Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532
ทำไมต้องคอมพิวเตอร์ไรซ์             
 


   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วีรศักดิ์ สุขอาณารักษ์
Computer




สิ้นปีนี้ ตลาดหุ้น จะมีซัพพลายเพิ่มขึ้นประมาณ 30% และในปลายปี 2533 ตลาดหุ้นไทยจะเริ่มระบบการซื้อขายหุ้นแบบใหม่โดยใช้คอมพิวเตอร์แทนการเคาะกระดานอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มันเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็วชนิดที่โบรกเกอร์ส่วนมาก ยังตั้งตัวไม่ค่อยจะติดทำไม และเบื้องหลังของรายการนี้คืออะไรและมีผลอย่างไรต่อการซื้อขายหุ้น ความคิดที่จะใช้ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ในตลาดหลักทรัพย์ไทยเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว แต่เมื่อจะเริ่มมีการเปลี่ยนระบบการซื้อขายเข้าจริง ๆ กลับใช้เวลาในการตัดสินใจเลือกระบบในช่วงเวลาไม่กี่เดือน ข้อสงสัยจึงย่อมเกิดขึ้นในใจของคนเป็นจำนวนมากในวงการ แม้ว่าตลาดหลักทรัพย์ฯได้ทำการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอกและภายในวงการให้มาร่วมพิจารณาโดยมีมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาชุดหนึ่งเป็นเกณฑ์วัดก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯเร่งรัดให้บริษัทสมาชิกหรือโบรกเกอร์ทั้งหลายตัดสินใจเข้าร่วมในโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า (SOFTLOAN & GRANT) จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสหรัฐฯ (EXPORTIMPORT BANK หรือ EXIM BANK) เพื่อใช้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์โดยให้เวลาพิจารณาเพียงเล็กน้อย มันจึงยิ่งเป็นการสร้างความอึดอัดใจและคลางแคลงใจให้แก่บรรดาโบรกเกอร์เพิ่มมากขึ้น

ทำไมความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตธุรกิจการค้าหลักทรัพย์จึงใช้เวลาพิจารณาตัดสินใจอย่างรวดเร็วและรีบร้อนปานฉะนี้ ผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ระบบใหม่จะยังรักษาความยุติธรรมในการดำเนินธุรกิจไว้ได้อย่งเดิมหรือดีกว่าจะแก้ไขจุดอ่อนทั้งหลายในระบบเดิมได้หรือไม่ โฉมหน้าใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯจะเป็นอย่างไร

ระบบการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์ฯใช้อยู่ในปัจจุบันเรียกว่าระบบเคาะกระดานหรือตามศัพท์ฝรั่งเรียก OPEN AUCTION คือการประมูลแบบเปิด ซึ่งมีหลักการอยู่ที่ว่า ผู้ที่ซื้อคือผู้ที่เสนอซื้อในราคาสูงที่สุดและผู้ที่ขายก็คือผู้ที่เสนอขายในราคาต่ำสุด ระบบนี้นำมาจากฮ่องกงและเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2518 เมื่อเปิดตลาดฯทำการซื้อขายเป็นครั้งแรก ในระบบนี้จะมีการแต่งตั้งโบรกเกอร์เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์แทนนักลงทุนซึ่งมีจำนวนมากมายเป็นแสนเป็นล้านคน

ดร.วีรศักดิ์ สุขอาณารักษ์ รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯเปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่าระบบโอเพ่น ออคชั่นเป็นระบบที่ทางตลาดฯมีความพอใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นระบบที่ให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่ายทั้งในแง่ของนักลงทุน โบรกเกอร์และตลาดฯ แต่เมื่อตลาดฯขยายตัวมาถึงจุดหนึ่ง ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็พยายามที่จะคงหลักการที่ยุติธรรมนี้ไว้ให้มากที่สุด

มูลเหตุสำคัญ 3 ประการที่ทำให้ต้องเปลี่ยนระบบการเคาะกระดานมาใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่ง ดร.วีรศักดิ์เล่าให้ฟังคือเรื่องการเพิ่มปริมาณหุ้นอย่างมาก และภายในเวลาอันรวดเร็ว บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในสิ้นปีนี้จะมีอย่างน้อย 200 บริษัทขณะที่ตัวเลขเมื่อสิ้นปี 2531 มีบริษัทจดทะเบียน 141 บริษัท และมีหลักทรัพย์ทำการซื้อขาย 165 หลักทรัพย์ หรืออีกนัยหนึ่งเพิ่มขึ้น 30%

