Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 พฤศจิกายน 2551
ฮอนด้าส่งซีวิคใหม่ชนคู่แข่งชิง Share คอมแพกต์ซีดานโค้งสุดท้าย             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด

   
search resources

ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย), บจก.
Automotive




กระตุ้นตลาดเก๋งคอมแพ็กต์ปลายปี ฮอนด้า หายใจรดต้นคอ โตโยต้า ส่งซีวิคไมเนอร์เชนจ์ ติดตั้งเนวิเกเตอร์ ชน อัลติส ที่เริ่มเหวี่ยงแห รุกตลาดทั้งทุกกลุ่มโดยล่าสุด ส่งอัสติส รุ่น CNG เกาะกระแสพลังงานทางเลือกอีกรุ่น หวังกินรวบตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ด้านมาสด้าส่ง มาสด้า 3 ไมเนอร์เชนจ์ เสริมออฟชั่นใหม่ๆ ประคองตัว

สมรภูมิการแข่งขันของตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรือคอมแพ็กต์คาร์เดือดช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี ค่ายรถยนต์เปิดตัวรุ่นใหม่ ทั้งแบบไมเนอร์เชนจ์ หรือ ตกแต่งพิเศษ ประชันโฉม หวังชิงยอดขายในช่วงฤดูขาย โดยเฉพาะกับเทศกาล มอเตอร์เอ็กซ์โปที่กำลังจะจัดขึ้นทำให้หลายค่ายคาดหมายว่าจะสามารถทำยอดขายให้เป็นไปตามเป้าที่ได้วางไว้

นอกจากเป็นช่วงหน้าขายของตลาดรถยนต์แล้ว แนวโน้มของราคาน้ำมันที่ยังคงไม่นิ่งก็ส่งผลพฤติกรรมของผู้บริโภคที่แต่เดิมจะเลือกซื้อรถเพื่อการพาณิชย์ อย่างรถปิคอัพ ก็หันกลับมาเลือกซื้อรถยนต์นั่งที่มีคุณสมบัติเครื่องยนต์เล็ก ประหยัดน้ำมัน และสามารถปรับแต่งใช้พลังงานทางเลือกได้ง่ายกว่ารถปิคอัพ

จากความนิยมในตลาดรถยนต์นั่งที่ผ่านมา ทำให้ 9 เดือนที่ผ่านมาตลาดนี้มียอดขายทั้งสิ้น 166,377 คันเติบโตกว่า 28.8 % จากปีที่ผ่านมาที่ขายได้ 129,156 คัน ซึ่งรถยนต์ในกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตคือ รถในกลุ่มคอมแพ็กต์คาร์ โดยในช่วง 9เดือนที่ผ่านมานั้น มียอดจำหน่ายรวม 62,128 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ที่ขายได้ 45,898 คันเมื่อแบ่งสัดส่วนทางการตลาดจะพบว่า โตโยต้า อัลติส 38.2 % ,ฮอนด้า 35.2 %,นิสสัน ทีด้า 8.1 %เชฟโรเลต ออพตร้า 8.0 % และมาสด้า 3 4.7 %

การครองแชมป์ของโตโยต้าในตลาดรถยนต์นั่ง ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกของวงการ เนื่องจากชื่อชั้นรวมไปถึงโปรดักส์ เป็นที่นิยมในวงกว้าง เมื่อรวมเข้ากับการมีรถที่สามารถใช้พลังงานทางเลือกอย่าง อัลติส CNG ก็ยิ่งทำให้ยอดขายของโตโยต้า เติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามคู่แข่งสำคัญอย่างฮอนด้า ก็ใช่ว่าจะยอมแพ้ เพราะในช่วงที่ผ่านมาพวกเขาก็ได้ทยอยส่งรถยนต์นั่งในโมเดลใหม่ๆเข้าสู่ตลาด ทั้ง แอคคอร์ด ,แจ๊ซ ,ซิตี้ และล่าสุด ซีวิค 2009 ซึ่งถือเป็นโมเดลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภค

