|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บสท. เปิดประมูลหุ้น "MFC" จำนวน 12.627 ล้านหุ้น 17 พ.ย.นี้ กำหนดเสนอราคาซื้อไม่ต่ำกว่า 183.0915 ล้านบาท เผยที่มาหุ้น เป็นสินทรัพย์ที่ได้มาจากลูกหนี้ 2 กลุ่มปรับโครงสร้างหนี้ ด้าน "พิชิต" แจง ไม่ร่วมประมูล พร้อมระบุไม่มีผลต่อโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการบริหารจัดการ ก่อนย้ำคลังยังไม่มีแผนถือหุ้นเกิน 50% ชี้นักลงทุนสนใจหุ้น "MFC" เพราะจ่ายปันผลดีต่อเนื่อง
รายงานข่าวจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ บสท.จะทำการประมูลขายหุ้นสามัญ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC จำนวน 12.627 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท โดยผู้ประมูลจะต้องเสนอราคาซื้อหุ้นที่ประมูลขายทั้งหมดในคราวเดียว และจะต้องเสนอราคาซื้อไม่ต่ำกว่า 183,091,500.00 บาท โดยการประมูลดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ชั้น 22 อาคารเอ็กซิม ถนนพหลโยธิน ซึ่งจะทำการเปิดซองประมูลเสนอราคาซื้อหุ้นที่ประมูลขาย ในเวลา 14.30 น.
ทั้งนี้ บสท. เปิดเผยถึงการได้มาของหุ้นของ MFC ว่า หุ้นสามัญของ MFC จำนวน 12.627 ล้านหุ้นดังกล่าว ได้มาจากการปรับโครงสร้างของลูกหนี้จำนวน 2 กลุ่ม ซึ่งลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยหลังจากมีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว หุ้นสามัญจึงตกเป็นทรัพย์สินของ บสท.
อย่างไรก็ตาม หุ้นสามัญของ MFC นั้น บสก. สามารถนำไปขายในตลาดได้เชียวเดียวกัน แต่เนื่องจากเป็นล๊อตใหญ่และอาจจะต้องมีกระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการหลายเรื่อง เราจึงเลือกที่จะเปิดประมูลขายมากกว่า ซึ่งที่ผ่านมา หากมีจำนวนหุ้นสามัญในลักษณะที่เป็นล๊อตใหญ่เช่นนี้ เราก็จะเปิดประมูลเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการซื้อขายหุ้นของ MFC วานนี้ ไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด โดยราคาหุ้นล่าสุด อยู่ที่ 10.00 บาท ซึ่งในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินจนนักลงทุนเทขายหุ้นทั่วโลกออกมา หุ้นของ MFC เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะหุ้นของ MFC เอง เคยอยู่ที่ระดับ 15.00 บาทในเดือนกรกฎาคม ก่อนจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง มาอยู่ในระดับราคาปัจจุบัน
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังและธนาคารออมสิน เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ MFC ในสัดส่วนรวมกันประมาณ 42% ซึ่งในขณะนี้ ภาครัฐเองยังไม่มีแผนในการถือหุ้นเกิน 50% เนื่องจากจะทำให้ MFC กลายสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการที่ บสท. เปิดประมูลหุ้นดังกล่าว คงไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญในแง่ของโครงสร้างผู้ถือหุ้น รวมถึงการบริหารจัดการ
ส่วนเอ็มเอฟซีจะเข้าไปร่วมประมูลหรือไม่นั้น ไม่ชัดเจนว่าในหลักการแล้วสามารถทำได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม บลจ.เอ็มเอฟซีเองคงไม่ร่วมเข้าประมูลในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม จากแนวคิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีแนวทางในการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นคืนหลังจากราคาหุ้นปรับลดลงไปอย่างมาก ในส่วนของ บลจ.เอ็มเอฟซีเอง มีการพูดถึงเรื่องนี้อยู่บ้างในระดับผู้บริหาร แต่คงยังไม่ใช่ในตอนนี้
นายพิชิตกล่าวว่า สำหรับหุ้น MFC ที่ผ่านมา บริษัทมีการจ่ายปันผลที่ดีมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งครั้งล่าสุด บริษัทได้จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นประมาณ 70-80 สตางค์ต่อหุ้น แต่การที่หุ้นไม่ค่อยมีสภาพคล่องมากนัก เนื่องจากการซื้อขายในตลาดไม่ค่อยเกิดขึ้นนั้น สาเหตุเพราะผู้ลงทุนที่ถือหุ้น MFC ส่วนใหญ่ เป็นนักลงทุนระยะยาว ที่เน้นลงทุนเพื่อรับปันผลมากกว่า ดังนั้น จึงไม่เห็นการซื้อขายดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ บลจ.เอ็มเอฟซี ได้เปิดเผยผลการดำเนินในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่า ในส่วนของงบการเงินรวม บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 9.621 ล้านบาท ลดลงจากกำไรในงวดเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีกำไรสุทธิ 30.439 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ในขณะที่งวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 65.754 ล้านบาท ส่วนกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 0.55 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่แล้วเช่นกัน โดยงวด 9 เดือนของปี 2550 มีกำไรสุทธิ 76.102 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.63 บาท
ส่วนงบการเงินเฉพาะกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 บริษัทมีกำไรสุทธิ 9.962 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2550 ที่มีกำไรสุทธิ 23.720 ล้านบาท และกำไรต่อหุ้น 0.20 บาท ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 68.371 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.57 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 52.214 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท
สำหรับสาเหตุที่ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 งบการเงินรวมของบริษัทฯ ซึ่งได้รวมผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม มีผลกำไรสุทธิ จำนวน 9.62 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 20.82 ล้านบาท หรือ 68.39% นั้น เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ (ค่าฟี) ลดลงจากปีก่อน จำนวน 14.98 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลกระทบจากการที่ราคาหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศลดลง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ ปัญหาระบบสถาบันการเงินในต่างประเทศและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม งบการเงินรวมงวด 9 เดือน มีกำไรสุทธิ 65.75 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 13.60% โดยงบการเงินรวมงวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 56.13 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 22.91%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิชิตเปิดเผยว่า บริษัทยังคงเป้าหมายเพิ่มรายได้ของปีนี้ไว้ที่ 15-20% ที่เคยตั้งเป้าไว้ก่อนหน้านี้ ถึงแม้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.(AUM) จะลดลงตามภาวะตลาดก็ตาม โดยในส่วนของรายได้นั้น คาดว่าจะมาจากธุรกิจเสริม ทั้งจากการเป็นบริษัทให้คำปรึกษาทางด้านการลงทุน ประกอบกับบลจ.ได้จัดตั้งบริษัทลูก พร้อมกับบริษัทร่วมทุน ขณะเดียวกันในปลายปีนี้จะมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์และกองทุนตราสารหนี้เพิ่มอีก 2-3 กองทุน ดังนั้น จึงเชื่อว่ารายได้จะเป็นไปตามที่ตั้งไว้
|
|
|
|
|