เสียงลือเสียงเล่าอ้างที่มีต่อยุวดี บุญครองนั้นก็คือ ลือกันว่าเธอได้รับความวางใจ
"เป็นพิเศษ" จากผู้ยิ่งใหญ่แห่ง "ไทยรัฐ"
เสียงลือนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานสามประการตามสายตาของผู้เชี่ยวชาญวงการซุบซิบนินทาระดับสูง
คือ หนึ่ง - ยุวดีเป็นคนสวย ค่อนไปทางสวยมาก
สมมติฐานประการนี้ "ผู้จัดการ" ยอมรับโดยไม่กังขา
สอง - เธอเป็นโสดและยังไม่มีแฟน ทั้งนี้ตามคำกล่าวอ้างของเธอ
สาม - เธอมิใช่ "วัชรพล" โดยสายเลือดหรือเกี่ยวดองทางเครือญาติกับ
"วัชรพล" แต่ประการใด และยังมิใช่คนเก่าคนแก่หรือ "ลูกหม้อ"
ของหนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" แต่ปรากฎว่า เธอสามารถก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
บริษัท ที.เอส.อี. แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่รับผิดชอบเรื่องรายได้จากค่าโฆษณาทั้งหมดของไทยรัฐ
อันนับเป็นปรากฎการณ์ใหม่ในรอบ 30 ปีของไทยรัฐก็ว่าได้และเป็นก้าวขึ้นมาในช่วงเวลาที่รวดเร็วมาก
ๆ ไม่ถึงปี
ด้วยสมมติฐาน 3 ประการนี้ ผู้เชี่ยวชาญในวงการนินทาจึงประทับตราให้เธออย่างไม่ต้องสืบเสาะอะไรมาก
เสียงลือเสยงเล่าอ้างดังกล่าวไม่ใช่สาระสำคัญแต่อย่างใดที่ "ผู้จัดการ"
จะต้องไปสืบค้นเพื่อหาความจริง แต่เมื่อ "ผู้จัดการ" มีโอกาสได้พบปะสนทนากับยุวดี
บุญครอง ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งที่ตกเป็นขี้ปากชาวบ้านแล้ว "ผู้จัดการ"
ก็อดไม่ได้ที่จะซอกแซกเข้าไปในช่วงชีวิตของเธอยามนี้ ยามที่เธอต้องแบกรับภาระอันยิ่งใหญ่ในอาณาจักร
"ไทยรัฐ"
"มันเป็นจังหวะที่ทำให้พี่เข้ามาอยู่ไทยรัฐ ตอนนั้นไทยรัฐจัดรายการคอนเสิร์ตช่วยทหารที่ร่มเกล้า
จัดกันที่สนามกีฬากองทัพบก พี่ช่วยหาเงินบริจาคทางโทรทัศน์ หาโฆษณา ได้เงินมา
3 ล้านบาท พี่ไม่รับคอมมิชชั่นสักบาทเพราะถือเป็นการกุศล ผ.อ.กำพลท่านเลยประทับใจ
ชอบวิธีการทำงาน ก็เลยชวนพี่มาทำงานที่ไทยรัฐ" ยุวดีเล่าถึงความหลัง
เงินบริจาค 3 ล้านบาทนั้นได้มาเพราะความเก่งและเชี่ยวชาญในวงการโทรทัศน์ของเธอเอง
นั่นเพราะอาชีพโดยแท้จริงของเธอคือโบรกเกอร์หาโฆษณาโทรทัศน์อยู่แล้ว
เมื่อมาอยู่ไทยรัฐ ก็พอดีไทยรัฐกำลังปรับปรุงหน้าตาเป็นสี่สี และที่สำคัญจุไรรัตน์
