Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 สิงหาคม 2546
กสท.แซงคิวเข้าตลาด อนาคตผูกติด "ซีดีเอ็มเอ"             
 


   
www resources

โฮมเพจ นอร์เทล เน็ทเวิร์คส์ ประเทศไทย
โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ Singtel
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

นอร์เทล เน็ทเวิร์คส์ ประเทศไทย, บจก.
กสท โทรคมนาคม, บมจ.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Singapore Telecommunications Limited (Singtel)
ชุมพล ณ ลำเลียง
ศุภชัย พิศิษฐวาณิชย์
สิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ทิพาวดี เมฆสวรรค์
CDMA




หมอเลี้ยบ ฟันธง หุ้นกสท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯปลายม.ค.47 ก่อนหน้า ทศท. หลังพบความไม่ชัดเจนหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนแบ่งรายได้, ค่าเชื่อมโครงข่าย, ไทยโมบาย พร้อมเร่งโครงการโทรศัพท์ 5 แสนภายใน 3 เดือน ด้านกสท.ฝากอนาคตกับ ซีดีเอ็มเอด้วยการประมูลซื้อโครงข่ายเอง ยันข้อเสนอนอร์เทลมีความเป็นไปได้

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวถึงแผนการนำบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่นกับบริษัท กสท. โทรคมนาคมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯว่า แผนเดิมที่คาดว่าทศท.จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯในไตรมาส 4 ของปีนี้ คงไม่สามารถทำได้แล้ว เพราะมีความไม่ชัดเจนหลายเรื่อง ในขณะที่กสท.มีความชัดเจนมากกว่า

"กสท.คงเข้าตลาดฯ ปลายเดือนม.ค.2547 ก่อนทศท.แน่นอน ถึงแม้ช่วงเดือนธ.ค.จะสามารถเข้าได้แต่คงไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม"

การเข้าตลาดฯของกสท.จะส่งผลดีหรือมีโมเมนตัมไปถึงทศท.เพราะจะทำให้หุ้นของทศท.ได้รับการสนใจมาก เหตุผลที่กสท.เข้าตลาดฯได้ก่อนทศท.เพราะมีความชัดเจนในเรื่องส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเมื่อเทียบกับรายได้รวมแล้วมีสัดส่วนที่น้อยมาก ในขณะที่ทศท.มีรายได้จากส่วนแบ่งรายได้มากถึง 1/3 ของรายได้รวม หมายถึงอนาคตในเรื่องส่วนแบ่งรายได้ ไม่เป็นผลกับรายได้รวมกสท. รวมทั้งแนวทางทำธุรกิจ ก็ชัดเจนว่าต้องมีการเปิดเสรีโทรศัพท์ระหว่างประเทศ หมายถึงกสท.ไม่สามารถวางแผนธุรกิจโดยคาดหวังให้โทรศัพท์ระหว่างประเทศเป็นตัวทำรายได้หลักอีกต่อไป

"กสท.สิ่งที่นักลงทุนสนใจคงเป็นเรื่องซีดีเอ็มเอ ถ้าอนาคตซีดีเอ็มเอชัดเจนก็จบเพราะโทรต่างประเทศก็ชัดเจนแล้วว่าเปิดเสรีมีคู่แข่งแน่"

ธุรกิจหลักของกสท.ในอนาคตเป็นบริการโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอ ซึ่งนโยบายนพ.สุรพงษ์ชัดเจนแล้วว่ากสท.ต้องทำเอง คือ ประมูลซื้อโครงข่ายซีดีเอ็มเอในภูมิภาคเอง และไม่ใช้วิธีการเช่าด้วย เพราะโครงการเดิมกฤษฏีกาตีความชัดเจนว่าเข้าข่ายพรบ.ร่วมการงานปี 2535 เพราะมีเอกชนเข้าร่วมด้วย

"เป็นเรื่องที่ผมต้องให้การสนับสนุนกสท. เพื่อรีบตัดสินใจเรื่องนี้โดยเร่งด่วน"

แนวคิดเขาคือกสท.ต้องเป็นจ้าของเน็ตเวิร์กเอง ส่วนงานด้านการตลาดหรือการขาย สามารถหาเอกชนเข้ามาร่วมด้วยได้ แต่หัวใจอย่างการวางแผนการตลาด กสท ต้องทำเอง ภายใต้ความเชื่อมั่นในศักยภาพ กสท โทรคมนาคม หลังการแปรรูปแล้ว น่าจะทำได้ดี

