Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 พฤศจิกายน 2551
บริดจสโตนตัดชื่อไฟร์สโตนยุติความสับสน             
 


   
www resources

โฮมเพจ Thai Bridgestone

   
search resources

บริดจสโตนเซลส์ (ประเทศไทย), บจก.
Auto-parts




หลายคนอาจจะยังจำได้ว่า ผู้ประกอบการยางรถยนต์รายใหญ่รายหนึ่งในสหรัฐฯที่ชื่อ ไฟร์สโตน เคยประสบกับปัญหาทางธุรกิจเมื่อหลายปีก่อน จากความกังขาในความน่าเชื่อถือของแบรนด์ด้านคุณภาพของยางที่ผลิตให้กับแบรนด์รถยนต์ดังของสหรัฐฯ

แม้ว่า ผู้บริหารจะได้ใช้ความพยายามหลายต่อหลายอย่างในการที่จะพลิกฟื้นกิจการมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก เพราะความได้เปรียบทางธุรกิจที่ไฟร์สโตนเคยมีมาแต่ไหนแต่ไร จากการที่ไฟร์สโตนเคยมีเครือข่ายและพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็ง และสนับสนุนทางธุรกิจกันมานานหลายสิบปีต้องมีอันล่มสลายไป และไฟร์สโตนยังไม่สามารถจะหาคู่ค้ารายอื่นใดมาทดแทนในปริมาณการค้าขายที่มากใกล้เคียงกันได้อีก นับแต่นั้นเป็นต้นมา

บริษัทแม่ของกลุ่มไฟร์สโตน คือ บริษัทบริดจ์สโตน ด้วยเหตุนี้ชื่อล่าสุดก่อนการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ จึงเป็นชื่อที่ใช้การผสมผสานระหว่างคำว่า “ไฟร์สโตน” กับคำว่า “บริดจ์สโตน” มาตั้งชื่อกิจการย่อย ๆ ทั้งหลายที่อยู่ในเครือของบริษัทแม่จากญี่ปุ่นคือ บริษัทบริดจ์สโตน ซึ่งตัวของบริษัทบริดจ์สโตนนี้เป็นผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกในขณะนี้ด้วย

ปัญหาของความสับสนในเรื่องชื่อของกิจการนี้ น่าจะเริ่มมาจากการที่บริษัทยางยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น บริดจ์สโตนได้ตัดสินใจเข้าไปซื้อกิจการ ไฟร์สโตน มาจากผู้ประกอบการในสหรัฐฯที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในแนชวิลล์ เมื่อปี 1988 และบริดจ์สโตนกำลังจะฉลองครบรอบ 10 ปีของการซื้อกิจการในเร็ว ๆ นี้

การปรับเปลี่ยนโดยตัดคำว่า “ไฟร์สโตน” ครั้งนี้เป็นการปรับโครงสร้างของชื่อกิจการย่อย ๆ ในกลุ่มบริดส์สโตน กรุ๊ปครั้งใหญ่ เพราะมีกิจการย่อยหลายแห่งที่ถูกเปลี่ยนชื่อไป เช่น ชื่อหลักของกลุ่มที่เป็นชื่อบริษัทแม่ ใช้ชื่อว่า บริดจ์สโตน กรุ๊ป, บริษัท บริดจ์สโตน อเมริกา โฮลดิ้ง จะทำการปรับเปลี่ยนชื่อไปเป็น บริดจ์สโตน อเมริกา, บริษัท บริดจ์สโตน ไฟร์สโตน นอร์ท อเมริกัน ไทร์ จะปรับเปลี่ยนชื่อไปเป็น บริดจ์สโตน อเมริกา ไทร์ โอเปอเรชั่น
.
บริษัท บีเอฟเอส รีเทล แอนด์ คอมเมอร์เชียล โอเปอเรชั่น จะเปลี่ยนชื่อไปเป็น บริดจ์สโตน รีเทล โอเปอเรชั่น , บริดจ์สโตน ไฟร์สโตน ละติน อเมริกา ไทร์ โอเปอเรชั่น จะเปลี่ยนชื่อไปเป็น ละติน อเมริกา ไทร์, บริดจ์สโตน ไฟร์สโตน เดอ เม็กซิโก จะทำการปรับเปลี่ยนชื่อไปเป็น บริดจ์สโตน เดอ เม็กซิโก และ บริดจ์สโตน ไฟร์สโตน แคนาดา จะทำการปรับเปลี่ยนชื่อไปเป็น บริดจ์สโตน แคนาดา

จะเห็นว่ากลยุทธ์ทางการตลาดในการปรับโครงสร้างชื่อของกิจการในกลุ่มในครั้งนี้ คือการตัดสินใจตัดชื่อของ “ไฟร์สโตน” ออกจากกลุ่ม และบางส่วนก็เป็นการตัดชื่อ “บริดจ์สโตน” ออกไป ซึ่งการปรับเปลี่ยนครั้งนี้จะเริ่มมีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปีหน้าเป็นต้นไป

