Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532
เลิกใช้สาร CFCs ใน 10 ปีข้างหน้าผู้ผลิตเครื่องเย็นสะเทือนหนัก             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 


   
search resources

ดูปองท์ (ประเทศไทย), บจก.
Electronic Components




ภายใน 10 ปีข้างหน้า บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิต CFCs จะเลิกผลิตหมดทั่วโลก ด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตตู้เย็น แอร์ คอมเพรสเซอร์ และชิ้นส่วนในบ้านเรา เตรียมตัวลงทุนใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับอุปกรณ์การผลิตให้เข้ากับปฏิกิริยาทางเคมีของสาร HFC-134 A ที่จะมาแทน CFC-12 ที่ใช้อย่างแพร่หลายในแอร์และตู้เย็น

เวลาไปพักผ่อนชายทะเล คุณจะเห็นคนจำนวนมาก นิยมอาบแดด หรือเล่นน้ำทะเลกลางแดดเจิดจ้า ด้วยความเชื่อว่าแสงแดดจะทำให้สีผิวพรรณถูกแสงแดดจะทำให้สีผิวสวยงามและเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง

หารู้ไม่ว่ายิ่งคุณปล่อยให้ผิวพรรณถูกแสงแดดแผดเผามากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสให้ผิวหนังเป็นมะเร็ง (SKIN CANCER) มากขึ้นเท่านั้น ความข้อนี้ได้ถูกสนับสนุนอย่างหนักแน่นจากผลงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯเมื่อปี 2517 ที่บอกว่า สาร CFCs (CHLORO FLUORO CARBONS) ที่อยู่ในบรรยากาศของโลกมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการทำลายชั้นโอโซนเนื่องจากโมเลกุลของคลอไรด์ที่อยู่ในสาร CFCs ที่ระเหยออกไป เมื่อลอยออกไปสู่บรรยากาศระดับความสูงพื้นผิวโลก 10 ถึง 24 กิโลเมตร จะไปทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศทำให้เกิดหลุมกว้างและเป็นช่องโหว่ให้แสงอุลตราไวโอเลต - บี ส่องผ่านมาสู่พื้นผิวโลกอย่างเต็มที่ และเมื่อมนุษย์บนพื้นผิวโลก ได้รับแสงแดดอุลตราไวโอเลต-บีนี้มาก ๆ จะเกิดอันตรายต่อเซลที่ผิวหนัง

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้บริษัทผู้ผลิตสาร CFCs รายใหญ่ของโลก เช่น ดูปองต์ไอซีไอ เฮริกซ์ บาฟ (BASF) และอาซาฮีต้องทุ่มเทเงินทุนมหาศาลเพื่อวิจัยและพัฒนาสารตัวอื่นมาทดแทน

ที่ประชุมกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม (UNEP) ได้ตกลงร่วมกันเมื่อ 16 กันยายน 2530 ที่กรุงมอนทรีออล แคนาดา (MONTREAL PROTOCOL) จะสั่งให้บริษัทผู้ผลิตในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำเลิกผลิตสาร CFCs โดยเฉพาะ CFC-11, CFC-12 และ CFC-113 ในปี 2543 โดยก่อนหน้านี้จะค่อย ๆ ลดการผลิตและใช้สาร CFC-11, CFC-12 และ CFC-113 เป็นช่วง ๆ ไป

"การลดปริมาณการผลิตและใช้ CFC-11, CFC-12, CFC-113 จะยึดปริมาณการผลิตและการใช้ของปี 2529 เป็นเกณฑ์โดยกลางปี 2536 บริษัทผู้ผลิตจะลดการผลิตลงเหลือจำนวนเท่ากับ 90% ของปี 2529 และ 65% ของปี 2529 ในกลางปี 2541 จนกระทั่งยกเลิกผลิตไปเลยในปี 2543 ส่วนการใช้ กลางปี 2536 จะลดปริมาณการใช้ลงเหลือ 80% ของปี 2529 และ 50% กลางปี 2541 จนเลิกใช้ไปเลยในปี 2543" ข้อตกลงของ MONTREAL ROTOCOL ระบุไว้เช่นนี้

