Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532
ชีวิตที่ยิ่งกว่านิยายของพงศกร             
 


   
search resources

ปลาทองกะรัต
พงศกร ญาณเบญจวงศ์
Real Estate




งานแถลงข่าวและเซ็นสัญญาเงินกู้ระหว่างบริษัทปลาทองกะรัต โดยพงศกร ญานเบญจวงศ์ กับสหธนาคารโดยปิยะบุตร ชลวิจารณ์ กรรการผู้จัดการใหญ่ จำนวนเงิน 380 ล้านบาท สำหรับโครงการแฟลตปลาทองกะรัตที่รังสิต เมื่อเย็นวันที่ 17 สิงหาคม 2532 ณ อาคารปลาทองกะรัต เป็นงานที่จัดขึ้นอย่างหรูหรามาก อาหารถูกสั่งจากครัวโอเรียนเต็ลดนตรีขับกล่อมตลอดงานทำให้งานคึกคัก มีวิทวัส สุนทรวิเนตร์ เป็นพิธีกร มีทีมข่าวสังคมธุรกิจของทีวีทั้ง 4 ช่องมาทำข่าวเป็นการเปิดฉากโฆษณาอย่ามโหฬารในอีก 20 วันต่อมา

คนที่เด่นที่สุดในงานซึ่งผู้สื่อข่าวล้อมหน้าล้อมหลังสัมภาษณ์มากที่สุดคือ พงศกร คนในวงการที่ดินและบ้านจัดสรรคงพอจะรู้จักเขาบ้าง แต่คนทั่วไปอาจจะไม่รู้จักเขาเลย ทั้ง ๆ ที่ขามีโครงการก่อสร้างต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันแล้วมี 9 โครงการแล้ว นั่นไม่ใช่เหตุผลเพียงเพราะว่าเขาเป็นหน้าใหม่ของวงการท่ามกลางโครงก่อสร้างมากมายที่ผุดขึ้นราวดอกเห็ดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะเขาเป็นคนเก็บตัวมาก ๆ โฆษณาที่ออกมามากมายก็จะเน้นที่ตัวสินค้าเป็นด้านหลักโดยจไม่พูดถึงเจ้าของโครงการเลย ด้วยความคิดของพงศกรที่ว่า "คนที่เก่งกว่าผมและเขาไม่เปิดเผยตัวมีมากมาย"

พงศกรหนุ่มใหญ่วัย 38 ปี เจ้าของแต่ผู้เดียวของบริษัทปลาทอง เป็นลูกชายคนเดียวของนายเทียม แซ่เลี้ยง ซึ่งมีโรงงานผลิตวุ้นเส้นตราปลาทอง และอีกหลายยี่ห้อ ซึ่งทำเป็นอุตสาหกรรมที่มีมากกว่า 50 ปีแล้ว ปัจจุบันมีโรงงาน 10 กว่าโรงงาน สมัยเมื่อเยาว์พงศกร เป็นเด็กที่เกเรมาก หลังจากเรียนหนังสือจนจบ ม.3 ที่ศรีวิกรณ์แล้ว พ่อส่งเขาไปเรียนต่อด้าน MODERN ART ที่อังกฤษอยู่หลายปีแต่เขาก็เข้าเรียนแบบนับครั้งได้ หนักไปทางด้านเที่ยวเตร่มากกว่า ถ้าถามว่าไปเที่ยวอังกฤษแล้วถามว่าไปเที่ยวผับยไหนดีเขาจะตอบได้ดีกว่าเรียนที่ไหนดีเป็นแน่แท้ และยังไม่ทันจะเรียนจบอะไรเป็นชิ้นเป็นอันก็หนีกลับมาเที่ยวเมืองไทยด้วยความคิดว่าจะกลับไปเรียนต่ออีก บังเอิญพ่อเขารู้เข้าเสียก่อน พงศกรเลยถูกส่งไปคุมโรงงานวุ้นเส้นแห่งหนึ่ง แต่อยู่ได้ 8 เดือนก็หอบเสื้อผ้าออกจากบ้าน ซึ่งเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตที่จะไม่พึ่งพาเตี่ย ขณะนั้นเขาอายุเพียง 20 เศษ ๆ

