Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 สิงหาคม 2546
ศาลผ่านแผนฟื้นจัสมิน             
 


   
search resources

จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ.
ศาลล้มละลายกลาง
แจ้งวัฒนะแพลนเนอร์, บจก.
สมบุญ พัชรโสภาคย์




ศาลเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของ JASMIN พร้อมแต่งตั้ง "แจ้งวัฒนะแพลนเนอร์" เป็นผู้บริหารแผน และตามแผนดังกล่าวจะช่วยลดหนี้ได้กว่า 8 พันล้านบาท จากการขายสินทรัพย์รอง ชำระหนี้และการแปลงหนี้เป็นทุนรวมทั้งหนี้ที่ถูกแฮร์คัต ตามแผน ขณะที่บริษัทต้องออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่เพื่อใช้ในการ แปลง หนี้เป็นทุนให้กับเจ้าหนี้และอาจออกวอร์แรนต์ให้ผู้ถือหุ้นเดิมด้วย

นายสมบุญ พัชรโสภาคย์ บริษัท แจ้งวัฒนะ แพลนเนอร์ จำกัด ในฐานะผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (JASMIN ) เปิดเผยว่าศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฯ พร้อมกับแต่งตั้ง บริษัท แจ้งวัฒนะ แพลนเนอร์ จำกัด เป็นผู้บริหารแผน ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2546 เป็นต้น ไป

ตามแผนฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากศาลล้มละลายกลาง โดยให้แบ่งเจ้าหนี้ออก 8 กลุ่ม ประกอบด้วย เจ้าหนี้มีประกัน 3 กลุ่ม และเจ้าหนี้ไม่มีประกัน 5 กลุ่ม โดยเจ้าหนี้กลุ่ม 1 เป็นเจ้า หนี้มีประกันที่มีจำนวนหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด ซึ่งจะได้รับชำระหนี้ภายใต้โครงการชำระหนี้คืนหลังสุด

ส่วนเจ้าหนี้กลุ่ม 2 เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มีจำนวนหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด จะได้รับชำระหนี้ภายใต้โครงการชำระคืนหนี้โดยผ่อนชำระภายใน 9 ปี โดยการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยค้างจ่ายทั้งจำนวน ซึ่งคำนวณในอัตราปกติจนถึงวันที่ 17 กันยายน 2545 พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตรา MLR และเจ้าหนี้กลุ่ม 3 เป็นเจ้าหนี้มีประกันอื่น ซึ่งเจ้าหนี้แต่ละรายในกลุ่มนี้มีจำนวนหนี้น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด โดยมีจำนวนหนี้คิดเป็นร้อยละประมาณ 47.79 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด เจ้าหนี้กลุ่มนี้แต่ละรายจะได้รับชำระหนี้ตามลำดับ

ทั้งนี้ เจ้าหนี้กลุ่ม 3 แต่ละรายมีสิทธิเลือกขอรับชำระหนี้โดยวิธีการอื่นนอกเหนือจากวิธีการดังกล่าวข้างต้น โดยแสดงความจำนงและให้ความยินยอมเพื่อเลือกขอรับชำระหนี้ตามโครงการที่เป็นทางเลือกโครงการใดโครงการหนึ่งดังต่อไปนี้ โครงการรับซื้อคืนหนี้แบบมีส่วนลด โครงการแปลงหนี้เป็นหุ้นบุริมสิทธิโดยสมัครใจ หรือโครงการชำระคืนหนี้แบบผสม

นอกจากนี้ยังมีโครงการรับซื้อคืนหนี้แบบมีส่วนลดตามที่แผนระบุโครงการแปลงหนี้เป็นหุ้น บุริมสิทธิโดยสมัครใจ โดยราคาเสนอขอแปลงหนี้ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 55 บาท และไม่สูงกว่าหุ้นละ 65 บาท จะได้รับการแปลงหนี้เป็นทุนในราคาเดียวกัน โดยจะมีหุ้นที่ออกตามโครงการนี้สูงสุดไม่เกิน 20 ล้านหุ้น และให้จัดสรรการแปลงหนี้เป็นทุนให้เจ้าหนี้เหล่านั้นตามสัดส่วนของหนี้ที่ เจ้าหนี้ที่เสนอขอ และโครงการชำระคืนหนี้แบบผสม คือผ่อนชำระหนี้จำนวนร้อยละ 18 ของเงินต้นของหนี้ที่แสดงความจำนงเข้าโครงการนี้ ตามสัดส่วนของจำนวนหนี้ พร้อมด้วยดอกเบี้ย ภายใน 9 ปี และในวันเริ่มโครงการ ให้หนี้เงินต้นทั้งหมดที่เหลืออยู่ของเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมโครงการนี้แต่ละรายถูกแปลงหนี้ใหม่ทั้งหมด และส่วนที่มิได้รับจัดสรรให้ได้รับชำระหนี้ตามโครงการนี้ ให้ได้รับชำระหนี้ตามโครงการตามปกติของเจ้าหนี้กลุ่ม 3

