Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 พฤศจิกายน 2551
ไทยหวังแจ้งเกิด SMEs ในแดนโสม.! สสว.ชี้ 4 กลุ่มอุตฯดาวรุ่ง-ใช้สิทธิ์ FTA กรุยทาง             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

   
search resources

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
SMEs




SMEs หวังแจ้งเกิดในตลาดเกาหลีใต้ สสว.ดัน 4 กลุ่มอุตฯนำร่องในตลาดกิมจิ ชี้ “สิ่งทอ-ท่องเที่ยว-อัญมณี-ดิจิตอลคอนเทนต์” มีโอกาสไปได้สวย ย้ำต้องใช้สิทธิประโยชน์ AKFTA ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ขณะที่การค้าระหว่างกัน 9 เดือนแรกไทยขาดดุลไปแล้ว 8 หมื่นล้าน

หากพูดถึงการค้าระหว่างประเทศไทยกับเกาหลีใต้ดูเหมือนว่าจะทรงตัวมาตลอด 5-10 ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันในช่วง 2-3 ปีมานี้เป็นช่วงที่กลุ่มประเทศอาเซียน ได้ทำความตกลงค้าเสรี ระหว่างอาเซียนและเกาหลี ASEAN - Korea Free Trade Agreement : AKFTA โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศได้ลงนามไปแล้วเหลือเพียงไทยเท่านั้นที่ยังไม่ลงนามร่วมข้อตกลงดังกล่าว

อย่างไรก็ดีการที่ไทยยังไม่ลงนาม อาจจะทำให้ไทยเสียผลประโยชน์จากการลงนามล่าช้ากว่าประเทศอื่นและปัจจัยหลักที่ไทยยังไม่ลงนามร่วมกับเพื่อนสมาชิกคือ หวั่นว่าผู้ประกอบการรายเล็กหรือ SMEs ในบ้านเราจะสู้ SMEs จากเกาหลีใต้ไม่ไหว ทั้งเกรงว่าการเปิดตลาดเสรีดังกล่าว SMEs ในบ้านเราจะถูกแย่งตลาดไปครอง รวมทั้งการส่งออกก็ยังสู้ไม่ได้อีก นี่คือความห่วงใยของภาคเอกชน

4 กลุ่ม SMEs หวังแจ้งเกิด

ขณะที่ในรายงานวิจัยของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว) และ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) พบว่ามี 4 อุตสาหกรรมที่น่าจะมีโอกาสในตลาดเกาหลีใต้ ประกอบด้วย

1.อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าของเกาหลีใต้ในลำดับที่ 17 คิดเป็นมูลค่า 21.97 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าที่มีการนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ พลอยสี

นอกจากนี้ไทยยังเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องประดับเทียมในอันดับต้นๆ ของเกาหลีด้วย ขณะที่เครื่องประดับแท้ ก็เป็นสินค้าที่มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ เพราะมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ โดยช่องทางการจำหน่ายที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การซื้อผ่านทาง TV Home Shopping และ Online Shopping Mall

ส่วนการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ของ SMEs ไทย ภายใต้ความตกลงเสรีการค้า อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี พบว่า วิธีการส่งออกโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย จะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ตลาด ส่วนวิธีการส่งออกทางตรง จะเป็นโอกาสที่ดีต่อผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศเกาหลี

2.อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในแต่ละปีสูงกว่าการส่งออกไปทั่วโลก สินค้ากลุ่มสิ่งทอ ที่เกาหลีใต้มีการนำเข้าสูงที่สุด คือ ฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ ใยยาวประดิษฐ์ และวัตถุสิ่งทอประดิษฐ์ สำหรับสินค้าสิ่งทอที่สร้างมูลค่าให้ไทยในการส่งออกคือ ฝ้าย และเส้นใยประดิษฐ์ หรือกล่าวได้ว่า สินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยที่เข้าไปในตลาดเกาหลี แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สินค้าวัตถุดิบในรูปของสิ่งทอ และสินค้าเครื่องนุ่งห่มในรูปแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ส่วนการเข้าสู่ตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ ปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs จะใช้วิธีการส่งออกทางอ้อม และภายใต้ข้อตกลงการค้า จะสามารถลดต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเกาหลีได้ ขณะที่การส่งออกทางตรงก็จะช่วยให้ SMEs ไทยมีความได้เปรียบด้านราคาที่ถูกลง

โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณี เครื่องประดับ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม คือกลุ่มวัยรุ่น เพราะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อสินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ และการแต่งกายของเกาหลีเป็นอย่างมาก