วัตถุประสงค์หลักของการเปลี่ยนแปลงชื่อกิจการย่อย ๆ ในเครือครั้งนี้คือประการแรก เพื่อให้ชื่อของกิจการย่อยต่าง ๆ ในเครือเป็นภาพที่สะท้อนได้ชัดเจนขึ้นว่า ไฟร์สโตนมีสถานะเป็นส่วนย่อยส่วนหนึ่งของ บริดจ์สโตน กรุ๊ป ตามความประสงค์ของผู้บริหารระดับสูงที่เป็นบริษัทแม่ในญี่ปุ่น

ประการที่สอง เพื่อทำให้ชื่อกับการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดมีความสอดคล้องกัน และทำให้สาธารณชนจดจำง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น ลดความสับสนลง โดยในตลาดหนึ่งๆ จะมีเฉพาะชื่อของบริดจ์สโตน หรือชื่อของไฟร์สโตน เพียงชื่อเดียวเท่านั้น แทนที่จะมีชื่อของทั้งสองแบรนด์ในตลาดนั้น ๆ

คำถามที่ตามมาคือ แล้วสถานะของแบรนด์ไฟร์สโตน จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างชื่อของกิจการในกลุ่มทั้งหมดแล้ว

คำตอบที่น่าจะเป็นมากที่สุด คือ ไฟร์สโตนจะยังคงเป็นแบรนด์หนึ่งของกลุ่มบริดจ์สโตน กรุ๊ปต่อไป และธำรงอยู่ในตลาดที่กำหนด มีความเป็นเอกภาพของแบรนด์เหมือนกับที่เคยเป็นมา แต่ในตลาดเฉพาะบางตลาด ภายใต้โครงสร้างชื่อกิจการย่อย ๆ ที่มีการตัดคำว่า บริดจ์สโตน ออก

อีกประการหนึ่งก็คือ ผู้บริหารของกลุ่มจากญี่ปุ่นก็ยินดีจะถอดถอนชื่อของบริดจ์สโตนออกไปจากชื่อกิจการในบางตลาด เพื่อเปิดโอกาสให้แบรนด์ไฟร์สโตน ได้มีโอกาสในการครองส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างเต็มที่แต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้บริษัทแม่อย่างบริดจ์สโตนจะยังคงให้การสนับสนุน และทุ่มเทงบประมาณเพื่อการส่งเสริมและการจัดแคมเปญโปรโมชั่นอย่างเต็มที่ต่อไป

ตามรายงานในวงการตลาดระบุว่า บริษัท บริดจ์สโตนได้ใช้เวลาในการศึกษาความเหมาะสมของการปรับเปลี่ยนชื่อที่ว่านี้ของกลุ่มกิจการมาเป็นเวลานับปีแล้ว เพราะที่ผ่านมามักจะมีคำถามเข้ามาจากลูกค้าและผู้ที่อยู่ในตลาดต่าง ๆ ว่า ตกลงชื่อของกิจการคือ บริดจ์สโตน ไฟร์สโตน หรือว่า ไฟร์สโตน บริดจ์สโตนกันแน่

แสดงชัดเลยว่า การตั้งชื่อกิจการที่เอาชื่อของแบรนด์ 2 แบรนด์ของกลุ่มมารวมกันไม่เวิร์ค เหมือนกับที่ใช้ได้ผลดีในบางกิจการ อย่างโซนี่- อิริคสัน เป็นต้น

ดังนั้น หากไม่มีการปรับเปลี่ยนใด ๆ เกี่ยวกับโครงสร้างแล้ว ความสับสนที่ว่านี้ก็คงจะยังอยู่ต่อไปตราบนานเท่านาน

อย่างไรก็ตาม ภายใต้นโยบายทางการตลาดที่ให้มีการเปลี่ยนแปลง ชื่อของไฟร์สโตนจะยังคงธำรงอยู่ ในธุรกิจและตลาดที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจยางรถยนต์ อย่างเช่นชื่อ บริดจ์สโตน ไฟร์สโตน ไดเวอร์ซิไฟ โปรดักส์ ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาใช้ชื่อใหม่ว่า ไฟร์สโตน ไดเวอร์ซิไฟ โปรดักส์ หรือตัดคำว่า บริดจ์สโตนออกไปเฉยๆ เพราะว่ากิจการนี้ จำหน่ายสินค้าอื่น อย่างเช่น วัสดุทำหลังคาบ้าน สิ่งทอ และยางธรรมชาติ ภายใต้แบรนด์ ไฟร์สโตน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us