ชีวิตในวัยเด็กของครอบครัวผู้มีอันจะกิน มิได้สุขสบายตามฐานะ เหตุเพราะแม่เขาเสียตั้งแต่เขายังเด็ก พ่อของเขามีเมียใหม่เรื่องราวของเขาจึงไม่แตกต่างจากนิยายน้ำเน่าทั่วไป อาจจะเข้มข้นกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งนั่นเป็นส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้เขาฮึดสู้ที่จะออกไปสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาให้ได้ จากลูกเศรษฐีที่เวลาไปไหนมาไหนคนก็เรียกว่าเสี่ย จึงกลายเป็นยาจกในชั่วข้ามคืน ต้องไปขอพักอาศัยที่บ้านพี่สาว ต้องขึ้นรถเมล์และเที่ยวตะลอนหางานทำ

พงศกรผ่านงานมาหลายประเภท อาทิ เป็นเซลส์ขายโฆษณาของหนังสือพิมพ์สยามรัฐผ่านงานบริษัทบีแอนซัน กระทั่งเมื่อ 9 ปีที่แล้วเขารวบรวมเงินที่สะสมได้แปดหมื่นบาทเช่าร้านขายเฟอร์นิเจอร์ย่านลาดพร้าวซึ่งมีโชว์รูมขนาดใหญ่มากโดยใช้แนวคิด "ONE STOP SHOP" ซึ่งทำท่าว่าจะไปได้ดี

หลังจากนั้นไม่นานตึกเซ็นทรัลพลาซ่าก็เริ่มก่อสร้างขึ้น และมีโครงการที่จะเปิด FURNIMART โดยจะใช้พื้นที่เกือบ 3,000 ตรม. คือพื้นที่ทั้งฟลอร์เป็น ONE STOP SHOP ซึ่งพงศกรอดไม่ได้ที่หวั่นไหวต่อคู่แข่งที่น่ากลัวอย่างเซ็นทรัล ประกอบกับระยะนั้นมีการจัดงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์เกิดขึ้นอย่างมากมาย เขาจึงคิดจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจด้านอื่นที่น่าจะมีลู่ทางดีกว่า

นั่นคือที่มาของหมู่บ้านพงศกลวิลล่า 1 ลาดพร้าวซอยเดียวกับบ้านของอาภัสรา จิราธิวัฒน์ ในปี 2525 และต่อด้วยหมู่บ้านการ์เดนท์วิลล่า ถนนรามคำแหงในปีถัดมา สองโครงการแรกเป็นบ้านราคาล้านกว่าถึง 4 ล้านบาท ซึ่งปรากฏว่าขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว

โครงการที่ 3 จึงเกิดขึ้นในปี 2527 ในชื่อหมู่บ้านพงศกรวิลล่า2 ย่านลาดพร้าว ซึ่งพงศกรหมายมั่นปั้นมือว่าโครงการนี้จะทำกำไร 60 ล้านบาท แต่กลับต้องขาดทุนย่อยยับ ด้วยเหตุผลสำคัญ 2 ด้านคือเกิดน้ำท่วมใหญ่ติดต่อกันหลายเดือน และกระหน่ำซ้ำเติมด้วยมาตราการจำกัดสินเชื่อ 18 เปอร์เซ็นต์ของธนาคารชาติ นับเป็นวิกฤติการณ์ครั้งใหญ่ในชีวิตของพงศกร!

คนหนุ่มอย่างพงศกรแม้จะทดท้อกับโชคชะตาอยู่บ้าง แต่เมื่อไม่สำเร็จย่อมต้องไม่เลิกลา ทำให้เกิดโครงการบ้านปลาทองกะรัต ย่านบางนา-ตราด กม.7 ซึ่งแถวนั้นใน พ.ศ.2529 เปลี่ยวมากยังไม่มีใครคิดที่จะไปทำบ้านจัดสรรที่นั่น กลุ่มเป้าหมายคือชนชั้นกลาง ราคาบ้านอยู่ในราว 7-8 แสนบาท ซึ่งหลังจากผู้ซื้อเข้าไปอยู่อาศัยแล้วเกิดกรณีพิพาทระหว่างคณะกรรมการหมู่บ้านกับเจ้าของงโครงการ ในเรื่องการอำนวยแก่ผู้อยู่อาศัย ซึ่ง "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ได้มีส่วนในการช่วยไกล่เกลี่ยโดยใช้สำนักงาน "ผู้จัดการ" ที่ถนนพระอาทิตย์เป็นสถานที่ในการเจรจากันอีกหลายรอบจนเรื่องราวยุติ ด้วยการที่เจ้าของโครงการยินยอมตามข้อเรียกร้องของกรรมการหมู่บ้านส่วนใหญ่

