|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
* เจาะเบื้องหลังความสำเร็จองค์กรแห่งดีไซน์
* กระบวนการ หลักคิด สร้างองค์กร-โปรดักส์
* ตอบโจทย์อย่างมี Innovative +The Corporation of Design
* โดนใจลูกค้าหลากหลาย แต่ละกลุ่ม อย่างง่ายๆ
อีกกรณีศึกษาหนึ่งที่สะท้อนความสำเร็จขององค์กรแห่งดีไซน์ ที่อธิบายได้ด้วยคอนเซ็ปต์ The Corporation of Design หรือ"โมเดลเหนือกาลเวลา" ผลงานชิ้นโบว์แดงของคณาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์แห่งการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ได้ถูกถ่ายทอดแนวคิดไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้อย่างต่อเนื่อง (ผู้จัดการรายสัปดาห์ เซคชั่น management ตั้งแต่ฉบับ 1146 ถึง 1147)
สำหรับฉบับนี้เช่นกัน ขอนำเสนอ เบื้องหลังแห่งความสำเร็จของ "เครือซีเมนต์ไทยและปูนเสือมอร์ตาร์" ในฐานะองค์กรเจ้าของและโปรดักส์แห่งนวัตกรรมและ The Corporation of design ที่ได้รางวัลยอดเยี่ยมคว้าเงิน 1 ล้านบาทให้กับทีมงาน หลังจากนวัตกรรมยอดเยี่ยมชิ้นนี้ของเครือซีเมนต์ ผลิตเข้าสู่ตลาดได้เกือบ 1 ปีเศษ แต่สามารถเพิ่มยอดขายได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์
อาจารย์ วิทยา จารุพงศ์โสภณ จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า เบื้องหลังความสำเร็จของเครือซีเมนต์ไทย ในฐานะเจ้าของแบรนด์เสือมอลต้า ซึ่งถือว่าเป็นโปรดักส์แห่งดีไซน์ที่โดดเด่น และการเป็นองค์กรแห่งดีไซน์ เกิดขึ้นเป็นกระบวนการหรือบันได 6 ขั้น ได้แก่
ข้อ 1. Human Centered ใช้คนเป็นศูนย์กลาง องค์กรเครือปูนซีเมนต์ไทย ถือเอาคนเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนา โดยมีการลงทุนไม่ใช่เฉพาะพนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงช่างฉาบด้วย ล่าสุดมีการลงทุนด้านศูนย์เทคโนโลยี่การฉาบปูนกว่า 20 ล้านบาทที่แก่งคอย จ.สระบุรี อีกทั้งยังมีการอบรมให้ฟรี ทำให้ผู้อบรมรายย่อยสามารถเข้ารับการอบรมฟรี โดยใช้การศึกษาเทคโนโลยี่การพ่นหรือฉาบปูนมี 3 หลักสูตร พัฒนาตั้งแต่พื้นฐานถึงขั้นสูงของช่างฉาบ เพื่อพัฒนาคนและช่างฉาบให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น เป็นศูนย์ฯครบวงจรที่ดีที่สุดในอาเซี่ยนในวงการธุรกิจก่อสร้าง
ข้อ 2 Observation การเฝ้าติดตามพฤติกรรมลูกค้า เนื่องจากความต้องการที่หลากหลาย ทำให้ต้องทิศทางที่สำคัญ โดยทิศทางสำคัญของปูนฯของเครือซีเมนต์ไทยกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้กับสินค้าและบริการ โดยเฉพาะปูนซีเมนต์ตัวนี้ มี 6 เรื่อง ได้แก่
1. ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องการความเร็ว จึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้งานเสร็จเร็วและได้เงินรายได้รวดเร็วขึ้น สิ่งนี้จัดเป็นอันดับแรกที่ผู้มีส่วนได้เสียอยากได้ 2. คุณภาพของช่างและผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยต้องมีความรู้ทั้งด้านบริหารธุรกิจ การตลาด และเทคโนโลยี่การก่อสร้าง 3. ทำอย่างไรจึงสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภค ลูกค้าปลายทาง เพื่อเพิ่มความมีสุนทรียภาพเข้าไปให้คนตัดสินใจซื้อ เพราะความสวยงามของฝาผนัง แทนที่ซื้อเพราะความสวยงามของปูนซีเมนต์
