|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โครงการ sme POWER เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ส.ส. พรรคชาติไทย เพราะเขามองว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ประดิษฐ์และทีมงานจัดทำเอกสารมากมายเพื่ออ้างอิงเหตุผลที่จำเป็นต้องมีโครงการเอสเอ็มอี พาวเวอร์ ซึ่งเขาบอกว่าปัจจุบันมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 2.3 ล้านรายที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การเมืองภายในและสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่เกิดขึ้น
ประดิษฐ์โชว์ตัวเลขเพื่อให้เห็นความสำคัญของเอสเอ็มอีที่มีต่อเศรษฐกิจไทย เขาบอกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีร้อยละ 40 มาจากธุรกิจเอสเอ็มอี
รายได้จากการส่งออกมากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 30 ของยอดส่งออกรวมของประเทศก็มาจากเอสเอ็มอี
แต่ภาพรวมเศรษฐกิจที่มีภาวะชะลอตัวลงโดยเฉพาะในปีหน้า 2552 จะทำให้เอสเอ็มอีไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากนักโดยเฉพาะสภาพคล่องทางด้านการเงินโดยเฉพาะธุรกิจส่งออก ธุรกิจท่องเที่ยว
โครงการเอสเอ็มอีพาวเวอร์จึงก่อเกิดขึ้นมาเพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มเอสเอ็มอีผ่านธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธนาคารเอสเอ็มอี)
ธนาคารเอสเอ็มอีได้กำหนดเงินช่วยก้อนแรกไว้ที่ 10,000 ล้านบาท มีเงื่อนไขให้กู้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด คือ อัตรา MLR หรือร้อยละ 7.25 และขยายการชำระหนี้จาก 5 ปีเป็น 7 ปี
ส่วนเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มีปัญหาสภาพคล่องขาดเงินทุนแต่ธุรกิจยังพอดำเนินต่อไปได้จะให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในวงเงิน 300,000 บาทถึง 10 ล้านบาท
นอกจากการให้บริการด้านสินเชื่อ ธนาคารจะให้บริการเงินร่วมลงทุนที่จัดสรรไว้จำนวน 500 ล้านบาท เพื่อร่วมทุนกับเอสเอ็มอีที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่หรือธุรกิจที่กำลังขยายกิจการและต้องการเงินทุนเพิ่มแต่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อโดยธนาคารเอสเอ็มอีจะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
การให้บริการค้ำประกันสินเชื่อเป็นอีกความช่วยเหลือหนึ่งที่ธนาคารเอสเอ็มอีมีเป้าหมายให้ผู้ประกอบการที่ไปขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ได้รับความช่วยเหลือง่ายขึ้น
โครงการนี้ยังได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเพื่อนำเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
โครงการเอสเอ็มอีพาวเวอร์มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนถึง 31 ธันวาคม 2551
โครงการเอสเอ็มอีพาวเวอร์เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประดิษฐ์ได้ปรับเปลี่ยนชุดคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ทั้งหมด
เขาได้แต่งตั้งพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เป็นประธานและแต่งตั้งคณะกรรมการมาจากหลายภาคส่วน อาทิ พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเอ็มเอฟซี วุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ ผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด ศักรินทร์ ภูมิรัตน์ ผู้อำนวยการ สวทช.
การเข้ามาของประดิษฐ์ ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับคณะกรรมการไปจนถึงมีนโยบายที่จะให้มีการควบรวมธนาคารเอสเอ็มอีกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
เพราะเขามองว่าการควบรวมของสองหน่วยงานจะทำให้มีเงินกองทุนและสินทรัพย์ทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มถึง 30,000 ล้านบาท
โครงการเอสเอ็มอีพาวเวอร์ถือเป็นโครงการในฝันของผู้ประกอบการหากได้รับความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ทว่าจะยั่งยืนได้นานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับอายุของรัฐบาลด้วยเหมือนกัน
คนในธนาคารเอสเอ็มอีเคยพูดว่าโครงการของธนาคารมักจะเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ ขึ้นอยู่กับว่าพรรคไหนเป็นรัฐบาล
|
|
|
|
|