Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์10 พฤศจิกายน 2551
ธุรกิจเครดิต การ์ด ตัดสินใจปรับตัวครั้งใหญ่             
 


   
search resources

Credit Card




ผลกระทบของวิกฤติการซับไพร์ม (Sub Prime) ในสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งผลต่อพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินของกองทุนรวมและสถาบันการเงินต่างๆ มีการด้อยค่าลงและประสบกับผลขาดทุน จนถึงจุดจบของกิจการธนาคารวานิชธนกิจชื่อดังนับร้อยปีอย่าง เลแมน บราเธอร์เท่านั้น

หากแต่ผลกระทบของวิกฤติการณ์สินเชื่อบ้านคุณภาพต่ำ ยังทำให้กิจการธุรกิจบัตรเครดิตของโลกหันทบทวนบทบาทและกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนครั้งใหญ่ ซึ่งผลของการทบทวนดังกล่าว ทำให้เกิดแนวโน้มที่ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ธุรกิจบัตรเครดิตของโลกจะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อสอดรับกับสถานการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปครั้งนี้อย่างแน่นอนแล้ว

การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจบัตรเครดิต คืออะไรกันแน่

ประการแรก ผู้ทำหน้าที่ออกกฎระเบียบระดับรัฐบาลเป็นผลักดันหลัก และผู้บุกเบิกที่ออกมาให้นโยบายอย่างชัดเจนว่าต้องการให้เกิดการปรับตัวของธุรกิจด้านบัตรเครดิต ให้มั่นใจว่าจะยังคงเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ไม่ถูกสั่นคลอนจากปัญหาของลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตแล้วเบี้ยวหนี้ไม่ยอมจ่าย จนนำสู่วิกฤติการณ์ซับไพร์ม 2

การตั้งป้อมประกาศใช้นโยบายการกำกับควบคุมธุรกิจบัตรเครดิตที่เข้มงวดขึ้นดังกล่าว ทำให้ยักษ์ใหญ่ของวงการบัตรเครดิตอย่าง วีซ่าและมาสเตอร์การ์ด ดูเหมือนจะไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากการปรับโครงสร้างและกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อตอบสนองตามอย่างเหมาะสม

ประการที่สอง พฤติกรรมการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมเครดิตการ์ด ที่ถูกโจมตีอย่างมากว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เป็นพฤติกรรมและวิธีปฏิบัติที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค เช่น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยย้อนหลัง การทำธุรกรรมการ์ดทางการตลาดกับชนกลุ่มน้อย การออกเครดิตการ์ดให้กลุ่มลูกค้าซับไพร์มด้วยอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรายปีที่สูงมาก การใช้วิธีปฏิบัติในการกำหนดวันครบกำหนดชำระ ที่มีแนวโน้มจะทำให้ลูกค้าที่ถือบัตรเครดิตต้องจ่ายค่าเบี้ยปรับล่าช้าและค่าธรรมเนียมแปลกๆ

ประการที่สาม ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายสูง เพราะจากขนาดของธุรกิจไม่น้อยกว่า 1 ล้านดอลลาร์ ก็ต้องถือว่าเป็นขนาดธุรกิจที่อยู่ในระดับน้องๆ ของตลาดสินเชื่อบ้านแก่ลูกค้ากลุ่มซับไพร์ม การจะปล่อยให้เกิดเป็นวิกฤติการณ์อีกรอบจึงไม่อาจยอมรับได้

ประการที่สี่ การสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ได้พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจใหญ่น้อยในสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะหันมาพึ่งพาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในกิจการผ่านการใช้เครดิตการ์ดมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีนโยบายที่จะชะลอการปล่อยสินเชื่อระยะยาวลงไปอย่างเห็นได้ชัด

การศึกษาพบว่า กิจการธุรกิจขนาดย่อมหรือ SMEs ในสหรัฐฯราว 44% หันมาพึ่งหาแหล่งเงินทุนผ่านบัตรเครดิตเป็นแหล่บงเงินหลักของการประกอบการ

เมื่อเป็นเช่นนี้ การเพิ่มความเข้มงวดของการทำธุรกิจบัตรเครดิต ย่อมจะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดกับลูกค้าในกลุ่มนี้ไม่ได้ นั่นหมายความว่าอาจมีกิจการขนาดย่อมประสบปัญหาทางธุรกิจเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก

ผลกระทบอาจจะเกิดตั้งแต่ต้นทุนการใช้เครดิตที่เพิ่มขึ้น ลดโอกาสในการเข้าถึงตลาดเครดิตการ์ด วงเงินเครดิตที่ลดลงจากเดิม และเงื่อนไขการใช้ที่ยุ่งยากและลดความคล่องตัวมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us