รวมถึงตัวเลขส่วนแบ่งตลาดระหว่างโตโยต้า กับฮอนด้า ในตลาดรถยนต์นั่งถือว่า ห่างกันไม่มาก เหมือนก่อน ดังนั้นการเปิดตัวรถใหม่ในรุ่น ซีวิค 2009 ถือเป็นการออกมาสกัดความแรงของคู่แข่ง โดยฮอนด้าชูความสดใหม่ของตัวสินค้าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยผลักดันยอดขาย นอกจากนั้นแล้วในแง่ของคุณสมบัติใหม่ๆที่ใส่มาในรถในรุ่นใหม่นี้ ก็ถือเป็นการสร้างความต่างให้กับรถในกลุ่มเดียวกัน เพราะพวกเขาตัดสินใจนำระบบนำทางเนวิเกเตอร์แบบสัมผัสมาใช้กับรถยนต์นั่งขนาดคอมแพ็กต์คาร์เป็นค่ายแรก ซึ่งฮอนด้า ซีวิค 2009 มีให้เลือก 3 รุ่นได้แก่ รุ่น S ,E และEL และมีเครื่องยนต์ให้เลือก 2 แบบ คือ 1800 ซีซี. และ 2000 ซีซี. สนนราคาเริ่มต้น 749,000 – 1,101,000 บาท อัลติส 709,000 (1600 ซีซี.) - 969,000 บาท (2000)

ฮอนด้าวางเป้าหมายยอดขายของรถรุ่นนี้ไว้ที่ 24,000 คันต่อปี โดยปัจจัยหลักที่จะผลักดันให้ยอดเป็นไปตามเป้าที่วางไว้คือ กลยุทธ์ทางการตลาด โดยพวกเขามั่นใจว่าความสดใหม่ของตัวสินค้า รวมไปถึง การสื่อสารกับผู้บริโภคทั้งแบบผ่านสื่อทุกประเภท และ ผ่านกิจกรรมทางการตลาด ที่จะจัดเพื่อกระตุ้นการรับรู้และยอดขายของรถในรุ่นนี้ คือ การเปิดตัวฮอนด้า ซีวิค 2009ในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28 พ.ย. – 10 ธ.ค. นี้ที่เมืองทองธานี ซึ่งภายในงานนอกจากจะแนะนำรถใหม่แล้วยังเปิดโอกาสให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายซึ่งได้แก่กลุ่มหญิงชายที่มีไลฟ์สไตล์ทันสมัย อายุตั้งแต่ 25 – 35 ปี ได้มีโอกาสสัมผัสรถรุ่นนี้ผ่านการทดลองขับขี่ด้วยตัวเอง

เคนจิ โอตะกะ ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย)จำกัด เปิดเผยว่าการเปิดตัวรถซีวิค 2009 ในครั้งนี้เพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความสำเร็จของตลาดรถยนต์นั่งของฮอนด้า ที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ทำการเปิดตัว ฮอนด้า แอคคอร์ด ใหม่,ฮอนด้า แจ๊ซ ,ฮอนด้า ซิตี้ และ ฮอนด้า ซีวิค 2009 ผลการตอบรับในทุกรุ่นส่งให้ยอดขายของรถยนต์นั่งของฮอนด้าเติบโตเหนือตลาดรวมรถยนต์ ที่มีอัตราการเติบโตเพียงแค่ 2.2% แต่ฮอนด้าสามารถเติบโต 32 . 6 %

อย่างไรก็ตามแม้ฮอนด้าจะออกมาบอกว่าตลาดรถยนต์นั่งส่งสัญญาณออกมาในทางบวก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในโมเดลซีวิค 2009 อาจจะต้องค่อยๆโต เพราะการออกแบบตัวรถที่แฝงไว้ซึ่งความสปอร์ตอาจจะเป็นการจำกัดวงกลุ่มเป้าหมาย ที่อาจจะเป็นกลุ่มวัยรุ่น ขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่หรือกลุ่มผู้ใช้รถที่เน้นอรรถประโยชน์หรือความกว้างขวางของตัวรถ ก็อาจจะต้องหันมาพิจารณา อัลติส ใหม่ มากกว่า

นอกจากนั้นแล้วในแง่ของเครื่องยนต์ และ ราคาก็ต้องบอกว่าอัลติส ใหม่ มีทางเลือกมากกว่า ซีวิค 2009 เพราะอัลติส ใหม่ มีเครื่องยนต์ 3 ขนาดให้เลือก ทั้ง 1600 ซีซี. และ1800 ซีซี. รวมไปถึงเครื่องยนต์ CNG ไม่เพียงเท่านั้นราคาเริ่มต้นของอัลติสใหม่ในรุ่น 1600 ซีซี.ก็ต่ำกว่า ซีวิค 2009 โดยมีราคาอยู่ที่ 709,000 บาท ถูกกว่า 40,000 บาท ขณะที่ราคาสูงสุดของอัลติส ใหม่ อยู่ที่ 969,000 บาท ในรุ่นเครื่องยนต์ 1800 ซีซี. ก็เป็นราคาที่ถูกกว่าซีวิค 2009 อยู่ดี โดยความแตกต่างทางด้านราคาและเครื่องยนต์ของรถทั้ง 2 รุ่น ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อรถของผู้บริโภค เมื่อมองดูจากปัจจัยที่มีอยู่แล้ว ก็ต้องบอกว่าความสดใหม่ของซีวิค 2009 อาจจะไม่สามารถสกัดความแรงของอัลติส ใหม่ ที่มีความหลากหลายมากกว่า

