Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532
กว่าจะมีวันนี้ของเอลฟ์ (Elf)             
 


   
search resources

Societe Nationale Elf aquItaine - (SNEA)
บุญเอก โฆษานันตชัย
Oil and gas




"เอลฟ์" เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าที่กลุ่มบริษัท SOCIETE NATIONALE ELF AQUITAINE (SNEA) บัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ของโลกเมื่อปี 1967 หลังจากที่ได้ดำเนินธุรกิจสำรวจขุดเจาะและผลิตน้ำมันและก๊าซขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1939

ความยิ่งใหญ่ของ "เอลฟ์" ในแวดวงอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมีมากมายมหาศาล ในเอกสารรายงานประจำปี 1988 ของ "เอลฟ์" ระบุว่า มีธุรกิจ 3 แขนงที่เอลฟ์เข้าไปดำเนินการอย่างจริงจัง คือ หนึ่ง - น้ำมันและก๊าซ สอง - ผลิตภัณฑืเคมี สาม - น้ำหอมและผลิตภัณฑ์ความงามที่ได้จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และสุดท้ายด้านวิจัยและการพัฒนา

ELF AQUITAINE เป็นบริษัทที่นำในธุรกิจน้ำมันและก๊าซของกลุ่ม ขณะที่บริษัท ATOCHEM TEXASGULF และ M & T CHEMICALS เป็นบริษัทหลักของกลุ่มในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีส่วนน้ำหอมและผลิตภัณฑ์ความงาม บริษัท SANOFI เป็นตัวยืนในการดำเนินธุรกิจด้านนี้

ไม่มีหลักฐานข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับยอดขายและทรัพย์สินของกลุ่มเอลฟ์ แต่การเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหุ้นที่ฝรั่งเศสและมีคนงานทั่วโลกอยู่ประมาณเกือบ 80,000 คน ก็เพียงพอจะยืนยันความเป็นบริษัทมหาชนที่ยิ่งใหญ่ได้

เอลฟ์ปฏิบัติการธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในดินแดนยุโรปและอเมริกา ขณะที่เอเชียเอลฟ์เพิ่งจะเข้ามาเมื่อปี 1976 เท่านั้น โดยตั้งสำนักงานสาขาที่สิงคโปร์

เรียกว่าสำหรับในดินแดนเอเชียแล้ว เอลฟ์เป็นคนแปลกหน้าเอามาก ๆ เมื่อเทียบกับยักษ์ใหญ่ปิโตรเลียมอย่างเชลล์หรือเอสโซ่

ความที่เอลฟ์เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าที่เพิ่งถูกบัญญัติขึ้นเมื่อ 20 ปีเศษผ่านมานี้เองและเพิ่งจะเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจในเอเชียเมื่อ 10 ปีเศษให้หลังนี้เอง จึงแทบจะไม่ต้องพูดกันมากเลย ที่คนไทยจะรู้จักเอลฟ์น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับเชลล์และเอสโซ่

"ช่วงแรก ๆ ที่ผมขายน้ำมันเครื่องเอลฟ์ในเมืองไทย ลูกค้าหลายคนนึกว่าผมเอาชุดชั้นในยี่ห้อ "เอลฟ์" (ELFE) มาขายเพราะทั้งเสียงและชื่อยี่ห้อคล้ายกันมาก" บุญเอก โฆษานันตชัยกรรมการผู้จัดการบริษัท RACTRADING ผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวของเอลฟ์ในเมืองไทยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงอุปสรรคในการเจาะตลาดน้ำมันเครื่องในเมืองไทยช่วงแรก ๆ

บุญเอกเป็นนักธุรกิจที่คลุกคลีอยู่กับธุรกิจน้ำมันเครื่องมาเป็นเวลานานนับ 12 ปีแล้ว เขาเป็นคนชอบกีฬาความเร็วพอ ๆ กับร้องเพลง ที่ครั้งหนึ่งสมัยเป็นนักเรียนมัธยมที่อำนวยศิลป์ เขาชองร้องเพลงถึงขนาดฟอร์มวงดนตรีขนาดย่อม ๆ ขึ้นเล่นกันเองในหมู่เพื่อนฝูง

