Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 สิงหาคม 2546
บบส.อ้อนคลังขอซื้อหนี้เพิ่ม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธนาคารแห่งประเทศไทย
องค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน - FRA
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน - AMC
ธนาคารออมสิน
สิน เอกวิศาล




บบส.อ้อนคลังเปิดกว้างให้รับซื้อหนี้เสียเพิ่มเติม เล็งซื้อเอ็นพีแอลจากสถาบันการเงินของรัฐด้วยกันของธอส.,ออมสินหรือสถาบันการเงินอื่นๆ เชื่อบบส.สามารถทำกำไรได้เพียบ โชว์ฝีมือช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของระบบเศรษฐกิจได้อีกจำนวนมากจากการบริหาร

นายสิน เอกวิศาล กรรมการผู้จัดการ บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้บบส.สามารถรับซื้อสินทรัพย์จากองค์กรต่างๆ เพื่อนำมาบริหารได้เพียง 3 ช่องทางเท่านั้น คือ การรับซื้อหนี้เสียจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) องค์การบริหารสินทรัพย์เพื่ออสังหาริมทรัพย์ (อบส.) และสินทรัพย์ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ถือหุ้นอยู่ ซึ่งที่ผ่านมาในช่วง 6 เดือนแรก สามารถทำกำไรได้มากกว่า 1,500 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากกระทรวงการคลังแก้ไขพระราชบัญญัติของ บบส. เพื่อให้รับซื้อหนี้เสียได้มากกว่านี้ เช่นการอนุญาตให้บบส.เข้าไปรับซื้อเอ็นพีแอลจากสถาบันการเงินของรัฐด้วยกัน เช่นของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือของธนาคารออมสิน หรือสถาบันการเงินอื่นๆ เชื่อมั่นได้ว่าบบส.จะสามารถทำกำไรได้มากกว่านี้แน่นอน และยังเป็นการช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลของระบบเศรษฐกิจได้อีกจำนวนมาก รวมไปถึงสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) ของสถาบันการเงิน ที่ขณะนี้แต่ละแห่งมีเป็นจำนวนมาก

นายสิน กล่าวว่า ขณะนี้บบส.ได้ใช้กลยุทธ์เชิงรุกต่าง ๆ ในการจำหน่ายทรัพย์สินที่รับซื้อมาจากปรส. รวมถึงการมีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดตามประมวลผล และมีระบบการทำงานที่ทันสมัย จึงทำให้บบส.ประสบความสำเร็จมากและสามารถล้างขาดทุนสะสมได้สำเร็จตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2546 กำไรครึ่งปีกว่า 1.5 พันล. สำหรับผลการดำเนินงานประจำงวด 6 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน 2546 ว่า บบส.มีกำไรกว่า 1,500 ล้านบาท และสามารถ ล้างขาดทุนสะสมได้ทั้งหมดตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2546 ซึ่งจะทำให้บบส.สามารถทำกำไรได้ประมาณ 2,000 ล้านบาท ตามที่ประมาณการไว้

ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา บบส.มีรายได้รวมประมาณ 2,355 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย รายได้จากลูกหนี้ใช้สิทธิซื้อคืน รายได้จากการให้เช่าซื้อ รายได้จากการบังคับคดี และรายได้ อื่นๆ

สำหรับสาเหตุที่บบส. มีกำไรเพิ่มขึ้นนั้น สืบเนื่องจากความสำเร็จในการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น การจำหน่ายทรัพย์สิน ซึ่งวางนโยบายเชิงรุกทุกรูปแบบ อาทิ ผู้บริหารระดับสูงเข้าพบลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยตรง การขยายการแต่งตั้งตัวแทนขายรายใหญ่ และรายย่อยทั่วประเทศ การจัดการส่งเสริมการขายทรัพย์สินในราคาพิเศษ และการช่วยออกบูธแสดงสินค้าในงานมหกรรมแสดงสินค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ

ประกอบกับในช่วงต้นปี 2546 บบส.ยังได้เพิ่มช่องทางการพัฒนาและจำหน่ายทรัพย์สินด้วยกลยุทธ์รูปแบบใหม่ออกมา คือ โครงการกิจการร่วมทำเพื่อการพัฒนาและจำหน่ายทรัพย์สิน ส่งผลให้บบส.ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายทรัพย์สินเป็นอย่างมาก

โดยผลการจำหน่ายทรัพย์สินล่าสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 บบส.มียอดอนุมัติการจำหน่ายทรัพย์สินถึง 2,390 ล้านบาท ซึ่งสามารถทำยอดเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ถึง 960 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ในครึ่งปีแรก 1,430 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายการขายทั้งปีไว้ 3,800 ล้าน บาท

ทั้งนี้ บบส.มีทรัพย์สินรอการขาย ณ 30 มิถุนายน 2546 คิดเป็นมูลค่ารวม 30,731 ล้านบาท แบ่งเป็นที่ดินเปล่ามูลค่า 18,279 ล้านบาท ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 6,088 ล้านบาท และสินทรัพย์อื่นๆ มูลค่ารวม 6,364 ล้านบาท

ธปท.นัดแบงก์เวิร์กชอปทุบเอ็นพีแอล

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เตรียมนัดธนาคารพาณิชย์ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อีกรอบหนึ่งเดือนพฤศจิกายน โดยที่ผ่านมาธปท. ได้แยกกลุ่มลูกหนี้เป้าหมาย 3 กลุ่ม คือกลุ่มปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วอยู่ระหว่างผ่อนชำระ มีการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จตามเป้าหมาย จากเดิมลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวมูลหนี้เน่ารวมประมาณ 157,000 ล้านบาท มีเป้าหมายที่จะต้องปรับโครงสร้างหนี้ให้เสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ และยอด ณ เดือนมีนาคมปรากฏว่าลูกหนี้เหลือเพียง 38,898 ล้านบาท ลดลงจากเดือนธันวาคม 2545 ถึง 11,479 ล้านบาท

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่อย่ระหว่างเจรจา กลุ่มดังกล่าวมีมูลหนี้ที่เพิ่มขึ้น จาก ธ.ค.45 มูลหนี้ประมาณ 287,880 ล้านบาทจนถึงมี.ค. ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 311,135 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ไทย จาก 256,429 ล้านบาท ธ.ค.45 เป็น 287,297 ล้านบาทมี.ค.ปีนี้

กลุ่มที่ 3 อยู่ระหว่างการดำเนินคดีและบังคับคดี กลุ่มนี้ธปท.ได้ส่งหนังสือเพื่อขอให้ลูกหนี้สมัครใจเข้ามาเจรจา ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วเดือนเม.ย.จนถึงก.ค. เจ้าหนี้ทยอยส่งรายชื่อลูกหนี้ที่จะเจรจาด้วยมาแล้ว 2,217 ราย เป็นมูลหนี้ 18,507 ล้านบาท ขณะนี้ลูกหนี้ตอบรับเจรจาแล้ว 417 ราย มูลหนี้ 5,758 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us