"ผู้บริหารคนใหม่ ผมอยากได้ผู้บริหารที่มีความคล่องตัวและความคิดว่องไว แข่งขันกับเอกชนได้"

หมอเลี้ยบสนนอร์เทล

สำหรับข้อเสนอของนอร์เทล ที่ได้รับการคัดเลือกให้ชนะการประมูล แต่โครงการต้องล้มเลิกไป ได้เคยเสนอ 2 ทางเลือก ภายใต้หลักการว่ากสท.จะต้องซื้อเน็ตเวิร์กตรงจากซัปพลายเออร์ คือ1.นอร์เทล เสนออุปกรณ์ระบบ CDMA 1Xในลักษณะ Full Turnkey สำหรับ 1,000 สถานีฐานในราคาที่ต่ำกว่า 8 พันล้านบาท (ประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยจะจัดหาไฟแนนซ์ให้ด้วยเป็นระยะเวลา 6-7 ปี ติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 9 เดือน อุปกรณ์ที่กสท.จะได้รับรองว่าไม่ต่างจากข้อเสนอ 3.1 หมื่นล้านบาทคราวที่แล้ว แต่ตอนนี้ดีกว่าเก่าด้วยเพราะนอร์เทลจะแถมระบบ EV-DO ให้ด้วยซึ่งจะทำให้การสื่อสารข้อมูลได้ด้วยความเร็วเต็มที่ 2 เม็กในราคาเพียงไม่ถึง 8,000 ล้านบาท

หรือ 2.เพื่อให้กสท.ดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น และสมเหตุสมผลเมื่อพิจารณาด้านการตลาดประกอบกันคือ ลงทุนเฟส 1 จำนวน 150 สถานีฐาน ใน 15 เมืองใหญ่ๆ ติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ในวงเงินต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท (25 ล้านเหรียญสหรัฐ)

นพ.สุรพงษ์กล่าวว่าข้อเสนอของนอร์เทลมีความเป็นไปได้ เพราะกลุ่มลูกค้าซีดีเอ็มเอน่าจะอยู่ในเมืองใหญ่ กสท.สามารถเริ่มที่เมืองใหญ่ได้ก่อน แต่สุดท้ายแล้วเน็ตเวิร์กก็ต้องครอบคุบมีอีก 50 กว่า จังหวัดทั่วประเทศ ไม่ใช่ใช้ได้ที่เชียงใหม่ พิษณุโลก อุบลราชธานี แต่พอมาที่น่านกลับใช้ไม่ได้ ลูกค้า ก็จะเกิดคำถามว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นจะเลือกระบบ ซีดีเอ็มเอทำไม "เรื่องซีดีเอ็มเอ ผมจะพยายามให้เดินให้เร็วที่สุด"

ทศท.ภาพยังเบลอ

การที่ทศท.ต้องเลื่อนแผนเข้าตลาดฯไปภายหลังกสท.เป็นเพราะประเด็นหลักๆ 2-3 เรื่องที่ไม่ชัดเจน คือ 1.เรื่องส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทาน ที่มีผลกระทบกับรายได้รวมของทศท.เป็นอย่างมาก 2.เรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเนกชั่น ชาร์จ ยังต้องศึกษาต่อยังไม่จบ เพราะที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในกระบวนการเรียนรู้เท่านั้น

"จากเริ่มประชุมครั้งแรกปลายเดือนม.ค. ผมคิดว่า 3 เดือนน่าจะจบ แต่พอประชุมไปมันไม่จบ เมื่อศึกษาเข้าไปในรายละเอียดมันมีปัญหาตามมายุบยับ ซับซ้อนเต็มไปหมด"

ปัญหาที่ตามมาระหว่างทางอย่างเช่นการเก็บค่าเชื่อมโยงโครงข่ายจะเก็บกันอย่างไร และเมื่อมีค่าเชื่อมโยงโครงข่ายแล้วค่าแอ็กเซ็สชาร์จ (ดีแทคและโอเปอเรเตอร์อื่นภายใต้สัมปทานกสท.เสียให้ทศท.เลขหมายละ 200 บาท/เดือน สำหรับลูกค้าระบบโพสต์เพด) จะมีอีกหรือไม่ และต่อไปส่วนแบ่งรายได้จะเป็นอย่างไร หมายถึงจ่ายส่วนแบ่งรายได้แล้วยังต้องจ่ายค่าเชื่อมโยงโครงข่ายอีกใช่หรือไม่

"เรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่ายเดินมาถึงจุดที่ทุกคนมองเห็นตรงกันบ้างแล้ว ปีนี้ผมอยากให้ได้ข้อสรุป เรื่องเหล่านี้ต้องเคลียร์ให้ชัดเจน"

3.ต้องศึกษาเรื่อง USO หรือ Universal Service Obligation ควบคู่ไปกับเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย เพราะทศท.รับภาระค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐบาลในการลงทุนโครงข่ายในพื้นที่ห่างไกลที่ยากคุ้มค่าเชิงธุรกิจ ในการให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งรัฐจำเป็นต้องสนับสนุน รวมทั้งเรื่องแผนการจัดสรรเลขหมายโทรศัพท์หรือ Numbering Plan ที่ต้องผ่องถ่ายออกมาให้หน่วยงานกลางซึ่งไม่ใช่ทศท.ซึ่งในระยะเปลี่ยนถ่ายคงเป็นกรมไปรษณีย์ฯ รวมทั้งยังต้องมีการพิจารณาเรื่องเพดานค่าบริการ ว่าเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม โดยต้องเทียบเคียงจากประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ โทรศัพท์ทางไกลภายในประเทศ ซึ่งในช่วงระหว่างมี 2 ทางเลือกให้ประชาชนทดลองใช้ตั้งแต่ก.ย.-พ.ย.อย่างอัตรา โทรทั่วไทยนาทีละ 3 บาท อาจเป็นแค่เพดานราคา ให้แต่ละผู้ให้บริการสามารถปรับลดลงได้ตามใจชอบ แล้วแต่แผนการตลาดและการแข่งขัน

"ต่อไปไม่ต้องนาทีละ 3 บาททั่วไทยเท่ากันทุกรายก็ได้ การแข่งขันจะเริ่มสนุกและประชาชนจะได้ประโยชน์มากขึ้น"

เร่ง 5 แสนเสร็จใน 3 เดือน

นพ.สุรพงษ์เชื่อว่าในช่วงทดลองใช้ค่าบริการใหม่ ประชาชนจำนวนหนึ่งจะตอบรับบริการดังกล่าว และมีความต้องการติดตั้งเลขหมายโทรศัพท์ใหม่ ซึ่งปัจจุบันเลขหมายโทรศัพท์ของทศท.มีความขาดแคลนมาก ในขณะที่โครงการโทรศัพท์ 5 แสนเลขหมายต้องรีบเดินหน้า เพราะล่าช้าไปมาก แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานว่าจะประมูลอย่างไร ให้เกิดประโยชน์กับทศท.สูงสุด เช่นให้ได้ใช้ของดี เต็มประสิทธิภาพในราคาถูกเท่าที่จะเป็นไปได้

"ผมเชื่อว่า 5 แสนต้องเดินให้เร็วต้องจบให้เร็วผมว่า 3 เดือนยังช้าไปด้วยซ้ำ"

ทศท.กำลังเร่งโปรโมตโทรศัพท์บ้าน เพื่อให้ประชาชนสามารถเลือกใช้อัตราค่าบริการใหม่จาก 2 ทางเลือก ซึ่งยังได้ให้นโยบายไปว่าให้ทำแคมเปญว่าโทรศัพท์บ้านเดี๋ยวนี้ไม่ได้แพงแล้ว ซึ่งคนจะเริ่มใช้ และต้องการโทรศัพท์มากขึ้น

ไทยโมบายต้องแก้ 3 เรื่อง

ภายใต้ความไม่ชัดเจนของทศท.ยังมีเรื่อง ไทยโมบาย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในระบบ 190 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งบริหารภายใต้กิจการร่วมค้าทศท.กับกสท.ในสัดส่วน 58/42 ซึ่งนพ.สุรพงษ์กล่าวถึงการแก้ปัญหาว่าต้องทำ 3 เรื่องคือ

1.เรื่องความเป็นเจ้าของ ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะให้ทศท.ทำต่อไปคนเดียว หรือให้กสท.อยู่ต่อไป แต่จะต้องทำอย่างไรให้ความรู้สึกการเป็นเจ้าของร่วมไม่ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานและการบริหาร ซึ่งคำตอบมีอยู่ในใจแล้วกำลังศึกษาหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม

2.เรื่องการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเดียวหรือ 2 เจ้าของ แต่เจ้าของทั้งหมดต้องปล่อยการบริหารจัดการ เกิดขึ้นด้วยมือผู้บริหารไทยโมบาย ตามอำนาจหน้าที่ 100% มีหน้าที่ให้เงินมา ตั้งเป้าหมายในการบริหารให้ ทำไม่ได้ก็ออกไป ไม่ใช่ทุกเรื่องต้องขออนุมัติ 2 บอร์ดตลอดเวลา "คนมาบริหารไทยโมบาย ต้องยอมรับว่า คุณมีเป้าที่ต้องทำให้ได้ หากทำไม่ได้คุณก็ต้องออก"

3.เรื่องยุทธศาสตร์ไทยโมบาย ต้องชัดเจนว่าเทคโนโลยีจะเป็นโทรศัพท์มือถือยุคที่3 หรือ 3G หรือเป็น 2G หรือ 2.5G และถ้าเป็น 3G จะเป็นระบบไหนและมีพาร์ตเนอร์หรือไม่

"ภายใน 3 เดือนต้องจบและชัดเจนทั้ง 3 ปัญหา"

นายสิทธิชัย ส่งพิริยะกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ทศท.จะครบกำหนดสัญญาจ้างในเดือนพ.ย.นี้ซึ่งขั้นตอนอยู่ระหว่างการเลือกกรรมการสรรหา ปัญหาเริ่มส่อเค้าขึ้นเพราะเกิดความขัดแย้งระหว่างคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงไอซีทีและประธานบอร์ดทศท.ที่ไม่ต้องการให้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทศท คอร์ปอเรชั่นมีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการสรรหาคัดเลือกกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ทศท. เนื่องจากประธานบอร์ดทศท.ไม่พอใจสหภาพฯ หลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นที่สหภาพฯ มักแฉเรื่องความไม่ชอบมาพากลในเชิงความพยายาม ทุจริตคอร์รัปชันในองค์กร หรืออาการปีนเกลียวระหว่างผู้บริหาร อันมาจากการขัดผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง ซึ่งที่ผ่านมาประธานบอร์ดหลายยุคหลายสมัยต่างยอมรับในบทบาทสหภาพฯ และพยายามแก้ไขสิ่งที่เป็นกระจกเงาสะท้อนภาพองค์กร แต่สำหรับคุณหญิงทิพาวดี ประธานบอร์ด กลับเห็นว่า บทบาทสหภาพฯเป็นการทำร้ายองค์กรมากกว่าความหวังดีที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีขึ้น เจตนาประธานบอร์ดต้องการกวาดขยะไปซุกไว้ใต้พรม ต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่สวยงามออกมาภายนอก คนที่ปูดข้อมูลความไม่ชอบมาพากลเพื่อหวังให้เกิดการแก้ไขกลับเป็นที่รังเกียจมากกว่าผู้บริหารที่เป็นต้นตอความไม่ชอบมาพากลด้วยซ้ำ

ย้อนหลังไปบอร์ดนายศุภชัย พิศิษฐวานิช กลับเลือกให้มีตัวแทนสหภาพฯเข้ามามีส่วนร่วมในการสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมทั้งไม่คิดปิดปากสหภาพฯ แต่เลือกที่จะใช้ข้อมูลสหภาพฯในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ นพ.สุรพงษ์กล่าวว่าหากสรรหาได้คนเก่งที่สังคมยอมรับ กรรมการสรรหามาจากที่ไหน ก็ไม่สำคัญ เหมือนกรณีที่สิงเทลเลือกคุณชุมพล ณ ลำเลียง เป็นประธานบอร์ด ก็ไม่มีใครว่าเอา คนไทยมาเป็นประธานบอร์ดได้อย่างไร

"ผมอยากได้คนเก่ง จะเป็นลูกหม้อหรือไม่เป็นก็ได้ ไม่สำคัญ แต่ต้องทำงานฉับไว คล่องตัวเหมือนเอกชน เพราะต่อไปการแข่งขันจะรุนแรงขึ้น เราต้องชักชวนคนเก่งให้มาสมัครให้มากเพราะไม่เช่นนั้นเราอาจได้แค่คนที่อยากจะเป็น แต่ไม่มีความสามารถก็ได้"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us