การมีปริมาณหุ้นเพิ่มขึ้นมากในสัดส่วนเช่นนี้ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอีก 2 ปีข้างหน้ากระดานที่ใช้เขียนราคาซื้อขายหุ้นจะไม่เพียงพอกับหลักทรัพย์ใหม่ ๆ ที่เข้ามาจดทะเบียนซื้อขายกัน

นอกจากนี้เมื่อเทียบสัดส่วนของพื้นที่ในห้องค้าหลักทรัพย์ซึ่งมีอยู่ประมาณ 688 ตารางเมตรปริมารหลักทรัพย์ 165 ตัวกับจำนวนเทรดเดอร์ที่ตลาดฯอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติงานในห้องค้าฯได้โบรกเกอร์ละไม่เกิน 20 คน ซึ่งโดยส่วนมากก็ส่งมาเต็มตามจำนวน รวมกับเจ้าหน้าที่ของตลาดฯ ก็คาดว่ามีคนในห้องค้าฯอยู่ประมาณ 8-900 คน เฉลี่ยแล้วแต่ละคนจะมีพื้นที่ไม่ถึง 1 ตารางเมตร ขณะทีตามมาตรฐานแล้วควรจะมีพื้นที่ 1.5 ตารางเมตรต่อคน

ความแออัดยัดเยียดในห้องค้าฯ กอปรกับอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจก่อให้เกิดปัญหาการทะเลาะ และถึงขั้นจะวางมวยก็มีหลายครั้งหลายคราในหมู่เทรดเดอร์ด้วยกัน

แน่นอนว่าเมื่อเลิกการเคาะกระดานแล้วหันมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แทนนั้น ความจำเป็นที่จะต้องใช้เทรดเดอร์ถึง 20 คนต่อโบรกเกอร์ 1 แห่งก็เป็นอันหมดไป กระดานาขนาดกว้างเพื่อบรรจุรายชื่อหลักทรัพย์ที่ทำการซื้อชายก็ไม่จำเป็นด้วยเช่นกัน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นแทนภาพห้องค้าฯ ที่มีเทรดเดอร์วิ่งวุ่นใน 2 ชั่วโมง การซื้อขายคือ บอร์ดอีเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่มีรายชื่อหลักทรัพย์ทั้งหมดพร้อมราคาเสนอซื้อขายล่าสุด และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยเมื่อมีการคีย์คำสั่งเข้ามาจากโบรกเกอร์ เทรดเดอร์ทั้งหลายจะกลับไปประจำที่จอมอนิเตอร์ตามบูทของแต่ละบริษัท

มูลเหตุประการต่อมาที่ระบบการซื้อขายด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาได้คือจุดอ่อนบางประการในระบบการเคาะกระดาน

ดร.วีรศักดิ์กล่าวว่าปัญหานี้ไม่ใช่เป็นประเด็นสำคัญนัก มันเป็นจุดอ่อนที่สามารถแก้ได้หากมีระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์ นั่นคือเรื่อง FRONT RUN หรือในความหมายที่ว่าการชิงตัดหน้า ปัญหานี้เกิดจากการที่เทรดเดอร์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับโบรกเกอร์ตั้งตัวเป็นกลุ่ม เมื่อรู้ว่าใครจะเข้ามาซื้อ เช่น ฝรั่งจะเข้ามาซื้อหุ้นตัวนี้ ๆ ก็รีบมาซื้อไว้ก่อน ดังนั้นจึงสามารถปั่นหุ้นได้

ปัญหาเรื่อง FRONT RUN นี้ทางตลาดหลักทรัพย์ฯและโบรกเกอร์เองก็มีการตรวจสอบ แต่ยังมีจุดอ่อนที่ให้เทรดเดอร์เข้าไปทำได้ อย่างไรก็ดี เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ในการซื้อขายแล้ว ปัญหานี้จะหมดไปโดยอัตโนมัติ เพราะเทรดเดอร์จะนั่งประจำอยู่ตามบริษัทของตนและคีย์คำสั่งซื้อขายตามคิว (QUEUING) การจะแทรกคำสั่งทำให้ยากมาก

