Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532
วิชัย กฤษดาธานนท์ เขาไม่ใช่นักปีนป่ายเขาสูงคนล่าสุด             
โดย บุญธรรม พิกุลศรี
 

   
related stories

โครงการบ้านนายพลส่วนผสมของธุรกิจกับสวัสดิการ

   
search resources

กฤษดามหานคร, บมจ.
วิชัย กฤษดาธานนท์
Real Estate




ธุรกิจที่ดินถ้าจะมองว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงน้อย ก็จงเชื่อเถอะว่าเสี่ยงน้อยจริง ๆ เพราะ "ที่ดิน" เป็นสิ่งเดียวที่ธนาคารเมืองไทยตีค่าให้เป็นหลักทรัพย์ชั้นดีเยี่ยมที่สุด แต่ถ้าจะมีคนบอกว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงไม่ใช่เล่นแล้วละก็ให้เชื่อเขาว่ามันก็จริงเหมือนกัน มันแล้วแต่ว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินเพื่อขายนั้นเป็นเงินของใคร ที่ดินโดยตัวของมันเอง ไม่มีความเสี่ยง แต่ถ้าวิธีการบางวิธีการของการทำธุรกิจ "ที่ดิน" อาจจะดูเสี่ยงเอามาก ๆ ทีเดียว

ถ้าจะเปรียบเทียบนักปีนป่ายเขาสูงคือคนที่ชอบเสี่ยง แต่ผู้ชายคนนี้ก็ไม่ใช่นักปีนป่ายเขาสูงคนล่าสุดนอกจากมีคนหลายคนขึ้นไปก่อนเขาแล้วก็เชื่อว่ายังมีอีกนับไม่ถ้วนที่กำลังจะขึ้นไป

วิชัย กฤษดาธานนท์ อดีตเซลส์แมนขายรถเก่าคันนี้สร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาจากการขายรถเก่าจนร่ำรวยขึ้นมาถึงปัจุบันเป็นประธานและกรรมการอำนวยการกฤษดานครกรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มค้าที่ดินที่กำลังพุ่งแรงเป็นอาณาจักรที่มีสินทรัพย์ร่วม ๆ 1,000 ล้านบาท (ไม่รวมของส่วนตัว) อย่างน่าทึ่งกับเวลาที่สะสมมาเพียง 10 ปีเศษบางคนก็บอกว่าเป็นกลุ่มที่น่ากลัวเอามาก ๆ

ชายวัย 50 ปีเศษคนนี้มีพื้นเพมาจากชุมพร พ่อเป็นคนจีนซึ่งแต่งงานกับหญิงไทยก่อนที่เขาจะย้ายสำมะโนครัวมาอยู่บ้านศิริราชเมื่อ 20 ปีก่อน และย้ายมาอยู่ย่าน

วิชัยเป็นคนที่ปิดตัวเองเอามาก ๆ ซึ่งขัดกับความเป็นเซลส์แมนของเขาอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะกับสื่อมวลชน ว่ากันว่าตำแหน่งนายกสมาคมธุรกิจจัดสรรที่ดินในสมัยนี้สมาชิกมอบให้เป็นคิวของเขาแล้วแต่เขาปฏิเสธ โดยขอเป็นเพียงแค่อุปนายกด้วยเหตุผลเพียงสั้น ๆ คือไม่อยากยุ่งกับนักข่าว

"ผู้จัดการ" ได้ติดต่อขอสัมภาษณ์เขานับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็น่าเสียดายที่ข้อมูลบางด้านอาจจะตกหล่นขาดหายไป ด้วยเขาไม่มีช่องว่างพอจะจัดเวลาให้เราได้พบกันได้

คนใกล้ชิดหรือที่เคยเข้าไปสัมผัสเขาหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาเป็นคนที่น่ารักมากเมื่อเข้าใกล้ แม้จะไม่ถึงกับเป็นคนหล่อเหลาเอาการ ออกจะคอสั้นไปด้วยซ้ำ แต่ก็เป็นคนทีพูดจาสุภาพ นบน้อมถ่อมตน และให้เกียรติผู้อื่น แม้ในยามจะต้องต่อรองเรื่องธุรกิจเหล่านายหน้าทั้งหลายก็ยกนิ้วให้เขาว่าเป็นนักเจรจาต่อรองที่หาตัวจับยากทีเดียวในยุทธจักรนี้