4. ทำอย่างไรให้สินค้าที่ผลิตขึ้นลอกเลียนแบบได้ยาก เพราะปัจจุบันหากสินค้าก๊อปปี้ได้ง่าย จะทำให้เกิดการสูญเสียประสิทธิภาพในการแข่งขัน 5.สิ่งแวดล้อม โดยปูนซีเมนต์คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นสิ่งแวดล้อมจะมาตอบโจทย์ อะไรก็ตามที่มาทำลายผู้บริโภค ชุมชนโดยภาพรวมจะไม่ทำ แต่สินค้าดังกล่าวนี้จะต้องตอบโจทย์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย 6.การลดต้นทุน โดยเฉพาะผู้รับเหมาก่อสร้าง เนื่องด้วยสปีดที่เร็วขึ้น ทำให้ต้นทุนบริหารจัดการลดลง อันนี้ตอบโจทย์
"6 ข้อนี้ เป็นโรดแม็บ (Road Map) สำคัญ หลังจากศึกษาพฤติกรรมลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย ที่ทำสำคัญทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ถูกนำมากำหนดเป็นโรดเม็บสินค้าและบริการของปูนเสือมอลต้า
3. DR&D คือ การทำวิจัยพัฒนาแบบมีดีไซน์ โดยบริษัทมีการลงทุนดีไซน์ เพื่อพัฒนาและวิจัยปูนเสือมอลต้า โดยการดีไซน์ปูนซีเมนต์ไทยใช้เวลา 8 เดือน ดูงานศึกษาต่างประเทศ ศึกษาข้อดีและข้อเสียในประเทศ รวมทั้งจุดอ่อนของคู่แข่งขัน เพื่อมาประกอบใช้ในการพัฒนา และมีการลองผิดลองถูกเทสต์กับผู้รับเหมาก่อสร้างว่าเวิร์คหรือไม่เวิร์ค
ทั้งนี้ ทีมงานสำคัญของเครือซีเมนต์ฯ มีจุดแข็ง คือ การมีเครือข่ายขนาดใหญ่ของเครือซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท ผู้รับเหมารายย่อย และเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการร่วมทุน การสร้างแบรนด์ร่วมกันของเสือมอลต้า โดยใช้ชื่อร่วมกันเป็นปูนตราเสือ
5.Rapid Prototype คือ การสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว เพื่อแปลงความคิดตกผลึกออกมาให้เห็นอย่างรูปธรรม จึงทำให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินการ ทั้งนี้การพัฒนากระบวนการ จากเดิมใช้แบบฉาบปกติ ก็หันมาใช้แบบไซโลที่มีขนาด 25 ตัน สามารถผสมปูนสำเร็จรูปไปจัดตั้งไว้ที่หน้าไซต์งาน และมีเครื่องฉีดแบบสเปรย์ (Spraying Machine) เป็นตัวบรรจุปูนสำเร็จรูป เพื่อเป็นหน่วยเคลื่อนที่เข้าไปพ่นฉาบปูนยังมุมจุดต่างๆ
6.External Network คือ การสร้างความร่วมมือออกไปยังภายนอกหรือการสร้างเครือข่าย เป็นข้อสำคัญเป็นอย่างยิ่งและเนื่องจากจุดแข็งสำคัญของเครือซีเมนต์ไทยฯ คือ ความใหญ่คงไม่สามารถแข่งขันได้รายเดียว ดังนั้นการพัฒนาตั้งแต่ ช่างฉาบ ผู้รับเหมาก่อสร้างของเครือซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ทต้องอาศัยทั้งบู๊และบุ๊น โดยด้านบู๊ ได้แก่ คนเก่งด้านเทคโนโลยี่การฉาบ ธุรกิจการก่อสร้าง แต่สำหรับด้านบุ๋น ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ การบัญชี โดยเครือซีเมนตืไทยได้ร่วมมือกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งเป็น "สถาบันนายช่างดี" เพื่อตอบโจทย์ เพื่อพัฒนาผู้รับเหมารายย่อยในประเทศไทย
