศ บริษัทไทยซัมมิท ออโต้พาร์ท จำกัด ให้บริการผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่าและฮอนด้า บอกว่าปัจจุบันมีโรงงานอยู่ที่ฮานอยจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 100 เหรียญสหรัฐ เป็นค่าแรงที่ถูกกว่าโฮจิมินห์ และปัจจุบันมีพนักงาน 160 คน
ค่าใช้จ่ายของนักลงทุนต่างชาติในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาได้ปรับเพิ่มขึ้นเท่าตัวโดยเฉพาะค่าห้องพัก ค่าอาหาร
ส่วนสัญญาว่าจ้างพนักงานเวียดนามจะต้องมีโบนัส รวมถึงจ่ายค่าประกันสังคม 17%
ปัจจุบันคนเวียดนามให้ความสนใจเรื่องการเรียนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ โดยมีเป้าหมายทำงานในบริษัทต่างชาติที่มีค่าแรงสูงกว่า 400-500 เหรียญสหรัฐ แต่ถ้าทำงานกับบริษัทเวียดนามจะมีค่าจ้าง 100-200 เหรียญสหรัฐ
การเรียนรู้อุปนิสัยของคนเวียดนามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก คนเวียดนามนิสัยดี อดทน สู้งาน รักษาคำมั่นสัญญา แต่คนเหนือและคนใต้ของเวียดนามมีนิสัยที่แตกต่างกันและสิ่งที่ต้องพึงระวังคือความเข้าใจในการทำงานที่ไม่เหมือนกันระหว่างคนไทยกับคนเวียดนาม
ศศิศ มนต์เสรีนุสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสุรินทร์ ออมย่า เคมิคอล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งทำธุรกิจในเวียดนามเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา ผลิตสินค้าเคมีภัณฑ์ให้กับธุรกิจกระดาษ พลาสติก ยาง เล่าประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับคนเวียดนามว่า
ผู้บริหารหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ต้องเป็นคนไทย ส่วนผู้บริหารหมายเลข 3 ให้เป็นคนเวียดนาม เพราะจากการทำงานในช่วงแรกๆ ที่ผ่านมาได้ปล่อยให้พนักงานเวียดนามดูแลทั้งหมด แต่พบปัญหาทำให้คนไทยต้องบริหารเอง
ในระบบการทำงานคนเวียดนามมักจะบอกเสมอว่าไม่มีปัญหา แต่เมื่อทำงานร่วมกันทำให้รู้ว่ามีปัญหาใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ
"เขาไม่ค่อยแสดงออกและที่สำคัญอย่าทำให้เขาเสียหน้าต่อหน้าคนอื่นไม่ได้เด็ดขาด"
ในด้านการทำงานคนเวียดนามมีความตั้งใจสูง แต่ทักษะในการทำธุรกิจยังมีไม่มากจึงต้องมีการจัดระบบการอบรมค่อนข้างมาก
ประเสริฐ สุวิทยะศิริ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปทำธุรกิจตั้งแต่ปี 2538 หรือ 13 ปีที่ผ่านมา เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์โทรคมนาคม บอกว่าเวียดนามยังมีโอกาสน่าลงทุนสำหรับนักลงทุนไทย ความต้องการในการพัฒนาประเทศเวียดนามยังมีอีกมาก กฎเกณฑ์ค่อนข้างนิ่งและเมื่อมีปัญหาส่วนของภาครัฐจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
สอดคล้องกับมุมมองของจุมพล ที่มองว่าแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มถึง 26% รวมถึงการเพิ่มของดอกเบี้ยก็ตาม แต่ระบบบัญชีที่ใช้ในการทำงานใช้ระบบสากล
เขามองว่าในระยะยาวตลาดจะโตและน่าสนใจเป็นอย่างมากโดยเฉพาะตลาดจักรยานยนต์เพราะมองว่าประชากร 85 ล้านคน โดยเฉลี่ยควรจะใช้รถ 1 คันต่อ 10-15 คน
ปัจจุบันบริษัทผลิตรถฮอนด้าและยามาฮ่า สามารถผลิตจักรยานยนต์ได้ปีละ 3 ล้านคัน และบริษัทไทยซัมมิทเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานเมื่อปี 2549 เพื่อผลิตชิ้นส่วนด้านปลอกสำเร็จรูป อะลูมิเนียม และพ่นสี
อย่างไรก็ดี จุมพลแนะนำว่ากรณีนักลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนเอง 100% โดยไม่มีนักลงทุนท้องถิ่นร่วมถือหุ้น ควรจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพราะกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง
แม้เวียดนามจะเป็นเพื่อนบ้านในเอเชียด้วยกันก็ตาม แต่ด้วยความแตกต่างด้านวัฒนธรรมความคิดทำให้นักลงทุนต้องเรียนรู้เวียดนามอีกมาก
|
|
|
|
|