เชิดชัย เพชรพันธ์เคยเป็น ส.ส.เขตราษฎร์บูรณะกทม. พรรคประชากรไทยเมื่อปี
2522 ในการเลือกตั้งครั้งถัดมา เขาลงสมัครในนามพรรคชาติไทย แต่คราวนี้เขาไม่ได้รับเลือก
โดยเนื้อแท้แล้ว เชิดชัยไม่ได้เป็นนักการเมือง เขาเป็นเจ้าของอู่ซ่อมเรือที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย
นั่นคืออู่เจ้าพระยาชิพยาร์ด
เชิดชัยใช้ชีวิตกับแม่น้ำและทะเลมาตลอด เขาเกิดกลางแม่น้ำ เริ่มทำธุรกิจกับแม่น้ำและเริ่มดำเนินกิจการอู่ซ่อมเรือเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว
ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นกิจการที่ดีมาก ๆ
เจ้าพระยาชิพยาค์ดเป็นอู่ซ่อมเรือที่ใหญ่ 1 ใน 3 อีกสองแห่งคือเอเชียนมารีนและอิตัลมารีน
แต่ละแห่งมีลูกค้าแยกกันออกไป เอเซียนมารีนเน้นหนักเรือเดินสมุทรของรัฐหรือองค์กรราชการ
อิตับลมารีนเน้นต่อเรือมากกว่าซ่อม เจ้าพระยาชิพยาร์ดเน้นไปที่เรือของเอกชนและเรือต่างประเทศ
"เดี๋ยวนี่เรือเดินสมุทรของไทยเยอะมาก เมื่อก่อนต้องไปซ่อมที่สิงคโปร์
เสียค่าใช้จ่ายสูงแต่ตอนนี้มาซ่อมในไทยกันหมด อู่ของผมต้องจองล่วงหน้า 3
เดือนถึงจะขึ้นมาซ่อมได้" เชิดชัยกล่าว
มาเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว อู่เจ้าพระยาชิพยาร์ดมีโอกาสต้อนรับเรือเดินสมุทรจากรัสเซียลำหนึ่งซึ่งผ่านมาทางภูมิภาคนี้พอดี
และครั้งนั้นเจ้าหน้าที่และช่างของอู่เจ้าพระยาชิพยาร์ดก็พิสูจน์ให้คนรัสเซียนเห็นว่าฝีมือคนไทยเก่งกาจขนาดไหนจนทางรัสเซียโดย
"ซูโดเอ็กซปอร์ต" ซึ่งเปียบได้กับรัฐวิสาหกิจของรัสเซียทีดู่แลกิจการซ่อมและต่อเรือตลอดจนกิจการขนส่งทางทะเลให้ใบรับรองว่า
อู่เจ้าพระยาชิพยาร์ดมีความสามารถที่จะรับซ่อมเรือของรัสเซียลำอื่น ๆ ได้
นั่นคือที่มาของความสัมพันธ์ระหว่างเชิดชัยกับซูโดเอ็กซปอร์ตซึ่งกลายเป็นการดำเนินธุรกิจร่วมกันในรูปแบบอื่น
ๆ ต่อมา
เชิดชัยตั้งบริษัทไทยอินเตอร์ชิพยาร์ดเพื่อมุ่งหน้าสู่แหลมฉบังสร้างอู่ซ่อมเรือขนาดใหญ่
ซึ่งลูกค้าที่สัญญาจะส่งเรือเดินสมุทรมาซ่อมแน่ ๆ คือเรือจากซูโดเอ็กซปอร์ตประมาณ
8-10 ลำต่อปี และเชิดชัยกำลังวางแผนตั้งโรงงานประกอบเรือฮูเวอร์คราฟท์เรือสะเทิ้นน้ำสะเทินบกร่วมกับซูโดเอ็กซปอร์ตในไทยอีกไม่ช้านี้
แต่ธุรกิตที่เชิดชัยกำลังทุ่มเททุ่มใจลงมือทำจริง ๆ ขณะนี้ และเป็นที่ฮือฮาก็คือเชิดชัยในนามบริษัทไทยอินเตอร์ทรานสปอร์ต
จำกัดกำลังจะพลิกโฉมหน้าเส้นทางการเดินทางโดยทะเลในไทยเสียใหม่โดยการนำเรือไฮโดรฟอยล์จากรัสเซียเข้ามาวิ่งในต้นเดือนธันวาคมนี้
เรือไฮโดรฟอยล์นี้จัดว่าเป็นเรือที่มีสมรรถนะสูงสุดประเภทหนึ่ง มีความเร็วสูงประมาณ
35 นอต หรือ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บางครั้งวิ่งได้ถึง 50 นอต และเนื่องจากเวลาวิ่งตัวเรือจะถูกยกให้สูงเหนือน้ำประมาณ
2 เมตรโอกาสที่เรือจะประสบอุบัติเหตุด้วยแรงคลื่นหรือทำให้คนในเรือรู้สึกเมาคลื่นจึงไม่มี
แม้คนไทยจะคุ้นกับชื่อเรือไฮโดรฟอยล์มานานแล้ว แต่ก็ไม่มีโอกาสได้สัมผัสเพราะความที่เรือแต่ละลำมีราคาสูงมากไม่ต่ำกว่า
65 ล้านบาทการลงทุนเพื่อธุรกิจนี้จึงเสี่ยงไม่น้อยเพราะต้องลงทุนในเรื่องอื่น
ๆ เช่น ท่าเทียบเรือประกอบกันเข้าไปด้วย แต่เชิดชัยก็ตัดสินใจแล้ว ที่จะลงทุน
แต่เดิมเชิดชัยสั่งต่อเรือไฮโดรฟอยล์จากรัสเซียจำนวน 4 ลำ กำหนดเสร็จปลายปีซึ่งออกจะล่าช้าไปสำหรับเชิดชัย
เพราะเท่าที่ประชาสัมพันธ์ไปมีเอเยนต์สั่งจองที่นั่งมามากเชิดชัยก็เลยจะเช่าเรือไฮโดรฟอยล์จากรัสเซียมาวิ่งไปก่อนโดยกำหนดวิ่งเที่ยวแรกในวันที่
