Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 พฤศจิกายน 2551
ถอดรหัส 2 องค์กรแห่งดีไซน์ เคแบงก์ vs โอเรียลทอล พริ้นเซส             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย
โอเรียนทอล พริ้นเซส - Oriental Princess

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
โอ.พี.เนเชอรัล โปรดักส์, บจก.




* ศึกษาเส้นทางสู่ The Corporation of Design
* ทำอย่างไรจึงบรรลุเป้าหมายอย่างมีสไตล์
* เจาะลึกแนวทาง กระบวนการบริหารตามสูตรATP
* Best Practices ของอาจารย์การตลาดที่ตกผลึกถึงแก่น

หลังจากผู้จัดการรายสัปดาห์ฉบับที่แล้ว ได้นำเสนอ หลักคิด และกระบวนการของ โมเดลองค์กรมีดีไซน์ The Corporation of Design อย่างละเอียดไปแล้ว เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน และเรียนรู้อย่างได้ลึกซึ้ง ฉบับล่าสุดนี้ได้ตามไปดู กรณีศึกษา 2 องค์กรชั้นนำจากกลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มธุรกิจคอนซูเมอร์โปรดักส์ที่ได้ชื่อว่า ประสบความสำเร็จอย่างสูงในแต่ละกลุ่มธุรกิจ “ธนาคารกสิกร และ โอเรียลทอล พริ้นเซส” โดยนำเอากรอบคิด และขั้นตอนสู่ธนาคารและองค์กรที่มีดีไซน์อย่างครบมิติอย่างเป็นรูปธรรม

อาจารย์ปิติพีร์ รวมเมฆ จากภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อสรุปว่า ภาพยนตร์โฆษณาชุด เคฮีโร่ เป็นรูปธรรมหนึ่งที่สะท้อนถึงสุนทรียภาพ โดยเฉพาะมนุษย์เคฮีโร่ที่ถ่ายทอดออกมา มีสีสันเขียวโดดเด่น ทำให้ความรู้สึกสนุกสนาน ยิ่งที่ไปกว่านั้นยังแสดงออกถึงการมีดีไซน์ ตั้งแต่การออกแบบแนวคิดใหม่ของธนาคาร หรือ เป็นการสร้าง K-Excellence เป็นการสร้างตั้งแต่ตัวแบรนด์ และจุดที่ผู้บริโภคสัมผัสถึง เพื่อสะท้อนสัญลักษณ์แห่งความเป็นเลิศในเครือธนาคารกสิกรไทย

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในส่วน Business Model เพราะปัจจุบันนี้ธนาคารไม่ได้ให้บริการแต่เพียงด้านการเงิน แต่ยังให้ความรู้ผู้ประกอบการและลูกค้ารายย่อยของบริษัท เพื่อให้สามารถนำไปวางแผนธุรกิจและทำได้อย่างประสบความสำเร็จ

“ที่เห็นตัวอย่างเป็นรูปลักษณ์ คือ การออกแบบและตกแต่งของสาขาธนาคารใหม่ ซึ่งมีการสร้างคอนเซ็ปต์ใหม่ การใช้แสงสีและเฟอร์นิเจอร์ ทำให้บรรยากาศดูอบอุ่นภายใต้ความทันสมัย รวมถึงการอบรมพนักงานให้มีบริการแบบใส่ใจ อบอุ่นและสร้างความประทับใจ เพื่อเข้าถึงใจลูกค้า” อาจารย์ปิติพีร์ บอก

โดยเธอยังบอกอีกว่า จากการวิเคราะห์แบงก์กสิกร ในฐานะธนาคารที่มีดีไซน์ โดยใช้โมเดลของ The corporation of Design พบว่า กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กรมีดีไซน์ ได้แก่หนึ่ง-การยึด คน เป็นหัวใจในการทำงาน สอง-ส่งมอบประสบการณ์ที่แตกต่างด้วยการสร้างสุนทรียภาพสาม-ประสานทั้งเทคโนโลยีและออกแบบกระบวนการเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง “สิ่งสำคัญ คือ การดูโจทย์ลูกค้า เพราะการที่กสิกรจะตอบโจทย์ได้ครบนั้น จะต้องพร้อมทั้ง คน เทคโนโลยี Process” ปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ ธนาคารกสิกรไทยให้ความเห็น