วิชัยวันนี้ไม่ได้วิ่งรอกจนสายตัวแทบขาดเหมือนเมื่อ 10 ปีก่อน แต่เขาก็ไม่เคยละเลยในรายละเอียดที่เป็นงานประจำวันของเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคนงาน รายรับรายจ่ายและลูกค้า เขายังคงทำงานหนักเหมือนเคยภายในบริเวณอาณาจักรธุรกิจของเขา ณ ศูนย์กลางรถยนต์มหานคร แห่งที่สร้างเงินสร้างทองให้เขาขึ้นมาได้จนถึงปัจจุบัน

"ก็ดีเหมือนกันผมจะได้อ่าน ถ้าคุณจะทำเรื่องราวของคุณวิชัย เพราะผมก็ไม่ค่อยจะรู้กับเขา" บันเทิง ตันติวิทย์ ประธานกรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติ ผู้ซึ่งปล่อยเงินกู้สนับสนุนโครงการของวิชัยจำวนหลายร้อยล้านปฏิเสธที่จะพูดถึงวิชัยกับ "ผู้จัดการ" เพราะเขาไม่รู้ว่าวิชัยเป็นใครมาจากไหนเหมือนกับครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่าไม่เคยรู้จักกับ ศิริชัย บูลกุล เจ้าของอาณาจักรมาบุญครองผู้โด่งดังว่าเป็นใคร

จึงไม่ทราบอีกเหมือนกันว่าโครงการกฤษดานครที่กู้ที่ไทยพาณิชย์นั้นใครเป็นคนแนะนำไป

ดูเหมือนพนักงานรับ-ส่งเอกสารของธนชาติจะรู้เรื่องดีกว่าด้วยซ้ำ

วิจิตร ศรีสังข์ อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป้นคนชุมพรและรู้จักวิชัยมาตั้งแต่เกิดก็ปฏิเสธที่จะพูดถึง "พี่หมู" หรือวิชัย กฤษดาธานนท์ ด้วยเหตุผลว่าปัจจุบันนี้เขาก็เป็นพ่อค้าเหมือนกัน โดยวิสัยของพ่อค้าก็คือทางใครก็ทางมัน โดยเฉพาะในช่วงหลังนี้วิชัยเข้าไปใกล้ชิดศูนย์อำนาจรัฐมาก เขายิ่งไม่อยากกยิ่ง

ปัจจุบัน วิจิตร ศรีสังข์ อดีตนักต่อสู้เพื่อปากท้องของประชาชนดูกำลังร่ำรวยซึ่งเป็นธุรกิจที่ค้าขายกันในระบบโควตาเสียส่วนใหญ่ แต่ใคร ๆ ก็รู้ว่าวิจิตรนั้นมีความใกล้ชิดกันเป็นพิเศษกับรัฐมนตรีสายพรรคกิจสังคมหลายคน ซึ่งก็เป็นพรรคที่คุมกระทรวงพาณิชย์มาโดยตลอด รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนปัจจุบัน ดร.สุบิน ปิ่นขยัน ก็มาจากพรรคกิจสังคมเช่นกัน

วิชัย กฤษดาธานนท์ กับ วิจิตร ศรีสังข์แท้จริงไม่ได้เป็นแต่เพียงคนบ้านเดียวกันเท่านั้น คนใกล้ชิดกับคนทั้งสองรู้ดีว่าเขาทั้งสองต่างก็เคยมีคืนวันที่หวานชื่นและขมขื่นต่อกันมายาวนานพอสมควร

จากการสืบค้นของ "ผู้จัดการ" พบว่าวิจิตรกับวิชัยเริ่มร่วมหอลงโรงกันทางธุรกิจกันมาตั้งแต่ปี 2518 โดยร่วมกันตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด "ลดายนต์" ดำเนินธุรกิจรับซื้อ-ขายรถเก่าแถว ๆ ถนนประชาธิปไตยบางขุนพรหมนี่เอง

