|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กระทรวงพาณิชย์เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งออก รอพิมพ์เขียวเสร็จเดินหน้าไตรมาส 1 เห็นผล ชี้เป้า “รัสเซีย-CIS” ตลาดใหม่อนาคตส่งออกไทย พร้อมตั้ง “ฮับภูมิภาค” หนุนการส่งออกปี’52 เต็มตัว ขณะที่สภาอุตฯหนุนรัฐเดินหน้ายุทธศาสตร์ แนะเป้าเพิ่ม “อาหรับ-อาเซียน” ไม่ควรมองข้ามมูลค่าค้าขายเพิ่มทุกปี ด้านศูนย์วิจัยกสิกรฯชี้ 4 ปัจจัยเสี่ยงกลุ่มเกษตรฯปีหน้า พร้อมแนะ 8 ตลาดใหม่รองรับ
ดูเหมือนว่าเป็นที่รับรู้กันแล้วว่าการส่งออกในปีหน้าจะขยายตัวได้น้อยกว่าหลายๆปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่จะผลักดันและสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถส่งออกได้ตามเป้าหมายที่กำหนด โดยมียุทธศาสตร์ที่แน่ชัดว่าจะเดินไปในแนวทางใด เพื่อเตรียมพร้อมและรับมือได้ทันต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
ทั้งนี้เพราะตลาดส่งออกของไทยอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ ยุโรป (อียู)ได้รับผลกระทบจากวิกฤตจากการล่มสลายของสถาบันการเงินในสหรัฐฯทำให้ออเดอร์หรือความต้องการซื้อของจากไทยลดน้อยลง เอกชนและภาครัฐจึงต้องวางยุทธศาสตร์ใหม่ร่วมกัน ว่าจะหาตลาดใหม่ที่มีอนาคตมาชดเชยการส่งออกที่ลดฮวบจากตลาดหลักได้อย่างไร
เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งออก
ไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการระทรวงพาณิชย์ ระบุถึงการออกยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนภาคการส่งออกว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างยุทธศาสตร์การส่งออกซึ่งคาดว่าเร็วๆนี้จะเสร็จและมีผลบังคับใช้ได้ทันทีโดยเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในระยะอันสั้นคือภายในไตรมาส 1 ของปีหน้าจะเริ่มเห็นผล
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสามารถบอกได้ว่าสินค้าชนิดไดเหมาะกับประเทศใดรวมถึงโอกาสในการส่งออกโดยได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการส่งออกเร่งทำโรดโชว์และจัดงานแสดงสินค้าไทยในประเทศเหล่านั้น และเชิญผู้ประกอบการมาเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในไทย รวมทั้งจะให้มีการจัดกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นที่รู้จักของต่างชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ขณะที่ตลาดในในเอเชียด้วยกันอย่างประเทศจีนและอินเดียก็ไม่ถูกมองข้ามเพราะมูลค่าการค้าขายที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปีทำให้มีความหวังจะสามารถชดเชยตลาดหลักได้มากก็น้อย
ชี้“รัสเซีย-CIS”ตลาดดาวรุ่ง
นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ ยังได้ตั้งฮับภูมิภาคขึ้นอีก 1 แห่ง คือรัสเซียและกลุ่มประเทศที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต (ซีไอเอส) โดยมีที่ปรึกษาการพาณิชย์เป็นหัวหน้าฮับจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 8 ภูมิภาค คือ อาเซียน, เอเชียตะวันออก (เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน), อินเดีย, จีน, ตะวันออกกลาง, อเมริกาเหนือ, สหภาพยุโรป (อียู) และแอฟริกา และได้มอบหมายให้ฮับอเมริกาเหนือรับผิดชอบภูมิภาคละตินอเมริกาเพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ดีรัสเซียและซีไอเอส เป็นตลาดใหม่ ที่ไทยต้องการเจาะตลาด และยังมีที่ว่างอีกมากสำหรับสินค้าไทย เพราะมีความต้องการสินค้าใหม่ๆ ซึ่งปริมาณและมูลค่าการส่งออกในภูมิภาคนี้ จะเป็นส่วนช่วยเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่องอกในภาพรวมของไทยในปีหน้าให้ขยายตัวตามเป้าหมายได้อย่างแน่นอน
สำหรับฮับภูมิภาคต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น มีหน้าที่เพื่อช่วยเสริมการทำงานของกรมส่งเสริมการส่งออกในการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกของไทยในปี 2552 ให้บรรลุตามเป้าหมายเบื้องต้นที่คาดขยายตัว 10% มูลค่าประมาณ 197,000 ล้านเหรียญสหรัฐโดยจะใช้งบประมาณในการทำงานของฮับภูมิภาคสำหรับปีงบประมาณ 2552 ทั้งสิ้น 180 ล้านบาท
“ได้ให้นโยบายแก่ข้าราชการในกระทรวงรวมถึงทูตพาณิชย์ทั้ง 53 แห่งตั้งแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์ เมื่อเกิดวิกฤตในสถาบันการเงินสหรัฐฯเข้ามาอีกจึงไม่น่าจะมีปัญหา เพราะถือว่าเราดำเนินนโยบายนำหน้าประเทศอื่นมา 1 ก้าวและมีความพร้อมมากกว่า” รมว.พาณิชย์ ระบุ