ตามรอยเส้นทางสู่แบงก์แห่งดีไซน์

ทั้งนี้อาจารย์ปิติพีร์ อธิบายด้วยว่า เส้นทางของการสู่ธนาคารแห่งดีไซน์นั้น กสิกรได้กำหนดวิสัยทัศน์องค์กรได้อย่างชัดเจน โดยซีอีโอ บัณฑูร ลำซ่ำ บอกว่า ธนาคารกสิกรไทยมุ่งให้บริการเหนือความคาดหมาย ด้วยจิตวิญญาณของผู้ให้บริการที่ดี สมกับเป็น K Excellence ที่ Hi-tech และ Hi-touch เพื่อให้บริการทุกระดับประทับใจ” ซึ่งในแนวทางดังกล่าวนี้ หากนำเอาโมเดลthe corporation of Design มาอธิบายก็สามารถขยายภาพออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ สุนทรียะ เทคโนโลยี่ และ กระบวนการ ซึ่งเทียบเคียงกันได้ว่า ไฮทัชกับ สุนทรียะ ส่วนไฮเทคกับเทคโนโลยี่ และกระบวนการกับการออกแบบกระบวนการให้บริการที่ดี

ทั้งนี้ องค์ประกอบขององค์กรมีดีไซน์ จะต้องมี 6 มิติ ( อ่านล้อมกรอบ 6 ขั้นสู่องค์กรมีดีไซน์ ) ได้แก่ มิติที่ 1 Human–Centeredโดยหลักคิดของกสิกร ยึดแนวทาง “เริ่มต้นที่ใจ ส่งมอบถึงใจ จบด้วยการครองใจ” โดยผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ ธนาคารกสิกรไทย “พิพิธ เอนกนิธิ” ให้ความเห็นว่า“ถ้าต้องเป็น Win Customer ทั้งองค์กรต้องไปทางเดียวกันหมดซึ่งจะเป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะต้องตั้งต้นที่ลูกค้และยึดเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลางจริงๆ”

สำหรับการส่งมอบถึงใจ เห็นได้จาก Financial product โดยทั่วไป มักเป็นอะไรที่ทื่อๆ แข็งๆ ไม่มีชีวิต จิตวิญญาณ แต่ KBANK ได้พยายามเข้าไปให้ถึง Consumer life จริงๆ โดยทุกอย่างที่สื่อสารกับลูกค้าจะพูดถึงเรื่องวิถีชีวิตของลูกค้า และ จบด้วยการครองใจ นั้น อาจารย์ปิติพีร์ บอกว่า กสิกรใช้ความทันสมัย และอบอุ่น หรือ MODERN และWARM อย่างมีไลฟ์สไตล์ ทั้งงานสัมมนาและกิจกรรมที่ตรงตาม สิทธิประโยชน์พิเศษและ มีการทำนิตยสารเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารลูกค้า เพื่อทำให้โดนใจลูกค้า

“สิ่งที่แบงก์ทำไม่ได้เป็นการขายสินค้า แต่เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารตามไลฟ์สไตล์ ยกตัวอย่าง การจัดธรรมะเดลิเวอรี่ โปรแกรมพักผ่อนสปา หรือ อบรมการทำอาหาร ตามวิถีรสนิยมความชอบลูกค้า”

มิติที่2 Contextual Observationกสิกรแบงก์จะมีการสังเกตในสไตล์ดีไซน์อย่างลึกแต่เร็ว โดยมีการทำ Customer Journey เป็นทำวิจัยว่าลูกค้ารู้สึกอย่างไรในแต่ละกระบวนการ หรือวิทยาศาสตร์เชิงอารมณ์ เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า นอกจากนี้ ยังได้ใช้คอนเซ็ปต์ที่เรียกว่า Mysterious Shopper เพราะหลายครั้งที่ออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าได้รับบริการที่ดีที่สุด โดยวิธีทำให้ผู้บริหารและพนักงานได้รับข้อมูล คือ ไปเป็นลูกค้าเอง โดยการปลอมตัวไปรับบริการแล้วนำมาปรับปรุง

และสุดท้าย คือ การทำ Customer Diary เป็นวิธีให้ลูกค้าที่ได้ใช้บริการและสินค้าเขียนความเห็นตั้งแต่ ความรู้สึกที่ได้เดินเข้าไปใช้บริการตามสาขา บรรยากาศที่ได้รับและกระบวนการบริการของสาขาได้รับแล้วเป็นอย่างไร แล้วนำมาปรับปรุงอีกครั้ง