ด้วยความหลงใหลในกีฬาความเร็วนี้เอง ทำให้บุญเอกมีความคิดในเชิงธุรกิจขึ้นมาว่าน่าจะเอาน้ำมันเครื่องชั้นดีมาขายในตลาดเมืองไทย ปัญหามีอยู่ว่าจะใช้ช่องทางจัดจำหน่ายตรงไหน เนื่องจากตลาดน้ำมันเครื่องส่วนใหญ่จะอยู่ในปั๊มน้ำมัน ที่ผูกขาดโดยบริษัทเชลล์และเอสโซ่

ช่วงเวลานั้นอยู่ในปี 2521 วิกฤติการร์น้ำมันทั้งโลกเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 และมีผลทำให้ตลาดน้ำมันทุกชนิดในเมืองไทยราคาแพงขึ้น และไม่เพียงพอต่อความต้องการ "ปั๊มน้ำมันทุกปั๊มเวลานั้น มีกำพรต่อลิตรน้อยมาก อีกทั้งเวลาการเปิดบริการก็แค่ 5 โมงเย็นก็ต้องปิดแล้ว เพราะรัฐบาลต้องการให้ประชาชนประหยัดการใช้น้ำมันเหตุนี้ยิ่งกระหน่ำให้เจ้าของปั๊มหลายรายเลิกกิจการไป บางรายที่ยังยืนหยัดธุรกิจขายน้ำมันต่อก็หันไปลงทุนเปิดศูนย์บริการอัดฉีด เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องนอกปั๊ม ซึ่งสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชม.และทุกวัน" บุญเอกเล่าย้อนเหตุการณ์ถึงการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของปั๊มน้ำมันในช่วงเวลานั้น

จุดนี้เองเป็นช่องว่างให้บุญเอกเริ่มเจาะตลาดน้ำมันเครื่องเอลฟ์ ตามศูนย์บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและล้างอัดฉีดนอกปั๊ม นอกเหนือจากช่องทางตามร้านค้าปลีกทั่วไป

ผู้ค้าน้ำมันเครื่องนอกปั๊มเวลานั้น ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ก็คือคาสตรอล ซึ่งเจาะตลาดนี้มาตั้งแต่กลางปี 2515 โดยคาสตรอลยึดตลาดใน SEGMENT คุณภาพสินค้าระดับเกรดปานกลาง ขณะที่ตลาดเกรดสูงยังไม่มียี่ห้อไหนทำอย่างจริงจัง

บุญเอกมองเห็นช่องว่างตลาดผู้บริโภคตรงนี้ได้ชัดเจนเขาจึงน้ำเอลฟ์เกรดสูง เข้ามาเจาะตลาดบนนี้ ด้วยความเชื่อในพฤติกรรมผู้บริโภคว่า ยิ่งรถมีราคาแพง ผู้บริโภคก็ยิ่งจะพิถีพิถันในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพสูงเพื่อบำรุงรักษาเครื่องยนต์

แต่ความที่เอลฟ์ยังใหม่อยู่มากในสายตาศูนย์บริการ และผู้ใช้นี้เองทำให้บุญเอกแทบจะต้องเลิกธุรกิจนี้ไปเลยช่วง 3-4 ปีแรก แต่พระเจ้าก็มักจะเห็นใจผู้ต่อสู้เสมอช่วงปี 2525 ตลาดรถยานยนต์เริ่มบูมขึ้นพร้อม ๆ กับรถยนต์จากคายยุโรปเป็นที่นิยมจากผู้ใช้เนื่องจากรถยนต์จากค่ายญี่ปุ่นมีราคาแพงขึ้นขณะที่คุณภาพด้อยลงโดยเปรียบเทียบ

แม้เอลฟ์จะยังใหม่อยู่เวลานั้น แต่ความที่บุญเอกวาง POSITIONING สินคาไว้ที่คุณภาพสุงตลอดเวลาอย่างมั่นคง ประกอบกับใช้วิธีเจาะตลาดโดยกระจายสินค้าตามร้านค้า และศูนย์บริการทั่วไปอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ใช้รถเริ่มหันมาทดลองใช้เอลฟ์มากขึ้น ขณะที่บุญเอกก็เริ่มส่งเสริมการขายโดยเป็นสปอนเซอร์ร่วมจัดรายการแข่งขันรถจักรยานยนต์และรถแข่งตามโปรแกรมการแข่งขันต่าง ๆ อย่างจริงจัง

"เอลฟ์" ที่บุญเอกฟูมฟักมา 3-4 ปีก็เริ่มเห็นอนาคตเรืองรอง จากยอดขายในปีแรก 2 ล้านบาท แบบฝากขาย ก็เริ่มค่อย ๆ ไต่บันไดขึ้นเป็นหลักสิบล้านบาทและหลายสิบล้านบาทตามจำนวนปีที่อยู่ในตลาด

