|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ตลาดหุ้นไทยผันผวนหนัก จากช่วงเช้านักลงทุนแห่เก็งกำไรศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง 3 พรรค ที่จะสถานการณ์การเมืองคลีคลาย ขณะที่ช่วงบ่ายต้องเจอแรงเทขายจากกระแส “เอสแอนด์พี” หั่นเรตติ้งประเทศไทย กดดัชนีรูดกว่า 10 จุด ขณะที่ “ฟิทช์ฯ” ปรับลดเรตติ้งเป็นลบ ด้านโบรกเกอร์สั่งจับตาคดียุบพรรคใกล้ชิด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (1 ธ.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวผันผวนค่อนข้างแรงสลับแดนบวก-ลบ จากปัจจัยด้านการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ขณะที่ช่วงบ่ายยังเจอแรงเทขายออกมาอย่างหนัก หลังมีกระแสว่าสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) เตรียมทบทวนปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 410.62 จุด ก่อนจะมีแรงเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่องกดดันให้ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วและปิดระดับต่ำสุดที่ 390.92 จุด ลดลงจากวันก่อน 10.92 จุด หรือ 2.72% มูลค่าการซื้อขาย 11,581.77 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 654.34 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 226.19 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 880.52 ล้านบาท
นายอภิสิทธิ์ ลิมป์ธำรงกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เกียรตินาคิน กล่าวว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนค่อนข้างแรง โดยช่วงเช้าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อเก็งกำไร จากการคาดการณ์ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำชี้ขาดคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย หลังจากแถลงปิดคดียุบพรรค ในวันพรุ่งนี้ (2 ธ.ค.) เพราะหากตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนอาจเป็นจุดพลิกผันที่ช่วยให้สถานการณ์บ้านเมืองกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้น
ขณะเดียวกัน ยังได้รับปัจจัยบวกจากบรรยากาศของตลาดหุ้นต่างประเทศที่ดีขึ้นจากความหวังว่าธนาคารกลางทั่วโลกทั้งธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารกลางยุโรป จะร่วมมือกันปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ตาม ในช่วงบ่ายได้มีแรงขายออกมาอย่างหนักหลังมีรายงานข่าวออกมาระบุว่า สถาบันจัดอันดับสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เตรียมทบทวนแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของไทย
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ ดัชนีตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับลดลงจากปัจจัยลบที่เอสแอนด์พีได้ทบทวนแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยสู่ “เชิงลบ” ซึ่งจะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะทำให้ความรุนแรงลุกลามออกไปอย่างเห็นได้ชัด
ขณะเดียวกัน นักลงทุนต้องติดตามการชี้ขาดคดียุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค โดยศาลรัฐธรรมนูญที่น่าจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ เนื่องจากอาจเป็นทางออกของปัญหาการเมืองที่ตึงเครียด เพราะหากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนและนำไปสู่การยุติบทบาทของพรรครัฐบาล จะทำให้ผู้ชุมนุมประท้วงคัดค้านสลายตัวลง ความขัดแย้งในประเทศก็น่าจะคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น โดยกลยุทธ์การลงทุนให้ขายลดความเสี่ยง ประเมินแนวรับ 380 จุด แนวต้าน 400 จุด
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยช่วงบ่ายปรับหลุดระดับ 400 จุด น่าจะเกิดจากแรงเทขายกำไรตามปกติ ขณะที่ปัจจัยการเมืองในประเทศ นักลงทุนเริ่มชินกับการชุมนุมแล้ว แต่ประเด็นหลักคงเป็นเรื่องการลาออกของนายกรัฐมนตรี หรือคดียุบพรรคการเมืองในพรุ่งนี้ หากมีการตัดสินยุบพรรคการเมือง หรือมีเหตุการณ์ที่นายสมชาย ต้องตกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ดัชนีตลาดหุ้นไทยน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แรง
ฟิทช์ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตไทยเป็นลบ
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่าง ประเทศระยะยาว (Long-term Foreign Currency Issuer Default Rating (IDR)) และอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาว (Long-term Local Currency IDR) ของประเทศไทยที่ "BBB+" และ "A" ตามลำดับ แต่ได้ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของประเทศไทยเป็นลบ จากแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ ถึงถึงประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น (Short-term Foreign Currency IDR) ที่ "F2" และ Country Ceiling ที่ "A-" (A ลบ)
นาย Vincent Ho ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายจัดอันดับเครดิตประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของฟิทช์ กล่าวว่า การปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของไทยครั้งนี้ สะท้อนถึงมุมมองปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานไม่มีแนวโน้มที่จะจบลงโดยเร็วและอาจบั่นทอนพื้นฐานทางเครดิตของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ในช่วงที่การบริหารประเทศไม่มีประสิทธิภาพและขาดความน่าเชื่อถือ นโยบายทางเศรษฐกิจอาจถูกละเลยหรือเกิดความผิดพลาด ทั้งๆ ที่ในขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการหดตัวอย่างแรงของเศรษฐกิจ
ฟิทช์เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญหน้ากับช่วงเวลาที่ท้าทาย เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่คาดว่าจะลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง
|
|
 |
|
|