มีดีไซน์ทุกขั้น-ทุกตอน

มิติที่ 3 เน้น Design, Research and Development (DR&D) ในด้านนี้จัดว่า กสิกรมีความเด่นชัดและครอบคลุมในการใช้ “ดีไซน์” ในทุกขั้นของการพัฒนาตั้งแต่ สุนทรียภาพ-เทคโนโลยี-กระบวนการ โดยมีทีม DR&Dเข้ามาร่วมดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ ยกตัวอย่าง ในทีม Retail Banking ของแบงก์ ทำงานกับทีมที่ปรึกษาทางการตลาดในการดีไซน์แบรนด์ดีเอ็นเอ แล้วสะท้อนออกมาในรูปแบบใหม่ของสาขา ที่มีลักษณะLook &Feel แบบทันสมัยและอบอุ่น (Modern and Warm )

“ในเวลาให้บริการก็จะมีการดีไซน์กระบวนการให้บริการ โดยลงรายละเอียดทุกขั้นตอน รวมถึงยูนิฟอร์ม การสนทนา และมารยาทของพนักงาน โดยการสื่อสารกับลูกค้าที่ร่วมมือกับเอเย่นซี่ที่มีความชำนาญในการดีไซน์และวิธีการที่จะเข้าถึงบริการให้ถึงใจลูกค้า และสุดท้าย คือ การดีไซน์กระบวนการและเทคโนโลยี่ต่างๆที่จะทำให้ลูกค้าเข้าใจง่ายๆ เพราะข้อจำกัดของบริการทางการเงินมีลักษณะค่อนข้างสลับซับซ้อนและเข้าใจยาก จึงได้มีการออกแบบร่วมกับ Customer Experience เพื่อให้สิ่งยากนั้นสามารถเข้าใจได้ง่าย”

มิติที่ 4 Rapid Prototype ยึดหลัก“คิดเร็ว สื่อสารง่าย ด้วยแบบจำลองที่ไม่แพง” โดยวิธีการสื่อสารเมี่อครั้งออกแบบใหม่ๆ จะมีการทำชุดสาธิต (Demo)ที่สามารถจับต้องและทดลองใช้ได้เลยหรือมีสถานการณ์จำลอง (Stimulation)หรือ ทดลองกับลูกค้าหรือพนักงานจริง (Pilot Test)เพื่อให้สามารถเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

“นอกจากนี้ ยังมีการสาขา และพนักงานต้นแบบว่าควรจะออกมาอย่างไร เพื่อสะท้อนแนวคิดขององค์กร อันเป็นการสร้างวัฒนธรรมของทดลอง ปรับเปลี่ยน และเรียนรู้ตลอดเวลาจริงๆ (Culture of Experiment) ตัวอย่างเช่น โครงการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินของลูกค้า หรือ K- We plan ซึ่งเป็นการให้บริการทางการเงินกับลูกค้า จะมีการให้บริการจริงๆแก่ลูกค้าว่า รู้สึกเข้าใจง่ายแฮปปี้หรือเปล่าก่อนที่จะนำโปรดักส์ออกสู่ตลาด”

มิติที่ 5 Integrative Teamโดยธนาคาร เน้น“สร้างคนและทีมที่ รู้ลึก รู้รอบ ในทุกมิติ” โดยมีการยึดหลักการ“เก่งงาน เก่งคน สร้างผลสำเร็จ” ด้วยวิธีการอบรมจัดหลักสูตรสำหรับ พนักงานให้มีความรู้ลึกในด้านการเงิน และรู้รอบในด้านอื่นๆ เช่น เรื่องการตลาด การเข้าใจลูกค้าและจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มารยาท การแต่งตัวบุคลิกภาพเป็นต้น ส่วนหลักสูตรผู้บริหารก็จะมีตั้งแต่ Leadership และการทำงานเป็นทีม

“มีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ E-Learningที่ยืดหยุ่นตามเวลาสะดวก เพื่อแก้ไขข้อจำกัดเวลาในการเรียนรู้, Note Master Emails ใช้สื่อสารภายในองค์กรและข้อมูลเศรษฐกิจและการเงินภายนอก ซึ่งพนักงานสามารถอัพเดทเข้ามาดูในคอมพ์ได้เลย”

นอกจากนี้ กสิกรยังมีเทรนด์พนักงานให้เข้าใจบริการพิเศษและแก่ลูกค้ารายพิเศษ โดยจัดให้เจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้า (RM) ที่มี portfolio 50 ล้านขึ้นไป ทั้งการให้คำปรึกษาในการลงทุน ดูแลจัดความสุขให้ลูกค้า ทั้งอาหารพิเศษสุด การจัดให้ชมฟอร์มูล่าวัน การหาบ้านหรืออพาร์ทเมนต์ในลอนดอน หรือไปเป็นเพื่อนลูกค้าเพื่อดูคอนเสริ์ต