ในประการสุดท้ายคือปัญหาเรื่องการควบคุมให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขายและอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบ เพราะในการซื้อขายจะมีการกำหนดบัญชีของลูกค้าที่ทำคำสั่งซื้อขายและรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกค้า เมื่อทำคำสั่งซื้อขายและเทรดเดอร์คีย์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว คำสั่งนั้น ๆ จะดำเนินไปตามลำดับขั้น โดยไม่มีการสะดุดชะงักหรือถูกแทรก

นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังไม่สามารถรวมคำสั่งซื้อขายหุ้นตัวเดียวกันของลูกค้าหลายรายเข้าไว้ด้วยกันได้ เพราะแต่ละรายจะมีหมายเลขบัญชีของตัวเองชัดเจน (ACCOUNT NUMBER) และในกรณีนี้ตลาดกำลังพิจารณาอนุญาตให้ทำคำสั่งขายได้ไม่เจ็บ BOARD LOT เพื่อที่จะให้กฎเกณฑ์ในการซื้อขายนี้เข้าได้กับระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์

ส่วนบรรดานักลงทุนต่างจังหวัดนั้นก็จะได้รับความสะดวกและยุติธรรมเท่าเทียมกับนักลงทุนในกรุงเทพฯ เพราะไม่ว่าโบรกเกอร์จะตั้งบูทตรงไหนเทรดเดอร์ก็สามารถทำคำสั่งซื้อขายเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์มาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯได้จากทุกจุดในประเทศไทย มีข้อแม้ก็แต่เพียงว่าโบรกเกอร์ต้องไปขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเปิดสาขาในต่างจังหวัดให้ได้ ซึ่งปัญหานี้ตลาดหลักทรัพย์ฯกำลังเจรจาต่อรองกับธนาคารชาติอยู่

อย่างไรก็ดี ดร.วีรศักดิ์ได้กล่าวย้ำกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่ามูลเหตุ 2 ประการหลังนี้ถือว่ามีความสำคัญน้อยกว่าประการแรก และการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในส่วนของการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็น front office ก็จะยิ่งทำให้เกิดการประสานงานกันได้มากขึ้นกับส่วนงาน BACK OFFICE อันได้แก่ระบบชำระราคาและส่งมอบหุ้นศูนย์บริการรับฝากใบหุ้น งานทะเบียนหุ้น ฯลฯ ซึ่งได้นำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในก่อนหน้านี้แล้ว

แนวคิดที่จะใช้ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์มีมาหลายปีแล้ว แต่เริ่มจะเป็นรูปเป็นร่างจริง ๆ ก็เมื่อต้นปี 2530 เมื่อคณะอนุกรรมการประกวดราคาระบบซื้อขายหลักทรัพย์ได้เดินทางไปดูระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์ของตลาดหุ้นไต้หวันซึ่งเป็นแบบโอเพ่น ออคชั่น เหมือนของไทยโดยใช้ระบบแทนเด็มของฟิลิปส์ ในครั้งนั้นไต้หวันเสนอที่จะให้ซอฟแวรืการซื้อขายหลักทรัพย์ฟรีหากไทยจะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้จริง

แต่ปรากฎว่าซอฟท์แวร์ของไต้หวันมีช่องโหว่ที่คณะอนุกรรมการฯไม่พอใจ ดร.วีรศักดิ์เปิดเผยว่าระบบของไต้หวันต้องใช้คนทำหน้าที่จับคู่คำสั่งซื้อขายหุ้น (MATCHING) คือเมื่อมีคำสั่งซื้อขายเข้ามาจะมีเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งทำหน้าที่จับคู่คำสั่งซื้อหรือขายตามราคาที่ต้องการ ระบบซอฟท์แวร์ของไต้หวันยังไม่สามารถทำหน้าที่ตรงนี้ได้

เปรียบไปก็คล้ายกับภาษี SAITORI MEMBER CLERKS คือกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ในการจับโบรกเกอร์ผู้ซื้อ และโบรกเกอร์ผู้ขายมาแมชท์กัน โดยในตลาดหุ้นโตเกียวจะมี SAITORI MEMBER อยู่ 4 บริษัท

สุทธิชัย จิตรวาณิช ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯเล่าว่าระบบซื้อขายที่มี SAITORI ถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมการซื้อขายที่เริ่มมานานแล้วเมื่อก่อนมี SAITORI MEMBER ถึง 12 บริษัท แต่ปัจจุบันลดลงแล้ว ตลาดหุ้นโตเกียวก็มีวิธีซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์ได้ในกระดานที่สอง แต่การจะยกเลิก SAITORI นั้นคงเป็นไปได้ยาก เพราะจต้องมีการต่อด้านเกิดขึ้นเป็นแน่

