Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532
ท่าเรือแหลมฉบัง             
 


   
search resources

คณะอนุกรรมการกำกับและดูแลพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
Transportation




นโยบายการให้เอกชนเช่าท่าเรือแหลงฉบังมีมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และในยุคสมัยของรัฐบาลชาติชาย ก็มีนโยบายอย่างแจ่มชัดที่จะเปิดประตูให้เอกชนเข้ามาบริหารท่าเรือพาณิชย์แห่งนี้

ขณะที่ความเคลื่อนไหวคัดค้านของพนักงานการท่าเรือฯ ก็มีมาอย่างต่อเนื่องเช่นกันตั้งแต่ปี 2530 แต่รัฐบาลยืนกรานตลอดมาว่าจะให้เอกชนเข้าบริหารเพื่อประสิทธิภาพ จนกระทั่ง 8-9 สิงหาคม 2532 พนักงานการท่าเรือหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์สองวันรวด ซึ่งทำให้ท่าเรือกลายเป็นอัมพาตอย่างฉับพลัน สร้างความเสียหายแก่การท่าเรือฯเองและผู้เกี่ยวข้องเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท

หลังจากนั้นข่าวการประมูลเข้าบริหารท่าเรือยังคงดำเนินต่อไป โดยที่บริษัทเอกชน 7 รายผ่านการพิจารณาขั้นต้น ซึ่งนิคม แสนเจริญ รมช.คมนาคมจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับและดูแลพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (กพอ.) ซึ่งพงส์ สารสิน เป็นประธานพร้อมทั้งชี้แจงว่าการให้เอกชนเข้ามาร่วมนั้นเฉพาะในสีวนการเป็นผู้ปฏิบัติงานหน้าท่าโดยรัฐบาลยังเป็นผู้คุมนโยบาย

13 กันยายน 2532 สหภาพทั้ง 6 แห่งของท่าเรือหยุดงานประท้วงอีกครั้งพร้อมประกาศปักหลักสู้ร่วมกับแนวร่วมกลุ่มรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ซึ่งนำโดยเอกชัย เอกหาญกมลเลขาธิการกลุ่ม ออกมาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ เรื่องราวทำท่าว่าจะยืดเยื้อบานปลาย

แล้วเรื่องที่ยืดเยื้อมานานนับปีก็จบลงง่าย ๆ ด้วยการอ่อนข้อของฝ่ายรัฐบาล จากที่ประชุมกพอ. กล่าวคือ 1) ไม่มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นบริหารท่าเรือแหลมฉบัง 2) ให้คณะกรรมการบริหารการท่าเรือดูแลรับผิดชอบกิจการท่าเรือทั้ง 3 แห่ง 3) การปฏิบัติการท่าเรือฯให้เป็นนโยบายของกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการการท่าเรือฯ

เฉพาะหน้านี้การให้เอกชนเข้าบริหารเป็นอันยุติไป แต่ท่าเรือแหลมฉบังที่กำลังจะเสร็จท่าแรกปลายปี 2532 จะเป็นอย่างไรภายใต้การบริหารของการท่าเรือฯ ยังเป็นที่สงสัยอยู่ เพราะลำพังการบริหารงานในท่าเรือคลองเตยซึ่งมีปัญหาแออัดมาจนปัจจุบันก็ยังแก้ไม่ตก คำปรามาสที่ว่าให้การท่าเรือฯ เข้าบริหารท่าเรือแหลมฉบังก็จะกลายเป็น "คลองเตยแห่งที่สอง" จะเป็นจริงหรือไม่ นับว่าท้าทายความสามารถของผู้บริหารการท่าฯ ไม่น้อย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us