และสุดท้าย มิติที่ 6 External Networking โดยแบงก์ยึดหลักสร้างความสำเร็จด้วย “เครือข่ายความร่วมมือเพื่อสู่ความเป็นเลิศ” มีการร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อสร้างสุนทรียะภาพ กระบวนการและเทคโนโลยี่ เช่น ร่วมมือกับบริษัทวิจัย บริษัทสถาปนิก บริษัทโฆษณา รวมถึง สถาบัน องค์กรพัฒนาความรู้ต่างๆ เพื่อช่วยในการฝึกอบรมต่างๆ เช่น แคมเปญสินเชื่อแถมฮวงจุ้ย ซึ่งเป็นการสร้างสุนทรียะให้กับคนหรือลูกค้าที่มีความเชื่อในศาสตร์ดังกล่าวนี้

นอกจากนี้ ยังมีบริการเอทีเอ็มซิม โดยกสิกรร่วมมือค่ายดีแทค ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ด้านเครือข่ายมือถือ เพื่อพัฒนาบริการทางด้านการเงิน เพื่อให้มีความสะดวกยิ่งขึ้นผ่านมือถือซึ่งปัจจุบันเป็นโปรดักส์ที่ทุกมีติดตัวขาดไม่ได้ ทำให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ โดยทั้งสองบริษัทได้ร่วมมือกันดีไซน์กระบวนการ

โอเรียลทอล พริ้นเซส องค์กรแห่งดีไซน์

ทางด้านความสำเร็จในฐานะองค์กรแห่งดีไซน์ของ “โอเรียลทอล พริ้นเซส” ที่มีค่าย โอ.พี.เนเชอรัล โปรดักส์จำกัด เป็นเจ้าของแบรนด์ในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์กิตติ สิริพัลลภ หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ให้ฟังว่า รูปธรรมที่เด่นชัด ไม่ว่า มี Market Share สูงสุดในกลุ่ม Natural Base ขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้นทุกปี (แม้ในปีที่มีปัญหาเศรษฐกิจ) โดยมีสมาชิกกว่า 5 แสนคนและมี 255 สาขาทั่วประเทศ เกิดจากความลงตัวของ สุนทรียะภาพ กระบวนการและเทคโนโลยี่

อาจารย์กิตติ บอกว่า หากอธิบายตามแนวทาง 3 ด้านดังกล่าว พบว่า ด้านสุนทรียะภาพของ โอ.พี.เนเชอรัลฯ คือ ความสามารถในการสร้างประสบการณ์ที่ดี ผ่านการสินค้าที่ออกแบบโดนใจลูกค้า โดยเฉพาะสินค้า “Limited Edition” ร้านค้าที่สวยงาม และกิจกรรมที่สร้างความประทับใจ ขณะที่กระบวนการนั้น มีลักษณะที่โดดเด่น คือ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แม่นยำ,รวดเร็ว เนื่องจากมีการวิจัยพัฒนาที่มีขั้นตอนที่ดี รวมถึงการผลิตที่มีมาตรฐาน

ขณะที่ด้านเทคโนโลยี่ก็ถูกนำมาใช้ในการบริหารสมาชิกกว่า 5 แสนคน รวมถึง กระบวนการบริหารสินค้าคงคลังให้พร้อมขายและใหม่สด รวมถึงบริหารร้านค้า ขณะเดียวกัน ยังมีการสร้างวัฒนธรรมให้คนเป็นศูนย์กลาง โดยการดีไซน์ลูกค้าให้ได้รับประสบการณ์ความงาม มีสังคมโอเรียนทอล พริ้นเซส ระบบการตอบสนองความพึงพอใจและความสะดวกสบาย

“การดีไซน์บุคลากร มีหัวหน้างานเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ตลอดเวลา ให้เป็นผู้ฟังที่ดี ที่มีวินัย จริงใจ ซื่อสัตย์ มีจริยธรรม เพราะวิสัยทัศน์ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทฯเชื่อว่า ทัศนคติที่ดี เป็นก้าวแรกแห่งความสำเร็จ”

นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยเชิงลึก ทั้งในด้านการยอมรับสินค้า ความคิดเห็น โดยการสังเกต ทั้งนี้เริ่มจากผู้บริโภค มีการศึกษาคู่แข่งขัน เพื่อดูแนวโน้มตลาดและทดสอบผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังมีการพัฒนาบุคลากรอย่างมีบูรณาการ โดยร่วมปรึกษากันในฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันคิดและพัฒนาในทีม และสร้างทัศนคติที่ดีแก่บุคลากร