ดารากร น้องภรรยากำพล วัชรพล ซึ่งคุมเรื่องโฆษณามาตลอดลาออกจากไทยรัฐไปเปิดสำนักงานทนายความ
ยุวดีจึงเลื่อนไปสวมบทบาททันที
การเข้ามาของยุวดีในช่วงเหตุการณ์นั้น มีความหมาย 2 ประการ ประการแรกคือความเปลี่ยนแปลงในฝ่ายโฆษณาไทยรัฐ
และประการที่สองการแยกตัวอย่างเด่นชัดของ ที.เอส.อี.กรุ๊ป
ยุวดีเข้าไปเปลี่ยนแปลงระบบขายโฆษณาโดยการแยกฝ่ายโฆษณาออกมาตั้งบริษัทใหม่ชื่อบริษัทที.เอส.อี.แอดเวอร์ไทซิ่ง
จำกัด การซื้อขายเนื้อที่โฆษณาในไทยรัฐจะต้องฝ่ายบริษัทนี้แต่ผู้เดียว ซึ่งแน่นอนที่เธอจะต้องเป็นกรรมการผู้จัดการของที.เอส.อี.แอดเวอร์ไทซิ่ง
"เมื่อก่อนนี้ใครจะมาลงโฆษณาที่ไทยรัฐ เรียกได้ว่าเกือบจะต้องหอบเงินมาขอลงทีเดียว
มีหน้าก็ได้ ไม่มีหน้าก็ไม่ได้ เรื่องลดเปอร์เซ็นต์ก็ไม่แน่นอนแล้วแต่ความสนิทสนมส่วนตัว
แบบโฆษณาหรือการติดต่อก็ต้องมาที่ไทยรัฐเอง ถ้าได้หน้าลงโฆษณาก็ถือเป็นบุญเป็นคุณกันเสียอีก"
แหล่งข่าวในวงการโฆษณาเล่า
ซึ่งยุวดีก็เชิญบรรดาระดับบิ๊กของเอเยนซีในเมืองไทยมาพบปะกับผ.อ.กำพล วัชรพล
เพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่สะสมมาซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่ไทยรัฐออกไปพบกับเอเยนซีเช่นนี
และในงานนั้นบรรดาผู้บริหารเอเยนซีในเมืองไทยมาพร้อมหน้าพร้อมตากันเสียยิ่งกว่างานในวงการโฆษณาอื่นใดเสียอีก
นอกจากนั้นยุวดีก็จัดฝ่ายโฆษณาให้เป็นระบบมากขึ้นเป็นมืออาชีพมากขึ้น เช่น
ลดเปอร์เซ็นต์ 100% อย่างเท่าเทียมกันทุกเอเยนซี เพิ่มหน้าให้เมื่อลูกค้าต้องการ
ยุวดีและทีมงานออกวิ่งไปหาลูกค้าเองด้วย ซึ่งยุวดีกล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา
ยอดขายโฆษณาไทยรัฐเพิ่มขึ้นกว่า 30%
รายได้หลักของหนังสือพิมพ์คือค่าโฆษณา และยิ่งกับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐซึ่งมีอัตราค่าโฆษณาที่แพงที่สุด
มีรายรับนับเป็นสิบล้านต่อวัน ดังนั้นยุวดีจึงมีหน้าที่รับผิดชอบรายได้มาหาศาลของไทยรัฐ
ทั้งที่เธอเพิ่งเข้ามาในไทยรัฐได้ประมาณปีกว่า จัดว่าเป็นคนใหม่ จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับสายคนทั่วไป
"เป็นธรรมดาที่ป๊ะกำพลจะต้องใช้คนในตระกูลหรือคนเก่าคนแก่ที่ไว้ในมาคุมกิจการที่สำคัย
เช่น คุณสราวุธ ลุกายคุมกองบรรณาธิการ คุณยิ่งลักษณ์ ลุกสาวคุมเรื่องการบริหารทั่วไป
