Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 ธันวาคม 2551
หั่นภาษีนิติบุคคลเหลือ25%-"สุชาติ"ฟุ้งสูญแค่หมื่นล้าน             
 


   
search resources

สุชาติ ธาดาธำรงเวช
Auditor and Taxation




รมว.คลังเสนอแผนการปรับโครงสร้างภาษีทุกประเภทต่อคณะรัฐมนตรีวันนี้ ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 25% พ่วงต่ออายุภาษีอสังหาฯ แต่เพิ่มภาษีสรรพสามิตเบียร์และสิ้นเดือนนี้ภาษีน้ำมันที่เคยอุ้มลิตรละ 1-2 บาท จะกลับมาจ่ายปกติ พ่วงด้วยการเข็นหวยออนไลน์ดูดเงินชาวบ้าน หักลบแล้วงานนี้รัฐสูญรายได้ไม่เกินหมื่นล้าน ด้านพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อ พ.ย.โต 2.2% ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 เดือน

นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง เปิดเผยว่า วันนี้ (2 ธ.ค.) จะเสนอแผนการปรับโครงสร้างภาษีทุกประเภทต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบด้วย การปรับลดภาษีนิติบุคคลจากเดิม 30% เหลือ 25% ตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน คือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ปีละ 40,000 ล้านบาท แต่สร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและบรรเทาการเลิกจ้างงาน พร้อมขยายเวลามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะสิ้นสุดเดือน มี.ค.52 ออกไปอีก 1 ปี ในการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจากเดิม 3.3% เหลือ 0.1% ลดค่าจดทะเบียนการโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคงต้องรอสักระยะ เพราะเมื่อช่วงเดือน มี.ค.51 ก็มีการลดหย่อนไว้แล้ว จะมีผลบังคับใช้ในต้นปี 52 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% นั้นเป็นอัตราที่ต่ำกว่าทั่วโลกแล้ว

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะมีการปรับขึ้นภาษีและดำเนินมาตรการอื่นๆ เพื่อหารายได้ทดแทน ได้แก่ ภาษีเบียร์ พร้อมผลักดันโครงการหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว หรือหวยออนไลน์ เข้า ครม. จ.เชียงใหม่ ซึ่งจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มอีก 13,000-14,000 ล้านบาท และสิ้นเดือนนี้ภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่เคยอุ้มลิตรละ 1-2 บาท ตามแผน "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย" ได้กลับมาเป็นอัตราปกติแล้ว คาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น 30,000 ล้านบาท ดังนั้นรัฐบาลสูญเสียรายได้สุทธิประมาณ 10,000 ล้านบาท เท่านั้น

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะช่วยเหลือภาคเอกชน ภายใต้มาตรการภาษีจะเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในส่วนของเงินเดือนพนักงานที่บริษัทส่งไปฝึกอบรม โดยให้เพิ่มวงเงินหักค่าลดหย่อนได้ 1.5 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งปัจจุบัน กรมสรรพากรกำหนดวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับค่าใช้จ่ายค่าฝึกอบรมพนักงานได้ 1.5 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง ส่วนเงินเดือนพนักงานถือเป็นค่าใช้จ่ายจริงของบริษัทตามปกติ แต่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับเงินเดือนพนักงานที่บริษัทส่งไปฝึกอบรมจะหักเป็นค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่า ตามจริง เป็น 1.5 เท่า

นายสุชาติกล่าวว่า ได้เสนอนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ให้ลดเหลือ 20% แต่นายกฯ บอกว่ามากเกินไป จึงเห็นว่าภาษีนิติบุคคลควรจะเหลือ 25% ซึ่งเป็นอัตราที่เหมาะสม สำหรับการบริหารประเทศต่อจากนี้ยังคงให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ยืนยันจะยังคงเป็นไปตามกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ซึ่งจากเศรษฐกิจเติบโตต่ำก็อาจเป็นไปได้ที่การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลจะต่ำกว่าเป้า แต่จะพยายามไม่ให้เกิดขึ้น ส่วนการขาดดุลก็จะไม่ให้เกิน 4 แสนล้านบาท ขณะที่การสร้างความเชื่อมั่นจำเป็นมาก แต่เมื่อปัญหาเกิดจากการเมืองก็ต้องแก้ที่การเมือง