สำหรับการมีดีไซน์แบบจำลองที่ง่ายและรวดเร็วโดยกำหนดแบบจำลองแล้วนำมาสร้างแบบอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันได้นำแบบที่ใช้ได้แล้วเป็นต้นแบบ เพื่อให้มีมาตรฐาน อีกทั้งยังมีการร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อได้สินค้าที่ดีที่สุด ทำให้มีทั้งพันธมิตรในประเทศและพันธมิตรระดับ “World Class”

“ปัจจัยแห่งความสำเร็จ มาจาการกำหนดนโยบายและการบริหารแบบมีดีไซน์ ที่สามารถผสมผสาน ATP ได้อย่างลงตัวเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง มีดีไซน์ในการวิจัยและพัฒนามีทีมงานที่ประสานกันอย่างดี นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม รวมถึงการมีพันธมิตรระดับโลก สะท้อนให้เห็นอย่างรูปธรรมได้มากที่สุด” อาจารย์ กิตติ สรุปในตอนท้าย

6 ขั้นสู่องค์กรมีดีไซน์

สำหรับ 6 ขั้นตอนของการก้าวไปสู่องค์กรมีดีไซน์ รองศาตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร หนึ่งในทีมงานโครงการ The Corporation of Design สรุปว่า หนึ่ง- การให้ความสำคัญกับคน เป็นศูนย์กลาง (Human Centered) มีการสร้างสภาพแวดล้อมมีดีไซน์ เพื่อคนสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ คนภายนอก คือ ลูกค้าและคนภายใน คือ พนักงาน โดยเน้นสร้างความสุขให้พนักงาน เพื่อส่งต่อความสุขให้ลูกค้า อีกทั้งทุกนโยบาย มาตรการต้องตอบให้ได้ว่า “เพื่อใคร”

สอง-การสังเกตการณ์ในบริบท (Observation in Context) เพื่อให้รู้พฤติกรรม ความเป็นอยู่และความต้องการของเขาอย่างชัดเจนและต้องเป็นการสังเกตการณ์ให้ความสำคัญกับบริบทแวดล้อม ทั้งนี้บางคนรู้แต่ไม่กล้าบอก บางทีรู้แต่บอกไม่ได้ อธิบายไม่ถูก และไม่ต้องถาม แต่ต้องสังเกตเอาเอง

สาม-การวิจัยพัฒนาแบบมีดีไซน์ (Design, Research, Development) มุ่งตอบโจทย์ และปัญหาที่กำหนดหรือที่ลูกค้าต้องการจากทีม (Research & Development)โดยมีการลงทุนด้านดีไซน์ วิจัย และพัฒนา ไม่ใช่ดีไซน์เพื่อตกแต่ง หรือเสริมสวย และตอบโจทย์อย่างมีสุนทรียะตั้งแต่ต้น อีกทั้งมีการตั้งคำถามในมุมมองนักดีไซน์ เข้าใจพฤติกรรม และมีนักดีไซน์ เครื่องมือ อุปกรณ์ เพื่อการดีไซน์ในแล็บ

สี่-โดยมีการใช้ทีมงานข้ามสาย (Team of Integration) โดยสร้างแต่ละคนให้มีความรู้แบบบูรณาการ สร้างทีมที่มีมุมมองหลากหลาย แตกต่าง และอย่างน้อยเบื้องต้นต้องมีทีมบูรณาการ หรือทีมจากหน่วยงานต่างๆมาร่วมกันในการตัดสินใจหรือการดีไซน์

ห้า-สื่อสารด้วยต้นแบบด่วน โดยการแปลงความคิดออกมาให้คนอื่นเห็นเหมือนกับการตัดแปะ คล่องตัว และเห็นภาพ (Rapid Prototyping) ในต้นแบบที่ง่าย เร็ว และถูก โดยแปลงนามธรรมเป็นรูปธรรม และสื่อสารกันง่าย เข้าใจตรงกัน ทั้งนี้เพื่อลดเวลาการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพิ่มความเร็วในการออกสู่ตลาด และส่งเสริมวัฒนธรรมการทดลอง

หก-การสร้างความร่วมมือออกไปภายนอกหรือพันธมิตรธุรกิจ เพื่อเร่งความสำเร็จ (External Network) เนื่องจากองค์กรไม่จำเป็นต้องเก่งทุกเรื่อง เป็นการสร้างความร่วมมือตามขั้นตอนห่วงโซ่คุณค่า และสอดคล้องกับแนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us