หลักฐานที่สืบค้นได้พบอีกว่า วิจิตร ซึ่งขณะนั้นเป็นทีมงานคนหนุ่มงานของพรรคกิจสังคมลงทุนด้วยเงินสด 250,000 บาท แต่เนื่องจากวิชัยไม่มีเงิน แต่มีความชำนาญในการดูและตรวจสภาพรถ การซื้อ การขาย รวมไปถึงการติดต่อกับกรมทะเบียนรถยนต์-ชนิดที่เรียกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทีเดียวจึงตกลงกันตีค่าแรงวิชัยเป็นหุ้นจำนวน 250,000 บาทเท่านั้น

แต่คนที่ใกล้ชิดวิจิตรเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าขณะนั้นเพื่อนฝูงเชื่อกันว่าวิจิตรได้รับวงเงินกู้เบิกเกินบัญชีจากธนาคารกรุงเทพโดยการสนับสนุนของ บุญชู โรจนเสถียร ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคกิจสังคมด้วยไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท

วิจิตรไม่ตอบ "ผู้จัดการ" ในประเด็นนี้เมื่อถูกถาม แต่ตั้งคำถามคืนว่าใครบอกคุณ

เนื่องจากวิชัยเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจด้านนี้ จึงตกลงกันมอบให้วิชัยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ รับผิดชอบการบริหารงานทั้งหมดของห้าง รวมทั้งเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ด้วย

แหล่งข่าวที่เคยแวะไปเยี่ยมเยียนวิจิตร - วิชัย ที่ถนนประชาธิปไตยบ่อย ๆ เมื่อ 10 กว่าปีก่อนบอกว่าดูเหมือนกิจการของเต็นท์รถยนต์ "ลดายนต์" จะไม่ค่อยราบรื่นนัก มีปัญหาทั้งด้านการตลาดและเรื่องสถานที่

ขณะนั้น วิจิตร ศรีสังข์ เพิ่งจะอายุ 20 ปีเศษ ๆ คิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจบ้างเมื่อมีช่องทางเปิดให้ ในขณะที่วิชัยนั้นเป็นหนุ่มใหญ่ที่คร่ำหวอดมาในวงการกว่า 10 ปีแล้วหลายอย่างจึงดูจะไม่ค่อยสมดุลกันนักระหว่างคนทั้งสอง

เพียงปีเศษต่อมาคือกลางปี 2520 วิจิตรก็โอนหุ้นในส่วนของเขาให้แก่ปรานอม แสงสุวรรณเมฆา ซึ่งก็คือภรรยาของวิชัยนั่นเอง

จากนั้น "ลดายนต์" ก็ย้ายมาตั้งที่ถนนสุโขทัย เยื้อง ๆ กับสวนรื่นฤดี ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ประสานงานบ้านนายพลนั่นเอง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "ศูนย์กลางรถยนต์มหานคร" ที่ได้รับฉายาว่าเป็นเจ้ายุทธจักรรถมือสองในปัจจุบัน

วิชัย กับภรรยา และน้องชายต่างมารดาของเขา ก่อเกียรติ กฤษดาธานนท์ (แม่เขาเป็นคนจีน) ได้เข้ามาร่วมกันทุ่มเทสร้างอาณาจักรแห่งนี้ขึ้นมาอย่างเต็มกำลังกันทุกคน

ดูเหมือนโชคจะเข้าข้างวิชัยเข้าแล้ว

เพียง 4-5 ปีต่อมาวิชัยก็ผงาดอยู่ในวงการมีเงินพอที่จะหาลู่ทางจับธุรกิจอื่นดูบ้าง และธุรกิจที่วิชัยให้ความสนใจมากก็คือธุรกิจเงินทุน ซึ่งกำลังบูมอย่างมาก ๆ ในช่วงนั้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าธุรกิจขายรถเงินผ่อนของเขานั้นจำเป็นมากที่จะต้องพึ่งพาธุรกิจเงินทุน

