Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532
เอลลา ยุคเกอร์ รุ่นสุดท้ายของยุคเกอร์ในไทย             
 


   
search resources

เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, บมจ.
เอลลา ยุคเกอร์
ห้างยุคเกอร์ แอนด์ ซิกก์




ปฐมบทตำนานธุรกิจเบอร์ลี่ ยุคเกอร์เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2425 ในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง เมื่ออัลเบิร์ต ยุคเกอร์บุตรชายคนเดียวของครอบครัวชนชั้นกลางแห่งเมืองวินเดอร์เธอร์ สวิตเซอร์แลนด์ร่วมกับเฮนรี่ ซิกก์ เพื่อนร่วมชาติก่อตั้งห้างยุคเกอร์ แอนด์ ซกก์ขึ้นมาเพื่อสั่งสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนเข้ามาขายและส่งข้าว ไม้สักออกไปต่างประเทศ

สิ่งที่อัลเบิร์ต ยุคเกอร์ได้ริเริ่มไว้เมื่อ 107 ปีที่แล้ว เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาสืบสานต่อมาจนกลายเป็นเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ในทุกวันนี้ สองพยางค์หลังของชื่อบริษัทเป็นประจักษ์พยานถึงความเชื่อมโยงข้อนี้

เบอร์ลี่ ยุคเกอร์จึงเป็นร่องรอยในเชิงธุรกิจของตระกูลยุคเกอร์ที่ยังคงปรากฎอยู่ในสังคมไทยเช่นเดียวกับเชื้อสายรุ่นที่สามของอัลเบิร์ต ยุคเกอร์คือเอลลา ยุคเกอร์ ก็คือสายเลือดตระกูลยุคเกอร์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในประเทศไทยขณะ

เอลลาเป็นหลานปู่ของอัลเบิร์ต พ่อของเธอคือเอ็ดวาร์ดลูกชายคนที่สามของอัลเบิร์ตกับพอลลา ดาครูซ เอ็ดวาร์ด เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการบริหารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเข้ารับช่วงต่อจากอัลเบิร์ต เบอร์ลี่ผู้เป็นพี่เขยเมื่อปี 2489

"ดิฉันเป็นคนไทย" เอลลายืนยันในชาติกำเนิดของเธอ เธอเกิดในเมืองไทย และไปเรียนหนังสือที่อังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ แต่ก็สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่วอย่างคนที่ซาซึ้ง ผูกพันกับภาษาแม่ของตน

เอลลาคือยุคเกอร์คนเดียวที่เหลืออยู่ในเมืองไทยตอนนี้

ญาติสนิทของเธอมีเพียงวอลเตอร์ ไมเยอร์ ประธานคนปัจจุบันของเบอร์ลี่ ยุคเกอร์และภรรยาเท่านั้น เธอเรียกไมเยอร์ว่าปู่ ความสัมพันธ์ฉันเครือญาตินี้มีต้นตอมาจากความเกี่ยวดองทางด้านเชื้อสายระหว่างพอลลา ย่าของเอลลาและโอลิเวียร์ ภรรยาของไมเยอร์ซึ่งต่างเป็นคนไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซางตาครูส หรือบ้านกุฎีจีนริมฝั่งเจ้าพระยาตรงข้ามปากคลองตลาดในปัจจุบัน

โอลิเวียร์นี่เองที่เป็นคนชักนำให้ไมเยอร์เข้ามาช่วยบริหารงานในเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ในยุคของเอ็ดวาร์ด ตอนนั้นไมเยอร์กำลังจะเดินทางกลับเซี่ยงไฮ้ซึ่งตัวเองทำงานกับบริษัทสวิสแห่งหนึ่ง ภายหลังจากเดินทางมาติดตอ่ธุรกิจในไทยแล้วพอดีเกิดกรณีญี่ปุ่นบุกไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพาจนไมเยอร์ต้องตกค้างอยู่ในไทยระยะหนึ่ง

เอ็ดวาร์ด ยุคเกอร์มีลูกเพยงคนเดียวคือ เอลลา เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2519 สมบัติทั้งหมดรวมทั้งหุ้นในเบอร์ลี่ฯจึงตกเป็นของเอลลา แต่ก็เป็นจำนวนไม่มากนักเพราะบางส่วนได้ขายให้กับไมเยอร์ไป เอลลาเป็นเพียงผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหาร

เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคมธุรกิจไทยเป็นปัจจัยที่ทำให้เบอร์ลี่ ยุคเกอร์จำต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง จากห้างหุ้นส่วนที่เคยเป็นของตระกูลยุคเกอร์ในรุ่นปู่ มาเป็นบริษัทที่ขายหุ้นให้กับคนภายนอกในรุ่นพ่อเมื่อปี 2508 และเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ พ.ศ. 2517 จนถึงวันนี้ เบอร์ลี่ ยุคเกอร์กำลังมาถึงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่ง ไม่มีใครรู้ว่าเอลลาคิดอย่างไรต่อกิจการเก่าแก่ อันเป็นสมบัติของตระกูลยุคเกอร์ที่ความเป็นเจ้าของถุกบุคคลอื่นเข้ามาแบ่งปันมากขึ้นทุกทีความเห็นประการเดียวของเธอต่อกรณีนี้คือเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ไม่ได้เป็นธุรกิจครอบครัวตั้งแต่ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิมีเสียงในกิจการที่ปู่และพ่อของเธอได้บุกเบิกมา

ปัจจุบันเอลลาพักอาศัยอยู่ที่บ้านในซอยร่วมฤดีใกล้กับบ้านของไมเยอร์ คนที่อยู่ร่วมบ้านก็มีเพียงข้าเก่าเต่าเลี้ยงเพียงสามคนเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us