ปัจจุบันได้พัฒนาไปแล้ว 4 รุ่นในการให้องค์ความรู้ในเทคนิค การพ่นปูน และการเพิ่มลวดลายของผนังฉาบ จัดเป็นเฟสที่ 1 ส่วนที่เฟส 2 คือ สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างบ้านมูลค่า 10 ล้าน ต้องการผู้รับเหมาคุณภาพดี ไม่เบี้ยวงาน สร้างเสร็จเร็วไม่ ล็อคสเป็ค ราคามีเหตุผล ติดต่อสถาบันนายช่างดี ซึ่งจะใช้เครือข่ายการพัฒนาผู้รับเหมางรายย่อยให้มีประโยชน์และรายได้ และที่สำคัญเฟสต่อไป จะเริ่มให้ประกาศนียบัตรหรือออกใบอนุญาติให้กับผู้รับเหมารายย่อยว่า รายใดบ้างที่ใช้ได้ หากไม่ได้ก็จะถูกถอดถอนใบอนุญาติและมีทีมไปตรวจสอบว่าได้ทำตามคุณลักษณะที่กำหนดไว้หรือไม่ เบี้ยวงานหรือไม่ คุณภาพงานดีหรือไม่
"นึกภาพว่าต่อไปนี้ จะมีเครือข่ายในลักษณะดังกล่าวนี้ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน แล้วในอนาคต ปูนแห่งดีไซน์ไม่ใช่เป็นเพียงเฉพาะปูนเท่านั้น แต่จะเป็นปูนที่มีการเพิ่มรูปแบบลวดลายใหม่ๆตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม"อาจารย์ วิทยา บอก
สูตรปั้นโปรดักส์ "ปูนเสือมอร์ต้าร์"
สำหรับ ตัวอย่างของความสำเร็จ ในเชิงโปรดักส์ของ "ปูนแห่งดีไซน์พร้อมฉาบของเสือมอร์ตาร์" ปรากฎให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ ปัจจุบันเพิ่มค่าเฉลี่ยช่างฉาบ 15 คน ความเร็วในการฉาบใช้คน 30 คน แต่เสือมอลต้าทำได้ดีกว่านั้น 400 คนกว่าคน โดยใช้ช่างฉาบเพียง 8 คนเท่านั้น แต่มากกว่านั้นค่าใช้จ่ายอัดฉีดในการฉาบเหลือเพียง 50 บาท เพิ่มเป็น 70 บาทต่อตารางเมตร
ที่สำคัญยังช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคของผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ 1. ผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่มีปัญหาอุปสรรค โดยเฉพาะขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้ฝีมือแรงงานที่ดีหาได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่เป็นแรงงานพม่า 2. ผู้จ้างผู้รับเหมาก่อสร้างเอง มักประสบปัญหาได้งานไม่ได้คุณภาพและมีการเบี้ยวงาน 3.คนขายปูนฯ มักมีปัญหาขายสินค้าไม่ค่อยได้กำไร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างกำไรเพิ่ม ทำอย่างไรให้สามารถขายได้ราคาแพงเพิ่มมากขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ใหญ่สำคัญ
"เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องสำคัญมากถึง 3 ฝ่าย อีกทั้งความต้องการที่หลากหลายและผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จึงต้องหาหนทางที่ทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ ถือว่าเป็นความยากของกรณีศึกษานี้ " อาจารย์ วิทยา กล่าวย้ำ
ดังนั้นจำเป็นที่ต้องนำเอาคอนเซ็ปต์ของ The Corporation of Design 3 ตัว ได้แก่ เทคโนโลยี่ กระบวนการ และสุนทรียะ จะเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับกรณีนี้โดดเด่นด้วยตัวที่ใช้นำ
1.เทคโนโลยี(Technology) จากเดิมใช้ช่างฉาบปูนฯถึง 15 คน ซึ่งฝึมืออาจไม่ได้มาตรฐานทัดเทียมกัน และเสร็จช้า 80 ตารางเมตรต่อวัน แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี่ฯที่คนไทยคิดค้นเอง ทำให้สามารถเปลี่ยนจากฉาบปูนฯเป็นพ่นปูนฯ ได้ผลงาน 400 ตารางเมตรต่อวัน
