Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532
หนังทีวีเรื่องโปรดของ ศจ.จิตติ             
 


   
search resources

จิตติ ติงศภัทย์
Education




บางครั้งบางคราวในชีวิตการทำงานของคนบางคนก็อยู่ในฐานะที่หยุดไม่ได้ แม้ว่าวัยจะล่วงเลยเกณฑ์เกษียณมานานกว่า 10 ปีแล้วก็ตาม และที่สำคัญก็คือ ไม่ใช่การทำงานเพื่อปากท้องตัวเองหรือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแต่เป็นการทำงานเพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริง

ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ นักกฎหมายอาวุโสที่ลูกศิษย์ลูกหาได้ร่วมกันจัดงานวันคล้ายวันเกิดให้ที่หอประชุมธรรมศาสตร์ และที่โรงแรมดุสิตธานีเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น มีอายุครบ 81 ปีแล้ว แต่ด้วยประสบการณ์การทำงานและหลักวิชาทางด้านกฎหมาย ทำให้ชีวิตการทำงานยังคงดำเนินต่อไปเป็นกิจวัตรประจำวันเหมือนที่ผ่านมาตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี นั่นคือในฐานะที่ปรึกษาของลูกศิษย์ลูกหา เป็นอาจารย์ปู่ของนิสิตนักศึกษามีตำแหน่งเป็นกรรมการในหลายสังกัด และเป็นหนึ่งในคณะองคมนตรีที่เพียบพร้อมทั้งชื่อเสียง เกียรติยศและศักดิ์ศรี

"อยากหยุดทำงานเหมือนกัน แต่ก็คิดว่าเขายังอยากให้ผมช่วย และผมยังทำได้ ผมก็ทำ" ศจ.จิตติกล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ด้วยเหตุผลง่าย ๆ เมื่อถูกถามว่าทำไมยังคงทำงานตลอดมาโดยไม่หยุดหย่อนเป็นเวลาร่วมครึ่งศตวรรษแล้ว

ศจ.จิตติมีวิถีชีวิตที่เคี่ยวกรำกับงานทางด้านกฎหมายมาโดยตลอดสำเร็จเนติบัณฑิตจากโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมเมื่อปี 2470, นิติศาสตร์มหาบัณฑิตจากธรรมศาสตร์ปี 2485 และสำเร็จ Master of Laws (magna cum laude) จากมหาวิทยาลัย Southern Methodist University สหรัฐอเมริกา

ชีวิตการทำงานอันยาวเหยียดเริ่มด้วยการเป็นพนักงานอัยการ ที่กรมอัยการ ในปี 2471 และมีตำแหน่งสุดท้ายในกระทรวงยุติธรรมคือผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ในปี 2512 หลังจากนั้นจึงลาออกมารับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจนกระทั่งเกษียณอายุ 65 ปี ในตำแหน่งทางด้านอื่น เคยเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นอกจากนั้นยังเคยเป็นประธานวุฒิสภาอีกด้วย

ด้วยวัยสูงอายุ 81 ปี หลายคนคงไม่ทราบว่าทุกวันนี้ ศจ.จิตติยังคงตื่นแต่เช้าตั้งแต่ตี 5 และมาทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่สั่งสอนอบรมวิชาทางด้านกฎหมายให้กับนักกฎหมายให้กับนักกฎหมายรุ่นหลานและบางวันอาจารย์จิตติก็ต้องไปประชุมในที่ต่าง ๆ ตามบทบาทของคณะกรรมการและองคมนตรี

"โดยส่วนใหญ่แล้วผมก็จะมีประชุมแทนทุกวัน อย่างวันอังคารและวันศุกร์ก็จะเป็นการประชุมแทบทุกวัน อย่างวันอังคารและวันศุกร์ก็จะเป็นการประชุมของคณะองคมนตรี ซึ่งจะมีรถจากสำนักราชเลขาธิการมารับตั้งแต่เช้าเพื่อไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนพอตอนสายใกล้จะถึงเวลาประชุมประมาณ 10 โมงเช้าก็ไปประชุม" อาจารย์จิตติเล่าถึงกิจวัตรการทำงานในฐานะองคมนตรีให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

เป็นเรื่องน่าแปลกที่คนระดับนี้แล้ว การกินอยู่ดูเรียบง่ายไปหมด ศจ.จิตติจะมาทานอาหารเที่ยงที่สโมสรอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นประจำแทบทุกวัน ไม่ว่าจะมีประชุมที่ไหน

"ก็สะดวกดี ผมไม่ได้เลือกรับประทานอาหารอะไรมากมายนัก ทานที่นี่ทุกวันจนเคยชินแล้ว ทานพอประมาณไม่อยากจะให้เกินความต้องการของร่างกาย การทานที่เห็นแก่ปากแก่ท้องมากนักมันก็ไม่ดี" ศจ.จิตติเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเรียบง่ายสมถะในการใช้ชีวิตของนักกฎหมายอาวุโสท่านนี้ได้อย่างดี

ชีวิตการทำงานในแต่ละวันของศจ.จิตติจะหยุดพักลงในตอนเย็นประมาณ 5 โมงเย็นที่บ้านพักในซอยสีเผื่อนข้างคลองประปา ประชาชื่น บ้านที่อาจารย์กับคุณหญิงตลับ ผู้เป็นภรรยาวัย 70 กว่าปี อยู่ด้วยกันกับลูกสาวคนเล็ก พิรุณา ติงศภัทิย์อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตลอด 5 วันต่อสัปดาห์ การทำงานของ ศจ.จิตติ ยังคงเป็นไปทุกวันตั้งแต่เช้าจรดเย็น สำหรับในช่วงสุดสัปดาห์ก็มักที่จะเป็นการพักอยู่กับบ้าน เว้นแต่ว่ามีช่วงจังหวะที่ว่างพอก็พาครอบครัวไปพักผ่อนต่างจังหวัดและที่แห่งเดียวที่จะไปก็คือที่วัดสวนโมกขพลาราม

"เป็นการไป พักผ่อนธรรมดาเป็นที่สงบ ๆ ไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้" อาจารย์จิตติกลาวถึงรูปแบบการพักผ่อนที่แสดงให้เห็นถึงความผูกพันกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง

ถึงแม้ว่าการทำงานที่ดูจะหนักเกินวัยแต่ทุกเย็น ศจ.จิตติก็ใช้เวลาพักผ่อนอยู่ที่บ้านอย่างมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่ได้ชมรายการโทรทัศน์รายการโปรดทางช่อง 9 ในช่วง 6 โมงเย็น คือ "หนูน้อยคอมพิวเตอร์" ที่ลงทุนชักชวน "ผู้จัดการ" ไปร่วมดูด้วยกันก่อนแล้วจึงค่อยมาสัมภาษณ์กันใหม่ต่อไป…

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us