Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 พฤศจิกายน 2551
GM เปิดแผนฝ่าวิกฤตฟรีก๊อบปี้-พ็อกเก็ตบุ๊ก สร้างแบรนด์ต่อยอด             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็ม มัลติมีเดีย

   
search resources

จีเอ็ม มัลติมีเดีย, บมจ.
ปกรณ์ พงศ์วราภา
Magazine




จีเอ็ม มัลติมีเดีย ปรับทัพรับวิกฤตเศรษฐกิจ เตรียมเสริมแนวรบรอบด้าน ทั้งเปิดหัวหนังสือใหม่ในแบบฟรีก๊อบปี้ และ พ็อกเก็ตบุ๊ก พร้อมจัดหน่วยธุรกิจใหม่ดูแลอีเวนต์โดยเฉพาะ หลังพบเม็ดเงินไหลเข้ามามากกว่าค่าโฆษณา ด้านนิตยสารในเครือที่ยังทรงตัวจะมีการนำความแข็งแกร่งของแบรนด์จีเอ็มเข้ามาช่วยดูแล คาดผลจากการรุกตลาดจะส่งให้เป้าที่วางไว้ 250 ล้านไม่ไกลเกินฝัน

ความตกต่ำของตลาดนิตยสารในรอบกว่าปีที่ผ่านมา นำหน้าความตกต่ำของสื่อประเภทอื่นจากพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนรุ่นใหม่ที่เริ่มเปลี่ยนไป และเมื่อปะทะเข้ากับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ และการเมืองตลอดปีนี้ จึงทำให้ตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาที่ไหลเข้ามายังสื่อนิตยสารนั้นดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง จากตัวเลข 8 เดือนแรกของปีนี้ พบว่าสื่อนิตยสารมีมูลค่า 3,732 ล้านบาท ลดลง 4.21% เมื่อเทียบกับ 8 เดือนแรกของปีก่อนที่มีมูลค่าราว 3,896 ล้านบาท

สภาพที่เกิดขึ้นในตลาดนิตยสารนี้ทำให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในแวดวงนิตยสารต่างต้องหาวิธีการออกมารับมือ และหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจนิตยสารที่น่าจับตามอง จากประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน ก็คือค่าย จีเอ็ม มัลติมีเดีย เจ้าของแบรนด์นิตยสารที่รู้จักกันดีอย่าง GM

ปกรณ์ พงศ์วราภา ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัทจีเอ็ม มัลติมีเดีย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า สภาพเศรษฐกิจที่หดตัวอยู่ในขณะนี้ ยังไม่ส่งผลกระทบต่อจีเอ็ม เนื่องจากว่าพฤติกรรมของลูกค้าหรือเอเยนซี นั้นปรับตัวไปในทางที่เจาะเข้าหานิตยสารแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ซึ่งในส่วนของจีเอ็ม มีนิตยสารที่แบ่งเนื้อหาตามกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่ยังคงเลือกที่จะลงโฆษณา นอกจากนั้นแล้วในแง่ของชื่อเสียงของแบรนด์ก็ถือว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ของนิตยสารในเมืองไทย ดังนั้นหากเอเยนซีหรือลูกค้าจะลงโฆษณาก็ต้องเลือกลงกับนิตยสารใน3 อันดับแรกๆมากกว่า

"ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ธุรกิจจะยังคงขับเคลื่อนไปได้ เพียงแต่ว่าอาจจะเหนื่อยมากขึ้น แต่เราก็เชื่อมั่นว่านิตยสารที่อยู่ในกลุ่ม TOP 3 จะไม่โดนผลกระทบเรื่องโฆษณา เพราะเมื่อหันไปดูผู้ประกอบการรายใหญ่อี่นๆ รายได้ก็ไม่ตกลงแต่อย่างไร โดยผลกระทบน่าจะตกไปที่นิตยสารรายเล็กที่คาดว่าจะมีการปิดตัวอีกหลายเล่ม " ปกรณ์ กล่าว

