Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 พฤศจิกายน 2551
แบงก์ชาติเล็งทบทวนจีดีพี             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
สุชาดา กิระกุล
Economics




แบงก์ชาติจะทบทวนประมาณการเศรษฐกิจใหม่ในการประชุม กนง. 3 ธ.ค. ตามสถานการณ์โลกที่คาดว่าจะซบเซาต่อเนื่อง ย้ำมาตรการด้านการคลังเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีหน้า โดยเฉพาะการรับมือปัญหาการว่างงาน ระบุค่าเงินบาทตอนนี้ยังอยู่ในระดับที่สนับสนุนทั้งนำเข้าและส่งออก ส.อ.ท.หวัง กนง. ลดดอกเบี้ย 0.5-1% ร้องรัฐผลักดันแรงงานต่างด้าวออกจากประเทศ ลดอัตราว่างงาน ผลสำรวจนักธุรกิจ ระบุอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิ์ปลดคนงานมากสุด ม.หอการค้าไทย คาดปีหน้าจีดีพีโตแค่ 3.1% ส่งออก 0%

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ธปท.จะทบทวนคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีของปี 2551-2552 ในการประชุมคณะกรรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยก่อนหน้านี้ ธปท.คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปี 2551 ที่ 4.3-5.0% ส่วนในปี 2552 คาดไว้ที่ 3.8-5.0% อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังรอดูตัวเลขเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งหลัก ๆ ก็คงจะพิจารณาแนวโน้มการส่งออกและด้านการผลิตที่จะมีผลต่อการรจ้างงานตามมา

"ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดประมาณการจีดีพีโลกในปี 52 ลดลงเหลือ 2.2% ในเดือนต.ค. จากที่เคยคาดไว้ที่ 3% ขณะที่ราคาน้ำมันปรับลดลงจากสมมติฐานเดิม ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงปรับตัวดีขึ้น" นางสุชาดากล่าวและว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่องและยาวนานกว่าที่เคยคาดไว้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างแน่นอน ดังนั้นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ก็คือมาตรการด้านการคลังที่จะต้องเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อรองรับปัญหาการว่างงานที่จะเกิดขึ้น

นางสุชาดากล่าวถึงนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้มีเสถียรภาพพอสมควร ถือว่ายังอยู่ในระดับช่วยสนับสนุนระบบเศรษฐกิจได้ดีทั้งด้านการนำเข้าและการส่งออก ธปท.ไม่มีความหนักใจ และมีความพร้อมที่จะปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ระบบทันทีหากเกิดปัญหาตึงตัวขึ้น ซึ่งธปท.พยายามจะรักษาสมดุลของระบบเศรษฐกิจด้วยการผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยจะพิจารณาความเสี่ยงในระยะปานกลาง ซึ่งอาจทำให้หลายฝ่ายไม่พอใจ เพราะทำล่าช้าไปบ้าง

"ค่าเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าหรือแข็งค่าเกินไปเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค แต่ค่าเงินบาทอาจดูอ่อนค่าไปบ้างเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ แม้จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์ ค่าเงินแข็งค่ากว่าเงินบาท แต่ก็มีประเทศที่มีค่าเงินอ่อนค่ากว่าเงินบาท ได้แก่ เกาหลี ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย" นางสุชาดากล่าวและว่า ที่ต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจก็จะสูงขึ้น จากที่ต้องหันมากู้เงินภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้สภาพคล่องส่วนเกินในระบบลดลงบ้าง ในระยะสั้นเงินทุนต่างประเทศก็ยังน่าจะไหลออกสุทธิ แต่ยังอยู่ในระดับที่ ธปท.รับได้ โดยดุลบัญชีเดินสะพัดในปีหน้าจะเข้าใกล้สมดุลมากขึ้น จากที่เกินดุลในปีนี้

"สถานการณ์การไหลเข้า-ออกของเงินทุนจากต่างประเทศในปัจจุบันยังเป็นปกติ และมองว่ามีเสถียรภาพดีเมื่อเทียบกับภาวะต่างๆ ที่ยังผันผวนอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะตลาดหุ้น"

ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.ยอมรับว่าเป็นห่วงภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่จะชะลอตัวจากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจโลก เนื่องจากมีการจ้างงานต่อเนื่องค่อนข้างมาก แต่ในด้านฐานะของประเทศไทย ยังยืนยันความแข็งแกร่ง โดยไทยยังเป็นผู้ซื้อดอลลาร์ และมีทุนสำรองสูงถึงแสนล้านดอลลาร์ ขณะที่หนี้ต่างประเทศระยะสั้นมีต่ำมาก ส่วนข้อเสนอให้นำเงินทุนสำรองมาจัดตั้งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติว่า ช่วงเวลาขณะนี้ยังไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งกองทุนดังกล่าว เนื่องจากประเทศยังมีความจำเป็นต้องเตรียมสภาพคล่องไว้รับมือภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยง ขณะที่การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวในต่างประเทศ ก็ยังไม่สามารถเข้าไปลงทุนได้จริง

ส.อ.ท.หวัง กนง.ลดดอกเบี้ย 0.5-1%

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 3 ธ.ค.นี้ ภาคเอกชนอยากให้กนง.ปรับลดดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน หรือดอกเบี้ยนโยบายลง ร้อยละ 0.5-1 เพราะเชื่อว่าจะมีผลทางด้านจิตวิทยาในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและภาคธุรกิจ

“ตลาดคาดการณ์อยู่แล้วว่า กนง.จะต้องลดดอกเบี้ย แต่ก็หวังให้ กนง.ลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 1 เหมือนกับจีน และอังกฤษ ที่มีการปรับลดลงก่อนหน้านี้ เพราะที่ผ่านมา การตัดสินใจของ กนง.ล่าช้า กนง. ควรลดดอกเบี้ยตั้งแต่การประชุมเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาแล้วด้วยซ้ำ” นายสันติกล่าว

ส่วนค่าเงินบาท หากอ่อนค่าลงได้มากกว่านี้ จะเป็นผลดีต่อภาคการส่งออก แม้ว่าค่าเงินบาทในระดับปัจจุบันที่ 35 บาทต่อเหรียญสหรัฐ จะเป็นระดับที่น่าพอใจก็ตาม เพราะค่าเงินบาทยิ่งอ่อนค่า ก็ยิ่งจะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับผู้ส่งออก โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ขณะนี้ราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวลดลง เนื่องจากในอนาคตทุกประเทศจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นเครื่องมือเพื่อผลักดันการส่งออกของประเทศตัวเอง แต่ก็ต้องระวังเรื่องการเก็งกำไร ซึ่งธปท.และกระทรวงการคลังต้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด

ผลักดันแรงงานต่างด้าวออก

นายดุสิต นนทะนาคร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ปีหน้าเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยจะอยู่ในกรณีเลวร้าย โดยขยายตัวต่ำกว่า 3% การส่งออกไม่ขยายตัว เพราะขณะนี้หลายอุตสาหกรรมประสบปัญหาการขอยืดเวลาชำระเงินค่าสินค้า ทำให้ขาดสภาพคล่อง ซึ่งเมื่อผู้ผลิตต้นน้ำมีปัญหา ก็จะทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง หรือปลายน้ำกระทบด้วย เชื่อว่า การส่งออกไทยจะลดลงตั้งแต่เดือนต.ค.นี้ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า ส่วนปัญหาว่างงาน น่าจะไม่เลวร้าย หากผู้ประกอบการประคองสถานการณ์ด้วยการลดเงินเดือน หรือลดโบนัส อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รัฐผลักดันแรงงานต่างด้าวออกจากไทยโดยเร็ว แล้วจัดหาแรงงานไทยทดแทน ซึ่งจะช่วยไม่ให้อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นได้

“ปีหน้าเศรษฐกิจไทยเผาจริงแน่ ต้องแก้ปัญหาตัวแปรที่ควบคุมได้ก่อน โดยเฉพาะปัญหาการเมือง ส่วนวิกฤตโลกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ไม่เช่นนั้น วิกฤตเศรษฐกิจที่ไทยต้องเผชิญในครั้งนี้ อาจใช้เวลามากกว่า 3 ปีแก้ปัญหา เพราะคนที่มีอำนาจแก้ปัญหายังมองไม่ออกว่าจะแก้จุดใดบ้าง และยังเกิดความขัดแย้งในประเทศ แต่หากคนไทยร่วมกันฟันฝ่าวิกฤตเหมือนในปี 2540 ที่ใช้เวลาฟื้นเศรษฐกิจเพียง 3 ปี เชื่อว่า ครั้งนี้ไทยจะสามารถกู้วิกฤตได้เร็ว” นายดุสิตกล่าว

นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงการประเมินสถานการณ์ธุรกิจ อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจในมุมมองหอการค้า ซึ่งสำรวจความเห็นนักธุรกิจ 800 ตัวอย่าง วันที่ 3-11 พ.ย.2551 ว่า ผู้ตอบ 49.1% ระบุว่าอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอย่างมาก อีก 34.5% ระบุปานกลาง ส่วนน้อยสุดมีเพียง 3.6% โดยปีหน้า ปัจจัยที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมโดยตรงมากที่สุด 5 ลำดับแรกคือ เศรษฐกิจไทยชะลอตัว สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจโลกชะลอตัว วิกฤตการเงินโลก และความเชื่อมั่น ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้ยอดขาย ผลประกอบการ สภาพคล่องทางธุรกิจ การจ้างงาน การส่งออก และความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมถึงจะมีการปลดคนงานเพิ่มขึ้น

“หากปัจจัยต่างๆ ไม่ได้รับการแก้ไข อุตสาหกรรมที่จะมียอดขายลดลงมากที่สุด เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็ก ยางและผลิตภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์ ผลิตภัณฑ์เคมี เครื่องประดับ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง/รองเท้า อุตสาหกรรมที่การส่งออกลดลงมากที่สุด เช่น เครื่องประดับ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องหนัง/รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมที่จะปลดคนงานที่สุดคือ อสังหาริมทรัพย์ ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังยืนยันว่า จะยังไม่มีการปลดคนงาน หรือหากจะปลดก็ในอัตราน้อยที่สุด” นางเสาวณีย์กล่าว

ส่วนปัญหาที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข 5 ลำดับแรกคือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน และความเชื่อมั่น แต่สิ่งที่อยากให้รัฐบาลดูแลเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และดำเนินธุรกิจต่อไปได้ คือ ลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดภาษี ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สร้างเสถียรภาพทางการเมือง ให้ค่าเงินบาททรงตัวอ่อนค่าอย่างมีเสถียรภาพ เสริมสร้างสภาพคล่องทางการเงินในประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบส่วนใหญ่ 30.8% เห็นว่า เศรษฐกิจไทยปี 2551 จะขยายตัว 3.01-3.50% และต่ำกว่า 3%

ม.หอการค้าไทยคาดจีดีพีโตแค่ 3.1%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในในปี 2552 เป็น 2 กรณีคือ กรณีปกติ และกรณีเลวร้าย โดยกรณีปกติ หากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงไม่มากเกินไป และการเมืองไทยมีเสถียรภาพในครึ่งแรกของปี จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว 3.9-4.1% การส่งออกขยายตัว 8-10% การนำเข้าขยายตัว 8.5% ดุลการค้าเกินดุล 2,003 ล้านเหรียญสหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5,003 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินเฟ้อขยายตัว 3-4% การว่างงาน 600,000-750,000 คน หรือคิดเป็นอัตรา 1.6-1.9% เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่ว่างงาน 500,000 คน หรือคิดเป็นอัตรา 1.5%

สำหรับกรณีเลวร้าย หากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงมาก จากการชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น และการเมืองไทยยังไม่มีเสถียรภาพ เศรษฐกิจไทยคาดขยายตัว 2.9-3.1% การส่งออกขยายตัว 0-.02% การนำเข้าขยายตัว 1% ดุลการค้าเกินดุล 1,018 ล้านเหรียญสหรัฐ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3,518 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินเฟ้อขยายตัว 2-2.5% การว่างงาน 760,000-900,000 คน หรือคิดเป็นอัตรา 2-2.3% เพิ่มขึ้นจากปี 2551

“เศรษฐกิจไทยยังไม่เห็นปัจจัยบวก แต่สนับสนุนให้รัฐบาลเร่งใช้งบประมาณขาดดุลอีก 100,000 ล้านบาท เร่งเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนภาครัฐผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5-1% ตามทิศทางขาลงของดอกเบี้ยโลก และควรจะมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญในเร็วๆ นี้ เพื่อให้เบิกจ่ายได้ภายในเดือนก.พ.ปีหน้า เพราะยิ่งเบิกจ่ายช้าจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจลดลงได้อีก”นายธนวรรธน์กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินทั้ง 2 กรณี หากใช้เหตุการณ์ปัจจุบัน กรณีปกติเป็นไปได้มากสุด แต่หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาใดๆ ได้ กรณี 2 มีโอกาสเกิดขึ้นแน่นอน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us