รอยต่อตรงนี้ขาดหายไปอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่มีเอกสารปรากฎชัดว่าวิชัยเป็นคนก่อตั้งบริษัทโอเวอร์ทอพ เครดิตค การลงทุน จำกัด ขึ้นมา เพียงแต่แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดบางคนยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ว่า วิชัยเป็นคนตั้งบริษัททั้งสองนี้ขึ้นมา เพียงแต่ให้คนใกล้ชิดเป็นคนออกหน้าแทนเท่านั้นเอง

โดยเฉพาะชื่อบริษัทหลังนั้นสอดคล้องกันพอดีกับนามสกุลของวิชัย

คราวนี้ดูเหมือนโชคจะไม่เข้าข้างวิชัยเพราะเพียงสองปีต่อมา อันเนื่องมาจากเกิดภาวะวิกฤตสถาบันการเงินกันอยางหนักและมีปรากฎทรัสต์เถื่อนเกิดขึ้นมากมายเพื่อคุ้มครองประชาชน กระทรวงการคลังจึงได้ประกาศห้ามไม่ให้บริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการเงินทุนใช้ชื่อที่มีคำว่าเงินทุน เครดิต ทรัสต์ หรือเครดิตฟองซิเอร์อย่างเอาจริงเอาจัง ถ้าใครใช้อยู่แล้วก็ขอให้เปลี่ยนโดยด่วน

ถึงตอนนี้จึงปรากฏมีชื่อ วิชัย กฤษดาธานนท์ มานั่งในที่ประชุมผู้ถือหุ้นแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อเสียใหม่ให้เลือกแต่เพียงคำว่า บริษัทโอเวอร์ทอพ กับบริษัทกฤษดามหานคร เท่านั้น พร้อมกับเพิ่มเติมวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการทำธุรกิจเข้ามา

วิชัยเริ่มจับธุรกิจที่ดินอย่างเป็นรูปเป็นร่างในปีเดียวกันนั่นเอง โดยเริ่มต้นใช้ชื่อโครงการว่า "หมู่บ้านกฤษดานคร" ที่ริมถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เจาะกลุ่มเป้าหมายคนชั้นกลางมาขายทาวเฮาส์และบ้านชั้นเดียวขนาด 20-40 ตารางวา

"แถวนี้เมื่อก่อนนี้เงียบเหงามากไม่เหมือนทุกวันนี้ค้าขายดีขึ้น ตอนนั้นก็มีที่นี่กับหมู่บ้านเมืองทองเท่านั้น นอกนั้นก็เป็นทุ่งนาโล่งไปหมด" คนในหมู่บ้านกฤษดานคร (แจ้งวัฒนะ) เล่าย้อนอดีตเมื่อ 5-6 ปีก่อนให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

โครงการหมู่บานกฤษดานครแห่งแรกที่แจ้งวัฒนะไม่ค่อยจะราบรื่นนัก เพราะอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มตกต่ำเอามาก ๆ ดอกเบี้ยแพง ยิ่งมาเจอเอามาตรการควบคุมการเติบโตสินเชื่อไม่ให้เกิน 18% ของธนาคารแห่งประเทศไทย นักธุรกิจทุกคนแทบจะล้มทั้งยืนกันเลยทีเดียว

แต่วิชัยก็เอาตัวรอดมาได้ด้วยดี แม้จะมีกระแสข่าวออกมาเรื่อย ๆ ในวงการด้วยกัน

วิชัยมาเริ่มรุกอีกครั้งในช่วงปี 2528-2529 สรุปบทเรียนที่ผ่านมาปรับกลยุทธ์ใหม่ แทนที่จะสร้างบ้านราคาถูกขายก็หันไปจับธุรกิจจัดสรรทีดิ่นขายเป็นแปลงใหญ่ ๆ แล้วให้ผู้ซื้อเลือกแบบบานเอง รับเงินจองก่อนแล้วค่อยทำการก่อสร้างในขณะที่ผู้ซื้อก็ผ่อนชำระไปเรื่อย ๆ และที่สำคัญจะต้องทำโครงการอย่างต่อเนื่องแทนที่จะขายโครงการให้หมดเสียก่อนเหมือนเมื่อก่อน เช่น เดียวกับที่แลนด์ แอนด์ เฮ้าท์ เคยทำสำเร็จมาแล้ว