ดังนั้น แม้จะได้ซอฟท์แวร์ฟรี แต่ว่าเป็นระบบที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติที่คณะอนุกรรมการฯต้องการคณะอนุกรรมการฯ จึงประกาศชักชวนให้บริษัทซอฟท์แวร์และตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเข้ามาประมูลเพื่อสร้างระบบการซื้อขายตามที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยต้องการ

ในช่วงแรกที่เปิดให้เสนอการประมูลเมื่อราวเดือนเมษายน 2532 มีหลายกลุ่มให้ความสนใจคือกลุ่ม ของ MIDWEST STOCK EXCHANGE หรือ MSE ประกอบไปด้วยบริษัทดิจิตอล (ประเทศไทย) และบริษัทไมโครเนติค ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ DEC ของดิจิตอล และรับผิดชอบด้านการติดตั้งและการสื่อสารข้อมูลด้วยระบบ VAX

MSE มีข้อได้เปรียบกว่าเพราะเคยเข้ามาศึกษาระบบค้าหลักทรัพย์ของตลาดหลายครั้ง และระบบที่ใช้ในตลาดหลักทรัพย์มิดเวสต์ก็ทำให้ตลาดแห่งนี้เพิ่มปริมาณการซื้อขายมากจนกลายเป็นตลาดที่คึกคักรองลงมาก็เพียง NEW YORK STOCK EXCHANGE ระบบของ MSE ยังนำไปแก้ไขและใช้งานที่ AMSTERDAM STOCK EXCHANGE ด้วย

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งมีบริษัท SCT จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทยเป็นแกนนำ ร่วมกับบริษัทไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท TCAM ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ เฮ้าส์ ที่เป็นผู้ออกแบบซอฟท์แวร์เพื่อการค้าหลักทรัพย์ให้กับ VANCOUVER STOCK EXCHANGE

นอกจาก 2 กลุ่มหลักนี้แล้ว ก็มีบริษัทอื่น ๆ อีกกระเส็นกระสาย รวมถึง TANDEM ของไต้หวัน JARDINE LOGICA และ SGVN-ARTHUR ANDERSEN ซึ่งล้วนแต่มีข้อเสนอที่ยังไม่ชัดเจนและขอเวลาในการศึกษาทำข้อเสนออีกระยะหนึ่ง ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จึงตกรอบไปโดยปริยายเมื่อมีการเปิดซองประมูลในวันที่ 20 เมษายน ซึ่งเหลือเพียง MSE กับ SCT เท่านั้นที่มีคุณสมบัติตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด

อย่างไรก็ดี การเปิดประมูลในวันนั้นไม่อาจทำได้สำเร็จ เพราะไม่สามารถมีมติที่เอกฉันท์ได้และแม้จะมีการสรุปผลการประมูลต่อที่พัทยาในวันที่ 22 เมษายน ก็ยังจะต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบระบบที่ MSE กับ SCT เสนออีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งให้มีการสาธิตจริงให้ชมกันอีกในเดือนพฤษภาคมถัดมา

แหล่งข่าวเปิดเผยว่าในการบรรยายสรุปที่พัทยานั้น ปรากฏว่ามีการพรรณาถึงคุณสมบัติของระบบที่ MSE กับ SCT เสนออย่างเหลื่อมล้ำกัน โดยดร.สุรัตน์ พลาลิขิต หนึ่งในอนุกรรมการและผู้จัดการโครงการระบบซื้อขายหลักทรัพย์ โดยคอมพิวเตอร์ของตลดาหลักทรัพย์ฯบรรยายถึงคุณสมบัติที่เหนือกว่าของเครื่องไอบีเอ็มและระบบของ SCT และคำบรรยายนี้ได้โน้มน้าวให้คณะอนุกรรมการฯเห็นชอบด้วยในตอนแรก จนคะแนนเสี่ยงในส่วนของอนุกรรมการที่มาจากโบรกเกอร์เป็น 5 ต่อ 3

ครั้นวิโรจน์ นวลแข นายกสมาคมโบรกเกอร์และกรรมการผู้จัดการบงล.ภัทรธนกิจ ขึ้นมาบรรยายสนับสนุน MSE บ้างแล้ว ปรากฏว่าเสียงออกมาเป็น 4 ต่อ 4 ในที่สุดจึงไม่สามารถหาข้อยุติได้

