Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532
การปฏิวัติสารทำความเย็น             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 


   
search resources

ดูปองท์ (ประเทศไทย), บจก.
Electronic Components
โทมัส มิดต์เล่ย์




โทมัส มิดต์เล่ย์ (THOMAS MIDGLEY) แห่งบริษัท เยเนอราล มอเตอร์ (G.M.) เมื่อปี 1924 ได้ค้นพบสาร CHLOROFLUOROCARBONS (CFCs) มีคุณสมบัติทางเคมีในการเป็นตัวทำละลาย อีก 5 ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทเคมีภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของโลก ดูปองต์ ได้พัฒนาสาร CFCs และพบว่า CFCs มีคุณสมบัติทางเคมีในฐานะเป็นสารที่สามารถนำความเย็นได้ (CFC12)

การค้นพบสาร CFC-12 ของบริษัท ดูปองต์ ที่ผู้ใช้รู้จักกันในนามสารฟรีออน (FREONZ) นับว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำความเย็นครั้งแรกในโลก

แอร์คอนดิชั่นที่ใช้ในบ้านเรือน รถยนต์ ตู้เย็น และห้องเย็นที่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ก็ล้วนถูกเชื่อมโยงเข้ากับสาร CFC-12 ที่นำความเย็นมาให้ โดยผ่านอุปกรณ์เครื่องใช้

"มันเป็นเรื่องที่โกลาหลน่าดูถ้าหากว่าไม่มีการใช้ CFC-12 ในโลกอาหารสด หรือแช่แข็งทุกประเภทที่มนุษย์ต้องใช้บริโภคประจำวัน จะไม่สามารถถนอมคุณสมบัติดั้งเดิมไว้ได้ คงต้องเน่าเสีย มนุษย์ที่อยู่ในแถบเมืองร้อนจะอาศัยอะไรมาทดแทนหรือบรรเทาความร้อน" ผู้บริหารฝ่ายขาย CFCs ของบริษัทผู้ผลิตรายหนึ่งในกรุงเทพฯ ปรารภกับ "ผู้จัดการ"

สาร CFCs มีคุณสมบัติดีกว่าแอมโมเนีย ตรงที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ไม่กัดกร่อนอุปกรณ์เครื่องใช้ ไม่ติดไฟ แต่จุดอ่อนคือ มีส่วนประกอบของโมเลกุลคอลไรด์ที่ระเหยลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศแล้วทำลายโอโซน โดยแอร์ และสเปรย์ มีศักยภาพทำลายโอโซนสูงที่สุด

บริษัท ดูปองต์ ผู้ผลิตสาร CFCs รายใหญ่สุดของโลก ได้ลงทุนทำวิจัยและพัฒนาสารเคมีทดแทน CFCs ถึงปีละ 40 ล้านเหรียญ มาตั้งแต่ปี 2517

"สิ่งที่สำคัญของสารที่จะมาทดแทน CFCs ต้องมีคุณสมบัติไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ ไม่กัดกร่อนอุปกรณ์เครื่องใช้ ไม่ติดไฟ ไม่ทำลายชั้นโอโซน และที่สำคัญ ๆ มาก ๆ คือ มีผลต่อการลงทุนเพื่อปรับขบวนการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเย็นให้น้อยที่สุด" เชิดเกียรติ มนต์เสรีนุสรณ์ผู้บริหารฝ่ายขายของบริษัท ดูปองต์ กรุงเทพ เล่าถึงเจตนารมณ์ของดูปองต์ให้ฟัง

สารทดแทน CFCs (เฉพาะ CFC-11, CFC-12 และ CFC-113) เวลานี้ดูปองต์ได้คิดค้นวิจัยและพัฒนาขึ้นมาได้แล้ว เป็น HFC-134A ที่จะมาแทน CFC-12 ซึ่ง HFC-134A มีคุณสมบัติไม่ทำลายชั้นโอโซน และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ ไม่กัดกร่อนอุปกรณ์ ไม่ติดไฟ จะติดอยู่เพียงประการเดียวที่ยังไม่มีข้อสรุปก็คือ จะมีผลต่อการลงทุนปรับขบวนการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ในอุตสาหกรรมทำความเย็นมากน้อยแค่ไหน เพราะสาร HFC-134 A มีส่วนผสมของไนโตรเจนเพิ่มขึ้น ทำให้แรงอัด (PRESURE) ของสาร HFC-134 A มีเพิ่มขึ้น

บริษัท ดูปองต์ ได้ลงทุนไป 30 ล้านเหรียญ เพื่อสร้าง PILOT PLANT ในการผลิตสาร HFCs เพื่อมาแทน CFCs จะเริ่มผลิตได้ในปี 2533 และคงใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปีในการนำออกมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น (2538) อุตสาหกรรมทำความเย็น ก็ถึงยุคการเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีการผลิตใหม่เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us