|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
พูดกันมานานหลายปีแล้วว่าเวลานี้ กิจการของคนไทยน่าจะมีโอกาสได้ไปผงาดในต่างประเทศในฐานะผู้เล่นที่แท้จริงเสียที เพราะธุรกิจไทยได้ผ่านประสบการณ์ที่ยาวนานมีพัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการ การเงิน หรือเทคโนโลยี ทัดเทียมได้กับกิจการระดับยักษ์หลายแห่งของโลก
แต่การออกไปเป็นผู้เล่นในสังเวียนธุรกิจระดับโลก จำเป็นต้องมีกระบวนการที่แตกต่างกัน ในแต่ละธุรกิจ
ในแง่ของการขาย กิจการของไทยได้ส่งสินค้าไปขายในตลาดโลกมานานแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของผู้รับจ้างผลิต หรือการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ก็มีการทำกันมาแล้วระดับหนึ่ง แต่ก็ยังเป็นการขยายการลงทุนเพื่อหาฐานการผลิตใหม่ ที่มีต้นทุนและสิ่งอำนวยความสะดวกในการลงทุนเอื้ออำนวยมากกว่าที่จะจำกัดพื้นที่ตั้งโรงงานอยู่เพียงแต่ในประเทศอย่างเดียว ส่วนสินค้าที่ขาย เกือบทั้งหมดก็ยังเป็นการรับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์คนอื่น
ขณะที่การออกไปเป็นผู้เล่นเต็มรูปแบบ ทั้งการลงทุน ขายสินค้า และการนำแบรนด์สินค้าออกไปยึดครองพื้นที่ในตลาดของต่างประเทศจริงๆ ยังมีไม่มากนัก
แบรนด์สินค้าไทยที่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคต่างประเทศจริงๆ ที่ผ่านมามีเพียงไม่กี่ราย อาทิ เบียร์สิงห์ เบียร์ช้าง กระทิงแดง หรือการบินไทย ฯลฯ
การเคลื่อนไหวของเครือซิเมนต์ไทยกับเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ที่ได้วางเป้าหมายว่าจะออกไปโลดแล่นในฐานะผู้เล่นที่เป็น International Company ที่แท้จริง ทั้งการขาย การลงทุน และนำแบรนด์ของตนเองไปยึดครองพื้นที่ในใจของผู้บริโภคในตลาดโลก จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
แต่ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ ทั้งเครือซิเมนต์ไทยและเจริญโภคภัณฑ์หาร ต่างเป็นผู้ผลิตสินค้าพื้นฐาน (Commodity Products) ที่ไม่มีความสลับซับซ้อน ขอเพียงมีทุน มีพื้นที่ มีเทคโนโลยีพื้นฐาน ใครก็สามารถผลิตได้
การทำ Branding ให้กับสินค้าประเภทนี้ จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก โดยเฉพาะกับตลาดที่กว้างใหญ่และซับซ้อนมากกว่า อย่างในตลาดโลก
ทั้งเครือซิเมนต์ไทยและเจริญโภคภัณฑ์อาหาร เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นจะต้องออกไปเป็นผู้เล่นในต่างประเทศ ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน โดยมีแรงบีบคั้นคล้ายคลึงกัน นั่นคือตลาดภายในประเทศไทยเล็กเกินไปเสียแล้วสำหรับทั้ง 2 กิจการนี้
แต่ทั้งคู่ก็มองเห็นถึงข้อจำกัดเดียวกัน นั่นคือ แม้ทั้งคู่จะมีความชำนาญในธุรกิจที่ดำเนินอยู่ แต่เนื่องจากสินค้าที่ขายยังเป็นเพียง Commodity Products การจะออกไปโลดเล่นผลักดันแบรนด์ของตนเองให้ต่างชาติรู้จัก จะต้องทำให้สินค้าที่ขายเป็นอะไรที่มีมูลค่ามากกว่า Commodity
ทั้งเครือซิเมนต์ไทยและเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ได้เริ่มกระบวนการก้าวขึ้นไปสู่การเป็น International Company โดยการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี และจัดได้ว่าประสบความสำเร็จไปแล้วในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะกับตลาดภายในประเทศ
การออกไปต่างประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายผู้บริหารทั้ง 2 องค์กรเป็นอย่างยิ่ง และกระบวนการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าซึ่งเป็นเพียง Commodity ของทั้งเครือซิเมนต์ไทย และเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ที่มีเป้าหมายให้แบรนด์ SCG และ CP เป็นที่รู้จักในระดับโลกจึงเป็นกรณีที่สมควรต้องศึกษา
|
|
|
|
|