วิชัยทุ่มโฆษณาอย่างหนัก และขึ้นโครงการอย่างต่อเนื่อง มีแบบบ้านให้เลือกอย่างจุใจผู้ซื้อ จนระยะเวลาเพียง 10 ปีเศษโครงการบ้านและที่ดินที่ขึ้นภายใต้ชื่อกฤษดานครถึง 23 โครงการไม่รวมโครงการคอนโดมิเนียมชายหาดพัทยากับชะอำอีก 2 แห่ง

กฤษดานครนำวิธีการตลาดทุกรูปแบบเข้ามาใช้เป็นกลยุทธ์การขาย ในช่วงที่การลดแลกแจกแถมกลายเป็นเรื่องธรรมดา ๆ สำหรับผู้ซื้อ กฤษดานครยังให้สิทธิพิเศษมากมายแก่ลูกค้า ที่ดินแลกที่ดิน ก็ตามกันมาติด ๆ พร้อมกับการโหมโฆษณาอย่างเอาเป็นเอาตาย โครงการก็ดูจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเงาตามตัว

เหมือนกับว่าจะหยุดไม่ได้เสียแล้ว

วิชัยขยับขยายจับกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับขึ้นเรื่อย ๆ โดยเน้นที่ความใหญ่โตหรูหรา อัครสถาน เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสมเกียรติผู้มีระดับ จนปัจจุบันจะหาซื้อบ้านของกฤษดานครในราคาที่ต่ำกว่า 2 ล้านบาทนั้นดูเหมือนจะไม่มีเสียแล้วจนล่าสุดก็คือโครงการบ้านนายพล ซึ่งเป็นโครงการบ้านและที่ดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเวลานี้

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าในจำนวน 23 โครงการนั้นมีอยู่ไม่น้อยทีเดียวที่ยังไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรจากกรมที่ดิน

"พูดถึงมาตรฐานที่เขาวางไว้คุไม่ต้องห่วง ดูเหมือนกฤษดานครจะมีปัญหาน้อยที่สุดตั้งแต่สาธารณูปโภคพื้นฐานไปจนถึงตัวบ้าน แต่ที่ได้รับอนุญาตช้าอาจเป็นเพราะขั้นตอนของราชการมากกว่ากว่าจะได้ใบอนุญาตทีต้องใช้เวลาเป็นปีอันนี้เป็นปัญหาของผู้ลงทุน ซึ่งบางทีเขาก็ต้องดำเนินการไปก่อนค่อยยื่นขอทีหลัง" นักธุรกิจที่ดินคนหนึ่งให้ข้อมูล

ด้านเจ้าหน้าที่ในกรมที่ดินบอกว่าบางคนที่เจตนาจะหลบเลี่ยงกฎหมายจัดสรรจริง ๆ ตแต่บางคนไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงเพียงแต่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติโครงการไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไขก็ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ที่พบส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องที่ดินที่ติดภาระจำนองกับธนาคารอยู่ ซึ่งแน่นอนจะอนุญาตไม่ได้ เพราะต้องให้ความคุ้มครองผู้ซื้อ

"ผู้ซื้อเขาวางเงินจอง บางคนก็เริ่มผ่อนเงินไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีหลักประกันอะไรเลย ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมา ที่ดินโอนกันไม่ได้ คนที่ได้เปรียบคือธนาคารผู้รับจำนองเพราะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ อันนี้เราคุ้มครองผู้ซื้อครับ" เจ้าหน้าที่ในกรมที่ดินคนเดิมอธิบายให้ฟัง

แหล่งข่าวคนเดียวกันบอกว่าโครงการที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรส่วนใหญ่ขณะนี้จะมีปัญหาเรื่องภาระจำนองทั้งสิ้นไม่เฉพาะกฤษดานครเท่านั้น