3.อุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเทนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูงและมีความสำคัญต่อตลาด จากการที่รัฐบาลเกาหลีมีนโยบายสร้างประเทศให้เป็น Information Society ทำให้ประชากรมีการใช้ไอซีทีเป็นจำนวนมาก มีการวางรากฐานที่เข้มแข็ง ทั้งในเรื่ององค์ความรู้และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ตลาดงานรับจ้างผลิตจากต่างประเทศมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจการผลิตของไทย มีการขยายรูปแบบการผลิตทั้งแบบรับจ้างผลิต ร่วมผลิต และร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศ

ปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs ไทยในอุตสาหกรรมนี้ เข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ ด้วยการติดต่อกับผู้ว่าจ้างโดยตรง ผ่านช่องทางการแสดงสินค้า E–Commerce และหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ยังมีการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Alliances) เป็นกลยุทธ์หลักในการขยายตลาดต่างประเทศ

4.อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเป็นดาวรุ่งสุดท้าย ที่สร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้อย่างมาก ทำให้รัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีก็นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย รองจาก จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำหรับ SMEs ในหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยช่องทางที่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น จะมีการติดต่อบริษัทนำเที่ยวของไทยโดยตรงซึ่งผ่านระบบอินเตอร์เนต และการที่บริษัทเกาหลีมีการตั้งสำนักงานตัวแทนหรือสาขาในประเทศไทย เพื่อให้สามารถติดต่อกับบริษัททัวร์ในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีรูปแบบของการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ โดยการส่งกรุ๊ปทัวร์ให้กันและกัน

ต้องใช้สิทธิ FTA ให้เป็นประโยชน์

สำหรับนักท่องเที่ยวเกาหลีที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมาเพื่อการพักผ่อน ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สำคัญ คือกลุ่มนักศึกษา คู่แต่งงานใหม่ หญิงโสด กลุ่มกอล์ฟ เป็นต้น

“ SMEs ไทยควรให้ความสนใจและใช้ข้อตกลงFTAอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ให้เป็นประโยชน์ เพราะจะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างโอกาสในการขยายตลาดสินค้าไทยในประเทศเกาหลีใต้ ” ภักด์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ไทยขาดดุล ‘เกาหลีใต้’ ต่อเนื่อง.!

ในด้านการลงทุนของนักลงทุนจากเกาหลีใต้ในประเทศไทย พบว่าสาขาที่เข้ามาลงทุนมากได้แก่สาขาอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สาขาผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง สาขาเคมีภัณฑ์ กระดาษ และสาขาบริการ เป็นต้นโดยในปี พ.ศ.2550 ได้ขอรับการส่งเสริมจากBOI (คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)มากถึง 52 โครงการด้วยมูลค่ากว่า 11,568 ล้านบาท

ซึ่งหากเปรียบเทียบระหว่างม.ค.-ก.ย.ของปี 2550 และ2551 พบว่าปี 2550 มียอดขอรับการส่งเสริม 35 โครงการด้วยมูลค่าลงทุนกว่า 5,025 ล้านบาทขณะที่ปี 2551 ตั้งแต่ม.ค.-ก.ค.มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 42 โครงการด้วยมูลค่าโครงการกว่า 4 ,717 ล้านบาท

ด้านการค้าระหว่างกันเกาหลีใต้เป็นคู่ค้าลำดับที่ 10 ของไทยในปี 2550 ด้วยมูลค่าค้าขายระกว่างกัน 286,445 ล้านบาทแบ่งเป็นนำเข้า184,223 ล้านบาทและส่งออก102,221 ล้านบาทซึ่งไทยขาดดุลกว่า 82,002 ล้านบาท

ขณะที่ในปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่าค้าขายระหว่างกัน262,166 ล้านบาทแบ่งเป็นนำเข้า171,950 ล้านบาทและส่งออกเพียง90,216 ล้านบาทและปีนี้ 9 เดือนแรกไทยขาดดุลเกาหลีไปแล้ว 81,735 ล้านบาท

หาก SMEs ของไทยมีโอกาสและสามารถเจาะตลาดแดนกิมจิได้เชื่อว่าอย่างน้อยๆธุรกิจ SMEs ในบ้านเราน่าจะมีที่ระบายของและสร้างมูลค่าให้กับประเทศได้ไม่มากก็น้อยหรืออย่างน้อยๆน่าจะลดการขาดดุลการค้าระหว่างไทยและเกาหลีใต้ลงได้บ้าง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us