ความเห็นขัดแย้งในเรื่องระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์เกิดจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และโบรกเกอร์ใช้คอมพิวเตอร์ต่างระบบกันตลาดหลักทรัพย์ฯและบงล.ภัทรธนกิจใช้เครื่องและระบบคอมพิวเตอร์ "VAX" ของ DEC เพียง 2 เจ้าเท่านั้นในธุรกิจค้าหลักทรัพย์ ส่วนโบรกเกอร์รายอื่น ๆ มีใช้ NEC, IBM, WANG และ PC NETWORK ปะปนกันไป และมีบางรายที่ไม่ได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้เลย ซึ่งมีผลทำให้ติดตามการเจรจาเรื่องนี้ได้ช้ากว่าโบรกเกอร์อื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ยืดเยื้อและไม่ลงรอยกันมาพักหนึ่งจนต้องส่งเรือ่งให้คณะกรรมการการตลาดหลักทรัพย์ฯพิจารณา และคณะกรรมการฯกลับส่งเรื่องกลับมาให้คณะอนุกรรมการฯชี้ขาดอีกครั้งหนึ่งนั้น MSE กับ SCT ต้องทำการสาธิตวิะการใช้คอมพิวเตอร์แทนห้องค้าให้คณะอนุกรรมการฯพิจารณาตัดสินเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่โรงแรมรีเจ้นท์

ครั้งนี้ ปรากฏว่า MSE สามารถเอาชนะใจอนุกรรมการฯได้ ด้วยประสิทธิภาพ ความชำนาญสนนราคาที่ต่ำกว่า และระบบการบริการฝึกอบรมต่าง ๆ ทั้งนี้แหล่งข่าวให้ความเห็นว่าการเอาชนะใจครั้งนี้ MSE ต้องยอมขาดทุนเป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว เพราะเสนอราคาต่ำกว่า SCT อย่างมาก ๆ "MSE เสนอราคา 180 ล้านบาท รวมทุกอย่างขณะที่ SCT เสนอราคาสูงกว่า 180 ล้านบาท และไม่รวมทุกอย่างเป็น PACKAGE เหมือน MSE" แหล่งข่าวในตลาดหลักทรัพย์บอกกับ "ผู้จัดการ"

เมื่อคณะกรรมการฯคัดเลือกเอาระบบของ MSE นั่นหมายความว่าตลาดหลักทรัพย์ฯและโบรกเกอร์ต้องทำการปรับเปลี่ยนระบบของตัวเองให้ใช้งานเข้ากันได้ด้วยระบบของ MSE เช่นกัน ในการนี้ตลาดฯจะใช้ระบบ VAX 6410 และ MICROVAX 3800 และอีกส่วนหนึ่งใช้ระบบ COMPUTER TO COMPUTER INTERFACE หรือ CTCI

โบรกเกอร์ที่ใช้ไมโครแวกซ์ 3800 จะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะเป็นระบบเดียวกับของตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว ส่วนพวกที่ใช้ระบบซีทีวีไอนั้นจำเป็นที่จะต้องมีโมเดมตัวหนึ่งเพื่อใช้เป็นตัวส่งผ่าข้อมูล่จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของโบรกเกอร์เข้าสู่ระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ จากนั้นระบบ GMX บนเครื่อง VAX 3800 ที่ตลาดฯจะทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นรูปแบบเดียวกัน และส่งให้ระบบค้าหลักทรัพย์บนเครื่อง VAX 6410 ทำงานต่อไป

การที่โบรกเกอร์เลือกใช้ไมโครแวกซ์ 3800 กับระบบซีทีซีไอแตกต่างกันไป ก็เพราะเหตุที่ว่าแต่ละรายมีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนที่ไม่เท่ากัน และเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งมาจากความรู้สึกอึดอัดที่ถูกบีบบังคับจากตลาดในหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการซื้อขายหลักทรัพย์ในครั้งนี้

หลังจากที่โบรกเกอร์รู้แน่แล้วว่าจะต้องปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ของตนด้วยเครื่องไมโครแวกซ์ที่ผลิตโดยบริษัทดิจิตอล แม้จะมีความไม่พอใจอยู่ลึก ๆ ในบางราย แต่ก็ยังยอมรับได้เพราะยังมีความเชื่อมมั่นวางใจในคณะอนุกรรมการฯซึ่งเป็นผู้พิจารณาคัดเลือก กอปรกับมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุง

ความไม่พอใจอย่างรุนแรงของเหล่าโบรกเกอร์มาเกิด และปะทุขึ้นเมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯส่งจดหมายเวียนเรื่องโครงการเงินช่วยเหลือ และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสหรัฐฯ (เอ็กซิม แบงก์) เพื่อนำมาปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์และโบรกเกอร์ในครั้งนี้

ตลาดหลักทรัพย์ฯให้เวลาโบรกเกอร์เพียง 2-3 วันเท่านั้นในการพิจารณาว่าจะเข้าร่วมในโครงการหรือไม่ หากไม่ให้คำตอบในเวลาที่กำหนดก็จะต้องไปหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ปรับปรุงเอาเอง

โบรกเกอร์จำนวนมากเกิดความไม่พอใจบางรายถึงกับสงสัยว่าเรื่อง "ลับลมคมใน" อะไรหรือ

ดร.วีรศักดิ์กล่าวอย่างเปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่าเรื่องเงินช่วยเหลือและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากเอ็มซิม แบงก์นั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯก็เพิ่งรู้ว่ามันจะหมดอายุภายใน 30 กันยายน ซึ่งเผอิญมันเข้ามาในจังหวะที่ตลาดฯพยายามหาทางเลือกให้กับโบรกเกอร์ และมันก็กลายเป็นตัวบีบบังคับให้ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วไปโดยปริยาย

"ความจริงซอฟท์โลนอันนี้นี่ มีโครงการหลายอันที่เสนอเข้ามาให้ธนาคารกรุงไทยพิจารณาอนุมัติแต่โครงการของตลาดหลักทรัพย์ฯนี่มันเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ทางกรุงไทยก็เลยขออนุมัติจากเอ็กซิมแบงก์ให้กับเราเป็นพิเศษ เขายื่นมาครบวงเงินกันแล้วแต่เรายื่นไปทีหลังแล้วกรุงไทยเห็นว่าโอเคสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ จึงช่วยเรา"

ดร.วีรศักดิ์กล่าวว่า "เราเห็นใจโบรกเกอร์มากที่ต้องตัดสินใจในเรื่องนี้ เวลา 3 วันนี่ถ้าถามว่าพอไหม มันก็ไม่พอ แต่มันก็เหมือนระบบก่อสร้างของคนไทย คือถ้าให้เขา 10 วันเขาก็นั่งคิดไป ซึ่งก็ยังไม่แน่ใจว่จะตอบคำถามนี้อย่างไร เพราะว่างานนี้ไมได้เหมือนการซื้อสินค้าสำเร็จรูปที่วางไว้มันเป็นงานที่ทำแล้วเราต้องพัฒนาให้สำเร็จ แล้วเรายังไมารู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราเห็นใจเขา จึงบอกให้เขาเลือก ถ้าเขาจะคอยเขาก็ต้องตัดสินใจไม่เอา"

ปรากฏว่ามีโบรกเกอร์ที่เข้าร่วมในโครงการซอฟท์โลนจากเอ็กซิม แบงก์รวม 19 แห่ง ต้องใช้งบประมาณ 169 ล้านบาท ได้รับเงินจากโครงการฯ 32.35 ล้านบาท อีก 15 แห่งที่เหลือยินดีที่จะใช้ระบบซีทีซีไอ คิดเป็นมูลค่า 10.40 ล้านบาท แต่ไม่รวมอยู่ในโครงการฯ

วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ กรรมการผู้จัดการบงล.พัฒนสินให้ความเห็นในเรื่องนี้กับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า "การที่จะให้ตัดสินใจทันทีภายใน 2-3 วันว่าจะใช้เครื่องของใครนี่ ผมคิดว่ายากที่ใครจะตัดสินใจได้ เพราะต้องดูว่ามันมี่ทางเลือกอะไรอีกบ้าง ในแง่ของพัฒนสินนั้น เมื่อมีการกำหนดมาอย่างนี้ ผมก็ไม่ใช้เอ็มซิม แบงก์ ผมคิดว่าให้เวลาผมมาพิจารณาประมวลดูว่าควรที่จะทำแบบไหนแล้วค่อยตัดสินใจ ดีกว่าที่จะถูกบีบบังคับให้ต้องตัดสินใจภายในเวลาอันรวดเร็ว"