แต่ในปีเดียวกันนั้นเองหมู่บ้านปลาทองกะรัตก็ได้รับการยกย่องเป็นหมู่บ้านดีเด่น ซึ่งกรมที่ดินจัดขึ้นเป็นปีแรก

พงศกรได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีความสามรถทางด้านการตลาดมากคนหนึ่ง และงานที่เกิดจากมันสมองอันไม่หยุดนิ่งของเขาซึ่งเป็นที่ฮือฮาของวงการมากกว่าก็คือโครงการ "มินิออฟฟิตรัชดาคอมเพล็ก" ขึ้นเป็นครั้งแรก

รูปร่างหน้าตาของมันก็คือกลุ่มอาคารที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปนัก โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เป็นการตกผลึกความคิดจากการค้นพบข้อด้อยของอาคารพาณิชย์ตึกแถวและคอนโดมิเนียมระฟ้า "มินิออฟฟิต" เป็นอาคารสูง 5 - 9 ชั้นมีที่จอดรถ มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์ เป็นอาคารที่สวยงามด้วยฝีมือการออกแบบของสำนักงานดีไซน์ 205 และแปลนอาร์คิเตค วึ่งเป็นสิ่งที่อาคารพาณิชย์ทั่วไปจะไม่มีและต่างจากคอนโดมิเนียมตรงที่เป็นเจ้าของตึกแต่เพียงผู้เดียว ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ร่วมในด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน จนเกิดปัญหาโต้แย้งเรื่องค่าบำรุงรักษากันอยู่เนือง ๆ

ผลงาน "มินิออฟฟิตรัชดาคอมเพล็ก" นอกจากจะประสบความสำเร็จในทางธุรกิจอย่างมาก ยังได้กลายเป็นแม่แบบที่มีคนเลียนแบบทำตามมาอีกหลายโครงการ แล้วยังได้รับการยอมรับจากแวดวงวิชาการในฐานะกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในระดับปริญญาตรีและโท จนกระทั่งสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงลงมติมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาอสังหาริมทรัพย์ธุรกิจประจำปีการศึกษา 2531 ให้แก่พงศกร

พงศกรสร้างสถิตในการเป็นสามัญชนที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับปริญญานี้เมื่ออายุเพียง 38 ปี นับว่าเป็นเกียรติยศด้านกลับจากคนที่ไม่เอาดีด้านการศึกษา แต่การสร้างสรรค์งานในโลกแห่งความเป็นจริงกลับได้รับการยอมรับยกย่องจากสถาบันการศึกษาระดับสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดสำหรับเขา

พงศกรยังคงเดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งปี 2532 เขาประกาศจะขึ้นอีก 3 โครงการคือบ้านฉางเรสซิเดนท์ แอนท์คอมเพล็ก ที่ตำบลบ้านฉาง ระยอง โครงการเลเดียสรีสอร์ทคลับพัทยา พัทยากลาง และโครงการแฟลตปลาทองรังสิต

โครงการแฟลตปลาทองอยู่ริมถนนใหญ่ ห่างจากตลาดรังสิตไป 4 กม. ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ 72 ห้อง และแฟลต 130 อาคาร (7,280 ห้อง) บนเนื้อที่ 130 ไร่ แฟลตห้องหนึ่งราคา 1.89 แสนบาท กลุ่มเป้าหมายคือชนชั้นกลาง ลูกจ้างข้าราชการที่มีเงินเดือน 3-4 พันบาทซึ่งพงศกรวางแผนไว้ว่าจะต้องขายให้หมดในวันเดียวซึ่งเปิดจองในวันที่ 9 เดือน 9 (กันยายน) เขาทุ่มงบโฆษณาโดยใช้สื่อทุกประเภท หลังเปิดงานแถลงข่าว จนกระทั่งถึงคืนก่อนวันจองคือ 21 วัน ใช้เงินโฆษณาถึง 20 ล้านบาท