ส่วนเจ้าหนี้กลุ่ม 4 เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องคือเจ้าหนี้ไม่มีประกันที่เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้อง โดยมีจำนวนหนี้คิดเป็นร้อยละประมาณ 9.40 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด ซึ่งเจ้าหนี้กลุ่ม 4 แต่ละรายจะได้รับชำระหนี้ภายใต้โครงการชำระหนี้คืนหลังสุดเช่นเดียวกับเจ้าหนี้กลุ่ม 1 และเจ้าหนี้กลุ่ม 5 เป็นเจ้าหนี้ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการขนาดใหญ่ที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งเจ้าหนี้กลุ่มนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ทั้งหมดครบถ้วนตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่เจ้าหนี้กลุ่ม 6 เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่มีเงื่อนไข หากเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลงเดิมดังกล่าวสำเร็จบริบูรณ์ เจ้าหนี้รายที่เกี่ยวข้องจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากบริษัทฯ ตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมทั้งหมดครบถ้วนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใดๆ และเจ้าหนี้กลุ่ม 7 เป็นเจ้าหนี้การค้าที่ยังไม่ผิดนัดหนี้ทางการค้าของเจ้าหนี้กลุ่ม 7 แต่ละรายยังมิได้ตกอยู่ภายใต้การผิดนัด และแผนฯ กำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ทั้งหมดครบถ้วนตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมที่เกี่ยวข้อง

ส่วนเจ้าหนี้กลุ่ม 8 เป็นเจ้าหนี้ค่าที่ปรึกษา ค่าวิชาชีพ หรือค่าธรรมเนียม เจ้าหนี้กลุ่ม 8 แต่ละรายจะได้รับชำระหนี้ที่ผิดนัดเต็มจำนวน พร้อมดอกเบี้ย (หากมี) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฯ และเจ้าหนี้นั้นยังคงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมต่อไป โดยให้ถือเสมือนว่าบริษัทฯ ไม่เคยตกเป็นผู้ผิดนัดเลย

หากมีการดำเนินตามแผนฟื้นฟูฯ โดยถือว่าเจ้าหนี้เลือกขอรับชำระหนี้ตามโครงการรับซื้อคืนหนี้แบบมีส่วนลดซึ่งมีวงเงินรับซื้อคืนของโครง การรวมทั้งสิ้น 300 ล้านบาท จะทำให้บริษัทฯ สามารถลดมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ลงจากมูลหนี้ทั้งหมดประมาณ 11,800 ล้านบาท เหลือมูลหนี้ประมาณ 2,946 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่ต้องชำระตามแผนฟื้นฟูฯ คือผ่อนชำระ 9 ปี จำนวน 1,808 ล้านบาท และผ่อนชำระ 4 ปี จำนวน 550 ล้านบาท รวมทั้งชำระหนี้ในปีที่ 10 จำนวน 588 ล้านบาท

ส่วนหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระซึ่งมีประมาณ 792 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นหนังสือค้ำประกัน ซึ่งเมื่อดำเนินการตามโครงการแล้วเสร็จในอนาคต ทางบริษัทก็จะคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้ แก่ธนาคาร ซึ่งจะทำให้บริษัทไม่ต้องรับภาระในส่วนนี้

โดยสรุปบริษัทจะลดยอดหนี้ได้รวมประมาณ 8,062 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูฯ คือ การขายสินทรัพย์รอง การชำระหนี้ทันที ภายใน 15 วัน แปลงหนี้เป็นทุน และหนี้ที่ถูกปลด ภาระตามแผนฟื้นฟูฯ (Haircut)

นอกจากนี้ JASMIN ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน และออกหลักทรัพย์ใหม่ โดยออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 30 ล้านหุ้น เพื่อนำเงินค่าจองซื้อหุ้นสามัญ เพิ่มทุนจำนวน 300 ล้านบาท ไปใช้ในการรับซื้อหนี้คืนตามโครงการรับซื้อคืนหนี้แบบมีส่วนลด พร้อมกับออกหุ้นบุริมสิทธิใหม่จำนวนไม่เกิน 20 ล้านหุ้น เพื่อใช้ในโครงการแปลงหนี้เป็นหุ้นบุริมสิทธิโดยสมัครใจ และออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 18 ล้านหุ้น เพื่อใช้ในโครงการบังคับแปลงหนี้บางส่วน เป็นทุน

ทั้งนี้ ผู้บริหารแผนหรือบริษัทฯ อาจดำเนินการให้มีการออกใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวนไม่เกิน 750,283,671 หน่วย ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จากการออกและการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ มาใช้เป็นทุน หมุนเวียนในการดำเนินงานของบริษัทฯ และหากบริษัทออกใบสำคัญแสดงสิทธิ บริษัทฯ จะต้องออกหุ้นสามัญใหม่จำนวนสูงสุดไม่เกิน 750,283,671 หุ้น เพื่อรองรับการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us