ไม่เพียงแต่กลยุทธ์ด้านโปรดักส์ ,ราคา ที่ทั้ง 2 ค่ายงัดออกมาสู้กัน ในแง่ของโปรโมชั่นที่จะกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคนั้นทั้ง 2 ค่ายต่างก็ไม่มีใครยอมใคร โดยเฉพาะในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปที่จะถึงนี้ คาดว่าจะเป็นสังเวียนใหญ่ของการแข่งขันเพื่อเก็บยอดขายของทั้ง 2 ค่ายเลยทีเดียว

การแข่งขันอย่างดุเดือดของ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ ทำให้ค่ายเบอร์รองหลายค่ายไม่ว่าจะเป็น มาสด้า ที่เพิ่งปล่อย มาสด้า 3 หรือ ฟอร์ด โฟกัส ในรุ่นไมเนอร์เชนจ์ ต่างก็ต้องปรับตัวปรับแผนกันยกใหญ่ โดยมาสด้า 3 แม้จะเป็นคู่แข่งที่มียอดขายห่างไกลจากผู้นำตลาดทั้งโตโยต้า และฮอนด้า แต่ที่ผ่านมา มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ก็สร้างผลงานยอดขายรถรุ่นนี้ได้อย่างน่าประทับใจเมืองเทียบกับมาสด้า โมเดลก่อนในเซ็กเมนท์ดังกล่าว จอห์น เรย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) ระบุในการเปิดตัวมาสด้า 3 ไมเนอร์เชนจ์ก่อนหน้านี้ว่า มาสด้าแล้วถือว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าในตลาดนี้เป็นอย่างดี จนทำให้รถยนต์มาสด้า 3 มีแบ็กออร์เดอร์อยู่พอสมควร เนื่องจากมีรถยนต์ที่พร้อมจะส่งมอบให้กับลูกค้าเพียงแค่ประมาณ 300 คันต่อเดือนเท่านั้น

ทั้งนี้มาสด้า เซลส์(ประเทศไทย)ได้เจรจากับบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ขอเพิ่มโควตาเพิ่มเพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้าที่มีเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากรถยนต์รุ่นนี้ได้รับความนิยมทั่วโลก จึงทำให้บริษัทแม่เพิ่งอนุมัติการจัดส่งรถยนต์ให้เพิ่มเป็น 500 คันต่อเดือน

สำหรับสถานการณ์ของรถยนต์มาสด้า 3 ที่ผ่านมา หลังการเปิดตัวมาสด้า 3 ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ อี 20 เมื่อต้นปี ถือได้ว่ามีการตอบรับที่ดีจากลูกค้า โดยบริษัทสามารถทำยอดขายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 270 คัน และสามารถทำสถิติการขายสูงสุด 522 คัน เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ด้านฟอร์ดก็ตัดสินใจส่ง โฟกัส ไมเนอร์เชนจ์ เครื่องยนต์ ดีเซล 200 ซีซี. ออกมากระตุ้นตลาดส่งท้ายปี ซึ่งฟอร์ดได้ทำการปรับหน้าตา เปลี่ยนกระจังหน้าใหม่ พร้อมทั้งเสริมเทคโนโลยีใหม่ๆอาทิ การทรงตัว ESP ,ระบบป้องกันการหมุนฟรีของล้อ ด้วยเทคโนโลยีและการออกแบบใหม่นี้ทำให้พวกเขาเชื่อมั่นว่ารถรุ่นนี้จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่ชื่นชอบรถยนต์นั่งที่ขับเคลื่อนด้วยดีเซล อย่างไรก็ตามจากราคาที่ฟอร์ดมีการจำหน่ายไว้สูงถึง 1,099,000 บาท อาจจะเป็นอุปสรรคต่อยอดขายที่พวกเขาตั้งเป้าไว้ ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันโดยเฉพาะกับดีเซลที่ยังคงไม่แน่ไม่นอน ก็อาจจะทำให้โฟกัส ในรุ่นใหม่นี้ไม่อาจจะไปถึงฝั่งฝันได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us