"ลูกเล่นของเราสำหรับสินค้าตัวนี้คือต้องวันเดียวหมด ถ้าเราไม่ขายวันเดียวหมด ถ้าเราไม่อยากขายวันเดียวมันไม่แรง จะรู้สึกไม่ตื่นเต้น ไปเมื่อไรก็มี จองวันเดียวมันรู้สึกกดึงดูดคนดี เราทุ่มโฆษณาทางทีวี 4 ช่อง หนังสือพิมพ์ บัฑซาวด์ วิทยุ บิวบอร์ด กลางคืนยังมีรถติดไฟวิงทั่งกรุงเทพฯอีก 40-50 คัน เหมือนรถหาเสียง เราลงทุนขนาดนี้ ราคาห้องถูกขนาดนี้ถ้าวันเดียวขายไม่หมดผมก็ไม่รู้จะเอาตำราที่ไหนมาทำแล้ว วันนั้นผมว่าจะมีคนมาเป็นหมื่นถ้าตี 5 คนมาน้อยกว่า 3 พันคน นี่แสดงว่านี่ผมล้มเหลวแล้ว" พงศกรกล่าวด้วยความเชื่อมั่น

ขณะที่ "ผู้จัดการ" ฉบับนี้ ถึงมือท่านผู้อ่าน เราคงทราบผล กันแล้วว่าเขาขายหมดภายในวันเดียวจริงหรือไม่ ซึ่งพงศกรบอกกับ"ผู้จัดการ" ว่าถ้าไม่หมดจริง ๆ ก็ค่อยว่ากันใหม่

พงศกรเป็นคนหนุ่มไฟแรงที่มักมีไอเดียแหวกแนวเสมอ ถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จ โครงการต่อไปที่อยู่ในความคิดของเขา คือที่อยู่ของคนชั้นกลาง และล่าง เขาจะสร้างแฟลตที่ยิ่งถูกลงไปอีกในสนนราคา 6-7 หมื่นบาท สำหรับคนจนที่จะมีสิทธิ์มีที่อยู่ของตัวเอง กับโครงการสร้างคอนโดมิเนียมสำหรับชนชั้นกลาง แต่ไม่ทำหรูหราอย่างที่เห็นกันทั่วไป แต่จะทำในราคาถูก นอกจากเหตุผลด้านการตลาดแล้วเขายังคิดว่า "มันเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ให้โอกาสชนชั้นล่างและชั้นกลางมีสิทธิ์บ้าง" พงศกรนั้นด้านหนึ่งเป็นคนชอบใช้ชีวิตอิสระเสรีชอบเที่ยวเตร่ แต่อีกด้านหนึ่งเขาเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่ทุ่มเทชีวิตให้แก่การทำงานหนักหลายครั้งที่ประสบวิกฤตการณ์เขาต้องใช้ความคิดเป็นอย่างหนักหน่วง วิตกกังวล นอนไม่หลับจนต้องหามเข้าโรงพยาบาลก็หลายครั้ง แต่เขาก็ภูมิใจที่สิ่งที่เขามีอยู่ในทุกวันนี้เป็นสิ่งที่เขาสร้างมันขึนมาเองด้วยน้ำพักน้ำแรงของเขาเองที่ไม่ได้พึ่งพาอาศัยครอบครัวเลย

วันหนึ่งนายเทมียมบิดาอันเกิดเกล้า ได้เดินทางมาเยี่ยมชมตึกปลาทองกะรัตอันเป็นสำนักงานให้เช่าและที่ตั้งของบริษัทปลาทองกะรัต ซึ่งอยู่ด้านหน้า "มินิออฟฟิตรัชดาคอมเพล็ก" สิ่งที่หลุดออกมาจากปากของนายเทียมก็คือ "ไม่นึกเลยว่าลูกที่ทิ้งแล้วอย่างลื้อ จะทำได้ดีขนาดนี้"

เป็นคำพูดที่มีความหมายต่อพงศกรเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นคำพูดที่เขาอยากได้ยินจากปากพ่อเหลือเกิน และในที่สุดเขาก็ได้ยินจริง ๆ หลังจากนั้นเขาก็สั่งให้ติดป้ายภาษาจีน 4 คำ อันเป็นการให้เกียรติคุณพ่อของเขาอ่านเป็นภาษาไทยว่า"ไท้เฮง ไต่เห่" หรือ "อาคารไท้เฮง"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us