Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"สุนทร อรุณานนท์ชัย ช่างไม่สุนทรีเสียเลย!"             
 


   
search resources

ธนาคารมหานคร
สุนทร อรุณานนท์ชัย
Banking




ใครจะนึกว่านักบริหารการเงินมือเซียนอย่างสุนทร อรุณานนท์ชัยจะต้องมาตกม้าตายในชั่วเวลาเพียง 10 เดือนที่เข้ามาทำงานในธนาคารมหานคร

ก่อนที่จะมาเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารแห่งนี้ สุนทรอยู่ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย ธนาคารมหานคร ก่อนที่สุนทรจะเข้าไปนั้นประสบกับความสูญเสียถึง 4,000 ล้านบาทจากฝีมือการบริหารของคำรณ เตชะไพบูลย์ เป็นความเสียหายจากการค้าเงินตราราว 1,000 ล้านบาทและอีก 3,000 ล้านเป็นหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียง 600 ล้านบาท ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องส่งคนเข้าไปดูแลและแก้ปัญหาด้วยสูตรยอดนิยมคือ ลดทุนแล้วเพิ่มทุนใหม่ ธนาคารมหานครลดทุนจาก 1,500 ล้านบาทเหลือ 68 ล้านแล้วเพิ่มทุนใหม่อีก 2,000 ล้านบาท โดยขายหุ้น 1.5 พันล้านบาท ยังเหลืออีก 500 ล้านบาทที่จะต้องขายให้ได้ก่อนวันที่ ในเดือนมิถุนายน 2530 ตามเงื่อนไขการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากแบงก์ชาติ

สุนทรรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารมหานครเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2529 นอกจากการปรับปรุงโครงสร้างระบบการทำงานและการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ภาระเร่งด่วนคือ การขายหุ้น 500 ล้านบาท เดือนมีนาคม 2530 ธนาคารมหานครได้ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซียเป็นผู้รับประกันการขายหุ้นร่วมกับบริษัทอื่นอีก 9 บริษัท จำนวนหุ้น 100 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 6.5 บาท ค่าตอบแทน 4% ด้วยความไม่มั่นใจว่าจะขายได้ทั้งหมดจึงมีการตกลงว่า สินเอเซียรับไปขาย 50 ล้านหุ้น ถ้าขายไม่หมดต้องซื้อเอง ที่เหลืออีก 50 ล้านผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 3 กลุ่มคือกลุ่มเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง, สมาน โอภาสวงศ์ และเจริญ ศรีสมบูรณ์นานนท์ จะรับผิดชอบเองในส่วนนี้ได้ให้พนักงานธนาคารช่วยขายโดยจ่ายคอมมิชชั่นให้ การขายเป็นไปตามแผนสามารถขายได้หมด แต่แล้วก็มีการโวยวายจากพนักงานค่าคอมมิชชั่นให้ การขายให้เป็นไปตามแผนสามารถขายได้หมด แต่แล้วก็มีการโวยวายจากพนักงานว่าค่าคอมมิชชั่นที่ได้แค่ 2% เท่านั้นไม่ใช่ 4% แต่กลับต้องเสียภาษีที่คำนวณจากรายได้ 4% คิดออกมาแล้วค่าภาษีมากกว่าค่าคอมมิชชั่นที่ได้ มาโนช กาญจนฉายา ประธานกรรมการบริหารจึงทำการสอบสวน สุนทรชี้แจงว่า ค่าคอมมิชชั่น 4% สำหรับหุ้น 50 ล้านหุ้นที่ผู้ถือหุ้น 3 รายรับมานั้น มีการตกลงกันว่า 2% เป็นของพนักงานที่ขายได้ อีก 2% ประมาณ 6 ล้านบาทเป็นของผู้ถือหุ้นทั้ง 3 ราย แต่มาโนชและกรรมการอีกหลายคนบอกว่าไม่เคยรับรู้เรื่องนี้มาก่อน การทำเช่นนี้เป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากธนาคารที่ตัวเองเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ แถมยังมีข่าวว่า สุนทรได้รับค่าตอบแทนจากเรื่องนี้ด้วย มีลักษณะเป็นการรับสินบน แต่สุนทรปฏิเสธและบอกว่าเป็นเจตนาที่ดีที่ต้องการให้หุ้นแบงก์ขายได้ ในสายตาของแบงก์ชาติแล้วสุนทรเคลียร์ตัวเองไม่ได้ในเรื่องนี้ แม้จะเป็นจำนวนเงินเพียงเล็กน้อยแต่ถือว่าผิดจรรยาบรรณ

สุนทรจึงต้องลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2530

ไม่น่าเชื่อว่ามืออาชีพที่มีประสบการณ์เกือบ 20 ปี อย่างสุนทรต้องมาพังเพราะเรื่องแค่นี้ แต่ก็มีเสียงบอกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะสุนทรไม่ได้พังเพราะเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็นแค่จุดปะทุ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us