เงินเฟ้อ พ.ย. 2.2% ต่ำสุดรอบ 14 เดือน

นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนพ.ย. เท่ากับ 121.5 เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ลดลง 1.2% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2550 สูงขึ้น 2.2% แต่เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว และเฉลี่ยช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) สูงขึ้น 5.9%

ทั้งนี้ เงินเฟ้อเดือนพ.ย.ที่สูงขึ้น 2.2% นั้น เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ลดลง และขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 เดือน นับจากเดือนก.ย.2550 ที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2.1%

สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนพ.ย.2551 ลดลง เนื่องจากสินค้าในหมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 2.9% เป็นอัตราลดลงมากกว่าเดือนต.ค.ที่ลดลง 1.9% สินค้าที่ลดลงสำคัญ คือ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศลดลง 17.1% ค่าโดยสาธารณะประจำทางลดลง 3.3% แต่สินค้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันปรับขึ้น 0.6% อาทิ ผงซักฟอก น้ำผ้าปรับผ้านุ่ม แชมพู ค่าแต่งผมชาย เป็นต้น

ขณะที่สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1% สวนทางกับเดือนต.ค.ที่ติดลบ 0.2% สินค้าที่มีราคาสูง ได้แก่ ผักสดสูงขึ้น 17.7% ทั้งผักคะน้า ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ผักบุ้ง ต้นหอม มะนาม นมและผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้น 0.6% น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชอกโกเลตเพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนสินค้าที่ราคาลดลงอาทิ ผลไม้สด ข้าว น้ำมันพืช

“ถ้าเดือน ธ.ค. เงินเฟ้อยังอยู่ที่ระดับ 2.2% เหมือนเดือน พ.ย. เงินเฟ้อทั้งปีไม่น่าจะถึง 6% เพราะคำนวณดูแล้วจะอยู่ในระดับ 5.6-5.9% เท่านั้น แต่จะอยู่ช่วงไหน ต้องดูน้ำหนักระหว่างหมวดอาหารและเครื่องดื่มว่าอันไหนจะเพิ่มขึ้นมากน้อยกว่ากัน”นายศิริพลกล่าว

นายศิริพลกล่าวว่า สำหรับเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2552 กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะอยู่ในระดับ 2.5-3.5% บนสมมุติฐานราคาน้ำมันเฉลี่ย 60-70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 35-36 บาท/เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวได้ประเมินผลโดยรวมการสิ้นสุดการใช้ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลลงไปแล้ว ซึ่งผลจากการสิ้นสุดมาตรการจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1%

“นักวิชาการอาจพูดบนความสุขที่ประเมินเงินเฟ้อในปีหน้าติดลบ และประเมินบนปัจจัยที่แตกต่างกัน ซึ่งนักวิชาการอาจมองราคาน้ำมันที่ 40-50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่กระทรวงพาณิชย์มองที่ 60-70 เหรียญ/บาร์เรล และเราเอาอัตราแลกเปลี่ยนมาคิดคำนวณด้วย จึงมีมุมมองที่แตกต่างกัน และยังเชื่อว่าเงินเฟ้อปีหน้าจะขยายตัวในระดับ 2.5-3% คงไม่ติดลบ”นายศิริพลกล่าว

นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ปีหน้าเชื่อว่าแรงกดดันในด้านราคาสินค้าคงไม่มี ซึ่งจะทำให้เงินเฟ้อขยายตัวไม่รุนแรง เพราะขณะนี้น้ำมันได้ปรับตัวลดลง วัตถุดิบต่างๆ ได้ปรับตัวลดลง และเศรษฐกิจยังเป็นแบบนี้ โอกาสที่สินค้าจะปรับเพิ่มขึ้นราคาคงทำได้ยาก โดยแรงกดดันทางด้านราคาสินค้าที่จะมีต่อเงินเฟ้อ ก็คงมีแค่ผักและผลไม้เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ราคาสินค้าเป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง กรมฯ จะติดตามสินค้าที่มีต้นทุนลดลง โดยจะขอให้มีการปรับราคาลดลงตามด้วย และล่าสุดได้ขึ้นบัญชีอาหารสำเร็จรูปเป็นสินค้าอ่อนไหว เพราะหลังจากที่กรมฯ ได้ขอความร่วมมือให้ปรับลดราคาลง ก็มีบางรายที่ตอบรับ แต่บางรายไม่ตอบรับ ซึ่งจะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบ รวมทั้งเชิญให้ผู้ประกอบการมาหารือเป็นรายๆ เพื่อขอให้มีการปรับลดราคาลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us