คุณวิเชียร สงวนไทยดูแลกิจการบันเทิง ส่วนที่ป๊ะกำพลยังควบคุมใกล้ชิดคือเรื่องซื้อกระดาษพิมพ์
เพราะเรื่องกระดาษเป็นหัวใจของหนังสือพิมพ์ และต้องซื้อคราวหนึ่งเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นสต็อก
ที่คุณยุวดีมานั่งตรงนี้จึงเป็นเรื่องแปลกเพราะเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงที่ควบคุมเงินมหาศาล
แสดงว่าป๊ะกำพลไว้ใจคุณยุวดีมาก หรืออย่างน้อยคุณยุวดีก็ต้องเป็นคนเก่งมากจริง
ๆ" คนใกล้ชิดไทยรัฐกล่าว
ความหนาประการที่ 2 เซอร์วิสเอนเตอร์ไพรซ์กรุ๊ป) นั้น แต่แรกเริ่มมีชื่อปรากฎคู่กับวงแกรนด์เอ็กซ์ในช่วงรุ่งเรืองสุดขีด
ที.เอส.อี.เข้าไปเป็นผู้จัดกาคิวการแสดงและดปรโมทให้กับแกนรด์เอ็กซ์ในช่วงนั้นแกรนด์เอ็กซ์มีคิวแสดงเกือบทุกคืน
จวบจนกระทั่งวงแตกในเวลาต่อมา
"TIGER SLEEP EAT" ใครบางคนแซวที.เอส.อี.กรุ๊ป ไว้เช่นนั้นตอนที่แกรนด์เอ็กซ์ต้องตระเวนออกวิ่งแสดงทุกคืน
มาในช่วงหลังที.เอส.อี.เงียบหายไป แต่เป็นที่รู้กันว่าคนในกลุ่มนี้คือผู้ดูแลกิจการที่อยู่นอกายหนังสือพิมพ์ให้กับป๊ะกำพล
โดยเฉพาะธุรกิจบันเทิง เช่น ปาป้า เดอะสเก็ตเดอะพาเลซ เป็นต้น จนกระทั่งยุวดีเข้ามาตั้งบริษัทโฆษณาในเครือไทยรัฐ
ที.เอส.อี.กรุ๊ป ก็ฟื้นขึ้นมาอีกอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
บุคคลที่เป็นผู้ดูแลที.เอส.อี.นั้นคือวิเชียร สงวนไทย ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ของไทยรัฐ
อยู่มาเกือบ 30 ปี วิเชียรเคยประจำอยู่หน้าบันเทิงไทยรัฐ ดูภายนอกหลายคนนึกว่าวิเชียรเป็นเพียงคนจัดหน้าหรือตีดัมมี่หน้าบันเทิงเท่านั้น
แต่แท้ที่จริงวิเชียรเป็นเหมือนมือขวาแบะมือ้ายของป๊ะกำพลในการดูแลกิจการธุรกิจบันเทิง
นอกเหนือจากวิเชียรก็จะมีสมปอง พรทวีวัฒน์และวันเฉลิม กาญจนมงคล ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ของป๊ะกำพลเหมือนกันที่อยู่ในที.เอส.อีซ
การแยกตัวออกมาเป็นเรื่องเป็นราวนั้นหมายถึง การตั้งบริษัทที.เอส.อีงแอดเวอร์ไทซิ่งขึ้นมาอย่างเป็นทางการ
และต่อมาก็ตั้งบริษัทที.เอส.อี.คอมมูนิเคชั่น รับผิดชอบการตลาดเรื่องเอส.โอ.เอส.ของดร.ทักษิณ
ชินวัตร และทีงเอส.อี.กรุ๊ปทั้งหมดก็เคลื่อนย้ายออกไปปักหลักอยู่อาคารุ่งโรจน์