ทั้งนี้พัฒนสินนับเป็นโบรกเกอร์ที่มีขั้นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่ล้ำหน้ารายหนึ่ง มีการพัมนาซอฟท์แวร์ของตัวเองขึ้นใช้มาหลายปีแล้วซึ่งมีชื่อว่าระบบเลือกข้อมูลหุ้น (ELECTORNIC SECURITIES BULLETIN หรือ ESB) และยังใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการจัดทำกระดานอิเล็กทรอนิกส์ในห้องค้าของบริษัทเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายหุ้นได้อย่างรวดเร็ซ และนับเป็นรายแรกที่ริเริ่มทำแบบนี้ (อ่าน "พัฒนสินฯกับ ESB โฉมหน้าใหม่ของข้อมูลการลงทุน" ใน "ผู้จัดการรายเดือน" ปีที่ 4 ฉบับที่ 42 เดือนมีนาคม 2530)

พัฒน่สินอาจจะมีข้อได้เปรียบในแง่ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว แต่สำหรับโบรกเกอร์อีกบางรายที่ร่วมอยู่ในระบบซีทีซีไอได้ให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ว่ายังไม่มีความมั่นใจในระบบ MSE ซึ่งใช้เครื่องแวกซ์สักเท่าใด และโดยเฉพาะในเรื่องการแปลงสัญญาณให้คอมพิวเตอร์ต่างยี่ห้อพูดจากันรู้เรื่อง ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นมาจะแก้ไขอย่างไร มีการเตรียมการรองรับสถานการณ์อย่างไรหรือไม่

ปัญหาที่โบรกเกอร์สะท้อนนับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและไม่อาจละเลยได้ แต่เมื่อถามขึ้นมาในจังหวะเวลานี้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบ "ดี ๆ" ให้ได้เหมือนกัน

ดร.วีระศักดิ์ กล่าวว่า "ตัวหลักที่เราเน้นคือ MSE นั่นหมายความว่า MSE รับเป็นผู้บริหารโครงการนี้ทั้งหมด โดยจะมีการเซ็นสัญญาระหว่างตลาดหลักทรัพย์ฯกับ MSE ในต้นเดือนตุลาคมนี้ MSE จะส่งคนมานั่งทำงานที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเราจะมีระบบควบคุมในเรื่องการจ่ายเงินการปรับปรุง อะไรต่ออะไร เราทำสัญญากับ MSE เพราะว่าเราต้องการให้มีคนรับผิดชอบและป้องกันการเกี่ยงความรับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาในภายหลังไม่ว่าจะด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์รวมทั้งปัญหาในเชิงเทคนิคอื่น ๆ อันจะเกิดขึ้นได้"

ในการเปลี่ยนแปลงระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ครั้งนี้ ผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจค้าหลักทรัพย์ทุกฝ่ายต่างเห็นสอดคล้องกันว่าสมควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลง และต่างมองเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์จะช่วยแก้ไขปัญหาหลาย ๆ จุดที่มีอยู่ในระบบเก่า โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดคือการจัดการกับปริมาณการซื้อขายหุ้นที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล ระบบคอมพิวเตอร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในข้อนี้ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ระบบ QUEUING การมีบัญชีลูกค้าจะช่วยกำจัดระบบกลุ่มของเทรดเดอร์ปัญหาการกักหุ้น การชิงตัดหน้าซึ่งเป็นลักษณะการปั่นหุ้นแบบหนึ่งลงได้ระดับหนึ่ง เพราะจะหวังให้ระบบซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์สมบูรณ์ที่สุดนั้น คงจะไม่ได้แม้ในตลาดหุ้นที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มานานแสนนานก็ยังเกิดปัญหาการปั่นหุ้นขึ้นได้ หรือการที่ดัชนีหุ้นมีราคาผันผวนอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากใช้โปรแกรมสั่งซื้อ - ขายด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ตลดาหุ้นคอมพิวเตอร์ไทยเป็นสิ่งที่ต้องเกิดในเวลาที่กำหนดไว้แน่นอนชัดเจนถึงแม้จะมีความไม่พอใจในขั้นตอนการปฏิบัติหลาย ๆ อย่างก็ตามที แต่ในเมื่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือสิ่งที่ทุกฝ่ายปรารถนา ก็สมควรที่จะมีการโอนอ่อนผ่อนปรนให้แก่กันได้บ้าง เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯโบรกเกอร์และนักลงทุนก็ล้วนแต่มีส่วนร่วมในการพัฒนาธุรกิจนี้อย่างเท่าเทียมกันทุกฝ่าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us