Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 พฤศจิกายน 2551
เครือสหวิริยาขู่ถอนลงทุน ย้ายโรงถลุงไปจีน-เวียดนาม             
 


   
www resources

โฮมเพจ สหวิริยาสตีลอินดัสตรี

   
search resources

สหวิริยาสตีลอินดัสทรี, บมจ.
วิน วิริยประไพกิจ
Metal and Steel




เสี่ยวิทย์เจ้าพ่อวงการเหล็กค่ายสหวิริยา ควงลูกชาย ตบเท้าพบรมว.อุตสาหกรรม ล็อบบี้ให้ดูแลโรงถลุงเหล็กด้านระบบสาธารณูปโภคเหตุไทยให้เอกชนลงทุนหมดพบอุปสรรคด้านกฏระเบียบ ขู่ถอนลงทุน 5 แสนล้านบาทไปเวียดนามหรือจีนหลัง 2 ประเทศยื่นเงื่อนไขที่ดีกว่า

วานนี้(12พ.ย.) นายวิทย์ วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสหวิริยา สตีลอินดัสตรี จำกัด(มหาชน) หรือ SSI ได้เข้าพบหารือกับพ.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.อุตสาหกรรมเกี่ยวกับความคืบหน้าการลงทุนโรงถลุงเหล็ก

นายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการ SSI กล่าวว่า บริษัทได้หารือกับรมว.อุตสาหกรรมเพื่อขอให้รัฐบาลพิจารณาแนวทางการสนับสนุนแผนการลงทุนโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยาเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค ทั้งไฟฟ้า น้ำ ท่าเรือ ซึ่งนโยบายของไทยให้เอกชนลงทุนทั้งหมดเองซึ่งมีหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคขณะที่ล่าสุดจีนและเวียดนามมีเงื่อนไขที่ดีกว่าโดยรัฐลงทุนเอง แถมพื้นที่ของเวียดนามเสนอให้เช่าระยะยาวในราคาต่ำ ขณะเดียวกันการเมืองก็มั่นคงกว่าไทยมาก ดังนั้นเครือสหวิริยาคงจะดูปัจจัยเหล่านี้หากไทยไม่มีอะไรชัดเจนก็อาจตัดสินใจย้ายการลงทุนไปยัง 2 ประเทศเหล่านี้แทนในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยจะลงทุนเองทั้งหมด 100%

“ แผนลงทุนโรงถลุงเหล็กของเครือสหวิริยาที่ก่อนหน้านี้มีแผนลงทุน 5 เฟสมูลค่าประมาณ 5 แสนล้านบาทและจะเริ่มลงทุนเฟสแรก 9 หมื่นล้านบาทกำลังผลิต 5 ล้านตันต่อปีนั้นยอมรับว่ายังไม่ได้เป็นข้อยุติถึงการลงทุนดังกล่าวว่าจะเริ่มได้เมื่อใดเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาทั้งเศรษฐกิจโลกและการส่งเสริมจากรัฐเนื่องจากพบว่าการลงทุนด้านสาธารณูปในไทยเอกชนลงทุนได้ก็จริงแต่ทางปฏิบัติเช่น ระบบสายส่ง และท่อน้ำมีกฏหมายรองรับไม่อยู่ในอำนาจที่บริษัทจะทำเองได้และหน่วยงานที่กำกับดูแลต่างฝ่ายก็ต่างทำไม่เล่นเป็นทีมเดียวกัน”นายวินกล่าว

ทั้งนี้บริษัทมีความพยายามมาตั้งแต่ก.ย. 2547 ปัจจุบันยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ซึ่งรัฐควรเห็นความสำคัญกับโรงถลุงเหล็กที่จะเป็นเหล็กต้นน้ำที่จะป้อนยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้มีต้นทุนต่ำลงโดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐ ประกอบกับโรงถลุงจะก่อให้เกิดการจ้างงานถาวร 5,500 คนและระหว่างก่อสร้างจะต้องจ้างแรงงานอีกหมื่นกว่าคน โดยบริษัทฯได้ลงทุนเหล็กอื่นๆแล้วที่อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันไปแล้ว 5 หมื่นล้านบาทหากต่อยอดโรงถลุงที่นี่ได้ตามแผนก็จะทำให้ต้นทุนต่ำโดยบริษัทฯยืนยันว่าหากเลือกได้พยายามจะเลือกลงทุนที่ไทยก่อน ขณะเดียวกันยังเห็นว่าการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนกิจการโรงถลุงเหล็กจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ซึ่งมีการลงทุนนับแสนล้านบาทต่างจากกิจการอื่นๆ ที่ลงทุนไม่มากควรจะมีกรอบเวลาในการส่งเสริมฯที่มากกว่าปัจจุบัน

สำหรับราคาเหล็กตลาดโลกที่ลดลงโดยเฉพาะเหล็กเส้นที่ลดเกือบ 50% นั้นน่าจะเป็นจังหวะที่ดีของภาคก่อสร้างที่ควรจะสต็อกไว้เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างแทนที่จะรอให้เหล็กราคาขึ้นแล้วทำให้โครงการก่อสร้างมีปัญหาเช่นที่ผ่านมาโดยมองว่าในปี 2552 ราคาเหล็กน่าจะฟื้นตัวจากช่วงปลายปีนี้

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว ในฐานะประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท. ว่า เศรษฐกิจโลกถดถอยส่งผลให้ราคาเหล็กตลาดโลกลดลงอย่างมากโดยเหล็กเส้นราคา 30 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)เหลือ 16-17 บาทต่อกก. เศษเหล็กจาก 500 เหรียญต่อตันเหลือเพียง 200-300 เหรียญฯต่อตันคาดว่าผู้ประกอบการฯจะขาดทุนจากสต็อกเหล็กรวมกันไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาทจากสต็อกที่เหลือประมาณแสนตัน

“ รัฐบาลควรกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดความต้องการใช้เหล็กและสินค้าอื่น ๆ ภายในประเทศ เพราะขณะนี้แรงงานในอุตสาหกรรมเหล็กที่มีมากกว่า 100,000 คน ได้ลดการทำงานล่วงเวลาแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาด และยอมรับว่ากำลังการผลิตขณะนี้อยู่ในระดับ 50-70% ขึ้นอยู่แต่ละโรงงาน” นายพยุงศักดิ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us