2. สุนทรียะ(Aesthetic) เนื่องจากเมื่อเวลาซื้อขายไม่ได้ซื้อปูนและไม่เคยตระหนักรู้ว่ายี่ห้อไหนดี ทำให้การซื้อปูนเป็นเพียงการทำการซื้อแบบไม่รู้ นอกจากนี้ ความจริงแล้วลูกค้าซื้อฝาผนังไม่ได้ซื้อปูนฯ ดังนั้นความยาก คือ การนำเอาปูนซีเมนต์ออกมาโชว์ข้างนอก กล่าวคือ ความสุนทรียะภาพ เข้ามาตอบโจทย์ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคปลายทาง นั่นคือ เจ้าของบ้านอย่างพวกเรานั่นเอง
3.กระบวนการ (Process) ที่ผ่านมามีเคยมีความพยายามแก้ปัญหาโจทย์นี้ โดยใช้ปูนสำเร็จรูป แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเนื่องจากการใช้ต้องใช้น้ำเติม แต่มีปัญหาอีกเช่นกัน เพราะช่างฉาบไม่ร่วมมือ โดยมีเพียงช่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น ส่วนต่างจังหวัดไม่ยอมรับ และที่สำคัญ คือ ต้นทุนแพงไม่ตอบโจทย์ลูกค้าและช่างฉาบ ซึ่งเมื่อผู้มีส่วนสำคัญไม่เอาก็ไม่สามารถดำเนินการได้
โมเดล 6 ขั้นตอน ธุรกิจเหนือกาลเวลา
6 ขั้นตอนของการก้าวไปสู่องค์กรมีดีไซน์ ประกอบด้วย หนึ่ง- การให้ความสำคัญกับคน เป็นศูนย์กลาง (Human Centered) มีการสร้างสภาพแวดล้อมมีดีไซน์ เพื่อคนสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ คนภายนอก คือ ลูกค้าและคนภายใน คือ พนักงาน โดยเน้นสร้างความสุขให้พนักงาน เพื่อส่งต่อความสุขให้ลูกค้า อีกทั้งทุกนโยบาย มาตรการต้องตอบให้ได้ว่า "เพื่อใคร"
สอง-การสังเกตการณ์ในบริบท (Observation in Context) เพื่อให้รู้พฤติกรรม ความเป็นอยู่และความต้องการของเขาอย่างชัดเจนและต้องเป็นการสังเกตการณ์ให้ความสำคัญกับบริบทแวดล้อม ทั้งนี้บางคนรู้แต่ไม่กล้าบอก บางทีรู้แต่บอกไม่ได้ อธิบายไม่ถูก และไม่ต้องถาม แต่ต้องสังเกตเอาเอง
สาม-การวิจัยพัฒนาแบบมีดีไซน์ (Design, Research, Development) มุ่งตอบโจทย์และปัญหาที่กำหนดหรือที่ลูกค้าต้องการจากทีม (Research & Development)โดยมีการลงทุนด้านดีไซน์ วิจัยและพัฒนา ไม่ใช่ดีไซน์เพื่อตกแต่ง หรือเสริมสวย และตอบโจทย์อย่างมีสุนทรียะตั้งแต่ต้น อีกทั้งมีการตั้งคำถามในมุมมองนักดีไซน์ เข้าใจพฤติกรรม และมีนักดีไซน์ เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อการดีไซน์ในแล็บ
สี่- โดยมีการใช้ทีมงานข้ามสาย (Team of Integration) โดยสร้างแต่ละคนให้มีความรู้แบบบูรณาการ สร้างทีมที่มีมุมมองหลากหลาย แตกต่าง และอย่างน้อยเบื้องต้นต้องมีทีมบูรณาการ หรือทีมจากหน่วยงานต่างๆมาร่วมกันในการตัดสินใจหรือการดีไซน์
ห้า- สื่อสารด้วยต้นแบบด่วนโดยการแปลงความคิดออกมาให้คนอื่นเห็นเหมือนกับการตัดแปะ คล่องตัว และเห็นภาพ (Rapid Prototyping) ในต้นแบบที่ง่าย เร็ว และถูก โดยแปลงนามธรรมเป็นรูปธรรม และสื่อสารกันง่าย เข้าใจตรงกัน ทั้งนี้เพื่อลดเวลาการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพิ่มความเร็วในการออกสู่ตลาด และส่งเสริมวัฒนธรรมการทดลอง
หก- การสร้างความร่วมมือออกไปภายนอกหรือพันธมิตรธุรกิจ เพื่อเร่งความสำเร็จ (External Network) เนื่องจากองค์กรไม่จำเป็นต้องเก่งทุกเรื่อง เป็นการสร้างความร่วมมือตามขั้นตอนห่วงโซ่คุณค่า และสอดคล้องกับแนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด
|
|
 |
|
|