ปัจจุบันจีเอ็ม มีนิตยสารจำนวน 8 หัว แบ่งออกเป็นนิตยสารทั่วไป 6 เล่มและฟรีก๊อบปี้อีก 2 เล่มซึ่งนิตยสารที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดคือ GM คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 45 - 50 %, รองลงมาคือ Home & D?cor คิดเป็นสัดส่วน 25 % อันดับสาม Mother & Care คิดเป็นสัดส่วน 20 % ขณะที่ความนิยมของฟรีก๊อบปี้ ซึ่งประกอบด้วย 247 และ Women Plus ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนนิตยสารเล่มอื่นๆ อาทิ GM Car, GM Watch, GM 2000 นั้นผลการดำเนินงานค่อนข้างทรงตัว

ด้านภาพรวมของตลาดนิตยสารในปีหน้า ปกรณ์ กล่าวว่าตลาดจะไม่แตกต่างจากปีนี้สักเท่าไรโดยค่ายใหญ่ๆ ยังคงรักษาตัวรอดและยังคงเติบโต แต่ค่ายเล็กอาจจะรายได้ตก หรืออาจจะถึงปิดตัว คาดว่าปีหน้าภาพรวมตัวเลขการเติบโตคงตกมาอีกประมาณ 10 % ในส่วนของการแนะนำหนังสือใหม่เข้าสู่ตลาดจะลดลงรวมไปถึงหัวนอกก็จะลดลง เพราะมีการนำเข้ามาเปิดเป็นจำนวนมากแล้ว ดังนั้นเมื่อมองส่วนที่เหลือก็เหลือเพียงน้อยแต่ในส่วนของจีเอ็มฯ เองในปีหน้าคาดว่าจะเติบโต 10 % หรือคิดเป็นรายได้ราว 250 ล้านบาท ซึ่งการเติบโตที่เกิดขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากนิตยสารที่เคยได้รับความนิยมอยู่แล้ว รวมไปถึงการส่งฟรีก๊อบปี้เล่มใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดในปีหน้าอีก 4 เล่ม

"เมื่อคนไม่ซื้อหนังสือ เราก็คงต้องทำแจก และนี่คือที่มาของฟรีก๊อบปี้ที่จีเอ็มฯ ได้จัดทำออกมา 2 เล่มด้วยกัน แต่การรุกตลาดนี้มิใช่ใครก็สามารถทำได้ จำเป็นต้องเป็นค่ายใหญ่ที่สามารถแบกรับภาระขาดทุน อย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี โดยกุญแจของความสำเร็จที่จีเอ็มฯ มองว่าสำคัญที่สุดสำหรับการทำฟรีก๊อบปี้คือ ช่องทางการวางหนังสือ ปัจจุบันจีเอ็มฯ มีการกระจายจุดวางหลายแห่งด้วยกัน แต่ที่เป็นหลักคือร้านสตาร์บัค "ปกรณ์กล่าว

สำหรับฟรีก๊อบปี้ที่จะเปิดตัว 4 เล่มนั้น เบื้องต้นจะทำการเปิดตัวเล่มแรกในเดือนกุมภาพันธ์ และอีกหนึ่งเล่มในเดือนมีนาคม โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของผู้ชาย เนื่องจากในตลาดนิตยสารผู้ชายนั้นยังคงมีช่องว่างให้เจาะอีกมาก นอกจากนั้นแล้วรายได้อีกส่วนหนึ่งจะมาจากกลุ่มพ็อกเก็ตบุ้คที่จะทำการผลิตออกมา อาทิ จีเอ็มคาเฟ่,ท่องเที่ยวกับโตมร ศุภปรีชา, เข็นธรรมะขึ้นภูเขากับว.วชิรเมธี และหนังสือจากต่างประเทศ อาทิ เรื่องราวของบารัค โอบามา

