|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติระบุในยุคเศรษฐกิจหดหู่ ภาครัฐควรออกนโยบายคลังกระตุ้นไม่ใช่พึ่งแต่การลดอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว เล็งปรับลดจีดีพีปีหน้าต่ำกว่าประมาณการณ์เดิม 3.8-5% ชี้หากเศรษฐกิจขยายต่ำ 2.5-3.5% อาจส่งการจ้างงาน บัณฑิตที่เพิ่งจบใหม่ และการดูแลประชาชนที่มีรายได้ต่ำอาจไม่เพียงพอ ขณะที่การลดภาษีของภาครัฐอาจสร้างภาระหนี้ระยะยาวได้ ส่วนการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีรัฐควรรับความเสี่ยงการประกันสินเชื่อในสัดส่วนเท่ากับแบงก์พาณิชย์และควรแยกบัญชีออกมาชัดเจน
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยภายในงานสัมมนา ภายในหัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจการเงินไทย” ซึ่งจัดโดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) ว่า ในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การใช้นโยบายการเงินด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะไม่ได้ผล เพราะอัตราดอกเบี้ยจะช่วยแค่ลดต้นทุนภาคธุรกิจและกระตุ้นการใช้จ่ายครัวเรือนเท่านั้น ฉะนั้น ภาครัฐควรมีนโยบายการคลังออกมาดูแลเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่สำคัญในภาวะเช่นนี้ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจไทย
“การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ อาจทำให้หลายฝ่ายเข้าใจผิดได้ว่าธปท.จะมีการส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะหดหู่ก็เป็นไปได้ ดังนั้นการจะปรับขึ้นหรือลงจะต้องมีการการชั่งน้ำหนักเหตุผลที่ดีพอ ส่วนการพิจารณาดอกเบี้ยแบบฉุกเฉินในช่วงนี้ก็ไม่ได้เป็นการช่วยเศรษฐกิจมากนัก เพราะกว่าจะส่งผ่านมายังอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้ต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งขณะนี้อัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรที่สะท้อนการลงทุนก็ได้ปรับลดลงไปรอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงนโยบายภาคการคลังต้องเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย”นางอัจนากล่าว
นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ครั้งต่อไป คือ 3 ธ.ค.นี้ กนง.จะมีการปรับประมาณการณ์เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ รวมถึงปรับลดอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปีหน้าใหม่ จากเดิมปีหน้าที่ 3.8-5.0% ซึ่งครั้งนั้นประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจไทย แต่มองว่าขณะนี้น้ำหนักตัวแปรต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปมากอาจมีไม่เพียงพอ จึงจะมีการปรับประมาณการณ์ใหม่
อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่ำกว่าศักยภาพประมาณ 2.5-3.5% อาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน บัณฑิตที่เพิ่งจบใหม่ในการรองรับตลาดแรงงาน รวมทั้งการดูแลประชาชนที่มีรายได้ต่ำไม่เพียงพอ จึงควรประคับประคองอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจให้สูงกว่า 5% เพราะจะหวังให้ภาคเกษตรมาโอนย้ายแรงงานที่เลิกจ้างลงเหมือนวิกฤตปี 40 คงเป็นไปได้ยาก
ทั้งนี้ แม้การบริโภคสินค้าคงทนภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ รถยนต์อาจมีความต้องการลดลงบ้าง แต่ในส่วนของสินค้าจำเป็นยังมีความต้องการที่ดีอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่แม้ภาคอุตสาหกรรมไม่ได้มีการไล่ออกพนักงาน แต่หันมาใช้วิธีปรับลดการทำงานแทน โดยเฉพาะในส่วนของโอที ซึ่งในปัจจุบันลูกจ้างมีการพึ่งรายได้ส่วนนี้มาก จึงห่วงว่าหากรายได้ส่วนนี้หายไปอาจมีปัญหาเรื่องค่าผ่อนชำระค่างวดต่างๆ จึงต้องจับตาว่าจะสร้างปัญหาย่อยๆ นี้จะมีผลต่อภาคสถาบันการเงินไทยต่อไปหรือไม่
ส่วนกรณีที่มีการเสนอให้กระทรวงการคลังปรับลดสัดส่วนการเรียกเก็บอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 4% จากปัจจุบันอยู่ที่เรียกเก็บที่ 7% หรือปรับลดในช่วงแค่ 1 ปี เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจอีกแนวทางหนึ่งนั้นมองว่าจะเป็นการสร้างภาระหนี้ในระยะยาว ขณะที่ภาษีบางประเภทก็สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น อาทิ ภาษีนิติบุคคล จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ภาครัฐควรพิจารณาอย่างรอบคอบ
เช่นเดียวกับการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ภาครัฐควรมีการรับประกันสินเชื่อในสัดส่วนที่เท่ากับธนาคารพาณิชย์ เพราะไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ทั้งก้อนได้ จึงควรมีการแยกบัญชีออกมาให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ก่อหนี้สาธารณะสูงเหมือนประเทศญี่ปุ่นและเป็นการวางเงินงบประมาณได้อย่างถูกต้อง
สำหรับวิกฤตการณ์การเงินโลกในครั้งนี้ประเทศในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่จะไม่ซ้ำรอยเหมือนวิกฤตปี 40 ที่ภาคธุรกิจมีการใช้จ่ายด้านการลงทุนเยอะ แต่ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี ซึ่งรวมทั้งประเทศเกาหลี แม้จะเกิดปัญหาบ้างจากการที่ผู้ส่งออกได้มีการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ห่วงว่าเศรษฐกิจในประเทศภูมิภาคเอเชียจะเกิดปัญหาเป็นวัฎจักรตามมา อย่างไรก็ตามที่เห็นได้ชัดในระยะยาวจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงิน ทำให้การพึ่งพาผู้ส่งออกที่หลายฝ่ายหวังให้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักก็เป็นเรื่องที่ลำยากขึ้นภายใต้เงินใช้จ่ายของสหรัฐลดลง จึงควรมีการดูแลตัวเองให้มากและภาครัฐควรมีการแก้ไขปัญหาประเทศ ทั้งคุ้มครองภาคอุตสาหกรรม การลดความเสี่ยงจากภาคการเงินด้วยการสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาตลาดและการดูแลผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ดี
นางอัจนา กล่าวว่า ในขณะนี้เริ่มมีกองทุนเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ (FIF) โดยเฉพาะกองทุนที่เข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีที่มีขนาด 6,000-7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เริ่มทยอยนำเงินที่ครบอายุการไถ่ถอนกลับมาไทยบ้างแล้วจนถึงเดือนเม.ย.ปี 2552 ซึ่งคาดว่าเงินเหล่านี้จะไม่ส่งผลต่อค่าเงินบาท เนื่องจากเป็นการทยอยไหลกลับตามปกติ
|
|
|
|
|