Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 พฤศจิกายน 2551
กลุ่มปตท.กำไรวูบ2.6หมื่นล.ผู้บริหารโบ้ยวิกฤตสหรัฐฯ-ราคาน้ำมันลด             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
Oil and gas




กลุ่มปตท.อ่วม หลังเจอพิษเศรษฐกิจโลกชะลอตัว-ราคาน้ำมันโลกวูบ ไตรมาส 3/51 กำไรสุทธิรวม 2.2 หมื่นล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่กำไรสุทธิเฉียด 4.8 หมื่นล้านบาท ลดลงเกือบ 2.6 หมื่นล้านบาท หรือ 54% นำโดย “ไทยออยล์” หนักสุดขาดทุนกว่า 5.8 พันล้านบาท ขณะที่ปตท.เองกำไรสุทธิ 1.8 หมื่นล้านบาท หายไป 6.6 พันล้านบาท ระบุมีเพียง “PTTEP” ช่วยพยุงฐานะกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 84% ด้าน “ประเสริฐ” ยอมรับสาเหตุหลักเกิดจากส่วนแบ่งธุรกิจการกลั่นลด-ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน

วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ที่ลุกลามสู่ภาคการเงินของหลายๆ ประเทศทั่วโลก จนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด บวกกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยมีราคาสูงกว่า 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก่อนจะลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วอยู่ระดับที่ต่ำกว่า 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปัจจุบัน

จากปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่มีผลการดำเนินงานปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากก่อนหน้านั้นเป็นกลุ่มบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น

ไตรมาส3กำไรวูบเฉียด2.6หมื่นล้าน

ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจผลการดำเนินงานของกลุ่มบมจ.ปตท. ประจำไตรมาส 3 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 รวมทั้งสิ้น 7 บริษัท พบว่า มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 21,925.62 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 47,866.98 ล้านบาท หรือกำไรสุทธิลดลงกว่า 25,941.36 ล้านบาท หรือคิดเป็น 54.19%

สำหรับกลุ่มปตท. ทั้ง 7 บริษัท ประกอบด้วย บมจ. ปตท. (PTT) บมจ. บางจากปิโตรเลียม (BCP) บมจ. ไออาร์พีซี (IRPC) บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) บมจ. ปตท.เคมิคอล (PTTCH) บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และบมจ. ไทยออยล์ (TOP)

ทั้งนี้ หากพิจารณารายบริษัทส่วนใหญ่จะมีผลการดำเนินงานลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ยกเว้น PTTEP เพียงบริษัทเดียวที่มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น คือ กำไรสุทธิ 12,983.87 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.93 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 7,045.80 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 2.14 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 84%

ส่วนบริษัทที่มีผลขาดทุนสุทธิสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.ไทยออยล์ ขาดทุนสุทธิ 5,802.19 ล้านบาท จากปีก่อนกำไรสุทธิ 3,101.78 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 287% บมจ.ไออาร์พีซี ขาดทุนสุทธิ 4,430.36 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 3,743.15 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 218% และบมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น ขาดทุนสุทธิ 3,376.42 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 3,708.00 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 191%

ส่วนแบ่งธุรกิจการกลั่นลดวูบ

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าว ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรสุทธิ 17,876.67 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 6.34 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิ 24,475.60 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 8.72 บาท หรือกำไรสุทธิลดลง 6,598.93 ล้านบาท คิดเป็น 26.96%

ขณะที่งวด 9 เดือนกำไรสุทธิ 73,893.74 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 26.21 บาท เทียบกับปีก่อนกำไรสุทธิ 73,320.24 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 26.13 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 573.50 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.78%

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลให้การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน บวกกับสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างมาก อัตราเงินเฟ้อและราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวลดลง

จากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ทำให้ไตรมาส 3/51 ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 589,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/50 จำนวน 193,679 ล้านบาท หรือ 49.0% กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย รวมทั้งก่อนค่าใช้จ่ายอื่นและรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (EBITDA) 51,531 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,112 ล้านบาท หรือ 21.5%

อย่างไรก็ตาม ปตท.และบริษัทย่อยมีส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียจำนวน 3,455 ล้านบาท โดยคิดเป็นส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียลดลง 9,168 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีส่วนแบ่งกำไร 5,713 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นมีค่าการกลั่นลดลง และมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน (Stock Loss) ค่อนข้างสูง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ที่มีส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product-to-feed margin) ที่ลดลง

นอกจากนี้ ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 25 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 724 ล้านบาท

ส่วนงวด 9 เดือนปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 1,663,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 57.0% มี EBITDA 134,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.3% มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียจำนวน17,638 ล้านบาท ลดลง 20.3% โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลประกอบการของบริษัทในเครือกลุ่มธุรกิจการกลั่นที่มีค่าการกลั่นลดลง และ Stock Loss จากราคาน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลงดังกล่าวข้างต้น

ขณะเดียวกัน ปตท.และบริษัทย่อยมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,252 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 3,807 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ ปตท. ได้ประเมินสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 51 คาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำ คือ อยู่ในช่วงประมาณ 55 - 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ตราบใดที่ปัญหาวิกฤตทางการเงินในประเทศสหรัฐฯ ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นแรงกดดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง

ขณะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ราคาจะปรับลดลงตามราคาน้ำมัน รวมทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะเข้าสู่ช่วงวัฏจักรราคาขาลง เนื่องจากจะมีกำลังผลิตใหม่ๆ จากภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียแปซิฟิกเกิดขึ้น

TOP ขาดทุนสต๊อกต้ำมัน 7.6 พันล้าน

นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP แจ้งว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสุทธิ 5,802.19 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 287.06% 2551 เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ 128 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงมาอยู่ที่ 96 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2551 รวมทั้งราคาน้ำมันสำเร็จรูปได้ปรับตัวลดลงทุกชนิด ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสูงกว่า 7,594 ล้านบาท และมีผลขาดทุนก่อนดอกเบี้ยภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี (Negative EBITDA) จำนวน 5,541 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us