Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532
ไทยเท็กซ์ไทล์ฯ             
 


   
search resources

ไทยเท็กซ์ไทล์ อินดัสตรี้
สุกรี โพธิรัตนังกูร
Garment, Textile and Fashion




ไทยเท็กซ์ไทล์ อินดัสตรี้ หรือในชื่อไทยว่า บริษัทโรงงานทอผ้าไทย เป็นหนึ่งในกิจการภายใต้ร่มธงของเจ้าพ่อสิ่งทอ สุกรี โพธิรัตนังกูร ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2513

ต้นเดือนกันยายนที่แล้ว โรงทอผ้าแห่งนี้ก็หลุดไปจากอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของสุกรี เมื่อเจ้าตัวตัดสินใจขายหุ้นที่มีอยู่ 32% ให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งไป กลุ่มใหญ่ที่เข้ามาเป็นเจ้าขอไทยเท็กซ์ไทล์อินดัสตรี้อย่างเต็มตัวนี้ มีบุญนำ บุญนำทรัพย์ ลูกนอ้งเก่าของสุกรีที่เป็นผู้บริหารมาตั้งแต่แรกเป็นหัวขบวนสมทบกับกลุ่มฮ่วยชวนค้าข้าวของสมาน โอภาสวงศืกลุ่มสหวิริยาของประภา วิริยะประไพกิจ และชาตรีโสภณพนิชระดมทุนมาซื้อหุ้นจากสุกรี

กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่นี้ ความจริงแล้วก็คือผู้ถือหุ้นของไทยเท็กซ์ไทล์ อินดัสตรี้อยู่ก่อนแล้ว โดยมีหุ้นรวมกันอยู่ในมือประมาณ 30% และตัวชาตรีเองก็เป็นประธานบริษัทมาตั้งแต่ปี 2529 สุกรีอ้างว่าตัวเองมีธุรกิจอีกมากมายที่ต้องดูแลจึงตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดออกไป

เป็นธรรมดาของการเปลี่ยนมือความเป็นเข้าของกิจการใหญ่ ๆ อย่างนี้ ที่ย่อมจะถูกตั้งข้อสังเกตว่า มีความขัดแย้งเป็นมูลเหตุอยู่ ในกรณีนี้ ความขัดแย้งเพียงประการเดียวคือ เรื่องการเพิ่มทุนจาก 200 ล้านเป็น 500 ล้าน เพื่อขยายกำลังการผลิต หลังจากที่ไทยเท็กซ์ไทล์ได้ บีโอไอมาตั้งแต่ปี 2530 คณะกรรมการบริษัทนั้นได้มีมติให้เพิ่มทุนแล้ว แต่สุกรีซึ่งถือหุ้นมากกว่า 1 ใน 4 ไม่ยอมให้เพิ่ม ด้วยเหตุผลว่าเงินทุนมีเพียงพอ

เรื่องของเรื่องจึงต้องลงเอยด้วยการที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องไป ครั้งแรกสุกรีขอซื้อหุ้นคืนจากบุญนำและสมาน แต่ตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายบุญนำจึงกลับเป็นฝ่ายขอซื้อหุ้นสุกรีแทนเสียเอง

ไทยเท็กซ์ไทล์นั้นไม่อาจถือได้ว่าเป็นสมบัติของสุกรีโดยแท้จริง หากเป็นเพียงการช่วยเหลือของสุกรีให้บุญนำมีธุรกิจเป็นของตัวเองเท่านั้น และสุกรีก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารแต่อย่างใด เพราะเทียบกับไทยเมล่อนและไทยอเมริกันเท็กซ์ไทล์ของตัวเองแล้วไทยแท็กซ์ไทล์ไม่อยู่ในสายตาของสุกรีเลย เรื่องจึงลงเอยกันอย่างง่ายดาย

หลังจากสุกรีถอนตัวออกไปแล้ว คณะกรรมการใหม่ของไทยแท็กซ์ไทล์ก็ได้ดำเนินการเพิ่มทุนจาก 200 ล้านเป็น 500 ล้านบาท โดยนำหุ้นจำนวน 50 ล้านบาทขายให้กับประชาชนเมื่อวันที่ 14 กันยายน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us