ประเทศผู้ผลิตสาร ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เยอรมนีตะวันตก สหรัฐฯ และอังกฤษ ต่างก็ได้ให้สัตยาบันแก่ UNEP ไปแล้วตั้งแต่ปี 2531 ขณะที่ประเทศไทยซึ่งอยู่ในฐานะเป็นประเทศผู้ใช้ยังไม่ได้ให้สัตยาบันแก่ UNEP แต่ได้ลงนามรับรองข้อตกลง MONTREAL PROTOCOL ไปแล้วเมื่อ 16 กันยายน 2531

ถ้าหากประเทศไทยไม่ให้สัตยาบันจะมีผลเสียหายแก่อุตสาหกรรมทำความเย็นและอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มากเพราะสาร CFC-11, CFC 12 และ CFC-113 มีอัตราการเติบโตใช้ถึงปีละ 15% จากจำนวนการใช้ปี 2531 ตก 4,000 ตัน จะถูก UNEP บีบบริษัทผู้ผลิตห้ามขายให้กับประเทศไทยทันที

" CFC-11 เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสหกรรมประเภท AEROSOL พวกสเปรย์ฉีดผม สเปรย์น้ำหอม (AIR-REFRESHER) CFC-12 เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมประกอบตู้เย็น แอร์-คอนดิชันทั้งในบ้านและรถยนต์ และอุตสาหกรรมประกอบคอมเพรสเซอร์ ส่วน CFC-113 เป็นสารเคมีพวก SOLVENT ใช้ล้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์" ผู้บริหารตลาดกลุ่มสินค้า CFCs ของเบอร์ลี่ ยุคเกอร์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าหากบริษัทผู้ขาย ไม่ขายให้ประเทศไทย

ผลก็คือ อุตสาหกรรมผลิต/ประกอบตู้เย็น แอร์-คอนดิชั่น คอมเพรสเซอร์ ที่มีมูลค่าผลผลิตปีละ 5,000-5,100 ล้านบาท (ตัวเลขปี 2531) จะเสียหายทันที เนื่องจากขายไม่ออก เพราะผู้ซื้อในตลาดไม่รู้จะซื้อไปทำไม เนื่องจากไม่มีสารทำความเย็น

อุตสาหกรรมต่อเนื่องพวกชิ้นส่วนเช่น ท่อทองแดง MAGNET WIRE โฟมแข็ง RIGID FOAM ที่เป็นฉนวนกันความร้อนในตู้เย็นและเหล็กหล่อ ซึ่งมีมูลค่าผลผลิตปีละ 600 ล้านบาท (ตัวเลขปี 2531) จะได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่มีตลาดอุตสาหกรรมประกอบคอมเพรสเซอร์ ตู้เย็นรองรับ

"บริษัทสยามอิเล็คทริคซึ่งผลิต MAGNET WIRE บริษัทบางกอกโฟม ซึ่งผลิต RIGID FOAM บริษัทสยามนวะโลหะซึ่งผลิตเหล็กหล่อ ล้วนแต่มีตลาดอยู่ที่อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ทำความเย็นพวกตู้เย็น คอมเพรสเซอร์ แอร์-คอนดิชั่นได้รับความเสียหายแน่ ถ้าหากว่าไม่มีสาร CFCs ใช้" วิศวกรของบริษัทผลิตตู้เย็นรายหนึ่งปรารถกับ "ผู้จัดการ" ถึงผลกระทบของสาร CFCs ในอุตสาหกรรมของไทย

แม้ข้อตกลงที่มอนทรีออลจะระบุว่าห้ามใช้สาร ต่อประชากรเกิน 0.5 กก. และไทยมีอัตราใช้เพียง 0.03 กก./คน ซึ่งนับว่าน้อยมาก แต่ภายใน 10 ปีข้างหน้า (2543) ไม่ว่าไทยจะใช้ถึง 0.5 กก./คนหรือไม่ ก็จะไม่มีสิทธิ์ใช้สาร CFCs นี้ใช้อีกต่อไป