ส.อ.ท.แนะ “อาหรับ-อาเซียน”
ด้านภาคเอกชนอย่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโดย (ส.อ.ท.) “สันติ วิลาสศักดานนท์” ประธานส.อ.ท.ก็มองสอดคล้องกับกระทรวงพาณิชย์ว่า รัสเซียและยุโรปตะวันออกน่าจะเป็นตลาดอนาคตของไทยได้เช่นกันเพราะสินค้าไทยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเมื่อมีการไปโรดโชว์ในสถานที่ต่างๆ แต่ก็ยังมีปัญหาเล็กน้อยในการค้าขายระหว่างกันคือไม่มีความเชื่อมั่นในการจ่ายเงินระหว่างกัน
ขณะที่อีกกลุ่มประเทศตลาดใหม่ที่น่าจะอนาคตคือกลุ่มประเทศตะวันออกกลางหรือกลุ่มอาหรับเพราะกลุ่มประเทศดังกล่าวมีเงิน และกำลังซื้อสูงซึ่งตอนนี้ประเทศไทยได้ส่งออกรถยนต์ (กระบะ) อัญมณี เสื้อผ้า แต่กลุ่มดังกล่าวจะมีคู่แข่งจากประเทศจีนและเวียดนามที่แข่งขันกับไทยด้วย
ส่วนกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันก็ไม่ควรละเลยเพราะมีการส่งออกได้ถึง 20% ของการส่งออกทั้งหมดโดยส่วนใหญ่จะเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ และ ผ้าผืน ที่ประเทศเพื่อนบ้านซื้อเพื่อนำไปประกอบและส่งออกอีกทีหนึ่ง
ประธานส.อ.ท.ระบุอีกว่ากระทรวงพาณิชย์โดยกรมส่งเสริมการส่งออกต้องกระตุ้นผู้ประกอบการโดยออกโรดโชว์ร่วมกันยังต่างประเทศเพราะกรมฯมีข้อมูลในแต่ประเทศมากกว่าภาคเอกชนและทูตพาณิชย์ทั้ง 53 แห่งก็ต้องช่วยภาคเอกชนในการหาตลาดใหม่ๆ เพราะลำพังเพียงเอกชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในตลาดใหม่ๆได้เลย
ในส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมได้พยายามปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด แล้ว แต่กลุ่มสินค้าเกษตรของไทยจะฝ่าวิกฤตนี้ไปได้อย่างไร ซึ่งจากภาวะวิกฤติภาคการเงินในสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยอย่างชัดเจนในปี 2552 ขณะที่สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรนั้นได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นตัวช่วยประคองให้ภาคการส่งออกโดยรวมไม่ตกต่ำลงมากนัก ดังนั้นบรรดาผู้ส่งออกและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรต้องเร่งปรับตัว
ชี้ 4 ความเสี่ยงสินค้าเกษตรฯ
โดยรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์เพื่อรับมือวิกฤตดังกล่าวว่า 1.จับตาดูท่าทีของลูกค้าว่าจะมีรายใดส่งสัญญาณตัด/ลดคำสั่งซื้อออกไปบ้าง เพื่อจะได้เจรจาต่อรองในการรักษาคำสั่งซื้อไว้ 2.จับตาดูประเทศคู่แข่งสำคัญ โดยเฉพาะเวียดนาม และจีน เนื่องจากกำลังผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการหดตัวลง ซึ่งจะเกิดการแย่งตลาดมากขึ้น 3.ติดตามอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด โดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าผลกระทบของวิกฤติการณ์ในครั้งนี้จะอยู่ตลอดปี 2552 และอัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวนค่อนข้างมาก 4.ติดตามผลกระทบวิกฤติในสหรัฐฯว่าจะลามไปประเทศใดบ้างที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย
ในรายงานของศูนย์วิจัย ยังได้ชี้ทางออกไว้ด้วยว่าต้องออกไปหาตลาดส่งออกใหม่ๆเพิ่มเติม โดยเฉพาะตลาดในอาเซียน อินเดีย และแอฟริกา โครเอเชีย หมู่เกาะมัลดีฟ หรือหมู่เกาะอื่นๆที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของโลก ที่มีความต้องการสินค้าอาหารค่อนข้างสูง ทั้งนี้ เพื่อทดแทนตลาดหลักทั้งสหรัฐฯ อียู และญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มชะลอตัว
ขณะเดียวกันทรวงพาณิชย์มีนโยบายผลักดันให้ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรของไทยกระจายตลาดส่งออกไปยังตลาดใหม่ 8 กลุ่ม คือ ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในทวีปแอฟริกา ประเทศในลาตินอเมริกา ประเทศในยุโรปตะวันออก ประเทศในกลุ่มเอเชียใต้ ประเทศจีน(ไม่รวมไต้หวัน/ฮ่องกง/มาเก๊า) และมองโกเลีย และประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้
หากภาคเอกชนและภาครัฐดำเนินนโยบายสอดคล้องกันเชื่อว่าปัญหาที่ว่ากันว่าหนักในปีหน้าอาจจะผ่อนคลายมากกว่าที่ตั้งไว้ก็ได้ อีกทั้งนโยบายที่ชัดเจนของภาครัฐรวมทั้งการสนับสนุนที่ต่อเนื่องฝันร้ายที่กำลังย่างกลายอาจจะค่อยๆจางหายไปก็ได้!
|
|
|
|
|