ตลาดน้ำมันเครื่อง(ทั้งในปั๊มและนอกปั๊ม) สำหรับจักรยายนต์ปีที่แล้ว ถ้าคิดแบบอนุรักษ์จะตกอยู่ราว ๆ 1,200 ล้านบาท (จำนวนรถประมาณ 4 ล้านคัน) กว่า 50% ผู้ใช้รถเปลี่ยนถ่านน้ำมันเครื่องนอกปั๊มทั้งสิ้น

แหล่งข่าววงการค้าน้ำมันเครื่องชั้นนำรายหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ส่วนแบ่งตลาดนอกปั๊มเกรดสูง เอลฟ์เป็นผู้นำอยู่ กินส่วนแบ่งประมาณ 40% ส่วนเกรดปานกลางคาสตรอลยังปักหลักเป็นผู้นำอยู่อย่างแน่นหนา โดยมีมอลลาเป็นตัวตามอย่างใกล้ชิด แต่เมื่อรวมทั้งตลาดเฉพาะภายนอกปั๊มแล้ว เอลฟ์น่าจะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 18%

ส่วนแบ่งตลาดเพียง 18% สำหรับบุญเอกแล้ว เขาถือว่าเอลฟ์เกิดอย่างภาคภูมิแล้วในเมืองไทย หลังจากใช้เวลาฟูมฟักมาเป็นเวลาร่วม 12 ปี

แต่วิสัยความเป็นพ่อค้าของบุญเอก ย่อมไม่หยุดอยู่ตรงนี้ เขายังบุกตลาดต่อไป โดยยึดตลาดเกรดปานกลางเป็นธงนำ "ตลาดกลางมีสัดส่วน 40-45% ของทั้งหมด มันใหญมากพอคุ้มกับการลงทุนแน่นอน" บุยเอกให้เหตุผลกับ "ผู้จัดการ"

ปัญหามีอยู่ว่า เขาจะเจาะและขยายส่วนแบ่งตลาดส่วนนี้ไปได้อย่างไรเมื่อต้องปะทะกับยักษ์ใหญ่ผู้มาก่อนอย่างคาสตรอลและมอลล่าจากค่ายเชลล์

จุดนี้คือที่มาสงครามน้ำมันเครื่องนอกปั๊มระหวางคาสตรอลกับเอลฟ์ที่ดุเดือดในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา

บุญเอกกับทนง ลี้อิสระนุกูลเป็นเพื่อนกันมานาน ทนงนั้นเป็นลูกชายของปริญญาเจ้าพ่อค่ายสิทธิผล ทนงปั้นยางรถจักรยานยนต์ IRC จนติดตลาดทั่วฟ้าเมืองไทย แต่ทนงไม่มีน้ำมันเครื่องขาย การบรรจบกันของบุญเอกกับทนงแห่งสิทธิผล 191 ก็ลงเอยกัน โดยบุญเอกให้ทนงเป็น SUB-AGENT ให้เจาะตลาดน้ำมันเครื่องเกรดปานกลางให้

"ขายยางควบน้ำมันเครื่องเอลฟ์ และได้มือเซลส์ของค่ายสิทธิผล 191 ของทนงเป็นการตัดสินใจร่วมมือทางการตลาดที่เยี่ยมยอดของบุญเอกโดยแท้ที่เขาสามารถเอาจุดแข็งใน NET WORK ตลาดของสิทธิผล 191 ไปปะทะกับจุดแข็งในยี่ห้อของคาสตรอล แต่อ่อนด้าน NET WORK ตลาด" นักวิเคราะห์ตลาดน้ำมันเครื่องเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

บุญเอกกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ในศึกสงครามกับคาสตรอลครั้งนี้ว่า เอลฟ์จะสู้กับคาสตรอลในตลาดเกรดปานกลางจนถึงที่สุด เพราะถ้าเอลฟ์ชนะสงครามนี้ นั่นหมายถึงเอลฟ์จะยึดตลาดน้ำมันเครื่องนอกปั๊มทั้งตลาดบนและตลาดกลางไปได้อย่างสบาย ๆ รองรับกับโครงการลงทุนร่วมผลิตน้ำมันเครื่องเอลฟ์ในเมืองไทยที่เขากำลังเจรจาในรายละเอียดอยู่กัเบอลฟ์ที่ฝรั่งเศสได้อย่างเหมาะสม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us