Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 พฤศจิกายน 2551
อัญมณีวิกฤติหนักรอบ40ปีรุกตลาดใหม่มิดเดิ้ลอีสท์-อินเดีย             
 


   
search resources

พรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล
Jewelry and Gold




ส.อัญมณีและเครื่องประดับ ระบุวิกฤตเศรษฐกิจโลก ราคาทองผันผวน กระทบตลาดอัญมณีวิกฤตหนักรอบ 40 ปี หลังตลาดส่งออกปีหน้าส่ออาการขยายตัวต่ำกว่า 30% ชี้ตลาดหลักอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ยอดวูบ แนะผู้ประกอบการปรับตัว ชูจุดขายด้านการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมเบนเข็มขยายตลาดใหม่

นายพรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล ประธานอาวุโสสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย และประธานกลุ่ม บริษัทบิวตี้ เจมส์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท ในปี 2552 คาดว่าการส่งออกจะมีอัตราการเติบโตต่ำกว่า 30% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบทองผันผวนหนัก และประการสำคัญผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทำให้ความต้องการซื้อของผู้บริโภคลดลง โดยตลาดส่งออกที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มชะลอการจ่ายเงินให้กับซัปพลายเออร์

สำหรับผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับประเทศ บางส่วนมีการปิดกิจการ เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและราคาทองคำที่ผันผวน อย่างไรก็ตามในสภาวะที่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ควรเก็งกำไรทองคำ แต่ผู้ประกอบการต้องรักษาความสมดุลย์ระหว่างต้นทุนซื้อและราคาขาย ตลอดจนการปรับตัวโดยเน้นผลิตสินค้าในเชิงคุณภาพที่เน้นการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มควบคู่กับการลดต้นทุนแทนการผลิตเพื่อจำหน่ายปริมาณมาก ขณะเดียวกันควรเน้นตลาดส่งออกใหม่ๆ อาทิ ตะวันออกกลาง อินเดีย และอิตาลี เนื่องจากเป็นตลาดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากนัก

"ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ นับว่าเป็นวิกฤตในรอบ 40 ปี สำหรับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ เพราะเมื่อเทียบปี 25540 เราประสบกับปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่ขณะนี้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุกประเทศ ซึ่งปีหน้ามี 2 ปัจจัยลบ ทั้งจากสถาบันการเงินมีปัญหาทั่วโลก โอกาสที่ลูกค้าจ่ายไม่ตรงตามกำหนดมีสูง ขณะที่ราคาต้นทุนทองคำจะลดลงราว 30% และความต้องการตลาดลดลง 20% มีผลทำให้มูลค่าส่งออกลดลง”

ทั้งนี้ภาวะการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับตั้งเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน มูลค่าการส่งออก 5,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และคาดว่าสิ้นปีนี้จะมีการขยายตัวมากกว่าเท่าตัว จากปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออก 2,000 ล้านบาท เพราะช่วงสิ้นปีเป็นฤดูกาลซื้อขาย ทั้งนี้ประเทศที่การส่งออกขยายตัวสูงในปีนี้ ได้แก่ ฮ่องกง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ออสเตรเลีย 1,070 ล้านเหรียญสหรัฐ อเมริกา 800 ล้านเหรียญสหรัฐ และสวิสเซอร์แลนด์ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายพรสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการตลาด บริษัทเน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ การออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรักษาระดับราคาขาย ขณะเดียวกันเน้นเจาะตลาดนีชมาร์เก็ต เพื่อส่งผลให้บริษัทมีอัตราการเติบโตของผลกำไรในระดับที่ดีขึ้น อีกทั้งชดเชยกับรายได้ที่อาจลดลงจากแนวโน้มการขายและการส่งออกที่คาดว่าจะเติบโต 0-5%

ล่าสุดสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (ประเทศไทย) หรือจีไอเอ จัดสัมนาด้านอัญมณี Thr19th Gemstone Gathering ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 ภายในงานมีผู้ดำเนินธุรกิจในตลาดอัญมณีร่วมเสวนาถึงแนวทางรับมือกับสถานการณ์ของปัจจัยลบดังกล่าว ทั้งนี้คาดว่าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างเครือข่ายเพื่อกระตุ้นตลาดร่วมกันอีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us