โดยในส่วนพ็อกเก็ตบุ๊กนั้น จีเอ็ม วางแผนการที่จะเปิดตัวหนังสือเดือนละ 2 เล่ม หรือปีละ 24 เล่ม ซึ่งสาเหตุที่รุกตลาดนี้ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่กว้าง และมีความต้องการของตลาดสูง อย่างไรก็ตามจีเอ็ม มีแผนการที่จะ รุกตลาดอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการปล่อยหนังสือออกมาจำนวนมาก เนื่องจากกังวลเรื่องปัญหาสต๊อก อีกทั้งความกว้างของตลาดนี้ก็อาจจะเป็นอุปสรรคได้ เพราะในตลาดก็จะมีหนังสือออกมามากเช่นกัน ดังนั้นจีเอ็ม จึงตระหนักไปถึงการวางโพสิชั่นให้ชัดเจนกับตัวหนังสือ มีการสร้างบุคลิกให้กับพ็อกเก็ตบุ๊ก ซึ่งหากสามารถสร้างตัวเองให้เป็นรู้จักแล้ว ก็จะเชื่อมโยงไปสู่การขายคอนเทนต์ของแบรนด์จีเอ็มได้ในอนาคต

นอกเหนือจากการรุกเปิดหัวหนังสือใหม่และลุยตลาดพ็อกเก็ตบุ๊กแล้ว จีเอ็มฯ ยังเพิ่มช่องทางรายได้จากธุรกิจอีเวนต์ ซึ่งถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้สูง โดยมีการจัดตั้งหน่วยธุรกิจที่ดูแลอีเวนต์โดยเฉพาะเข้ามาดูแล ซึ่งอีเวนต์ที่จีเอ็มฯ จัดขึ้นเป็นประจำและประสบความสำเร็จคือ การจัดงานMother & Care Festivalโดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการจัดขึ้นมาเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของนิตยสาร Mother & Care ซึ่งเป็นนิตยสารที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลลูกของคุณแม่ ตัวหนังสือวางโพสิชั่นไว้ที่การเป็นเสมือนคู่มือเลี้ยงลูกของแม่สมัยใหม่

โดยผลการตอบรับของนิตยสารเล่มนี้ถือได้ว่าเติบโตอย่างรวดเร็ว จากที่เปิดตัวสู่ตลาดในปี 2548 และมีอัตราการเติบโตเพียงแค่ 5.2 % แต่พอมาถึงปี 2551 ผ่านมาแล้ว 9 เดือนสามารถทำอัตราการเติบโตได้กว่า 21 - 22 % ซึ่งแนวโน้มการตอบรับที่ดีของนิตยสารเล่มนี้ ทำให้จีเอ็มฯ เล็งเห็นช่องทางการสร้างรายได้ และทำการขยายฐานเพื่อสร้างแบรนด์ด้วยการจัดอีเวนต์ งาน Mother & Care Festival จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ได้เริ่มทำแบบจริงจังในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอกย้ำแบรนด์ Mother & Care ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งภายในงานจะประกอบไปด้วยกิจกรรมสำหรับลูกน้อย การให้ความรู้จากคุณหมอผ่านการเสวนา การให้เคล็ดลับต่างๆที่จะส่งเสริมทักษะให้กับเด็ก การสอนวิธีให้คุณพ่อและคุณแม่ให้เป็นมืออาชีพ นอกจากนั้นแล้วยังมีสินค้าสำหรับเด็กให้เลือกชมและช้อป ซึ่งการจัดงานในแต่ละครั้งนั้นได้รับการตอบรับที่ดีจากทั้งลูกค้าและผู้เข้าร่วมงาน โดยในปีที่ผ่านมารายได้รวมของ นิตยสาร Mother & Care ที่มีกว่า 50 ล้านบาท เมื่อแบ่งออกมาจะพบว่ามาจากอีเวนต์กว่า 20 ล้านบาท

นอกจากการขยายไปสู่อีเวนต์แล้ว แผนงานของ Mother & Care ยังเตรียมออกหนังสือเฉพาะกิจ อาทิ คู่มือเพื่อคุณแม่ ซึ่งจะมีนักเขียนเป็นคุณหมอ หรือจะเป็นการออกหนังสือเกี่ยวกับคู่มืออาหารสำหรับลูกน้อย โดยคาดว่าจะทำการเปิดตัวหนังสือเฉพาะกิจจำนวน 4 เล่มภายในงาน Mother & Care festival 2008 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 22-23 พฤศจิกายนนี้ที่ลานน้ำพุ ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us