ตรงข้ามอาคารไทยรัฐ รวมทั้งตัววิเชียรและทีมงานก็ย้ายไปทั้งหมดด้วย
เป็นความเปลี่ยนแปลงแบบเงียบ ๆ ภายในไทยรัฐที่แสดงถึงการแบ่งอาณาจักรกันระหว่างลูกสาว
ลูกชายและคนสนิทนั่นเอง และยุวดีก็เข้าไปมีส่วนในความเปลี่ยแปลงดังกล่าวด้วย
กล่าวกันว่ายุวดีรู้เสมอว่ายังมีหน้าโฆษณาบางหน้าของไทยรัฐที่ยังไม่ควรไปแตะ
เนื่องจากบางหน้ายังมีระบบสัมปทานที่ได้มากเพราะความสัมพันธ์ส่วนตัวกับป๊ะกำพล
เช่น หน้า 4 ที่ประกิต อภิสารธนรักษ์ แห่งประกิตแอนเอฟซีบีได้มาคนเดียว หรือหน้าที่มีโฆษณาหนังใหม่
ๆ ก็เป็นความต้องการของป๊ะกำพลที่ต้องการสนับสนุนวงการบันเทิง ราคาโฆษณาจึงต่ำที่สุและมีคนรับผิดชอบไปต่างหาก
"แต่สิ้นปีนี้อาจจะมีการปรับอะไรกันใหม่บ้าง" เธอแย้มให้ฟัง
นอกเหนือจากงานที่ไทยรัฐเธอยังเป็นเจ้าของบริษัทมีเดียออฟมีเดีย ซึ่งเป้นบริษัทที่เธอตั้งมาเองก่อนมาอยู่ไทยรัฐ
รับจัดรายการและเป็นโบรกเกอร์หาโฆษณาป้อนรายการโทรทัศน์ต่าง ๆ เธอเป็นเจ้าของรายการแผ่นฟิล์มวันศุกร์
ซันเดย์มูลวี่และกำลังจะจัดรายการประเภทวาไรตี้ทางช่อง 7 สีเร็ว ๆ นี้
ยุวดีเป็นสาวทำงานยุคใหม่ที่ชอบงานท้าททาย เธอมาทำงานแต่เช้า สั่งงานลูกน้องที่มีกวา
50 คน หรืออกไปพบลูกค้าและคอยแก้ปัญหาสารพัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหน้าโฆษณาไทยรัฐก่าจะเลิกงานก็สองทุ่ม
และไม่มีวันหยุดสำหรับเธอ
"ที่ทำงานแบบนี้ได้เพราะพี่ยังไม่มีควรอบครัว และยังไม่มีแฟน แต่อีก
2 ปีคงต้องแต่งเสียที ตอนนี้ก็ขายใบสมัครไปก่อน" เธอว่าพลางหัวเราะอย่างสดใส
ส่วนกรณีข่าวลือต่าง ๆ ที่พุ่งเป้ามายังเธอนั้น ยุวดีกล่าวอย่างเหนื่อยหน่ายว่า
"พี่ทำสมาธิทำจิตให้สงบ พี่มาที่นี่ไม่จำเป็นต้องมีเรื่องชู้สาว พี่ต้องทำให้เห็นว่าพี่คือใคร
มีผลงานเป็นเครื่องพิสูจน์ระดับพี่ต้องไปเป็นเมียน้อยหรือ พี่เป็นคนทำงานมีสมอง"
เธอย้ำหนักแน่น
จนถึงบรรทัดนี้ "ผู้จัดการ" ก็ไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องข่าวลือต่อไปอย่างใดไม่
เพราะหนทางชีวิตของแต่ละคนย่อมมีทางเลือกของตนเอง ขอให้มีผลงานได้พิสูจน์ตนเองอย่างมีศักดิ์ศรีก็เพียงพอมิใช่หรือ
มีก็เพียงประการเดียวที่ "ผู้จัดการ" ยังสนอกสนใจต่อก็คือ "ใบสมัคร"
ที่คุณยุวดีอยากจะขายนั่นแหละ มีให้มี "ผู้จัดการ" สักใบหรือเปล่า