Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 ธันวาคม 2551
จัดสรรปีหน้าส่งสัญญาณฟุบแบงก์ปรับเกณฑ์เข้มปล่อยกู้อสังหาฯ             
 


   
search resources

Loan




*คาดแนวโน้มสินเชื่อบ้านปีหน้าหดตัว 20% สวนทางดอกเบี้ยไทยขาลง
*หลังแบงก์ตื่นตัวผวาหนี้เสีย ตั้งกำแพงตรวจเข้ม ปรับเกณฑ์พิจารณาเข้มก่อนปล่อยกู้รายย่อย-โครงการ
*เศรษฐกิจฝืด เผยสัญญาณนักเก็งกำไรปูด ปีหน้าแห่ทิ้งดาวน์เพียบ หลังคอนโดทยอยเสร็จ

ความรุนแรงของซับไพรม์ ที่แปรเป็นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ลุกลามจนทำให้วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ในอเมริกาล้มลง เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและขยายวงกว้างจนกลายเป็นวิกฤตของโลก สำหรับประเทศไทยแม้จะมีคำยืนยันจากกูรูด้านการเงินที่อยู่อาศัย กิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยว่า ปัญหาซับไพรม์จะไม่เกิดขึ้นในไทย เนื่องจากระบบการเงินที่อยู่อาศัยในไทยมีความแตกต่างจากอเมริกา แต่ผลพวงของวิกฤตที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้การลงทุนทั่วโลกชะงักงัน กำลังซื้อหดตัว และเมื่อสถาบันการเงินวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเป็นที่มาของลงทุนใหม่ๆ จะเกิดได้ยากขึ้นด้วย

“ที่ผ่านมาตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบพอสมควร แนวโน้มตลาดสินเชื่อปีหน้าอาจจะหดตัวลงถึง 20% ตามภาวะเศรษฐกิจ เพราะธนาคารระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น แต่ในปีนี้ตลาดคงจะหดตัวลงไม่มากนัก เพียงแค่ 10% เพราะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดค่าธรรมเนียมการโอน การจดจำนองมาช่วยกระตุ้นให้คนตัดสินใจซื้อบ้านในปีนี้ และหากมีการต่ออายุมาตรการออกไปก็ยังประเมินยากว่าตลาดจะเป็นอย่างไร ต้องดูภาวะเศรษฐกิจ การตกงานด้วย” กิตติกล่าว

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปปล่อยใหม่ทั่วประเทศ ณ ไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 79,477 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้ว เป็น 79,763 ล้านบาท

แม้ไทยจะใช้ระบบการเงินที่อยู่อาศัยต่างจากอเมริกา แต่กิตติเตือนว่าต้องระวังเรื่องซับไพรม์ที่อาจจะซ่อนอยู่ในการปล่อยสินเชื่อด้วย เพราะจากการแข่งขันของตลาดที่รุนแรง ทำให้ที่ผ่านมามีบางโครงการลดหย่อนเงินดาวน์และรายได้ของผู้กู้ต่ำกว่าที่ควร รวมถึงปัจจุบันการประเมินราคาทรัพย์สินที่นำมาใช้ในการพิจารณาวงเงินปล่อยกู้ ยังไม่มีกฎหมายมาควบคุม เพราะร่างกฎหมายควบคุมวิชาชีพผู้ประเมินราคา ที่เสนอโดยกรมธนารักษ์ยังค้างอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฏีกา จึงไม่แน่ใจว่าในการปล่อยสินเชื่ออาจมีการประเมินราคาสูงเกินจริงบ้างหรือไม่ ซึ่งจะเป็นอันตรายเหมือนช่วงวิกฤตปี 2540

ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทยฯ กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 4 จะมีการแข่งขันในตลาดสินเชื่อรุนแรงขึ้น ทำให้ภาพรวมของสินเชื่อปล่อยใหม่ทั้งปีอาจจะเติบโตถึง 8.2-9% ได้ โดยมีปัจจัยเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาช่วยหนุน แต่อย่างไรก็ตามทิศทางในปีหน้าแม้ดอกเบี้ยนโยบายจะลง แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากคงจะไม่ลดลงตามในทันที เนื่องจากในตลาดเงินฝากยังมีการแข่งขันกันสูง ส่วนการปล่อยสินเชื่อใหม่ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยอาจจะลดลง เนื่องจากในปีหน้าธนาคารฯ จะเริ่มนำระบบ Credit Bureau Scoring มาใช้ในการพิจารณาสินเชื่อ โดยจะนำเอาข้อมูลจากเครดิตบูโรมาพิจารณาให้คะแนนร่วมกับข้อมูลจากลูกค้าด้วย ทำให้พิจารณาได้ละเอียดขึ้นถึงพฤติกรรมการชำระเงินของลูกค้า กลายเป็นเกณฑ์ที่เข้มขึ้นไปโดยปริยาย

คนซื้อยื้อขอกู้ รอดอกเบี้ยลงต่ำสุด

ทิศทางดอกเบี้ยที่อยู่ในขาลง มีผลทำให้คนซื้อบ้านบางรายไม่แน่ใจ รอเวลาให้ดอกเบี้ยลงต่ำสุดก่อนจะยื่นขอสินเชื่อ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกธนาคาร ทำให้ในไตรมาสสุดท้ายทุกรายจำเป็นจะต้องงัดแคมเปญ ปรับลดดอกเบี้ยลงพร้อมการพิจารณาของ กนง. ในต้นเดือน ธ.ค. ทันที เพื่อเร่งการตัดสินใจของลูกค้า ผลักดันยอดสินเชื่อให้ได้ตามเป้า ในขณะที่ลูกค้าบางรายเริ่มเผยออกมาแล้วว่าเป็นนักเก็งกำไร เพราะมีการทิ้งเงินดาวน์ ซึ่งอภิชาติ อรรฆย์ฐากูร ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายสินเชื่อเคหะ ธนาคารนครหลวงไทยฯ กล่าวว่า ในวันที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลงต่ำเหลือ 350 จุด มีดีเวลลอปเปอร์บอกว่ามีลูกค้าโทรมาขอไม่โอน สูญเสียเม็ดเงินถึง 50 ล้านบาทในวันเดียว สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นในอนาคตของตลาด ในส่วนของธนาคารฯ มีกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มนักเก็งกำไรมาขอยกเลิกแล้ว 5% ส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อในกลุ่มตลาดกลาง ราคาตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ทำให้ภาพรวมการปฏิเสธสินเชื่อของธนาคารฯ สูงขึ้น ในปีหน้าคาดว่าสัญญาณของนักเก็งกำไรจะชัดขึ้น เพราะคอนโดมิเนียมจะทยอยสร้างเสร็จและเริ่มโอนมากขึ้นในปีหน้า

แบงก์เข้มเกณฑ์ปล่อยกู้

อภิชาติกล่าวว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่หดตัวลง ความเสี่ยงที่สูงขึ้น ทำให้ธนาคารต้องระวัง มีการปรับเกณฑ์การพิจารณาปล่อยสินเชื่อ เช่น เพิ่มเพดานเงินเดือนผู้กู้จากเดิม 10,000 บาทเป็น 13,000 บาท ค่าเลี้ยงชีพในกรุงเทพฯ ขั้นต่ำหลังหักค่าใช้จ่ายจากเดิม 6,000 บาท เป็น 8,000 บาท ส่วนผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน พึ่งพารายได้จากค่าคอมมิสชั่นหรือโอที ในส่วนดังกล่าวธนาคารจะมองวิเคราะห์ไปถึงแนวโน้มในอนาคตด้วยว่า รายได้นี้จะมีทิศทางหดตัวลงหรือไม่ จากเดิมที่เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลรายได้จากอดีตถึงปัจจุบันเท่านั้น

ด้านการปล่อยสินเชื่อโครงการ อภิชาติชี้ว่า ขณะนี้ธนาคารฯ เข้มงวดในการพิจารณามากขึ้น ปล่อยกู้ในวงเงินที่ลดลง ทำให้ดีเวลลอปเปอร์ต้องอาศัยทุนตัวเองมากขึ้น เป็นอุปสรรคทำให้รายใหม่จะเข้าสู่ตลาดยากขึ้น ขณะนี้ธนาคารงดปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการที่เจาะตลาดล่างและบ้านพักตากอากาศแล้ว เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูงในช่วงนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us