Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2532
ประกันภัยเรือไทย "ฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งต้องเสีย"             
 


   
search resources

สมาคมเจ้าของเรือไทย
Insurance




เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา สมาคมเจ้าของเรือไทย จัดให้มีการสัมมนาเรื่อง "การประกันภัยที่ดี เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของเรือไทย" โดยจัดขึ้นที่โรงแรมอิมพีเรียล จุดประสงค์หลักนั้น เพื่อชี้แจงในสาระสำคัญของตัวกรมธรรม์ที่เกี่ยวกับการประกันภัยของเจ้าของเรือ

ปัญหาความไม่ชัดเจนของการให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ เป็นอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของเจ้าของเรือในการที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่ง เพราะภาระความรับผิดชอบที่เจ้าของเรือต้องเสียเป็นค่าใช้จ่ายนั้นเป็นจำนวนเงินมหาศาล แม้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเอาจากบริษัทประกันภัยได้ตามเหตุแห่งความเสียหายก็ตาม ดังนั้นถ้าเจ้าของเรือมีความเข้าใจในตัวกรมธรรม์แต่ละชนิดอย่างถ่องแท้ การเรียกเอาประกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายก็จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้นำสัมมนาในครั้งนี้เป็นตัวแทนขององค์กรต่าง ๆ ตามกระบวนการของการประกันภัย และกระบวนการเรียกร้องความเสียหาย เริ่มตั้งแต่ พิชัย เมฆกิตติกุล จากบริษัท โรยัล คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทนายหน้ารับประกัน รุ่งโรจน์ สัตยสัณห์กุล จากอาคเนย์ประกันภัย MR. CHRISTOPHER TANG จาก MANLEY STEVENS SINGAPORE บริษัทผู้ประเมินความเสียหาย (ADJSTER) ตระกูล พุ่มเสนาะ เลขาธิการสมาคมเจ้าของเรือไทย และบรรลือ คงจันทร์ กรรมการอนุญาโตตุลาการประจำสภาหอการค้าไทย

ส่วนผู้เข้าร่วมสัมมนา นอกจากจะเป็นสมาชิกของสมาคมเจ้าของเรือไทยแล้วก็มีเจ้าของไทยอื่น ๆ ที่สนใจเข้าร่วม และอีกส่วนหนึ่งซึ่งจะขาดเสียมิได้ คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้มีโอกาสร่วมสัมมนา ชี้แจงมาตรการหรือเงื่อนไขบางอย่างที่ยังคลุมเครืออยู่ หากแต่ประเด็นสำคัญนั้นจะอยู่ตรงที่ว่า ข้อเรียกร้องจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเรือไทย บริษัทประกันภัย หรือแม้แต่บริษัทนายหน้ารับประกัน จะถูกเสนอขึ้นเพื่อให้ผ่านหูผ่านตาเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไข

งานนี้ทำไมจึงได้เน้นหนักไปที่เจ้าของเรือไทย ทั้ง ๆ ที่เรือขนสินค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรือของชาวต่างชาติ จุดนี้…มีความแน่นอนอยู่ประการหนึ่งสำหรับประเทศเรา คือ เรือของต่างประเทศจะไม่เข้ามาทำประกันในประเทศไทย สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะตลาดประกันภัยในบ้านเรายังไม่ใหญ่ถึงขนาดร้อยล้านพันล้านเหมือนอย่างในต่างประเทศ โดยเฉพาะมูลค่าเรือลำหนึ่ง ๆ นั้นตกหลายร้อยล้านบาท ถึงแม้ว่าระบบการประกันต่อซึ่งมีใช้อยู่ทั่วดลกจะสามารถลดภาระความรับผิดชอบแต่โดยลำพังได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ตลาดประกันภัยจะบูมเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะประเทศไทยแล้วคงไม่คาดหวังกันถึงขนาดนั้น ดังนั้น กลุ่มเจ้าของเรือที่จะเป็นลูกค้าของตลาดประกันภัยจึงเน้นเฉพาะเจ้าของเรือไทย

สำหรับในกรณีประกันตัวเรือซึ่งเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ๆ นั้น ย่อมต้องมีเบี้ยประกันในสัดส่วนที่สูงเช่นเดียวกัน ดังนั้น ถ้าสามารถดึงลูกค้าภายในประเทศไว้ได้ทั้งหมด เงินจากค่าเบี้ยประกันจำนวนหลาย ๆ ล้านก็จะหมุนอยู่ในระบบประกันภัยภายในประเทศไทย การขอร้องให้ผู้ใช้ประกันได้ใช้บริการภายในประเทศ จึงเป็นข้อเรียกร้องอันหนึ่งของบริษัทประกันภัย

ข้อดีสำหรับผู้ใช้ประกันภายในประเทศที่เห็นกันอย่างชัดเจน คือ เรื่องของความสะดวกในการให้และรับบริการ เพราะต่างฝ่ายต่างอยู่ในประเทศเดียวกัน

เหตุผลที่ว่าเงินตราจะไหลออกนอกประเทศในกรณีที่ทำประกันในต่างประเทศนั้น เป็นเหตุผลที่ค่อนข้างจะมีน้ำหนักบางมาก ไม่ว่าบริษัทประกันภัย หรือเจ้าหน้าที่ผู้กำหนดมาตรการ หรือใครก็ตามที่จะให้เหตุผลเช่นนั้น