จากการตระเวนสำรวจของ "ผู้จัดการ" พบว่าโครงการของกฤษดานครส่วนใหญ่ยังขึ้นไม่เต็มโครงการทีเดียว บางโครงการก็ขึ้นเพียงป้ายและปรับพื้นผิวดินเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง โดยเฉพาะตั้งแต่โครงการที่ 14-15 ขึ้นไป แต่พนักงานขายของกฤษดานครเองบอกว่าส่วนใหญ่ขายกันหมดแล้วบางคนก็อยู่ระหว่างผ่อนชำระ

"ผู้ซื้อบางคนก็ซื้อเก็งกำไร ซื้อทิ้งไว้เฉย ๆ พวกนี้เอาไว้ขายต่อจึงยังไม่แตะต้องอะไร แต่ในส่วนของเรานี่ขายเกือบหมดแล้ว" พนักงานขายคนเดิมกล่าว

"ผู้จัดการ" พิจารณาจากงบการเงินโดยละเอียดสิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2531 ยังพบว่า "สินค้าคงคลัง" อันหมายถึงที่ดินที่ยังขายไม่ออกนั้น เหลืออยู่จำนวนไม่น้อยทีเดียว บางโครงการเหลือถึง 40% ของโครงการ หรือแม้แต่โครงการที่ขึ้นมานานแล้วอย่างโครงการที่ 14 ก็ยังปรากฎเหลือที่ดินที่ยังขายไม่ออกอยู่ไม่น้อย

ในขณะที่ตัวเลขสินทรัพย์ที่ปรากฏทางบัญชีมีเพียง 762 ล้านบาท นั้น ปรากฏว่าเป็นเงินกู้จากธนาคารเสียถึง 636 ล้านบาท และกู้ยืมบริษัทในเครือกันเองอีก 100 ล้านบาท ซึ่งนักบัญชีคนหนึ่งให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นเงินที่ได้มาจากลูกค้าในส่วนที่เป็นเงินจอง เพราะหลังจากซื้อขายกันแล้วลูกค้าก็ไปผ่อนชำระกับธนาคารกันหมด และไม่ปรากฎตัวเลขในของผู้ถือหุ้นสูงนัก รวมทั้งเงินที่กรรมการกู้ยืมไปจากบริษัทด้วยจำนวน 232 ล้านบาท เมื่อรวมกันแล้วก็เท่ากับครึ่งหนึ่งของเงินกู้จากธนาคาร

"เมื่อเอาตัวเลขหนี้สินทั้งสองมารวมกันก็จะได้ 968 ล้านบาท นั่นจึงจะเป็นตัวเลขหนี้สินของกลุ่มจริง" นักบัญชีคนเดียวกันอธิบายเพิ่มเติม

ในภาวะที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งเช่นนี้แม้จะขึ้นมายืนอยู่บนชะง่อนภูผาอันสูงชันก็ยังรู้สึกเป็นสุขตราบเท่าลมฟ้าไม่แปรปรวน

วิชัยเป็นคนที่ทำงานมาหนักและเหน็ดเหนื่อยยาวนาน เส้นทางเดินของเขาที่ผ่านมาไม่ต่างอะไรกันกับการปีนป่ายขึ้นเขาที่สูงชัน แม้วันนี้บางคนจะบอกว่าเขากำลังมายืนอยู่บนชะง่อนหินนั้นแล้ว ซึ่งเขาก็สมควรจะได้รับความสดชื่นแจ่มใสเหล่านั้นเมื่อยาวลมพัดผ่านด้วยความภาคภูมิใจที่ขึ้นมาได้

เขาเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในหลาย ๆ ตัวอย่างเท่านั้นสำหรับคนสู้ชีวิต บางคนก็ยืนเสพสุขอยู่ได้ยาวนาน หลายคนก็จากไปด้วยความน่าสลดใจ แต่สำหรับ วิชัยกฤษดาธานนท์ แล้วเขาเท่านั้นที่จะรู้ว่าสุขหรือเสียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us