แบงก์กรุงเทพฯพาณิชย์การตัดสินใจเข้าไปฟื้นฟูกิจการบริษัทเอื้อวิทยาฯที่มีหนี้สินอยู่
500 ล้านบาทโดยถือหุ้นใหญ่ 75% และควบคุมการบริหารทั้งหมดการฟื้นฟูได้เริ่มอย่างจริงจังเมื่อเดือนมีนาคม
2531 มีคนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 2 คนที่สมบูรณ์เกียรติเกษมสุวรรณ กรรมการคนหนึ่งของบริษทในฐานะตัวแทนของแบงก์กรุงเพทฯพาณิชย์การ
ซึ่งเคยทำงานอยู่ที่การไฟฟ้ามาก่อนเป็นผู้ชักชวนเข้ามาเป็นผู้บริหารสูงสุด
แผนการฟื้นฟูในช่วง 2 ปีแรกอยู่ที่เน้นการปรับปรุงโครงสร้างการผลิต การบริหารค่าใช้จ่ายแบงก์ได้อัดฉีดเงินเข้าไปจำนวน
20 ล้านบาทเพื่อเสริมสภาพคล่องในการบริหารดำเนินงานและอีกประมาณ 200 ล้านบาทเพื่อปรับโครงสร้างการผลิต
ที่สามารถผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์เหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้างอาคารสูงจากเดิมที่ผลิตแต่เสาไฟฟ้าแรงสูงแต่เพียงอย่างเดียว
การปรับปรุงฐานะหนี้เอื้อวิทยาฯ แบงก์ได้คาดหวังจะสามารถ PAY BACK ได้หมดสิ้นภายใน
10 ปี (2541) ภายใต้เงื่อนไขที่แบงก็ผ่อนปรนด้านดอกเบี้ยที่ไม่คิดเลยตลอดเวลาที่แบงก์เข้าปรับปรุง
"เขากำหนดให้เอื้อวิทยาฯชำระคืนหนี้สินทุก 6 เดือน / งวด และแต่ละงวดชำระคืน
25 ล้านบาทแต่ถ้าแบงก์ได้รับการชำระคืนหนี้สินเพียงปีละ 40 ล้านบาทก็นับว่าใช้ได้แล้ว"
สมบูรณ์เกียรติ เกษมสุวรรณ ประธานกรรมการบริษัทเอื้อวิทยาฯในฐานะตัวแทนเจ้าหนี้เล่าให้
"ผู้จัดการ" ฟัง
แบงก์กำหนดจะขายหุ้นคืน 75% แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตระกูล "เอื้อวิทยา"
เมื่อการปรับปรุงหนี้สินนี้สามารถลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างหนี้สินกับทรัพย์สินให้เหลือแคบที่สุด
ซึ่งขณะนี้ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ถึง 500 ล้านบาท
ประธานกรรมการบริษัทเอื้อวิทยาฯได้กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า
การดำเนินธุรกิจในปีนี้สามารถทำกำไรได้ประมาณ 30 ล้านบาท ตลาดที่ป้อนธุรกิจให้เอื้อวิทยาฯยังคงอยู่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตในงานก่อสร้างสายธารลำเลียงแร่ลิกไนต์ที่แม่เมาะ
งานสร้างโครงเหล็กโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ระยอง เป็นต้น