19 ตุลาคม แต่ได้รับการประท้วงจากคนในวงการธุรกิจเรือ โดยอ้างว่า เชิดชัยใช้อภิสิทธิ์จะหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าเรือ
โดยใช้เส้นทางเอนก ทังสุวรรณ รมช.คมนาคม พรรคชาติไทยและกล่าวหาว่าเปิดโอกาสให้เรือรัสเซียมาวิ่งหากินในไทยเพราะเรือที่เชิ่ดชัยเช่ามายังจะต้องติดธงรัสเซีย
เรื่องมีทีท่าว่าบานปลาย เชิ่ดชัยก็เลยตัดสินใจบอกเลิกกำหนดการดังกล่าวแล้วไปเร่งเรือที่เชิดชัยสั่งต่อเอง
โดยตรงและเลื่อนไปวิ่งเป็นทางการในราวต้นเดือนธันวาคมนี้
เส้นทางที่เชิดชัยกำหนดสำหรับเรือไฮโดรฟอยล์ก็คือกรุงเทพฯ - พัทยา - สมุย
- สงขลา ค่าโดยสารตลอดเส้นทาง 1,250 บาท ใช้เวลาในการเดินทางทั้งสิ้นประมาณ
7 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางโดยรถโดยการสารปรับอากาศจะพบว่า
เรือไฮโดรฟอยล์เร็วกว่าประมาณ 7 ชั่วโมงแต่ค่าโดยสารแพงกว่าประมาณ 3 เท่า
ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางโดยเครื่องบินจะพบว่า เรือไฮโดรฟอยล์ใช้เวลามากกว่า
6 ชั่วโมง เพราะต้องแวะพัทยา สมุย แต่อัตราค่าโดยสารถูกกว่า 600 บาท แต่สิ่งที่ผู้โดยสารเชื่อมั่นได้คือความเพลิดเพลินและความปลอดภัยมีมากกว่าอย่างแน่นอนอีกทั้งเป็นของใหม่สำหรับคนไทย
ซึ่งความตื่นตาตื่นใจย่อมมีมากกว่าปกติ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย
สิงคโปร์ที่จะเดินทางเข้าพัทยาก็จะเป็นกลุ่มเป้าหมายใหญ่ที่จะละเลยไปเสียไม่ได้
และนั่นคือจุดขายที่เชิดชัยมั่นใจมากกว่า การลงทุนไปกับเรือ 4 ลำเป็นเงิน
260 ล้านบาท และค่าลงทุนท่าเทียบเรืออีกหลายสิบล้านบาทย่อมจะต้องคุ้มค่าอยางแน่นอนในระยะยาว
ยิ่งไปกว่านั้น ความลับของเชิดชัยก็คือ ทางซูโดเอ็กซปอร์ตให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่เชิดชัยอย่างมากมายโดยการหาแหล่งเงินกู้ให้ในอัตราดอกเบี้ยเพียง
7% ปลอดหนี้ 2 ปี ระยะเวลาชำระ 5 ปี ซึ่งเชิดชัยกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ว่าเป็นเงื่อนไขที่ดีมาก ๆ และเป็นโอกาสที่เขาควรจะคว้าเอาไว้
เรือทั้งที่ลำที่เขาสั่งต่อมาเป็นการเฉพาะนั้น เขาจะตั้งชื่อว่าเรือ "เทพศิรินทร์
1-2-3-4" ซึ่งเชิดชัยกล่าวว่า ตั้งชื่อตามสถาบันที่เขาจบการศึกษาซึ่เป็นที่เดียวกับท่านพลเอกชาติชาย
ชุณหวัณและพลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร
ความสำคัญของการเดินทางโดยสารเรือไฮโดรฟอยล์เส้นทางกรุงเทพฯ-สงขลานี้ โดยตัวแล้วหลายคนมุ่งสนใจไปที่
"เรือไฮโดรฟอยล์" เพราะเป็นความแปลกใหม่ แต่จริง ๆ แล้ว ในอนาคตการเดินทางขนส่งเช่นนี้จะเป็นเส้นทางที่จะได้รับความนิยมได้อย่างไม่ยากเย็น
และจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับบรรดารถทัวร์และเครื่องบินโดยเฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยว
ผู้มีรายได้สูงและชนชั้นกลางเพราะเมื่อเทียบความสะดวก ปลอดภัยและความเพลิดเพลินแล้ว
เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางที่น่าพิสมัยไม่น้อย
ถ้าหากเป็นเช่นนี้ "ผู้จัดการ" คาดหมายจริง เชิดชัยก็จะได้รับโชคดีถึงสองต่อคือได้รับแรงสนับสนุนจากเพื่อนเช่นซูโดเอ็กซปอร์ตอย่างมีน้ำจิตน้ำใจแบบที่ยากนักคนอื่นจะหาได้
และยังอาจได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกเส้นทางการเดินทางแบบ "ด่วนทะเล"
ที่ใคร ๆ ต้องจับตาด้วยความอิจฉาอีกด้วย