ปัจจุบันการใช้สาร ในไทยกว่า 70% เป็น CFC-11 และ CFC-12 อีก 25% เป็น CFC-113

"CFC-113 พวก SOLVENT ที่เป็น CLEANING AGENT ผู้ใช้รายใหญ่คือบริษัทประกอบชิ้นส่วนดิสก์ไดร์ฟอย่างบริษัทซีเกท, ไมโครโพลิส เอ็น.เอส. เซมิคอนดัคเตอร์ โรงงานประกอบรถยนต์นิสสันเอ็นเล็ด เอ็ลเท็ก เป็นต้น เขาใช้สารนี้พ่นล้างทำความสะอาดอุปกรณ์สินค้าพวกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การเติบโตการใช้เฉลี่ยปีละ 20% เป็นอย่างต่ำ" แหล่งข่าวในเบอร์ลี่ ยุคเกอร์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ประเด็นที่สำคัญคือ ในอีก 10 ปี ข้างหน้า บริษัทผู้ผลิตอย่างดูปองต์ซึ่งเป็นเจ้าตลาดและเจ้าของเทคโนโลยีสาร CFCs จะผลิตสารอะไรมาทดแทน CFCs โดยเฉพาะ CFC-11, CFC-12 และ CFC-113 โดยคงคุณสมบัติ 3 ประการไว้คือ หนึ่ง - ไม่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ สอง - ไม่กัดกร่อนอุปกรณ์เครื่องใช้ สาม - ไม่ติดไฟ และที่มีคุณสมบัติเหนือกว่านี้อีก 2 ประการที่ CFCs ไม่มีคือ ไม่ทำลายชั้นโซน และทำให้ต้นทุนการปรับขบวนการผลิตใหม่ในอุตสาหกรรมทำความเย็นมีน้อยที่สุด

จากการสืบค้น "ผู้จัดการ" ทราบว่า ขณะนี้บริษัทดูปองต์ที่สหรัฐฯได้ลงทุนไปแล้วเฉพาะตัวโรงงาน 30 ล้านเหรียญเพื่อเป็น PILOT PLANT ในการผลิตสาร HYDRO FLUORO CARBONS (HCF) เกรด 134A เพื่อใช้ทดแทน CFC-12

"ความจริง CFC-12 สามารถใช้ CFC-22 มาใช้แทนได้คุณสมบัติมีครบทุกประการ แถมทำลายชั้นโอโซนน้อยมากเพียง 0.05 ส่วนต่อ BILLION PER VOLUME (PPV) เพียงแต่ว่า CFC-22 มีแรงอัด (PRESSURE) สูงกว่า CFC-12 เท่านั้น ซึ่งในแง่คุณสมบัติของสาร CFC-22 เช่นนี้ ผู้ผลิต/ประกอบอุปกรณ์ทำความเย็น อาจต้องเปลี่ยนขนาดของอุปกรณ์ (COMPONENTS) ใหม่ให้ทนทานต่อแรงอัดที่เพิ่มขึ้น" สุเมธ สิมะกุลธร ประธานกรรมการบริหารบริษัทผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น - กุลธร เคอบี้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

แต่การเปลี่ยนสารทดแทน CFC-12 ทางดูปองต์คำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการเปลี่ยนขบวนการผลิตอุปกรร์เครื่องใช้ให้น้อยที่สุดมากเป็นอันดับสำคัญ เฉพาะในสหรัฐฯ มีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับความเย็นจำนวนมากคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 135,000 ล้านเหรียญ ซึ่งมูลค่าทรัพย์สินเหล่านี้ต้องถูกดัดแปลงขบวนการผลิตใหม่ให้สอดคล้องกับสารตัวใหม่ ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ที่เวลานี้ยังไม่มีหน่วยงานใดสามารถคำนวณตัวเลขเงินลงทุนใหม่ได้ว่าเป็นเท่าไร

"ที่รู้แน่ ๆ ในอุตสหากรรมคอมเพรสเซอร์ มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดของวาล์วแบบ และขนาดลูกปั๊มและน้ำมันหล่อลื่นในกระบอกสูบต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ ทางบริษัทเทคัมเช่ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คอมเพรสเซอร์ระบบ HERMATIC จะเป็นผู้ออกแบบสเป็กเอง โดยจะกำหนดให้บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น TEXAS INSTRUMENT, GENERAL MOTOR ผลิตตามแบบ" สุเมธ สิมะกุลธร ประธานกรรมการบริหารกุลธรเคอบี้กล่าว

บริษัทกุลธร เคอบี้ ประกอบอุตสาหกรรมด้านคอมเพรเซอร์ โดยใช้ KNOW-HOW จากเทคัมเช่ สหรัฐฯ ในลักษณะการเช่าสัญญาเทอมละ 5 ปี มาตั้งแต่ปี 2525 ผลิตคอมเพรสเซอร์ระบบ HERMATIC โดยใช้ LOCAL CONTENT ถึง 70% จำนวนปีละ 500,000 ลูก ป้อนให้อุตสาหกรรมห้องเย็นขนาดเล็ก, ตู้เย็นในประเทศ