เพราะในแง่เทคนิค ระบบการประกันต่อเป็นเทคนิคที่บริษัทประกันภัยทั่ว ๆ ไปจำเป็นต้องใช้อยู่แล้ว เมื่อของที่จะเอาประกันนั้นมีมูลค่าสูง เพราะฉะนั้นเรื่องที่เงินตราในส่วนนี้จะต้องไหลออกไปนอกประเทศจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้

ความจริงในปัจจุบันนี้ เจ้าของเรือไทยเกือบทั้งหมดก็ทำประกันไว้ในประเทศ ส่วนน้อยที่จะไปทำประกันกับต่างประเทศโดยตรง แต่ส่วนน้อยนี้เองที่จะเป็นลูกค้าตัวหลักของตลาดประกันภัยภายในประเทศ เพราะเป็นบริษัทเรือใหญ่ ๆ ที่วิ่งเส้นทางระหว่างประเทศ เช่น บริษัท ยูไนเต็ดชิปปิ้ง จำกัด บริษัท ไทยพาณิชยนาวี จำกัด ไม่เหมือนกับเจ้าของเรือไทยเกือบทั้งหมดที่ว่า ซึ่งจะมีเฉพาะเรือที่วิ่งตามชายฝั่งเท่านั้น มูลค่าที่แตกต่างกันของเรือ จึงเป็นตัวชี้ชัดให้เห็นถึงความแตกต่างของของที่จะเอาประกัน ตลอดไปจนถึงเบี้ยประกันที่จะได้รับเข้ามาสู่ระบบ

พิชิต เมฆกิตติกุล จากบริษัท โรยัล คอนซัลแทนท์หนึ่งในผู้นำสัมมนาก็ได้ให้เหตุผลสนับสนุนในเรื่องนี้ พร้อมกับกล่าวถึงปัญหฟาที่เกิดขึ้นกับสินค้าประเภทอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเครื่องจักร เครื่องยนต์ที่นำมาติดตั้งอย่างถาวรในประเทศไทย ก็มักจะทำประกันไว้ในต่างประเทศเรียบร้อยแล้วตลาดประกันภัยภายในประเทศไม่มีสิทธิ์ที่จะครอบครองลูกค้าประเภทนี้ได้เลย และในสภาพปัจจุบันมูลค่าของตลาดประกันภัยในส่วนนี้มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

ดังนั้นข้อเรียกร้องอีกข้อหนึ่งซึ่งไม่สามารถแสดงออกมาได้ชัดเจนนักคือ การออกมาตรการบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และมีทรัพย์สินอยู่ภายในประเทศต้องทำประกันภัยในประเทศเท่านั้น วิธีการนี้อาจจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนระบบการประกันภัยภายในประเทศไทย

แต่ถึงอย่างไร นั่นก็เป็นทัศนะของบริษัทปะกันภัยเท่านั้น แต่เมื่อย้อนกลับไปถามบริษัทเรือถึงมาตรการที่จะต้องถูกบังคับอย่างนั้นแน่นอน ความไม่พอใจย่อมต้องเกิดขึ้นในเมื่อมีความสามารถในการทำประกันโดยจ่ายเบี้ยประกันต่ำกว่าตลาดในประเทศได้ภาษีเบี้ยประกันที่จะต้องจ่ายประมาณ 3-4% ก็ไม่ต้องเสียและยังไม่ต้องเสี่ยงกับการจ่ายหรือไม่จ่ายของบริษัทประกันภัยภายในประเทศอีกด้วย

เรื่องนี้เป็นเรื่องของความคลางแคลงใจจากอดีตของทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้เอาประกันและฝ่ายผู้รับประกัน อย่างน้อยบริษัทประกันภัยก็ยังคงหนาว ๆ ร้อน ๆ ไม่รู้ว่าเจ้าของเรือจะแกล้งเอาเรือไปจมอีกเมื่อไหร่ แล้วสภาพของเรือไทยทุกวันนี้เฉลี่ยแล้วก็มีอายุเกิน 20 ปีทั้งนั้น สภาพเก่าทรุดโทรมเช่นนั้น จะไม่ให้เรียกเก็บเบี้ยประกันแพง ๆ ดูจะเสี่ยงมากมายเกินไปหน่อย

ว่าไปแล้วกลุ่มผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นบริษัทประกันไทยและบริษัทเจ้าของเรือก็ล้วนแต่มีจุดอ่อนของตัวเองทั้งสิ้น

และเรื่องที่บริษัทประกันเรียกร้องก็ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ที่ยังแก้ไขไปไม่ได้ก็เพราะเมื่อช่วยหรือสนับสนุนฝ่ายบริษัทเจ้าของเรือไทย บริษัทประกันก็จะเสียประโยชน์ หรือตงข้ามถ้าจะช่วยบริษัทประกัน บริษัทเจ้าของเรือไทยก็จะเสียประโยชน์ในแง่ต้องเสียค่าเบี้ยประกันแพงกว่าตลาด

ก็ต้องพูดจากันไปเรื่อย ๆ อย่างนี้แหละ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us