|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"บัณฑูร ล่ำซำ" ชี้วิกฤตการเงินโลกครั้งนี้ในระดับสากลถือว่ารุนแรงมากกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่ไทยมีประสบการณ์ทำให้ไม่ถึงขั้นล้ม แต่แค่เซ ระบุส่งออกยังไปได้โดยเฉพาะภาคการส่งออกอาหาร ส่วนปัญหาด้านการเมืองในที่สุดแล้วจะมีทางออกได้เอง ด้านแบงก์ลดเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อลงเหลือ 6-7% จากเดิม 10-16% ตามภาวะเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลง ล่าสุดประกาศนำเครือธนาคารกสิกรไทยสู่ยุคใหม่อีกครั้ง มุ่งเป็นธนาคารที่พร้อมสรรพสำหรับให้คำปรึกษา พัฒนาหลากบริการ
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือKBANK เปิดเผยว่า วิกฤตโลกที่เกิดขึ้นในตอนนี้มีความรุนแรงมากกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งและเท่าที่ได้พบกับนักลงทุนในต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในอารมณ์ค่อนข้างหดหู่ เนื่องจากตื่นเช้ามาทุกอย่างเป็นศูนย์ ซึ่งวิกฤตที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ต่างจากตอนที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย คือตายเร็วกว่า ปลดคนงานก็เร็ว ซึ่งปีนี้ต้องถือว่าเป็นคริสต์มาสของความโศกเศร้าของซีกโลกตะวันตก และคิดว่าปัญหาจะยังไม่จบ
"ผลกระทบต่อประเทศไทยถ้าจะบอกว่าไม่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะการค้าขายมันเกี่ยวโยงกันหมด คนที่เคยซื้อของกันก็หมดกำลังซื้อ แต่ถึงขึ้นล้มระเนระนาดถึงไม่ถึง แต่อาจจะเซไปบ้าง โดยสังเกตุได้ว่าในขณะนี้ไทยไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่มีฟองสบู่เหมือนตอนที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง รวมถึงไทยได้นำบทเรียนในช่วงนั้นมาใช้และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มีการกำกับที่เข้ม"
นายบัณฑูรกล่าวถึงสถาบันการเงินว่าที่ผ่านมาไม่ได้มีการปล่อยกู้สินเชื่อเพื่อการเก็งกำไร จึงไม่เป็นปัญหารุนแรง ขณะที่ภาคการส่งออกคงได้รับผลกระทบบ้างในส่วนของสินค้าที่เกินกว่าความจำเป็นส่วนสินค้าพวกอาหารที่ราคาไม่แพง เช่น ปลากระป๋อง นั้นนอกจากการส่งออกจะไม่ถดถอยแล้วน่าจะมีการส่งออกได้มากขึ้นด้วย และที่ผ่านมาทางผู้ประกอบการได้เห็นแนวโน้มดังกล่าวมานานแล้วและได้มีการปรับตัวไปบ้างแล้ว ด้วยการหาตลาดใหม่ ๆ และมีการปรับเรื่องของต้นทุนซึ่งจะทำให้สามารถอยู่รอดได้
ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าในปีหน้าจะคนตกงานเป็นจำนวนมากอาจเป็นหลักล้านคนนั้น มองว่า ปัญหาเรื่องการตกงานเป็นเรื่องใหญ่ แต่ส่วนของสังคมไทยไม่น่าจะมีความรุนแรงมากถึงขนาดนั้น เพราะการจะตกงานคงต้องเป็นส่วนของบริษัทที่เจ๊ง ซึ่งตอนนี้ธุรกิจไทยก็ยังประคับประคองกันไปได้ และในส่วนของสถาบันการเงินไทยเองน่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังต้องมีการพัฒนาธุรกิจต่อไปอีก
"การที่ราคาหุ้นตกก็เป็นเรื่องปกติที่พอภาวะไม่ดีก็จะมีการขายออกไป ส่วนเงินระยะยาวนั้นจะมีออกไปหรือไม่นั้นมองว่าไม่น่าจะมี เช่น ตอนนี้เงินลงทุนของญี่ปุ่นยังไม่หนีเลย เขายังคงใช้ไทยเป็นยุทธศาสตร์ในการลงทุนด้านการผลิตรถยนต์ แต่ที่ชะงักไปบ้างคงเป็นเรื่องของการท่องเที่ยว แต่ในความเป็นจริงคนยังอยากลงทุนและอยากมาเที่ยวไทย แต่เพียงรอจังหวะ"นายบัณฑูรกล่าว
นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องการเมืองที่ไม่มีความชัดเจนในปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากทำให้นักลงทุนหลายประเทศมีการชะลอการเข้ามาลงทุนในไทยเพราะภาพปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้เผยแพร่ไปทั่วโลกประกอบกับการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลก็ไม่สามารถดำเนินไปตามปกติได้ เพราะรัฐบาลไม่สามารถใช้ทำเนียบรัฐบาลเป็นที่ประชุมได้ แต่สิ่งที่ปรากฏคือมีการชุมนุมของกลุ่มคน จึงทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องไปใช้สนามบินดอนเมืองเป็นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแทน แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าประเทศไทยคงจะสามารถหาทางออกให้กับปัญหาทางการเมืองได้ เพราะในที่สุดแล้วไม่ว่าจะเกิดเหตุการณือย่างไรขึ้นมาประเทศไทยก็สามารถหาทางออกและแก้ปัญหาได้ในที่สุด
สำหรับเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปี 2552 นั้น ธนาคารได้ปรับลดการเติบโต ลงเหลือ 6-7% ซึ่งเป็นการปรับลดลงจาก 2 เดือนก่อน ที่ประมาณการว่าในปี 2552 การขยายตัวสินเชื่อของธนาคารจะเติบโต 10-16% ซึ่งการปรับลดประมาณการดังกล่าวเป็นไปตามสมมติฐานการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่คาดว่าจีดีพีปีหน้าจะโต 4-5% แต่ปัจจุบันคาดว่าจีดีพีปีหน้าจะโตได้อย่างมากที่ 3% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกขยายตัวได้น้อยลง รวมถึงตัวแปรของการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกหลายตัวยังมีความคลุมเครือด้วย ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปีหน้าคงมีการปรับตัวขึ้นบ้างตามวัฎจักร แต่คงไม่เป็นตัวเลขที่ใหญ่เท่ากับตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง
ล่าสุดประกาศนำเครือธนาคารกสิกรไทยสู่ยุคใหม่อีกครั้ง มุ่งเป็นธนาคารที่พร้อมสรรพสำหรับให้คำปรึกษา พัฒนาหลากบริการ K-Weplan, Advice Ready Branch, K SME Care Knowledge Center, K Business Clinic มั่นใจเป็นแห่งแรกที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการเงินแก่ลูกค้าทุกกลุ่ม โดยมีเป้าหมายให้ทุกบริการเป็นบริการที่ให้คำปรึกษา (Advice Ready) ที่มีความหมายและมีคุณภาพสูงสุด ซึ่งลูกค้าไม่สามารถหาได้จากสถาบันการเงินอื่น โดยช่องทางการให้บริการของธนาคารจะมุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเป็นที่ปรึกษาด้านการเงิน ธุรกิจและเศรษฐกิจแก่ลูกค้าทุกกลุ่มอย่างมืออาชีพ
|
|
|
|
|