สุเมธ สิมะกุลธร แห่งบริษัทกุลธรเคอบี้กล่าวยอมรับกับ "ผู้จัดการ" ว่าผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตเครื่องทำความเย็นในบ้านเรามีแน่ แต่ผู้ผลิตก็ยังไม่สามารถเตรียมตัวทำอะไรได้มากนัก เพราะหนึ่ง - สเป็กแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่จะใช้ในตู้เย็นดี คอมเพรสเซอร์ก็ดี ทางเทคัมเช่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องรอแบบทางเทคัมเช่ส่งมาให้ ทางผู้ผลิตไทยเป็นแต่เพียงผลิตตามแบบเท่านั้น ซึ่งคงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปีถึงจะรู้ผล สอง - ผู้ผลิตไทยไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การผลิตอุปกรณ์ทำความเย็นใด ๆ เลย จึงไม่สามารถลงทุนทำการวิจัย และพัฒนาขบวนการผลิตอะไรได้

เหตุผล 2 ประการนี้ เมื่อโยงเข้ามาพิจารณาจากอุตสาหกรรมประกอบตู้เย็นซึ่งมีผู้ผลิตยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นที่ลงทุนร่วมกับกลุ่มคนไทยอยู่ 4 กลุ่ม เป็นเจ้าตลาออยู่คือ เนชั่นแนล (กลุ่มมัตซูชิตะ) โตชิบา (ร่วมทุนกลุ่มสุริยะสัตย์) ชาร์ป (ร่วมทุนกับกลุ่มศรีบุญเรือง) ซันโย (ร่วมทุนกับกลุ่มโอสถานุเคราะห์) ก็เห็นชัดขึ้นในท่าที่ที่เหมือนกัน เพราะขนาดท่อทางเดินน้ำยาที่ติดอยู่หลังตู้เย็น ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่รับน้ำยาที่ติดอยู่หลังตู้เย็น ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่รับน้ำยาจากท่อทางเดินน้ำยาคอมเพรสเซอร์เข้าสู่ตัวตู้เย็น ยังต้องนำเข้าจากบริษัทผู้ผลิตในญี่ปุ่น ซึ่งตรงจุนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงแบบและขนาดของท่อใหม่ให้สามารถรับแรงดันจากน้ำยาความเย็น HCF-134 A ใหม่

"ชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบตู้เย้นเรายังต้องพึ่งชิ้นส่วนจากต่างประเทศประมาณ 40% ในประเทศ 60% ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบความเย็นทั้งหมดยังต้องนำเข้าถ้ามีการเปลี่ยนน้ำยาตัวใหม่แทน CFC-12 ระบบการผลิตก็ต้องเปลี่ยน โดยเฉพาะแบบและขนาดของชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับระบบความเย็น ซึ่งจุดนี้ก็ต้องรอให้บริษัทผู้ผลิตทางญี่ปุ่นกำหนดสเปคมา เรามีหน้าที่ประกอบตาม" วิศวกรของบริษัทซันโย อิเล็คทริคผู้ผลิตตู้เย็นรายใหญ่ของไทยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงจุดที่ต้องปรับการผลิตใหม่ในอุตสาหกรรมประกอบตู้เย็น

ผู้บริหารระดับสูงในบริษัท หาญเอ็นจิเนียริ่ง ผู้นำเข้าคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรมห้องเย็นขนาดใหญ่ ได้ยืนยันยันกับ "ผู้จัดการ" ว่า เมื่อขบวนการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องทำความเย็น มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ต้นทุนของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น แอร์ คอมเพรสเซอร์ ก็ต้องแพงขึ้น จุดนี้สอดคล้องกับผู้บริหารระดับสูงในดูปองต์ประเทศไทยที่กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า มันหลีกเลี่ยงได้ยาก ขนาดตัวน้ำยา HFC-134 A เอง ราคาก็แพงกว่า CFC-12 ถึงอย่างน้อย ๆ 4 เท่าตัวราคา CFC-12 ตกกิโลกรัมละ 70 บาท ถ้า HFC-134A แพงกว่า 4 เท่า ก็จะตกประมาณ ก.ก.ละ 280-300 บาท เหตุผลที่น้ำยาแพงกว่าก็เพราะคุณสมบัติมันดีกว่า ขณะที่ตลาดคือบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ความเย็นไม่มีทางเลือกที่จะใช้สารอื่นแทน

การปฏิวัติทางเทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมทำความเย็นที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของตลาดเป็นต้นเหตุ แต่มาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังตื่นตัวพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีเอาไว้

ในขณะที่ผู้ผลิตไทยยังไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะพัฒนาอุตสากรรมทำความเย็นได้เอง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของโลก จึงเป็นมิติใหม่ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจในการลงทุนทางการผลิตอย่างช่วยไม่ได้

อุตสาหกรรมที่จะได้รับกระทบค่อนข้างหนักจากการเปลี่ยนแปลงขบวนการผลิตด้วยสาเหตุนี้คงไม่ใช่อุตสาหกรรมผู้ประกอบเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์คอนดิชั่น เพราะเงินลงทุนต่ำเพียง 1-2 ล้านบาทก็สามารถทำอุตสาหกรรมประกอบแอร์ได้

แต่เป็นอุตสาหกรรมประกอบคอมเพรสเซอร์ และตู้เย็น ซึ่งใช้เงินลงทุนสูงเป็นระดับ 100 ล้านบาทขึ้นไป ยกตัวอย่างบริษัทกุลธรเคอบี้ ลงทุนผลิตคอมเพรสเซอร์ระบบ HERMATIC ลงทุนไปแล้ว 500 ล้านบาท โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตทั้งหมดจากบริษัท เทคัมเช่โปรดักซ์ สหรัฐ

ขบวนการผลิตแต่ละขั้นที่นำมาประกอบเป็นคอมเพรสเซอร์ ขนาและแบบชิ้นสวนอุปกรณ์ต่าง ๆ ในคอมเพรสเซอร์ต้องได้มาตรฐาน เพราะเป็นระบบไฮ-เทค

ดังนั้นการเปลี่ยนขนาดและแบบของอุปกรณ์ชิ้นส่วนจึงใช้เงินลงทุนสูงมากในการปรับปรุงระบบเครื่องจักรใหม่ให้เหมาะสมกับขนาด และแบบของชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เปลี่ยนไป

นอกจากนี้แล้ว บริษัทผู้ผลิตอุตสาหกรรมต่อเนื่องาพวกชิ้นส่วนบางประเภทที่ใช้อุตสาหกรรมทำความเย็น เช่น ท่อทองแดง (MAGNETIC WIRE) เหล็กหล่อฉนวนความร้อน RIGID FOAM ที่มีผู้ผลิตรายใหญ่ ๆ อย่าง สยามอิเล็กทริค สยามนวโลหะและบางกอกโฟม ก็ต้องลงทุนปรับระบบเครื่องจักรใหม่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ มีขนาดและแบบตรงตามความต้องการสเปคของตลาดผู้ผลิตตู้เย็นและคอมเพรสเซอร์ ยกตัวอย่าง MAGNET WIRE ต้องเปลี่ยนขนาดท่อให้ใหญ่ และมีขนาดยาวขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนสารเคลือบทองแดงใหม่ให้สามรถทนทานต่อแรงอัด (PRESSURE) ของน้ำยาตัวใหม่

สูญเสียเงินลงทุนปรับระบบการผลิตกันใหม่อีกเท่าไร่ เวลานี้ยังหาคำตอบไม่ได้ แม้แต่บริษัทดูปองต์ ซึ่งเป็นเจ้าต้นตำรับผลิตน้ำยา CFCs ก็ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมทำความเย็นทั้งหลายจะใช้เงินลงทุนกันเท่าไร

การปฏิวัติทางเทคโนโลยีด้วยเหตุผล เพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวแล้วมีผลย้อนมาเล่นงานอุตสาหกรรมทั้งหลายต้องให้มีการลงทุนปรับระบบการผลิตใหม่ เป็นเรื่องน่าเจ็บปวดนักสำหรับนักอุตสาหกรรมทั้งหลาย

กรณีสาร CFCs ไม่ใช่ครั้งแรกที่เป็นกรณีศึกษาหรือบทเรียนสำหรับนักอุตสาหกรรมเครื่องเย็นในบ้านเรา ก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันก็เจอมาแล้วในกรณีการลดสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us