Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2532
ผู้อยู่เบื้องหลังเด็กไทยในคณิตศาสตร์โอลิมปิก             
 


   
search resources

บุญเริง แก้วสะอาด
โครงการคณิตศาสตร์โอลิมปิก




แล้วเมืองไทยก็มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง คราวนี้เป็นผลงานด้านวิชาการของเยาวชนไทยจากการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกครั้งที่ 30 (INTERNATIONALE MATHEMATIK OLYMPIADE 1989) ที่เมือง BRAUNSCHWEIG ประเทศเยอรมนีตะวันตก ผลที่ออกมาว่าประเทสไทยซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกมีคะแนนรวมอยู่ในอันดับที่ 41 จากประเทศที่ร่วมการแข่งขัน 50 ประเทศ นอกจากนี้ยังได้รับเหรียญรางวัล 1 เหรียญทองแดงกับอีก 2 รางวัลเกียรติคุณประกาศ นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีของวงการวิชาการไทยที่สามารถคว้ารางวัลในการแข่งขันโอลิมปิกคณิตศาสตร์ที่มีประวัติยาวนานถึง 30 ปีตั้งแต่ปี 2502 ที่โรมาเนีย

เป็นความสำเร็จที่ถูกสร้างขึ้นด้วยความเสียสละจากบางฝ่ายบางองค์กร ภายใต้บรรยากาศทางด้านวิชาการทางด้านคณิตศาสตร์ของบ้านเมืองเราที่เฉื่อยเนือย และมีองคืกรน้อยองค์กรเต็มทีที่เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนโครงการนี้

ความสำเร็จที่ใคร ๆ ให้ความสนใจในปีนี้ ได้เริ่มต้นเมื่อปีที่แล้ว เป็นการเริ่มต้นที่ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษาด้วยความคิดของบุญเริง แก้วสะอาดา ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

"เราเห็นว่าการศึกษาของประเทศไทยก็จัดอยู่ในระดับที่ดี เพียงแต่ว่าเราควรที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามากยิ่งขึ้น เราเชื่อว่าการเข้าร่วมการแข่งขันในโครงการนี้น่าที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะกระตุ้นเตือนวงการวิชการของไทยได้ อย่างน้อยเราจะไดรู้ว่า เด็กของเราเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นแล้ว เราอยู่ในระดับไหนและจะพัฒนาไปในทิศทางใด" บุญเริง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงแรงจูงใจ

ด้วยประสบการณ์ในวงการวิชาการมานานร่วม 20 ปีของบุญเริง และยังทำงานให้กับองค์การ UNESCO มานานร่วม 15 ปี จึงมีโอกาสที่ได้รู้ได้เห็นเกี่ยวกับโครงการทางวิชาการต่าง ๆในต่างประเทศ รวมทั้งโครงการคณิตศาสตร์โอลิมปิกนี้ด้วยผนวกรวมกับความริเริ่มสร้างสรรค์จึงมาสู่การปฏิบัติ บุญเริงได้มอบหมายให้ ยุคล พิริยะกุล หัวหน้าฝ่ายพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ติดตอ่เพื่อขอเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกครั้งที่ 29 ที่จัดขึ้นที่ประเทศออสเตรีเลียเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ข้อหนึ่งที่ว่าผู้ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันได้นั้นต้องเยผ่านการเข้าร่วมเกตการณ์ก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง

"โครงการนี้เป็นโครงการที่ใหญ่และต้องออกไปทำการแข่งขันในต่างประเทศเกี่ยวข้องกับชื่อเสียงของประเทศ เราต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคัดเลือกหาเยาวชนที่มีความสามารถ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะให้ความรู้เป็นพิเศษแก่เด็กเพื่อประโยชน์ในการแข่งขัน" บุญเริง เล่าถึงการทำงานในขั้นต่อไปของโครงการนี้

ดังนั้นการคัดเลือกเด็กเก่งจึงเริ่มขึ้นด้วยความร่วมมือจากนักวิชาการที่เข้าใจกันดีเพราะเคยได้ร่วมมือกันมาหลายโครงการได้แก่ โครงการเยาวชนช้างเผือก, โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและโครงการสอบแข่งขันทางคณิตศาสตร์ของสมาคมคณิตศาสตร์ โดยมีหน่ายงานที่รับผิดชอบคือศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา, สมาคมคณิตศาสตร์สมาคมวิทยาศาสตร์, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

เยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกมาจากทั้ง 3 โครงการรวมทั้งสิ้น 12 คนและทำการคัดเลือกเหลือ 6 คนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน

การเข้ารับการเทรนเป็นเวลา 6 สัปดาห์จากผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งการเป็นพี่เลี้ยงในการพาไปแข่งขันที่เยอรมนีตะวันตกอยู่ในความรับผิดชอบของสมาคมคณิตศาสตร์

เยาวชนคนเก่งที่ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยทั้ง 6 ได้แก่ พัฒนพงษ์ เหล่าสุวรรณ จากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น, สมพร ชาญประจักษ์วณิช จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ, สุบิน เลี้ยงพันธุ์สกุล กับ ไพศาล นาคมหาชลาสิทธุ์ จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา, ศิริพงศ์ อติพันธุ์ จากโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง จังหวัดยะลา และราชวัติ ดาโรจน์ จากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี

โดยมี ดร.ยติ กฤษณังกูรจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒและ รศ.ศักดา บุญโตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประสานระหว่างทำการแข่งขันอยู่เยอรมนีตะวันตก รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงให้กับเด็กไทยเยาวชนไทยทางด้านวิชาการ อย่างน้อยที่สุดก็น่าที่จะเป็นการจุดความสนใจให้กับผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงให้หันมาสนใจอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น ให้การสนับสนุนและให้โอกาสในการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคงไม่ใช่เป็นเพียงการส่งเสริมหรือพัฒนาวิชาการไทยเพื่อการแข่งขันเท่านั้น หากแต่เพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us